แถลงการณ์ร่วม 26 องค์กรภาคประชาชน 93 นักวิชาการและคนทำงานด้านสังคม เรียกร้องให้ยุติการดำเนินคดีชาวกะเหรี่ยงแก่งกระจานโดยทันที

แถลงการณ์ร่วม 26 องค์กรภาคประชาชน 93 นักวิชาการและคนทำงานด้านสังคม เรียกร้องให้ยุติการดำเนินคดีชาวกะเหรี่ยงแก่งกระจานโดยทันที

[English Below]   

เผยแพร่ 4 พฤศจิกายน 2561

แถลงการณ์ร่วม

ขอให้ยุติการดำเนินคดีชาวกะเหรี่ยงแก่งกระจาน ทั้งทางแพ่งทางอาญา 

หลังศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาว่าเจ้าหน้าที่ปฏิบัติโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

และให้รัฐจ่ายเงินชดเชย  กรณีเจ้าหน้าที่เผาบ้านปู่คออี้และชุมชนกะเหรี่ยง

เมื่อวันที่ 25-31 ตุลาคม 2561 มีสื่อมวลชนบางสำนักได้เผยแพร่ข่าวอย่างต่อเนื่องในทำนองว่า อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่หน่วยเฉพาะกิจฯ กรมอุทธยานฯ เข้าพบพนักงานสอบสวน สถานีตำรวจภูธรแก่งกระจาน อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี เพื่อร้องทุกข์กล่าวโทษให้สืบสวน สอบสวน ดำเนินคดีกับชาวกะเหรี่ยง คือทายาทของนายโคอิ มีมิ หรือปู่คออี้กับพวกรวม 6 คน ในข้อหายึดถือหรือครอบครองที่ดินในเขตอุทยานแห่งชาติ คือบริเวณบ้านบางกลอยบน-ใจแผ่นดิน ซึ่งถูกประกาศทับโดยเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน

เรื่องนี้นี้สืบเนื่องมาจากกรณีที่ในปี 2555  ปู่คออี้ และชาวกะเหรี่ยงบ้านบางกลอยบน-ใจแผ่นดิน รวม 6 คน ในฐานะผู้ฟ้องคดี ได้ยื่นฟ้องกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ต่อศาลปกครองกลาง เป็นคดีหมายเลขดำที่ ส. 58/2555 ซึ่งเป็นคดีเกี่ยวกับการต่อสู้เพื่อความเป็นธรรม สิทธิชุมชนและสิทธิของชนพื้นเมืองที่ ได้รับความสนใจจากสาธารณะชนในช่วงเกือบ 10 ปีมานี้ โดยผู้ฟ้องคดีทั้ง 6 คน กล่าวหาว่า เมื่อปี 2554 ในการปฏิบัติการยุทธการตะนาวศรี เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานกลุ่มหนึ่ง ได้ใช้กำลังบังคับให้พวกตนต้องโยกย้ายออกจากที่ดินและชุมชนบ้านบางกลอยบน-ใจแผ่นดิน อันเป็นถิ่นกำเนิด ที่ทำกินและอยู่อาศัยมาหลายชั่วอายุคน ทั้งได้เผาทำลายบ้านเรือน ยุ้งฉาง เรือกสวนไร่นาของพวกตนและประชาชนกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงคนอื่นๆอีกหลายสิบคนจนเสียหาย โดยเจ้าหน้าที่อ้างว่าบ้านเรือน เรือกสวนไร่นา ดังกล่าวตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ในท้ายที่สุดหลังจากต่อสู้คดีมาเกือบ 10 ปี ศาลปกครองสูงสุดก็ได้มีคำพิพากษาอันเป็นที่สุด เป็นคดีหมายเลขแดงที่ อส. 4/2561     เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2561 ว่า บ้านบางกลอยบน-ใจแผ่นดิน แม้อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานก็ถือเป็นชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมของกลุ่มชาติพันธ์กะเหรี่ยง (ปกาเกอะญอ)  การปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่โดยการรื้อถอน เผาทำลายสิ่งปลูกสร้างและทรัพย์สินของชาวกะเหรี่ยง และไม่ปฏิบัติตาม มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2553 เรื่องแนวนโยบายในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง ในส่วนการจัดการทรัพยากรที่ให้ยุติการจับกุมและให้ความคุ้มครองกับชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง เป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นการละเมิดทางปกครอง จึงต้องเยียวยาปู่คออี้และผู้ฟ้องคดีอีก 5 คน เป็นเงินเฉลี่ยแล้วคนละประมาณ 50,000 บาท (อ่านคำพิพากษาฉบับเต็ม) อย่างไรก็ดี เหตุการณ์ครั้งนั้น มีบ้านที่ถูกเผาทำลายเกือบ 100 หลังที่ชาวกะเหรี่ยงเจ้าของบ้านยังไม่ได้ฟ้องหน่วยราชการเป็นคดีต่อศาลปกครองเพื่อให้หน่วยงานของรัฐรับผิดชอบ

หลังจากมีคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด แทนที่หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบ จะดำเนินการแก้ไขฟื้นฟูเยียวยาและให้ความคุ้มครองแก่ชาวกะเหรียงบ้านบางกลอยบน-ใจแผ่นดินจำนวนมากที่ได้รับผลกระทบจากการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ ซึ่งการฟื้นฟูเยียวยานั้น ควรรวมถึงการให้ชาวกะเหรี่ยงกลุ่มดังกล่าวได้รับสิทธิคืนมา โดยสามารถกลับเข้าไปอยู่อาศัยในพื้นที่บ้านบางกลอยบน-ใจแผ่นดินได้ดังเดิม เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตตามขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่นและวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวกะเหรี่ยง ตามหลักสิทธิชุมชนและสิทธิมนุษยชน แต่กลับปรากฎว่ามีเจ้าหน้าที่กรมอุทยานแห่งชาติฯ บางคนได้อ้างคำสั่งอธิบดีฯ เพื่อแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน สภ. แก่งกระจาน ให้สืบสวนสอบสวน ว่าปู่คออี้และผู้ฟ้องคดีทั้ง  5 นั้น ได้กระทำผิดฐานบุกรุกครอบครองพื้นที่ในอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนที่เจ้าหน้าที่จะบังคับโยกย้ายปู่คออี้และชาวกะเหรี่ยงออกจากพื้นที่บ้านบางกลอยบน-ใจแผ่นดิน และเผาทำลายเผาบ้านเรือนของพวกเขาในปี 2554

การที่ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่ากลุ่มชาวกะเหรี่ยงแก่งกระจาน บ้านบางกลอยบน-ใจแผ่นดิน เป็นชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม นั่นก็หมายความว่าชุมชนจะได้รับความคุ้มครองว่ามีสิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญ และยังได้รับความคุ้มครองตามมติครม.เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2553 ว่าด้วยการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยงฯ  และยังพิพากษาว่าการกระทำของเจ้าหน้าที่ที่ได้เผาทำลายบ้านเรือน ยุ้งฉาง เรือกสวน ไร่นาของชาวกะเหรี่ยงในโครงการขยายผลการอพยพผลักดันหรือจับกุมชนกลุ่มน้อยที่บุกรุกพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานตามแนวชายแดนไทย – สหภาพเมียนมาร์ บริเวณพื้นที่บ้านบางกลอยและใจแผ่นดิน ในปี 2554 ดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย  นั่นแสดงว่า การอยู่และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่บ้านบางกลอยบน-ใจแผ่นดินโดยปู่โคอี้และลูกหลานชาวกะเหรี่ยงเป็นการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญและเป็นไปตามมติครม.เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2553 จึงไม่ได้เป็นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติที่เจ้าหน้าที่กรมอุทยานฯ จะนำมาฟ้องคดีทั้งในทางแพ่งและอาญาต่อปู่คออี้และชาวกะเหรี่ยงได้ เพราะชาวกะเหรี่ยงอยู่อาศัยในพื้นที่ดังกล่าวโดยชอบธรรมตามสิทธิที่ได้รับรองไว้ตามรัฐธรรมนูญ

เรื่องราวของชาวกะเหรี่ยงบ้านบางกลอยบน-ใจแผ่นดินได้รับความสนใจมากยิ่งขึ้นอีก       เมื่อนายพอละจี รักจงเจริญ หรือบิลลี่ ซึ่งมีฐานะเป็นหลานของปู่คออี้ และเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการปกป้องสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงแห่งบ้านบางกลอย-ใจแผ่นดิน ได้หายตัวไปเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2557 หลังถูกควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน (อ่านเรื่องราวเพิ่มเติม)

