จดหมายเปิดผนึกถึงศาลทหาร : กรณีให้ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนลบข้อมูลเกี่ยวกับคำเบิกความพยานจากเว็บไซต์

จดหมายเปิดผนึกถึงศาลทหาร : กรณีให้ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนลบข้อมูลเกี่ยวกับคำเบิกความพยานจากเว็บไซต์

[English Below]

จดหมายเปิดผนึก

วันที่  7  พฤศจิกายน พ.ศ.  2561

เรื่อง    ขอให้ทบทวนการใช้อำนาจศาลทหารกรุงเทพ กรณีการให้ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนลบข้อมูลเกี่ยวกับคำเบิกความพยานจากเว็บไซต์

เรียน    เจ้ากรมพระธรรมนูญ

หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร

ตุลาการพระธรรมนูญหัวหน้าศาลทหารกรุงเทพ

สืบเนื่องจากที่ศาลทหารกรุงเทพได้ทำการไต่สวนนายอานนท์ นำภา ทนายความ เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2561 จากกรณีที่เว็บไซต์ของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ได้เผยแพร่คำเบิกความพยานในคดีฐนกร (สงวนนามสกุล) ซึ่งถูกดำเนินคดีในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 จากการแชร์ผังทุจริตในโครงการก่อสร้างอุทยานราชภักดิ์ และข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จากการกดไลค์เพจที่มีข้อความหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ และโพสต์เสียดสีคุณทองแดง สุนัขทรงเลี้ยง โดยศาลทหารเห็นว่าข้อมูลดังกล่าวมาจากเอกสารที่นายอานนท์ขอคัดถ่ายไปจากศาล  จากการไต่สวน ศาลทหารกรุงเทพเห็นว่าการเผยแพร่คำเบิกความดังกล่าวอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อรูปคดี และเกิดผลกระทบต่อพยานที่มาเบิกความเป็นพยานต่อศาล จึงมีคำสั่งให้นายอานนท์แจ้งศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนให้ลบข้อมูลดังกล่าวจากเว็บไซต์ภายใน 24 ชั่วโมง และห้ามมิให้บุคคลหรือองค์ใดนำคำเบิกความพยานและการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลในคดีนี้ไปลงเผยแพร่ในสื่อทุกชนิด มิฉะนั้นจะถือว่าเป็นการละเมิดอำนาจศาล
.

ทั้งนี้ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ไม่ได้มีการดำเนินการลบข้อความดังกล่าวออกจากเว็บไซต์แต่อย่างใด เพราะเห็นว่าการเผยแพร่ข้อความพยานดังกล่าวไม่ใช่การกระทำที่เข้าข่ายจะเป็นการละเมิดอำนาจศาล (อ่านแถลงการณ์ของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน) และเห็นว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงยื่นคำร้องขอเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบและคำร้องขอทุเลาการบังคับตามคำสั่งต่อศาลทหารกรุงเทพในวันที่ 4 ตุลาคม 2561 แต่ศาลทหารกรุงเทพได้มีคำสั่งยกคำร้องขอเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบดังกล่าว  อย่างไรก็ตาม นับแต่นั้นเป็นต้นมา ศาลทหารกรุงเทพก็ยังไม่ได้มีการดำเนินมาตรการบังคับใดๆต่อนายอานนท์ นำภา และศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน (อ่านข้อมูลเพิ่มเติม)
.

อย่างไรก็ดี องค์กรและบุคคลผู้มีรายชื่อแนบท้ายจดหมายเปิดผนึกฉบับนี้ ยังคงมีความห่วงกังวลต่อการบังคับใช้กฎหมายในลักษณะดังกล่าว เพราะวันที่ 8 พฤศจิกายน 2561 ที่จะถึงนี้ จะมีการพิจารณาคดีนายฐนกร ซึ่งเป็นคดีที่นำมาสู่การไต่สวนนายอานนท์ นำภา และให้ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนลบข้อความคำเบิกความพยานออกจากเว็บไซต์องค์กร โดยอ้างฐานความผิดละเมิดอำนาจศาลดังที่กล่าวมา ซึ่งมีแนวโน้มที่ศาลทหารกรุงเทพอาจจะมีการดำเนินมาตรการบังคับหรือมีการดำเนินคดีข้อหาละเมิดอำนาจศาลต่อนายอานนท์ นำภาและศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
.

