แถลงการณ์

แถลงการณ์ หยุดดำเนินคดีกับทนายความที่ปฏิบัติหน้าที่ตามหลักวิชาชีพ

แถลงการณ์ การดำเนินคดีกับทนายความที่ปฏิบัติหน้าที่ตามหลักวิชาชีพ ถือเป็นการแทรกแซงการดำเนินคดีที่เป็นธรรมและขัดขวางการเข้าถึงความยุติธรรมของประชาชนอย่างร้ายแรง ภายหลังจากการยึดอำนาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) นอกจากจะมีกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมที่มีความพิเศษผิดไปจากระบบปกติแล้ว การปฏิบัติหน้าที่ของทนายความในการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ผู้ต้องหาหรือจำเลยก็ตกอยู่ในสภาวะยากลำบากด้วยเช่นกัน การดำเนินคดีถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการคุกคามการปฏิบัติหน้าที่ของทนายความ ซึ่งในช่วงที่ผ่านมามีทนายความอย่างน้อย 2 รายที่ถูกแจ้งความดำเนินคดี หนึ่งในนั้นคือนางสาวศิริกาญจน์ เจริญศิริ ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ซึ่งทำหน้าที่เป็นทนายความให้กับนักศึกษาขบวนการประชาธิปไตยใหม่ 14 คน ที่ถูกข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2558 และตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 ประกอบมาตรา 83 ทั้งนี้ นางสาวศิริกาญจน์ ถูกดำเนินคดีจากเหตุการณ์ที่เจ้าหน้าจะทำการตรวจค้นหาหลักฐานของ 14 นักศึกษาจากรถยนต์ของเธอ เมื่อช่วงกลางดึกวันนี้ 27 มิถุนายน 2558 แต่เธอและทีมทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนไม่ยินยอม เนื่องจากการตรวจค้นวัตถุพยานตามกฎหมายจะต้องกระทำในที่เกิดเหตุ หรือต้องมีหมายศาล และเธอได้เข้าแจ้งความฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบต่อเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง นี้จึงเป็นเหตุให้ต่อมาเธอถูกหมายเรียกให้เข้ารับทราบข้อกล่าวหาข้อหาแจ้งความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญา และข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงาน โดยในวันนี้ (27 กรกฎาคม) เธอจะเดินทางเข้าพบพนักงานอัยการตามหมายเรียกส่งตัวผู้ต้องหาเพื่อทำการสั่งคดี สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน เห็นว่า ทนายความมีบทบาทสำคัญในการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน เพื่อปกป้องและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของประชาชน โดยเฉพาะสิทธิในการเข้าถึงความยุติธรรม (the right to access to justice) และการดำเนินคดีที่เป็นธรรม (the right […]

แถลงการณ์ ขอให้ยุติการดำเนินคดีกับ 3 นักปกป้องสิทธิมนุษยชน จากกรณีเผยแพร่รายงานการซ้อมทรมานฯ

แถลงการณ์ ขอให้ยุติการดำเนินคดีกับ 3 นักปกป้องสิทธิมนุษยชน จากกรณีเผยแพร่รายงานการซ้อมทรมานฯ จากกรณีที่ กอ.รมน.ภาค 4 สน. แจ้งความดำเนินคดีในข้อหาร่วมกันหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาโดยเอกสารและความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 กับนายสมชาย หอมลออ นางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ และ นางสาวอัญชนา หีมมิหน๊ะ จากการเผยแพร่ “รายงานสถานการณ์การทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือย่ำยีศักดิ์ศรีในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ปี 2557-2558” เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2559 ที่ผ่าน โดยทั้งสามจะเดินทางเข้าพบพนักงานสอบสวน สภ.ปัตตานี ตามหมายเรียกในวันที่ 26 กรกฎาคม 2559 นี้ (วันพรุ่งนี้) ซึ่งองค์กรสิทธิฯที่มีรายชื่อท้ายแถลงการณ์นี้ขอให้กำลังใจกับนักสิทธิมนุษยชนทั้งสามคน และมีความเห็นต่อกรณีการแจ้งความดำเนินคดีดังกล่าว ต่อไปนี้ ประการแรก การจัดทำรายงานเป็นไปตามหลักวิชาการและมีมาตรฐาน กล่าวคือ การจัดทำรายงานสถานการณ์การทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือย่ำยีศักดิ์ศรีในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ปี 2557-2558 เป็นการทำงานร่วมกันหลายฝ่าย หลายภาคส่วน โดยมีกระบวนการดำเนินการที่เป็นวิชาการภายใต้หลักการสากลที่เรียกว่า “Istanbul Protocol” ซึ่งเป็นคู่มือสืบสวนสอบสวนและบันทึกข้อมูลหลักฐานกรณีการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือย่ำยีศักดิ์ศรีภายใต้การสนับสนุนของกองทุนเพื่อเหยื่อการทรมานแห่งสหประชาชาติ (United Nation Fund for […]

แถลงการณ์ ให้ยุติการปิดกั้นการใช้เสรีภาพในการแสดงออกและการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อร่างรัฐธรรมนูญ