ความพยายามของเจ้าหน้าที่บางคนของกรมอุทยานแห่งชาติฯ ที่พยายามผลักดันให้กรมอุทยานฯ แจ้งความดำเนินคดีปู่คออี้และชาวกะเหรี่ยงผู้ฟ้องคดีศาลปกครองอีก 5 คน ข้างต้น โดยอ้างเอาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อสิบปีก่อนมากล่าวหาอีกนั้น  องค์กรสิทธิมนุษยชนเห็นว่า นอกจากแสดงให้เห็นว่าเจ้าหน้าที่กลุ่มดังกล่าว ไม่ยอมรับคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดแล้ว ยังอาจมีลักษณะเป็นการกลั่นแกล้ง ข่มขู่ คุกคาม ไม่ให้ชาวกะเหรี่ยงอีกหลายสิบคนที่บ้านเรือนของตนถูกเผาทำลายโดยเจ้าหน้าที่ในคราวเดียวกันนั้น ออกมาเรียกร้องสิทธิและขอความเป็นธรรมเช่นเดียวกับปู่คออี้ ซึ่งถือว่าเป็นการขัดขวางการเข้าถึงความยุติธรรมของประชาชนอีกด้วย

องค์กรสิทธิมนุษยชน จึงขอตั้งคำถามถึงความสุจริตในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่กลุ่มดังกล่าว เนื่องจากชุมชนกะเหรี่ยงดังกล่าวได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญของไทย และตามหลักกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศไทยเป็นรัฐภาคีของอนุสัญญาขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ ที่ให้ความสำคัญเรื่องกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยมาแต่ดั้งเดิมในพื้นที่ป่าและได้เรียกร้องให้รัฐไทยทบทวนกฎหมายป่าไม้ที่เกี่ยวข้องเพื่อประกันให้มีการเคารพต่อสิทธิในวิถีชีวิต การดำรงชีพ และวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์[1]

จากกรณีและเหตุผลดังกล่าวข้างต้น องค์กรสิทธิมนุษยชน จึงข้อเรียกร้องรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดังนี้

  1. ขอให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดอย่างเคร่งครัด
  2. ขอให้ทางราชการยุติความพยายามในการดำเนินคดีต่อปู่คออี้และชาวกะเหรี่ยงผู้ฟ้องคดีศาลปกครองอีก 5 คน และชาวกะเหรี่ยงบ้านบางกลอยบน-ใจแผ่นดินคนอื่นๆ ทั้งทางแพ่งและทางอาญาโดยทันที
  3. ขอให้กรมอุทยานฯ ชดใช้ค่าเสียหายแก่ชาวกะเหรี่ยงบ้านบางกลอยบน-ใจแผ่นดินที่บ้านเรือนยุ้งฉาง เรือกสวน ไร่นา ถูกเผาทำลายในยุทธการตะนาวศรีเมื่อสิบปีก่อน ตามแนวของคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดในคดีปกครองหมายเลขแดงที่ อส. 4/2561 ดังกล่าวข้างต้นด้วย
  4. ขอให้รัฐบาลและกรมอุทยานฯ ให้ความคุ้มครองและฟื้นฟูเยียวยาชาวกะเหรี่ยงบ้านบางกลอยบน-ใจแผ่นดิน ด้วยการคืนสิทธิชุมชน ให้พวกเขาสามารถกลับเข้าไปอยู่อาศัยในพื้นที่บ้านบางกลอยบน-ใจแผ่นดิน เพื่อใช้ชีวิตตามวิถีของชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมได้ดังเดิมต่อไป โดยปฏิบัติตาม มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2553 เรื่องแนวนโยบายในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยงฯ โดยเคร่งครัด
  5. ขอให้กรมอุทยานฯ เจ้าหน้าที่รัฐ และรัฐบาล ยกเลิกกฎ ระเบียบ มาตการ และการกระทำอันเป็นการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติต่อชาวกะเหรี่ยงบ้านบางกลอยบน-ใจแผ่นดิน และกลุ่มชาติพันธุ์ชนพื้นเมืองอื่นๆ ตามพันธกรณีที่ประเทศไทยมีอยู่ภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกประติบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบและหลักการสิทธิมนุษยชนโดยเคร่งครัด

