แถลงการณ์

5 องค์กรสิทธิฯออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ยุติการจำกัดเสรีภาพในการชุมนุมของ We Walk เดินมิตรภาพ

แถลงการณ์ ให้ยุติการคุกคามและจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการชุมนุมโดยสงบ ขบวน “We Walk เดินมิตรภาพ” ของเครือข่าย People GO Network เผยแพร่วันที่ 24 มกราคม 2561 ตามที่เครือข่ายประชาชนในนาม People GO Network ได้จัดกิจกรรม “We Walk…เดินมิตรภาพ” เดินเท้าจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ถึงจังหวัดขอนแก่น ระหว่างวันที่ 20 มกราคม 2561–17 กุมภาพันธ์ 2561 เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงปัญหาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เกษตรกรรมและความมั่นคงทางอาหาร รัฐสวัสดิการและหลักประกันสุขภาพ ตลอดจนสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ โดยก่อนเริ่มกิจกรรมการเดิน เครือข่ายเครือข่ายประชาชนในนาม People GO Network ได้ดำเนินการแจ้งการชุมนุมสาธารณะต่อสถานีตำรวจภูธรคลองหลวง ตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 แล้ว แต่เจ้าหน้าที่ก็ได้พยายามกำหนดเงื่อนไขต่างๆ เพื่อไม่ให้การดำเนินกิจกรรมเป็นไปได้โดยง่าย โดยเฉพาะการที่เจ้าหน้าที่ผู้รับแจ้งการชุมนุมได้มีหนังสือถึงเครือข่ายประชาชนในนาม People GO Network ระบุว่าการดำเนินกิจกรรมที่มีการจำหน่วยเสื้อ และการให้ประชาชนเข้าชื่อยกเลิกประกาศ/คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้าข่ายเป็นการชุมนุมทางการเมือง จึงต้องไปขออนุญาต คสช. ก่อน […]

แถลงการณ์ร่วม : ยืนยันเสรีภาพในการชุมนุม “We Walk…เดินมิตรภาพ”

ตามที่เครือข่ายประชาชนในนาม People GO Network ได้จัดงาน “We Walk…เดินมิตรภาพ” ระหว่างวันที่ 20 มกราคม 2561 – 17 กุมภาพันธ์ 2561 เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงปัญหาทรัพยากรสิ่งแวดล้อม เกษตรทางเลือก หลักประกันสุขภาพ และการใช้สิทธิเสรีภาพ โดยการเดินเท้าจากกรุงเทพมหานครถึงจังหวัดขอนแก่น โดยผู้จัดงานได้ดำเนินการแจ้งการชุมนุมตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 2561 ไปยังเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.คลองหลวงซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นในการดำเนินกิจกรรม ตั้งแต่วันที่ 17 มกราคม 2561 แล้วนั้น วันที่ 19 มกราคม 2561 เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ตอบกลับหนังสือแจ้งการชุมนุมสาธารณะระบุว่า จากการตรวจสอบกิจกรรมมีพฤติการณ์จำหน่ายเสื้อยืดซึ่งมีข้อความสื่อความหมายในทางการเมือง และการชักชวนให้ประชาชนทั่วไปร่วมลงลายมือชื่อยกเลิกกฎหมาย ซึ่งไม่ใช่การชุมนุมสาธารณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจมีอำนาจดูแล แต่เป็นการมั่วสุม หรือชุมนุมการเมือง ตามข้อ 12 ของคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/2558 ซึ่งหากฝ่าฝืนต้องรับโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ องค์กรสิทธิมนุษยชนซึ่งลงนามท้ายแถลงการณ์นี้ มีความเห็นต่อข้อชี้แจงดังกล่าว ดังนี้ 1. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติได้มีข้อสังเกตเชิงสรุปต่อประเทศไทยเมื่อมีนาคม 2560 แสดงถึงความกังวลในการบังคับใช้คำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/58 […]

แถลงการณ์นักกฎหมาย ทนายความ กรณีการใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมคุกคามทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน

