สิทธิชุมชน

การทุเลาการบังคับตามกฎหรือคำสั่งของศาลปกครองในคดีปกครองด้านสิ่งแวดล้อม : ศึกษากรณีคำสั่งยกคำร้องขอทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครองในคดี หมายเลขดำที่ 1454/2553 ของศาลปกครองกลาง โดย สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์

1. เหตุผลที่ต้องมีมาตรการทุเลาการบังคับตามกฎหรือคำสั่งทางปกครองก่อนการพิพากษา เนื่องจากระบบกฎหมายยอมรับข้อเท็จจริงที่ว่า กระบวนการยุติธรรมมักใช้ระยะเวลานานพอสมควรจึงจะสามารถหาข้อยุติจนนำไปสู่ การมีคำพิพากษาที่ให้ความเป็นธรรมกับคู่กรณีได้ แต่การฟ้องคดีปกครองประเภทขอให้เพิกถอนกฎหรือคำสั่งตามพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 9 (1) <1> กฎหมาย บัญญัติว่าระหว่างที่ยังไม่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งใด ๆ ออกมา คำสั่งทางปกครองหรือกฎที่เป็นวัตถุแห่งคดีที่ออกโดยฝ่ายปกครองย่อมยังมีผล ใช้บังคับต่อไป <2> นั่นหมายความว่าความเดือดร้อนเสียหายของผู้ฟ้องคดีที่เกิดจากกฎหรือคำสั่งทางปกครอง ยังคงมีอยู่และดำเนินต่อไปตราบเท่าที่ศาลยังไม่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณารัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศก็จะพบว่า มีบทบัญญัติที่รับรองสิทธิเสรีภาพที่สำคัญคือ มาตรา 28 วรรคสอง <3> ซึ่งเป็นการให้หลักประกันในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนโดยองค์กรตุลาการ โดยการตีความรัฐธรรมนูญมาตรานี้ย่อมต้องตีความว่าเป็นการคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพของประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพอย่างมีประสิทธิภาพ ย่อมหมายถึงการคุ้มครองสิทธิให้ทันกับเวลาและสภาพความเป็นจริงที่ต้องคุ้ม ครองด้วย หลักประกันในการคุ้มครองสิทธิโดยองค์กรตุลาการจึงต้องคำนึงถึงการคุ้มครอง สิทธิในสภาพความเป็นจริง จากสภาพพื้นฐานที่กล่าวมาจึงจำต้องมีหลักประกันในการคุ้มครองชั่วคราว ไม่เช่นนั้นการพิจารณาคดีปกครองก็จะไม่ก่อให้เกิดผลในการคุ้มครองสิทธิของ ประชาชนแต่อย่างใด <4> จึงสรุปได้ว่าเหตุผลที่ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ได้บัญญัติให้ศาลมีอำนาจกำหนดมาตรการหรือวิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนการ พิพากษาไว้ในมาตรา 66 <5>คือ เพื่อให้การดำเนินคดีปกครองสามารถคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ตามที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 28 วรรคสองได้บัญญัติรับรองและคุ้มครองไว้ 2. […]

ข้อวิพากษ์ทางกฎหมาย เบื้องต้น ต่อกรณีคำพิพากษาฎีกาจำคุก 4 เดือน แกนนำผู้ใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญปกป้องชุมชนและสิ่งแวดล้อม โดย สุรชัย ตรงงาม