ด้วยความเคารพในศักดิ์ความเป็นมนุษย์

  1. เครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย (คชท.)
  2. ศูนย์ภูมิภาคด้านสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  3. ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา  คณะสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  4. กลุ่มรักษ์บ้านเกิด ตำบลน้ำปลีก อ.เมือง จ.อำนาจเจริญ
  5. เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน
  6. กปอพช ศูนย์เผยแพร่และส่งเสริมงานพัฒนา
  7. ศูนย์ปฏิบัติการร่วมเพื่อแก้ไขปัญหาประชาชนบนพื้นที่สูง (ศปส.)
  8. มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม
  9. มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน
  10. สมาพันธุ์เพื่อช่วยเหลือชาวมอญ
  11. สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
  12. มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
  13. ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น (ศพช.)
  14. มูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา
  15. เครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม เขตงานตะนาวศรี
  16. สมาคมสิทธิเสรีภาพประชาชน
  17. คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส.)
  18. เครือข่ายนักวิชาการเพื่อกลุ่มชาติพันธุ์และการพัฒนาข้ามพรมแดน
  19. มูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา
  20. เครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม จังหวัดลำพูน
  21. มูลนิธิเพื่อนไร้พรมแดน
  22. เครือข่ายเกษตรกรภาคเหนือ(คกน.)
  23. สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ(สกน.)
  24. เครือข่ายชาติพันธ์ลำปาง
  25. เครือข่ายกะเหรี่ยงภาคเหนือศูนย์ข้อมูลและวิจัยเพื่อการพัฒนาลุ่มน้ำแม่ตาว
  26. กลุ่มศิลปินกะเหรี่ยงเชียงใหม่
  27. งามศุกร์ รัตนเสถียร สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
  28. มาลี สิทธิเกรียงไกร  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  29. ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  30. ลัดดาวัลย์ ตันติวิทยาพิทักษ์
  31. ณัฐวัฒน์ กฤตยานวัช มหาวิทยาลัยบูรพา
  32. ดร. สุชาติ เศรษฐมาลินี มหาวิทยาลัยพายัพ
  33. พรสุข เกิดสว่าง มูลนิธิเพื่อนไร้พรมแดน
  34. กุศล พยัคฆ์สัก นักวิจัยวิจัยอิสระ
  35. ดำรงค์ สุขทวี นักวิจัยอิสระ
  36. สมพงษ์ หนึ่งแสน นักวิจัยอิสระ
  37. สุลักษณ์ ปุ๊คแค นักวิจัยอิสระ
  38. ชาญคณิต อาวรณ์ นักวิจัยอิสระ
  39. ดร.ชยันต์ วรรธนะภูติ ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์ และการพัฒนา คณะสังคมศาสตร์ ม.เชียงใหม่
  40. ภัทรมน สุวพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  41. บุษยรัตน์ กาญจนดิษฐ์ นักวิชาการสถาบันส่งเสริมภาคประชาสังคม
  42. ผศ.ดร.ชาญชัย จิตรเหล่าอาภรณ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  43. ผศ.ดร.โอฬาร ถิ่นบางเตียว  คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  44. ผศ.ดร.รุ้งนภา ยรรยงเกษมสุข คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  45. ชนาง อำภารักษ์
  46. ธรธรร การมั่งมี
  47. ไพรินทร์ เสาะสาย
  48. ธนกฤต โต้งฟ้า
  49. อารีวัณย์ สมบูรณ์พัฒนกุล
  50. วรวรรณ ศุกร์
  51. พิมพกา โตวิระ ผู้กำกับภาพยนตร์
  52. วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา นักเขียน
  53. ณัฐปคัลภ์ เข็มขาว
  54. สมภพ ดอนดี วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต
  55. อนุสรณ์ ศรีแก้ว วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  56. เพ็ญพิศ ชงักรัมย์ ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  57. ธีรพันธ์ สาตราคม ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  58. นครินทร์ มานะบุญ ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  59. วิศรุต แสนคำ ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  60. อาทิตย์ แผ่บุญ ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  61. นันท์นภัส เมืองวงษ์ ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  62. รินทกานต์ สจี ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  63. ภาวิณี หงส์เผือก ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  64. วิจิตรา จันทวงศ์ ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  65. อำภา วูซือ ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  66. อุกฤษฏ์ จอมยิ้ม ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  67. ปิชญา ตะนอย ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  68. ปี จองอู ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  69. ศิราพร แป๊ะเส็ง ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  70. ดรุณี สิงห์พงไพร ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  71. อะมีมะ แซ่จู ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  72. รัตนา ด้วยดี ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  73. ธนวัฒน์ ปาลี ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  74. ชลาลัย นาสวนสุวรรณ ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  75. สมคิด แสงจันทร์ ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  76. กนกวรรณ มีพรหม ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  77. ซูลอัซรี มะสะพันธ์ ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  78. สุนี ไชยรส วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต
  79. พฤ โอโดเชา นักกิจกรรมชาวกะเหรี่ยง
  80. ทองดี ธุระวร วัชพืชหลังเขา
  81. วิทูรย์ แจ่มรัตนสุวรรณ
  82. คือพอ ลูกทุ่งปาเกอญอ
  83. จุ๊ย เตหน่ากู
  84. ดิปุ๊นุ เดปอทู
  85. มนตรี พิมพันธ์
  86. ชาตรี พิมพันธ์
  87. ศักดิ์ เกอญอแบนด์
  88. จิตร โพธิ์แก้ว
  89. ชญานิน เตียงพิทยากร
  90. ชยานันต์ ปัญญาคง
  91. ไชยวัฒน์ ตระการรัตน์สันติ
  92. ญาณพัฒน์ ไพรมีทรัพย์ กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากการปนเปื้อนสารแคดเมียมตำบลพระธาตุผาแดง แม่สอด ตาก
  93. ณัฐธัญ กรุงศรี ตะโกนฟิล์ม
  94. ดาโพ มรดกพนา นักศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต
  95. ทนงศักดิ์ ม่อนดอก จ.เชียงใหม่
  96. ธนพงษ์ หมื่นแสน
  97. ธนภูมิ มณีชาติ วันนี้วันดี โปรดักชั่น จำกัด
  98. ธีรภัทร ศรีวิชัย
  99. นิรมล นะซอ จ.เชียงราย
  100. วิมล โชติสกุลเลิศ เชียงราย
  101. ชลธิรา ปัญญา
  102. ดวงดี แซะวา กาญจนบุรี
  103. กิตติ กาทู เชียงราย
  104. ดิเกาะบู สุริยะชัยพันธุ์
  105. พนม ดิพอ
  106. สมศักดิ์ สุริยมณฑล
  107. สุรพันธุ์ สมสีดา สังกัดอาศรม Love&Peace
  108. มานพ. คีรีภูวดล
  109. ไมตรี จำเริญสุขสกุล กลุ่มรักษ์ลาหู่
  110. ราเชนทร์ ทาวารี
  111. ศิราพร แก้วสมบัติ
  112. ศิววงศ์ สุขทวี
  113. สุทธิชัย เกษมสุขพูนวัตถุ
  114. สุวิชาน พัฒนาไพรวัลย์ กรูนานา ครีเอทีฟ
  115. อรุณกร พิค
  116. อัญชรา รักชาวไร่ ตาก
  117. ด.ร. วรวรรณ ศุภฤกษ์ นักรณรงค์ด้านสิทธิมนุษยชน
  118. ธีรชัย ไพศาลเจริญเลิศสกุล นักรณรงค์และกิจกรรมเพื่อกลุ่มชาติพันธุ์
  119. อารีวรรณ อริยสมบัติ นักกิจกรรมรณรงค์เพื่อกลุ่มชาติพันธุ์

 

[1] ข้อ 16  ในเอกสาร CERD/C/THA/CO/1-3 ข้อสังเกตเชิงสรุปของคณะกรรมการว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ เผยแพร่วันที่31สิงหาคม2555