องค์กรและบุคคลผู้มีรายชื่อแนบท้ายจดหมายเปิดผนึกฉบับนี้ จึงมีความเห็นเพื่อขอให้ศาลทหารกรุงเทพทบทวนการบังคับใช้ข้อหาละเมิดอำนาจศาลต่อกรณีดังกล่าว ดังนี้
.

1) การเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการพิจารณาคดีในศาล รวมถึงคำเบิกความพยานเป็นสิ่งที่พึงกระทำได้ตามหลักการพิจารณาคดีโดยเปิดเผย เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและเพื่อให้ประชาชนในฐานะเจ้าของอำนาจอธิปไตยได้ร่วมตรวจสอบการพิจารณาคดีของศาลได้ และเป็นหลักประกันสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีที่เป็นธรรม ตามที่กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ข้อ 14 (1) รับรองไว้  และการจำกัดสิทธิ สามารถทำได้ด้วยเหตุผลทางศีลธรรม ความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือความมั่นคงของชาติ หรือเพื่อความจำเป็นเกี่ยวกับส่วนได้เสียในเรื่องชีวิตส่วนตัวของคู่กรณี หรือในสภาพการณ์พิเศษซึ่งศาลเห็นว่าจำเป็นอย่างยิ่ง เมื่อการพิจารณาโดยเปิดเผยนั้นอาจเป็นการเสื่อมเสียต่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมเท่านั้น
.

คดีของนายฐนกรดังกล่าว เป็นการพิจารณาคดีโดยเปิดเผย และศาลทหารไม่ได้มีคำสั่งหรือวางข้อกำหนดห้ามประชาชนมิให้เข้าฟังการพิจารณา และไม่ได้ห้ามมิให้มีการเปิดเผยซึ่งข้อเท็จจริง หรือพฤติการณ์ต่างๆ ทั้งหมด หรือแต่บางส่วนแห่งคดีซึ่งปรากฏจากคำคู่ความหรือคำแถลงการณ์ของคู่ความหรือจากคำพยานหลักฐานที่ได้สืบมาแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 36 (1) หรือ (2)  ซึ่งศาลทหารเพิ่งออกคำสั่งให้ลบข้อมูลและห้ามเผยแพร่ภายหลังจากที่มีการเผยแพร่สรุปคำเบิกความไปแล้ว ทั้งที่การเผยแพร่ดังกล่าว ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงหรือเหตุผลในทางกฎหมายตามมาตรา 36 (1) หรือ (2) แต่อย่างใด   การห้ามเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการพิจารณาคดีโดยปราศจากข้อเท็จจริงและเหตุผลตามกฎหมายที่ชัดเจนดังกล่าว ย่อมกระทบต่อหลักการพิจารณาคดีโดยเปิดเผยต่อสาธารณะ และกระทบต่อเสรีภาพในการแสดงออก การแสวงหา รับและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ซึ่งถูกรับรองไว้ในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ข้อ 14, 19 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 34 โดยสิทธิดังกล่าวมีความสำคัญและส่งเสริมให้เกิดการพัฒนากระบวนการยุติธรรม ความโปร่งใสและความรับผิดชอบของระบบตุลาการ และนำไปสู่การปกป้องสิทธิและเสรีภาพของประชาชน
.

