ข้อหาและกฎหมายที่รัฐนำมาใช้กับผู้ชุมนุมตั้งเเต่เดือนมิ.ย. จนถึง คืนวันสลายการชุมนุม

ข้อหาและกฎหมายที่รัฐนำมาใช้กับผู้ชุมนุมตั้งเเต่เดือนมิ.ย. จนถึง คืนวันสลายการชุมนุม

 

 

ปรากฏการณ์การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร การจับกุม การดำเนินคดีต่อแกนนำ ผู้เข้าร่วมชุมนุมโดยเฉพาะที่เป็นเยาวชน และสื่อมวลชนเป็นวงกว้างของเจ้าหน้าที่รัฐนั้น สะท้อนให้เห็นว่ารัฐพยายามนำกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมมาเป็นเครื่องมือในการปิดกั้นการมีส่วนร่วมของประชาชน (Judicial Harassment) เพื่อให้ผู้ชุมนุม และคนในสังคมเกิดความกลัวไม่กล้าเคลื่อนไหว

จากข้อมูลของ สนส. (SLAPP DATABASE CENTERR) ในระยะเวลา 5 เดือนที่ผ่านมานี้ นับตั้งแต่การจัดกิจกรรม “ผูกโบขาว” ของนิสิตนักศึกษา สนท.  ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย หน้ากระทรวงกลาโหม หน้ากองทัพบก และหน้ากองทัพภาคที่ 1 เพื่อเรียกร้องความยุติธรรมให้ นายวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ ผู้ลี้ภัยชาวไทย ที่ถูกอุ้มหายในประเทศกัมพูชาเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน จนถึงการชุมนุมของคณะราษฎร 2563 เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม เพื่อเรียกร้องให้พลเอกประยุทธ์ ลาออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรี ให้มีการเปิดการประชุมวิสามัญรับร่างแก้รัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของประชาชน และให้มีการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ นั้น พบว่า มีการใช้ข้อหาความผิดลหุโทษ หรือความผิดอาญาที่ไม่มีโทษจำคุกกับผู้ที่เห็นต่างทางการเมืองมากขึ้น  อีกทั้งยังมีการนำกฎหมายพิเศษ อย่างพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548  หรือ พ.ร.ก ฉุกเฉินฯ ซึ่งควรจะประกาศใช้ภายใต้จุดประสงค์ในการควบคุมการระบาดโควิดเท่านั้น แต่ที่ผ่านมารัฐได้นำพ.ร.ก ฉุกเฉินฯ มาเป็นเครื่องมือในการจัดการกับผู้ที่เห็นต่างมากกว่า 63 คน(https://www.tlhr2014.com/?p=20836) โดยเห็นได้ชัดจากเดิมที่เจ้าหน้าที่รัฐดำเนินคดีต่อผู้ชุมนุมอาศัยอำนาจตามมาตรา 9 แต่หลังจากมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2563 เจ้าหน้าที่รัฐได้ใช้อำนาจตามมาตรา 9 ประกอบมาตรา 11 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจจับกุม ควบคุมตัวบุคคลทีที่สงสัยว่าจะเป็นผู้ร่วมกระทำการให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน

อย่างไรก็ตาม กฎหมายที่เป็นความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับความมั่นคง หรือที่มีโทษสูง เช่น ข้อหายุยงปลุกปั่น ข้อหาชุมนุมมั่วสุม ข้อหาประทุษร้ายต่อราชินี ตามประมวลกฎหมายอาญาก็ยังถูกนำมาใช้กับผู้ชุมนุมอย่างต่อเนื่องเช่นกัน

เป็นข้อน่าสังเกตว่ากฎหมายรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุด ได้รับรองและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ (Freedom of Peaceful Assembly) ไว้ในมาตรา 44 วรรคแรกระบุว่า “เสรีภาพในการชุมนุมจะได้รับการรับรอง หากเป็นการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ” และในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ซึ่งประเทศไทยได้เป็นเป็นรัฐภาคี มาตรา 21 ระบุว่า สิทธิในการชุมนุมโดยสงบย่อมได้รับการรับรอง และกำหนดให้รัฐที่เป็นภาคีต้องปล่อยให้ผู้ชุมนุมสามารถกำหนดวัตถุประสงค์หรือเนื้อหาในการแสดงออกผ่านการชุมนุมได้อย่างเสรี และระบุชัดเจนว่ารัฐจะต้องปฏิบัติหน้าที่เพื่อการอำนวยความสะดวกให้การชุมนุมเป็นไปโดยสงบและส่งเสริมให้ผู้ชุมนุมบรรลุวัตถุประสงค์ในการชุมนุมของพวกเขาได้ (สิทธิในการชุมนุมโดยสงบ มาตรา 21 ICCPR) แต่เจ้าหน้ารัฐกลับใช้กฎหมายที่มีลำดับศักดิ์ที่น้อยกว่ากฎหมายรัฐธรรมนูญหลายฉบับมาดำเนินคดีต่อประชาชนเป็นจำนวนมาก

ดูข้อหาและกฎหมายที่รัฐนำมาใช้กับผู้ชุมนุมตั้งแต่เดือนมิ.ย. จนถึง คืนวันสลายการชุมนุม ด้านล่าง

 

[wpcharts type=”horizontalbarchart” bgcolor=”red:gray:yellow,blue:gray:yellow,orange:gray:yellow,purple:gray:yellow,” legend=”false” titles=” ข้อหากระทำการอันควรขายหน้าต่อธารกำนัล ม. 388 ประมวลกฎหมายอาญา, ข้อหายุยงปลุกปั่น ม. 116 ประมวลกฎหมายอาญา,ข้อหากีดขวางทางสาธารณะจนเป็นอุปสรรคต่อการจราจร ม. 385 ประมวลกฎหมายอาญา, ข้อหาประทุษร้ายต่อพระราชินี ม.110 ประมวลกฎหมายอาญา, ข้อหามั่วสุม 10 คนขึ้นไปให้เกิดการวุ่นวายในบ้านเมือง ม. 215 ประมวลกฎหมายอาญา, ข้อหาใช้กำลังทำร้ายผู้อื่นโดยไม่ถึงกับเป็นอันตราย ม. 391 ประมวลกฎหมายอาญา, ข้อหาทำให้เสียหาย ทำลายหรือทำให้ไร้ประโยชน์ ม.358 ประมวลกฎหมายอาญา, ข้อหาไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน ม.368 ประมวลกฎหมายอาญา, ข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ, ข้อหานำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ , ข้อหาไม่แจ้งการชุมนุม พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ,พ.ร.บ.ควบคุมโรคติดต่อ, พ.ร.บ. ความสะอาด, พ.ร.บ. เรี่ยไร, พ.ร.บ. ทางหลวง, ข้อหาดูหมิ่นเหยียดหยามธงไตรรงค์ พ.ร.บ. ธง, ข้อห้าโฆษณาโดยการใช้เครื่องขยายเสียง พ.ร.บ. เครื่องขยายเสียง, ข้อหาไม่พบบัตรประชาน พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชน, ข้อหากีดขวางทางจราจร พ.ร.บ.จราจร, ” values=”1,2,2,1,2,1,1,2,23,1,3,2,4,1,1,1,4,1,2″]