​******************************************************

Joint Statement

Drop civil and criminal charges against Kaeng Krachan ethnic Karens
In the wake of the Supreme Administrative Court’s verdict which finds government officials’ act unlawful and requires government to offer compensation
The burning of houses belonging to Grandpa Ko-I and ethnic Karen community by the authorities

During 25-31 October 2018, it has been widely reported that the Director General of the Department of National Park, Wildlife and Plant Conservation had instructed his officials to report the case with the Kaeng Krachan Police Station, Kaeng Krachan District, Phetchaburi against ethnic Karens including descendants of Mr. Ko-i Mimi, aka Grandpa Ko-I and five other persons. The villagers are accused of occupying land in the National Park in Ban Bangkloy Bon Jai Phaen Din which has been included as part of the Kaeng Krachan National Park.

The legal action has been taken in response to an incidence in 2012 when Grandpa Ko-i and five other ethnic Karens in Ban Bangkloy Bon Jai Phaen Din have filed the case against the Department of National Park, Wildlife and Plant Conservation, defendant no. 1 and Ministry of Natural Resources and Environment, defendant no. 2 with the Central Administrative Court in the Black Case no. S58/2555. It was an attempt to defend their community rights and indigenous rights and the case has attracted public attention in nearly the past ten years. The six plaintiffs alleged that in 2011, during the Operation Tanaosri, the officials of the Kaeng Krachan National Park had forcefully evicted them from their land in Ban Bangkloy Bon Jai Phaen Din, the community in which they had been living and earning their life for generations. The officials had also set fire to destroy houses, rice barns and farmland belonging to them and dozens of other fellow villagers. The government officials claimed such houses and farmland were located inside the Kaeng Krachan National Park. After nearly a decade of trial, the Supreme Administrative Court in its final verdict in the Red Administrative Case no. OS 4/2561 on 12 June 2018 found that even though Ban Bangkloy Bon Jai Phaen Din was located inside the Kaeng Krachan National Park, it had to be treated as a traditional community of the ethnic Karens (Paganyaw). The acts of the government officials including the demolition and burning of properties and buildings that belonged to the ethnic Karens and their failure to act in line with the cabinet resolution on 3 August 2010 regarding the policy for the restoration of the traditional way of life of the ethnic Karens including a recommendation to suspend any arrest and to protect the ethnic Karens, were deemed by the Court as unlawful and a breach of administrative law. Therefore, the defendants were required to provide Grandpa Ko-I and five other plaintiffs about 50,000 baht each as compensation (the full verdict ) Nevertheless, during the operation, nearly 100 houses were burned to the ground and the ethnic Karens who own the houses have yet to file the case against the authorities with the Administrative Court.

After the verdict was delivered by the Supreme Administrative Court, concerned authorities have, however, failed to move toward compensating and protecting a number of ethnic Karens in Ban Bangkloy Bon Jai Phaen Din who had been affected by the violations of the government officials. Such compensation should include the restoration of their community rights and their being allowed to return and live in Ban Bangkloy Bon Jai Phaen Din to maintain their traditional way of life in line with their community rights and human rights. Instead, citing the instruction from their Director General, some officials of the Department of National Park proceed to report the case with the Kaeng Krachan Police Station against Grandpa Ko-I and five other plaintiffs accusing them of encroaching and occupying the land inside the Kaeng Krachan National Park, the incidence of which had taken place before the authorities had forcibly removed Grandpa Ko-I and other ethnic Karens from Ban Bangkloy Bon Jai Phaen Din and burned their houses and farmland in 2011.

That the Supreme Administrative Court rules the Kaeng Krachan ethnic Karens in Ban Bangkloy Bon Jai Phaen Din live as a traditional community indicates that the community is entitled to constitutional protection. In addition, they should enjoy protection as provided for by the cabinet resolution on 3 August 2010 regarding the policy for the restoration of the traditional way of life of the ethnic Karens. The Court also found the acts of the government officials unlawful, including the burning of ethnic Karens’ houses, rice barns, farmland, in a project to expand the forced eviction of ethnic minorities from Kaeng Krachan National Park along the Thailand-Myanmar border and in Ban Bangkloy, Kaeng Krachan District, Phetchaburiin 2011. It demonstrates that by living and utilizing national resources in Ban Bangkloy Bon Jai Phaen Din, Grandpa Ko-I and his ethnic Karens descendants have been exercising their constitutional rights in line with the cabinet resolution on 3 August 2010. It is not a destruction of natural resources as claimed by the Department of National Park. Such allegation has, however, been cited as a reason to file both civil and criminal suits against Grandpa Ko-I and ethnic Karens. The ethnic Karens have been living legitimately in the area and enjoy their constitutional rights.