2) ศาลทหาร เป็นองค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการเช่นเดียวกับศาลอื่นๆ แต่ถูกจำกัดอำนาจหน้าที่ให้พิจารณาพิพากษาเฉพาะคดีอาญาทหาร หรือคดีที่ทหารกระทำผิดหรือมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาที่มีโทษจำคุก แต่ภายหลังการรัฐประหารปี 2557 ศาลทหารมีอำนาจพิจารณาคดีพลเรือน จึงเกิดคำถามเกี่ยวกับการพิจารณาพิพากษาคดีพลเรือนว่าศาลทหารจะมี “ความเป็นอิสระ” ในการพิจารณาพิพากษาคดีหรือไม่ เพียงใด เมื่ออยู่ภายใต้โครงสร้างและการบริหารงานเดียวกันกับฝ่ายบริหาร
.

อย่างไรก็ตาม  แม้โครงสร้างของศาลทหารจะเป็นเช่นนั้น การพิจารณาพิพากษาคดีย่อมต้องอยู่ภายใต้หลักความเป็นอิสระ และปราศจากการแทรกแซง การที่ศาลทหารมีคำสั่งในคำร้องขอให้เพิกถอนกระบวนการพิจารณา โดยวินิจฉัยว่าการนำคำเบิกความของพยานไปเผยแพร่ให้บุคคลทั่วไปทราบ ย่อมมีผลต่อการชี้นำสังคมให้รูปคดีเป็นไปตามที่ฝ่ายตนต้องการ และส่งผลกระทบต่อการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาล ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 36 (2) ทั้งที่เนื้อหาคำเบิกความที่มีการเผยแพร่นั้นไม่มีส่วนใดที่กระทบต่อศีลธรรม ความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือความมั่นคงของชาติในสังคมประชาธิปไตยหรือส่วนได้เสียในเรื่องชีวิตส่วนตัวของคู่กรณี  อีกทั้ง การเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวย่อมไม่สามารถชี้นำสังคมหรือส่งผลใดๆ ต่อการพิจารณาคดีของศาลจนทำให้เสียความยุติธรรมไป และยังไม่ถึงขั้นที่จะก่อภยันตรายที่ชัดแจ้งและใกล้จะถึงต่อการบริหารความยุติธรรมของศาลได้  คำสั่งข้างต้นย่อมแสดงให้เห็นถึงความอ่อนไหวต่อการวิพากษ์วิจารณ์และการแสดงความคิดเห็นของสาธารณชน ซึ่งศาลทหารในฐานะที่ใช้อำนาจตุลาการพึงทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีด้วยความหนักแน่นมั่นคงไปตามหลักกฎหมาย  พยานหลักฐานและข้อเท็จจริงที่ได้จากทางนำสืบของคู่ความ ปราศจากอคติทั้งปวง และเป็นอิสระและไม่ถูกแทรกแซงจากกระแสสังคมด้วย
.

นอกจากนี้ คำสั่งในลักษณะดังกล่าว รวมถึงการห้ามเผยแพร่สรุปคำเบิกความของพยานที่เป็นเจ้าหน้าที่ทหาร และการเตรียมการดำเนินคดีกับนายอานนท์ นำภา และศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ซึ่งมีบทบาทโดดเด่นในการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนที่เป็นคู่ขัดแย้งกับฝ่ายทหารหรือเจ้าหน้าที่รัฐ อาจถูกตั้งคำถามได้ถึงบทบาทที่เหมาะสมในฐานะผู้ใช้อำนาจตุลาการ ที่อาจส่งผลกระทบหรือส่งผลเป็นการยับยั้งการทำหน้าที่เพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติหน้าที่ของทนายความได้
.

ด้วยเหตุผลและหลักกฎหมายดังกล่าวข้างต้น บุคคลผู้มีรายชื่อแนบท้ายจดหมายเปิดผนึกฉบับนี้ จึงมีข้อเรียกร้องต่อศาลทหารกรุงเทพ ดังต่อไปนี้
.