คดีนี้ ผมในฐานะผู้อำนวยการโครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLAW) มีส่วนเกี่ยวข้องโดยเป็นหัวหน้าคณะให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายกรณี การคัดค้านโรงไฟฟ้าบ่อนอก-หินกรูด ของสภาทนายความ ติดตามข้อมูล ร่วมสอบข้อเท็จจริง กับหน่อย จินตนา แก้วขาว ตั้งแต่ปี 2544 แต่มิได้เป็นทนายความ ว่าความในคดีนี้โดยตรงครับ แต่ขอเสนอข้อเท็จจริงจากสำนวนและความเห็นทางกฎหมายดังนี้ คดีนี้อัยการฟ้องว่า จิตนาแก้วขาว มีความผิดในข้อหาบุกรุก โดยร่วมกันกระทำผิดตั้งแต่สองคนขึ้นไปศาลชั้นต้น ยกฟ้องไม่เชื่อพยานโจทก์ โดยอ้างอิง ถึงเจตนาการใช้สิทธิของชุมชนด้านสิ่งแวดล้อมตามรัฐธรรมนูญเป็นเหตุให้ต้องชั่งน้ำหนัก พยานหลักฐานอย่างรอบคอบ เพื่อมิให้คนดีถูกรังแกโดยใช้กลไกตามกฎหมาย ศาลอุทธรณ์ พิพากษาลงโทษจำคุก 6 เดือน เพราะเห็นว่าพยานโจทก์น่าเชื่อถือ การเบิกความในศาลที่แตกต่างจากชั้นสอบสวนอาจเป็นเพราะเกรงกลัวอิทธิพลจินตนา ศาลฎีกา พิพากษาลดโทษจำคุก 4 เดือน เพราะเข้ามอบตัว โดยไม่รอลงอาญา โดยศาลเห็นว่าพยานโจทก์น่าเชิ่อถือ เหมือนศาลอุทธรณ์ ส่วนประเด็นว่าการกระทำของจินตนามีเจตนาเพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมตามรธน.ไม่ใช่ความผิดอย่างคดีอาญาสามัญทั่วไปหรือเป็นข้อพิพาทระหว่างบุคลทั่วไป ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ต้องห้ามฎีกา ซึ่งมีประเด็นข้อสังเกตุใหญ่ๆอย่างน้อย 2 ข้อ 1 ประเด็นว่าการกระทำของจินตนามีเจตนาเพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมตามรธน.ไม่ใช่ความผิดอย่างคดีอาญาสามัญทั่วไปหรือเป็นข้อพิพาทระหว่างบุคลทั่วไป ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ต้องห้ามฎีกานั้น ศาลฎีกา ไม่ได้ให้เหตุผลอย่างชัดแจ้งว่า ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย อย่างไร เช่น นอกประเด็น […]

คำพิพากษาคดีชุมชนบ้านแม่อมกิ ภาพสะท้อนความขัดแย้งทางนโยบายและการบังคับใช้กฎหมายที่ปลายเหตุ โดย จิระ ณ จันทร์

นางน่อเฮหมุ่ย เวียงวิชชา และนายนายดิ๊แปะโพ ไม่มีชื่อสกุล ประชาชนในชุมชนบ้านแม่อมกิ ตำบลแม่วะหลวง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ชาวปกาเกอญอถูกจับกุมเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553 ในความผิดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 และความผิดต่อพระราชบัญญัติป่าสงวน พ.ศ.2507 ข้อหาร่วมกันยึดถือ ครอบครองที่ดิน ตัด โค่น ก่นสร้างแผ้วถางป่า ทำประโยชน์ในที่ดินเขตป่าสงวนแห่งชาติฯ และพนักงานอัยการฟ้องจำเลยเป็นคดีหมายเลขดำที่ 1770/2551 และ 1771/2551 ต่อศาลจังหวัดแม่สอด ในศาลชั้นต้นคดีดังกล่าวจำเลยรับสารภาพ คดีจึงไม่มีการสืบพยาน ศาลชั้นต้นจึงพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิด ลงโทษจำคุก 1 ปีโดยไม่รอการลงโทษ แต่ศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาว่ากระบวนพิจารณาคดีไม่ชอบ เนื่องจากจำเลยไม่มีทนายความและล่ามไม่ได้สาบานตัว ศาลอุทธรณ์จึงพิพากษากลับให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนการพิจารณาคดีใหม่ ภายหลังการสืบพยานโจทก์และจำเลยคดีนางน่อเฮหมุ่ย เวียงวิชชา เมื่อวันที่ 18 และ 19 กุมภาพันธ์ 2553 ศาลได้มีคำพิพากษาเป็นคดีหมายเลขแดงที่ 1737/2551 เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2553 โดยคำพิพากษาได้อ้างเหตุการทำเกษตรแบบไร่หมุนเวียน ซึ่งมีมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 30 มิถุนายน 2541 […]

1 2 3 4