The stories of the ethnic Karens in Ban Bangkloy Bon Jai Phaen Din have gained much traction, particularly when Porlajee “Billy” Rakchongcharoen, Grandpa Ko-I’s nephew and leading activist who protected the rights of ethnic Karens in Ban Bangkloy, Kaeng Krachan District, Phetchaburi had disappeared on 17 April 2014, after being held in custody by officials of the Kaeng Krachan National Park (for more information)

The human rights organizations have found an attempt by some officials of the Department of National Park to report the case against Grandpa Ko-I and five other ethnic Karens who were plaintiffs in an administrative case by referring to an incidence that took place ten years ago, apart from demonstrating their defiance to the verdict of the Supreme Administrative Court, may constitute an attempt to harass, intimidate, and threaten in order to prevent dozens other ethnic Karens whose properties had been destroyed to come out and demand justice like what Grandpa Ko-i had done. It is also an attempt to obstruct access to justice of the people.

The human rights organizations question the integrity of the officials as far as their performance of duties is concerned since the ethnic Karen community is supposed to enjoy protection according to the Thai Constitution and international human rights law. In particular, Thailand is a party to the International Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination which places an importance on traditional and indigenous community in forested area. The Committee has urged the Thai authorities to review relevant forestry laws in order to ensure respect for ethnic groups’ way of living, livelihood and culture of the ethnic group.[1]

In light of the problems and the above reasons, the human rights organizations demand the following from the government and concerned authorities; 

  1. The Department of National Park, Wildlife and Plant Conservation should act strictly in compliance with the verdict of the Supreme Administrative Court.
  2. The authorities should immediately bring to a halt any attempt to prosecute, in civil and criminal suit, against Grandpa Ko-I and five other ethnic Karens who had filed the case with the Administrative Court, as well as other ethnic Karens in Ban Bangkloy Bon Jai Phaen Din.
  3. The Department of National Park should offer compensation to the ethnic Karens in Ban Bangkloy Bon Jai Phaen Din whose houses, rice barns and farmlands had been burned down during the Operation Tanaosri a decade ago in line with the verdict of the Supreme Administrative Court in the Red Administrative Case no. OS 4/2018.
  4. The government and the Department of National Park should offer protection and help to restore and rehabilitate the ethnic Karens in Ban Bangkloy Bon Jai Phaen Din by restoring for them their community rights. They should be allowed to return to live in Ban Bangkloy Bon Jai Phaen Din to maintain their traditional way of life strictly according to the cabinet resolution on 3 August 2010 regarding the policy for the restoration of the traditional way of life of the ethnic Karens.
  5. The Department of National Park, government officials and the government should repeal regulations, rules, ordinances, measures and practices which discriminate against the ethnic Karens in Ban Bangkloy Bon Jai Phaen Din and other indigenous groups according to Thailand’s obligation to the International Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination and human rights principles.