  1. เคารพสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีโดยเปิดเผย เสรีภาพในการแสดงออก และการทำหน้าที่ของทนายความและองค์กรสิทธิมนุษยชนเพื่อส่งเสริมความยุติธรรมและปกป้องสิทธิมนุษยชน
    .
  2. ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล ไม่ควรถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางจนกระทบต่อหลักการพิจารณาคดีที่เปิดเผยและหลักสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรม และควรอยู่ภายใต้ขอบเขตของกฎหมายซึ่งมีเจตนารมณ์เฉพาะเพื่อให้กระบวนการยุติธรรมเป็นไปโดยเรียบร้อยและไม่ถูกขัดขวางเท่านั้น
    .
  3. ในฐานะองค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการ ศาลทหารพึงพิจารณาพิพากษาคดีด้วยความหนักแน่นมั่นคงไปตามหลักกฎหมาย พยานหลักฐานและข้อเท็จจริงที่ได้จากทางนำสืบของคู่ความ ปราศจากอคติทั้งปวง และเป็นอิสระ  ไม่ถูกแทรกแซงจากกระแสสังคม และอำนาจบังคับบัญชา
    .
  4. ศาลทหารควรทบทวนบทบาทตนเองในการพิจารณาคดีต่อพลเรือน โดยต้องยกเลิกการนำพลเรือนขึ้นศาลทหารทันที และโอนคดีพลเรือนที่ค้างการพิจารณาอยู่ในศาลทหารไปยังศาลยุติธรรมโดยเร็ว

ด้วยความเคารพในสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

  1. สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
  2. มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
  3. สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.)
  4. Advocates for Freedom of Expression-Southeast Asia (AFEC-SEA)
  5. Center for International Law Philippines (Center Law Philippines)
  6. Legal Aid Center for the Press (LBH Pers Indonesia)
  7. สุมิตรชัย หัตถสาร ทนายความ
  8. แสงชัย รัตนเสรีวงศ์ ทนายความ
  9. สมชาย หอมลออ ทนายความ
  10. รัษฎา มนูรัษฏา ทนายความ
  11. เลาฟั้ง บัณฑิตเทิดสกุล ทนายความ
  12. ศราวุฒิ ประทุมราช นักกฎหมาย
  13. ส.รัตนมณี พลกล้า ทนายความ
  14. สุรชัย ตรงงาม ทนายความ
  15. พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ
  16. จันทร์จิรา จันทร์แผ้ว ทนายความ
  17. คอรีเยาะ มานุแช ทนายความ
  18. กฤษดา ขุนณรงค์ ทนายความ
  19. สุพรรษา มะเหร็ม ทนายความ
  20. อธิวัฒน์ เส้งคุ่ย ทนายความ
  21. ผรัณดา ปานแก้ว ทนายความ
  22. พนม บุตะเขียว ทนายความ
  23. สุริยง คงกระพันธ์ ทนายความ
  24. วราภรณ์ อุทัยรังษี ทนายความ
  25. สนธยา โคตรปัญญา
  26. ณัฐาศิริ เบิร์กแมน ทนายความ
  27. สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์
  28. ทิพพวรรณ ถิ่นมะลวน ทนายความ
  29. ณัฐชัตยากร กัญฐณา ทนายความ
  30. ทิตศาสตร์ สุดแสน
  31. ศุภมาศ มะละสี ทนายความ
  32. บัณฑิต หอมเกษ
  33. พรพิมล มุกขุนทด
  34. ยุพิน เขียวขำ ทนายความ
  35. อนุชา วินทะไชย
  36. คุณัญญา สองสมุทร ทนายความ
  37. สัญญา เอียดจงดี ทนายความ
  38. อัมรินทร์ สายจันทร์ ทนายความ
  39. วีรวัฒน์ อบโอ ทนายความ
  40. ศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ ทนายความ
  41. ลดา ตรีศักดิ์ศรีสกุล ทนายความ
  42. สุรศิษฏ์ เหลืองอรัญนภา ทนายความ
  43. อุบลวรรณ บุญรัตนสมัย นักกฎหมาย
  44. ธีรพันธุ์ พันธุ์คีรี ทนายความ
  45. ปรีดา นาคผิว ทนายความ
  46. ปภพ เสียมหาญ นักกฎหมาย
  47. กาญจนา อัครชาติ ทนายความ
  48. พนิตพิชา ใต้แสงทวีธรรม นักกฎหมาย
  49. ศศิประภา ไร่สงวน ทนายความ
  50. ยูฮานี เจ๊ะกา นักกฎหมาย
  51. มนัญญา พูลศิริ นักกฎหมาย
  52. สุธาทิพย์ อมปาน
  53. ณิชกานต์ จันทรภาพ นักกฎหมาย
  54. พิศาล เกิคควน นักกฎหมาย
  55. จริงจัง นะแส ทนายความ
  56. มนตรี อัจฉริยสกุลชัย นักกฎหมาย
  57. นภาพร สงปรางค์ ทนายความ
  58. สุทธิเกียรติ ธรรมดุล ทนายความ
  59. เติมพล ทองสุทธิ์ นักกฎหมาย
  60. ดนัยกฤต ศรีคาน ทนายความ
  61. วราภรณ์ อินทนนท์ นักกฎหมาย
  62. หทัยกานต์ เรณูมาศ
  63. ประดิษฐา ปริยแก้วฟ้า นักกฎหมาย
  64. วลีรัตน์ ชูวา นักกฎหมาย
  65. ธรธรร การมั่งมี นักกฎหมาย
  66. วรวุธ ตามี่ นักกฎหมาย
  67. อัญญาณี ไชยชมภู นักกฎหมาย
  68. มนทนา ดวงประภา
  69. Gilbert Andres, the Chairperson of AFEC-SEA and Deputy Executive Director of Center Law Philippines.
  70. Ade Wahyudin, Lawyer of Legal Aid Center for the Press (LBH Pers Indonesia)