แถลงการณ์ ให้ยุติการปิดกั้นการใช้เสรีภาพในการแสดงออกและการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อร่างรัฐธรรมนูญ ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันที่กำลังจะมีการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 นี้ แต่การรณรงค์ก่อนประชามติกลับเป็นไปอย่างจำกัดเนื่องจากการแสดงออกในทางโต้แย้งร่างรัฐธรรมนูญถูกปิดกั้น โดยเฉพาะมาตรการทางกฎหมาย โดยเจ้าหน้าที่รัฐภายใต้รัฐบาล คสช. ได้บังคับใช้มาตรา 61 วรรคสองพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2559 และข้อ 12. ของคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/2558 อย่างกว้างขวางเพื่อปิดกั้นกลุ่มที่ออกมาเคลื่อนไหวในทางที่ไม่เห็นด้วยหรือโต้แย้งร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติ ซึ่งการจับกุมนักกิจกรรม นักศึกษาและผู้สื่อข่าวรวม 5 รายที่ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2559 ที่ผ่านมา ถือเป็นกรณีล่าสุดที่แสดงให้เห็นถึงการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในทางที่ปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชน องค์กรสิทธิฯ นักกฎหมาย ทนายความและนักกิจกรรมที่มีรายชื่อปรากฏท้ายแถลงการณ์นี้ มีความกังวลต่อสถานการณ์การบังคับใช้กฎหมายที่เกิดขึ้นดังกล่าว จึงมีความเห็นและข้อเรียกร้องดังต่อไปนี้ 1. เสรีภาพในการแสดงออก เป็นสิทธิที่รับรองไว้ในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง ที่ประเทศไทยมีพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตาม ซึ่งกติกาฯดังกล่าวได้ประกันสิทธิของบุคคลทุกคนที่จะถือเอาความคิดเห็นใดๆโดยปราศจากการแทรกแซง และบุคคลทุกคนมีสิทธิในเสรีภาพแห่งการแสดงออก รวมถึงเสรีภาพที่จะแสวงหา รับและกระจายข่าวและความคิดเห็นทุกรูปแบบ เสรีภาพในการแสดงออก เป็นเงื่อนไขที่จำเป็นในการที่จะส่งเสริมความเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์และถือเป็นองค์ประกอบที่ขาดไม่ได้ในสังคมประชาธิปไตย เพราะเสรีภาพดังกล่าวจะเป็นกลไกสำคัญในการแลกเปลี่ยนซึ่งความคิดเห็นอันนำไปสู่การพัฒนาสังคมการเมือง ส่งเสริมให้เกิดความโปร่งใสและความรับผิดชอบของผู้ใช้อำนาจรัฐ และนำมาซึ่งการปกป้องสิทธิและเสรีภาพของประชาชนและสังคมโดยส่วนร่วม อีกทั้ง ยังเป็นเครื่องมือที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อการเปลี่ยนผ่านประเทศไปสู่ประชาธิปไตยและการปรองดองดังที่ คสช. กล่าวอ้างเป็นเหตุในการเข้ายึดอำนาจ […]

แถลงการณ์ ให้ยุติการปิดกั้นการใช้เสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมโดยสงบ และปล่อยตัวผู้ถูกควบคุมตัวโดยทันที

แถลงการณ์ ให้ยุติการปิดกั้นการใช้เสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมโดยสงบ และปล่อยตัวผู้ถูกควบคุมตัวโดยทันที สืบเนื่องจากกรณีที่เจ้าหน้าที่ทหารได้ทำการจับกุมควบคุมตัวนักกิจกรรมรวม 13 คน ที่จัดกิจกรรมแจกเอกสารรณรงค์ประชามติร่างรัฐธรรมนูญและเอกสารลงทะเบียนขอใช้สิทธิออกเสียงประชามตินอกพื้นที่ ที่ตลาดเคหะบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อช่วงเย็นของวันที่ 23 มิถุนายน 2559 พร้อมทั้งแจ้งข้อหาชุมนุมทางการเมืองเป็นจำนวน 5 คนขึ้นไปตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 3/2558 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2559 ซึ่งขณะนี้นักศึกษา 7 ใน 13 ราย ยังถูกควบคุมตัวภายในเรือนจำพิเศษกรุงเทพ อีกทั้ง ในช่วงสายของวันที่ 24 มิถุนายน 2559 เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ควบคุมตัวนักศึกษาและนักกิจกรรมอีก 7 คนที่จัดกิจกรรม “ปัดฝุ่นประชาธิปไตย” ณ อนุสาวรีย์ปราบกบฎ (หลักสี่) เพื่อเป็นการรำลึกถึงเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎร 24 มิถุนายน 2475 ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจได้แจ้งข้อหาทั้ง 7 คนในข้อหาขัดคำสั่ง คสช. ที่ 3/2558 และ พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 องค์กรสิทธิมนุษยชนตามที่ปรากฏรายชื่อแนบท้ายแถลงการณ์นี้ […]

สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนร่อนแถลงการณ์จี้ คสช.ยุติใช้ ม.44

วันนี้ (7 เม.ย.) สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ส่งแถลงการณ์ถึงสื่อมวลชน เรื่อง ขอให้ยกเลิกคำสั่งที่ 3/2558 ของ คสช. ยุติการใช้อำนาจโดยอาศัยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) ฯ มาตรา 44 ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้ออกคำสั่งที่ 3/2558 เรื่อง การรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของชาติ โดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 มาตรา 44 แทนการใช้กฎอัยการศึก ที่ยกเลิกไปเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558 ที่ผ่านมานั้น สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนเห็นว่า การประกาศใช้คำสั่งที่ 3/2558 ดังกล่าว ที่ให้อำนาจแก่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ มีอำนาจเหนืออำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการรวมถึงคำสั่งใดๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับบทบัญญัติข้างต้น ขัดต่อหลักการแบ่งแยกอำนาจ ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานสำคัญของการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย และขัดต่อหลักการพื้นฐานทางด้านสิทธิมนุษยชนด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ 1. การให้อำนาจแก่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติมีอำนาจเหนือ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ เป็นการรวบอำนาจแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ขัดต่อหลักนิติรัฐ ที่แบ่งแยกอำนาจเพื่อถ่วงดุล ป้องกันการใช้อำนาจปกครองตามอำเภอใจ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ สิทธิ์และเสรีภาพของประชาชน […]

1 2 3 4