With Respect to Human Dignity

  1. Network of Indigenous Peoples in Thailand (NIPT)
  2. Regional Center for Social Science and Sustainable Development, Faculty Of Social Sciences ChiangMai University
  3. Center for Ethnic Studies and Development, Chiang Mai University
  4. “RAK BAN KERD” Group, Nam Plik, Muang Amnaj Charoen, Amnat Charoen
  5. Isan Land Reform Network
  6. Thai Development Support Center, NGO COD
  7. Highland Peoples Taskforce
  8. ENLAWTHAI Foundation [EnLAW]
  9. Community Resource Centre Foundation (CRC)
  10.  Federation for assistance to Mons communities
  11. Human Rights Lawyers Association (HRLA)
  12. Cross Cultural Foundation (CrCF)
  13. Center for Protection and Revival of Local Community Rights (CPCR)
  14. Local Development Foundation
  15. Karen Network for Culture and Environment (KNCE), Tanaosri region
  16. Union for Civil Liberty [UCL]
  17. Campaign Committee for Human Rights (CCHR)
  18. Academic Network for Ethnic and Cross-Border Development
  19. The Hill Are and Community Development Foundation
  20. Ngamsuk Rattanasatian, Institute of Human Rights and Peace Studies
  21. malee sitthikriengkrai, Chiang Mai University
  22. Chainarong Setthachua, Mahasarakham University
  23. Laddawan Tantivitayapitak
  24. Nattawat Krittayanawat, Burapha University
  25. Dr. Suchart Setthamalinee, Payap University
  26. Pornsuk  Koetsawang, Friends Without Borders Foundation
  27. Kusol Payaksak, Independent Scholar
  28. Damrong Sooktawee, Independent Scholar
  29. Sompong Nuengsan, Independent Scholar
  30. Sulak Pudcare, Independent Scholar
  31. Chankhanit Arvorn, Independent Scholar
  32. Dr.Chayan Vaddhanaphuti, Center for Ethnic Studies and Development, ChiangMai University.
  33. Pattaramon Suwapan, Faculty of Political Science , Rangsit University
  34. Busayarat Kanjanadit, Civil Society Empowerment Institution
  35. Asst. Prof. Dr. Chanchai chitlaoarporn, Faculty of Political Science ,Rangsit University
  36. Asst. Prof. Dr. Olarn Thinbangtieo, Faculty of Political Science and Law, Burapha University
  37. Rungnapa Yanyongkasemsuk, Faculty of Political Science and Law, Burapha University
  38. Cha nang Amparak
  39. Thornthan Kanmangmee
  40. Teerachai Sanjaroenkijthawon
  41. Phairin Sohsai
  42. Thanakrit Thongfa
  43. Areewan Somboonpatanakul
  44. Wora Suk, Earthrights International USA
  45. Pimpaka Towira, Director
  46. Wiwat Lertwiwatwongsa, Writer
  47. Natpakan Khemkhaw
  48. Somphob Dondee, College of Social Innovation, Rangsit University
  49. Anusorn Srikaew, College of Communication Arts, Rangsit University
  50. Penpit Changakrum, Center for Ethnic Studies and Development, Chiang Mai University
  51. Teerapan Sattrakom, Center for Ethnic Studies and Development, Chiang Mai University
  52. Nakarin Manaboon, Center for Ethnic Studies and Development, Chiang Mai University
  53. Wisarut Sankum, Center for Ethnic Studies and Development, Chiang Mai University
  54. Artit Paeboon, Center for Ethnic Studies and Development, Chiang Mai University
  55. Nannapat Muangwong, Center for Ethnic Studies and Development, Chiang Mai University
  56. Rintakan Sajee, Center for Ethnic Studies and Development, Chiang Mai University
  57. Pawinee Hongpueak, Center for Ethnic Studies and Development, Chiang Mai University
  58. Wijittra Juntawong, Center for Ethnic Studies and Development, Chiang Mai University
  59. Ampa Woo-sue, Center for Ethnic Studies and Development, Chiang Mai University
  60. Ugrid Jomyim, Center for Ethnic Studies and Development, Chiang Mai University
  61. Pichaya Tanoi, Center for Ethnic Studies and Development, Chiang Mai University
  62. Pee Jong-ou, Center for Ethnic Studies and Development, Chiang Mai University
  63. Siraporn Paeseng, Center for Ethnic Studies and Development, Chiang Mai University
  64. Darunee Singpongpai, Center for Ethnic Studies and Development, Chiang Mai University
  65. Amema Saeju, Center for Ethnic Studies and Development, Chiang Mai University
  66. Rattana Duaydee, Center for Ethnic Studies and Development, Chiang Mai University
  67. Tanawat  Palee, Center for Ethnic Studies and Development, Chiang Mai University
  68. Chalalai Nasuansuwan, Center for Ethnic Studies and Development, Chiang Mai University
  69. Somkid Sangjan, Center for Ethnic Studies and Development, Chiang Mai University
  70. Kanokwan Meeprom, Center for Ethnic Studies and Development, Chiang Mai University
  71. Sul ussaree Masapan, Center for Ethnic Studies and Development, Chiang Mai University

[1] Article 16 of CERD/C/THA/CO/1-3, Concluding Observation of the Committee on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination, published on 31 August 2012

​​