***************************************************************************************************************************

Open Letter to the Military Court

Using the allegation of contempt of the court to inquest on a TLHR lawyer and order TLHR to remove the information of the witness affidavit from the website

On the 3rd October 2018, the Military Court of Bangkok has made an inquest on Mr. Anon Nampa, Esq, after the Thai Lawyers for Human Rights published an online article covering a witness examination in Mr. Thanakorn (Last-name withheld for security and privacy)’s litigation, in which Mr. Thanakorn disseminated Rajapakdi Graft Case infographic, liking and sharing information offending the late royal pet dog. The Military Court considered that the information was featured on a certain document Mr. Anon Nampa, the defendant’ s lawyer, requested for an official copy from an inquiry proceeding statement. The Military Court of Bangkok considered that the dissemination of the witness examination affidavit is likely to negatively affected the litigation and may affect other witnesses serving in the witness examination. the Military Court of Bangkok, thus, ordered Mr Anon the he must notify the Thai Lawyers for Human Rights to remove the information form the website within 24 hours.
.
Furthermore, the Military Court of Bangkok ordered that the aforesaid information shall not be publicized in any media. Any violation is considered contempt of the court. The following organizations and persons listed at the end of the open letter expressed grave concern on this manner of the legal enforcement. We considered that:
.
1. An act of publicizing information on the trial and witness examination affidavit is lawful, in conformity with the open trial principle. The dissemination of such information ensures that the trial is conducted in a transparent manner While promote citizen oversight in the judicial process, and the right for the general public to access trial related information. Ultimately, this will enshrine the right to fair trial under the International Covenant on the Civil and Political Rights (ICCPR), Article 14 (1). Reasonableness grounds to restrict the aforesaid right can only be done for a morality, public orders, national security, the protection of privacy of the other party in the litigation, or in a strict application based on an utmost necessity when the open court trial may injure the benefit to the justice.
.

The allegation that a person share the Rajapakdi Graft infographic on the social media, liking and offending the royal pet dog is trialed in an open court. The Military Court did not order an in camera trial or order a close trial, in which people are forbidden to observe. Further, the Military Court did not previously forbid disclosing the circumstances of the litigation, either the whole or partly, from the witness examination statement, witness examination affidavit, or previous witness and/or evidence examination, in accordance with the Civil Procedure Code Section 36 (1) or (2). However, the Military Court had ordered the removal of the information and prohibited the publication of the information after a brief witness examination has been published, albeit the publication did not ensue any legal ground under Section 36 (1) or (2). The prohibition of disclosing the trial information, without any valid reason or any legal ground, will negatively impact the freedom of expression, the right to receive, access, acquire, and disseminate information, the rights of which are guarantee under the ICCPR Article 19 and the 2017 Constitution of Thailand, Section 34. The rights significantly contribute the promotion of transparency and accountability in the judiciary, of which is a vital mechanism to protect the people’s rights and liberties.
.
2. The Military Court is a judicial body, similarly to other court. Nevertheless, the Military Court’s jurisdiction pertain only military criminal offenses, the litigation where a military official jointly committed or accomplices in a criminal offense under the Criminal Code, with a penalty involving an imprisonment. Nevertheless nevertheless, pursuant to the 2014 military coup, the Military Courts are vested with the power to trial civilian cases, thus, the whether and to what extent the Military Court is “independent” to trial civilians, when the Military Courts are under the same structure and the same administration as the executive body of the country. Eventually, despite the structure, the Military Court must conduct the trial under the principle of independence and non-interference. Replying to a motion to revoked the trial prosecute report, the Military Court ordered that the public dissemination of the trial procedure, by publicizing the witness examination affidavit, will disclose the trial to the public and will enable the party to manipulate the society to earn the result that the party wants in the trial. The Military Court further stated that such practice will negatively impact the trial, and the dissemination is an inappropriate practice under Civil Procedure Code, Section 36 (2), in spite the content published did not affect public morality, order, or the national security as a democratic society, or any impact on the private life of the parties. The publication of the witness examination summary did not direct social opinion or prejudice the trial that could damage the justice. The said order from the Military Court reflected its sensitivity to public criticism and expression. The Military Court which the judicial body should have exercised the authority with integrity and independence from prejudice and social pressure. The Military Court, as any Court is expected to deliver justice by adhering to legal principle, evidence, and fact obtained from witness examinations conducted by both parties’ legal representatives.
.
The trial information publication ban and removal order against a military official witness examination brief, and a sign that there is a preparation to prosecute Mr Anon Nampa and the Thai Lawyer of Human Rights, a prominent legal aid organization to dissidents in conflict with the military or the state. Thus, the Military Court could be questioned on its appropriate role as the judicial entity, of which its exercise of the authority may deter lawyers’ duty to protect human rights and may interfere with the legal professional practice.
.
We, the undersign, citing the rationale and legal principle above, have the following recommendations to the Military Court of Bangkok.
.
1. The Military Court should respect the right to open and transparent trials and the freedom of expression. The Military Court is urge to respect the legal professionals’ performance of their duty as well as respect the performance of any organisations that protect human rights;
.
2. The contempt of the court offense should bot be used broadly and vaguely, in as much as the charge will impede the open trial and human rights in the judicial process. The use of the contempt of the court charge should be strictly administered under the guidance of the law’s original intention to foster orderly justice process and prevent any obstruction of justice;
.
3. As a judicial body, The Military Court which the judicial body should have exercised the authority with integrity and independence from prejudice and pressure from the society and the hierarchal structure; and
.
4. The Military Court should reflect its role to trial civilians. It is recommended that civilians must not be trialled in a Military Court immediately. All pending civilians cases in the Military Courts must be transferred to Civilian Courts without delay.

With Respect to Human Rights, Liberties, and Human Dignity

Human Rights Lawyers Association (HRLA)
Cross Cultural Foundation (CrCF)
Union for Civil Liberty [UCL]
Advocates for Freedom of Expression-Southeast Asia (AFEC-SEA)
Center for International Law Philippines (Center Law Philippines)
Legal Aid Center for the Press (LBH Pers Indonesia)