แถลงการณ์ นักกฎหมาย ทนายความ กรณีการใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมคุกคามทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน สืบเนื่องจากการที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้มีหมายเรียกให้นายอานนท์ นำภา ไปรับทราบข้อกล่าวหา “ดูหมิ่นศาลหรือผู้พิพากษาในการพิจารณาหรือพิพากษาของศาล และโดยทุจริตหรือโดยหลอกลวงนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ซึ่งบิดเบือนหรือปลอม ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน  อันมิใช่ความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา” ซึ่งพันตำรวจโทสุภารัตน์ คำอินทร์  เป็นผู้แจ้งความต่อกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) นั้น นายอานนท์ นำภา เป็นทนายความที่ใช้วิชาชีพของตนบนเส้นทางสิทธิมนุษยชนและความเป็นธรรมมาโดยตลอด ในหลายประเด็น อาทิ ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม สิทธิชุมชน การเข้าถึงความยุติธรรมของประชาชน การช่วยเหลือคดีบิลลี่นักปกป้องสิทธิมนุษยชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่ถูกบังคับสูญหาย รวมถึงคดีเกี่ยวกับการจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชน อันนำมาสู่การกล่าวหาว่ากระทำความผิดในคราวนี้ด้วย พวกเรา นักกฎหมายและทนายความ ในฐานะเพื่อนร่วมวิชาชีพที่ได้เดินทางมาให้กำลังใจนายอานนท์ ในวันนี้ มีความห่วงกังวลต่อการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าพนักงานตำรวจ  ซึ่งถือเป็นตัวแทนในการใช้อำนาจของรัฐ ดังต่อไปนี้ 1.  ความผิดฐานดูหมิ่นศาล มีเจตนารมณ์เพื่อให้กระบวนพิจารณาดำเนินไปโดยเรียบร้อยไม่ถูกขัดขวาง และเพื่อให้ศาลหรือผู้พิพากษาได้รับความคุ้มครองให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเป็นอิสระ เป็นกลาง และเป็นธรรม  ผู้เสียหายหรือผู้กล่าวหาจึงควรเป็นศาลหรือผู้พิพากษา  แต่กรณีนี้ผู้กล่าวหากลับเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ จึงเกิดคำถามว่า  ในการดำเนินการดังกล่าวข้างต้น  ศาลหรือผู้พิพากษาเองมีความประสงค์จะดำเนินคดีดังกล่าวหรือไม่ หากเป็นกรณที่ศาลหรือผู้พิพากษามีความประสงค์จะดำเนินคดีนี้  ในทางกฎหมายก็ยังคงมีความห่วงกังวลเกี่ยวกับขอบเขตของการใช้อำนาจของศาลหรือผู้พิพากษาในความผิดฐานนี้     2.  การใช้การตีความกฎหมายต้องคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยหลายฉบับที่ผ่านมา รวมถึงฉบับปัจจุบันได้ให้ความสำคัญต่อการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน  โดยวางหลักการไว้ว่าการใช้อำนาจรัฐต้องคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชนด้วยเสมอ  การจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนโดยหลักแล้วย่อมทำไม่ได้ เว้นแต่จะอาศัยอำนาจของกฎหมายและจะกระทบสาระสำคัญแห่งสิทธิเสรีภาพไม่ได้  กฎหมายอาญาและกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเป็นกฎหมายที่กระทบต่อสิทธิและเสรีภาพประชาชน เพราะให้อำนาจรัฐในการจำกัดสิทธิเสรีภาพหลายประการ  การใช้การตีความกฎหมายอาญาของเจ้าหน้าที่จึงต้องเป็นไปโดยเคร่งครัดและระมัดระวัง  มิเช่นนั้นกฎหมายจะกลายเป็นเครื่องมือของรัฐในการละเมิดสิทธิเสรีภาพและกลั่นแกล้งประชาชน  3. การใช้การตีความกฎหมายอาญาต้องตีความอย่างเคร่งครัด สืบเนื่องจากความสำคัญของสิทธิเสรีภาพ […]

องกรค์สิทธิมนุษยชน ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ปล่อยตัวชาวบ้านเครือข่ายคนสงขลา-ปัตตานีไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหินจากการควบคุมตัวโดยไม่ชอบ

แถลงการณ์ เรียกร้องให้ปล่อยตัวประชาชนจากการควบคุมตัวโดยมิชอบด้วยกฎหมาย และยุติการปิดกั้นการใช้เสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมของประชาชน เผยแพร่ 27 พฤศจิกายน 2560 ตามที่ชาวบ้านเครือข่ายคนสงขลา-ปัตตานีไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน ได้จัดกิจกรรมเดินเท้าจากพื้นที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา ตั้งแต่วันที่ 24 พฤศจิกายน 2560 เพื่อสื่อสารต่อสาธารณะถึงความไม่เป็นธรรมและผลกระทบที่ชาวบ้านได้รับจากโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา และยื่นหนังสือต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย อำเภอเมืองสงขลา ในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2560 โดยวันที่ 24 พฤศจิกายน 2560 ซึ่งเป็นวันที่เริ่มเดิน เครือข่ายฯได้ยื่นแจ้งการชุมนุมสาธารณะต่อหัวหน้าสถานีตำรวจภูธรเทพา และวันที่ 25 พฤศจิกายน 2560 เวลา 13.30 น. ได้ยื่นหนังสือขอผ่อนผันการชุมนุมสาธารณะต่อผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสงขลาเนื่องจากพึงทราบว่ากิจกรรมดังกล่าวเป็นการชุมนุมสาธารณะที่ต้องแจ้งการชุมนุม อย่างไรก็ดีผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสงขลาได้ออกประกาศฉบับลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2560 ให้เลิกการชุมนุมสาธารณะภายในเวลา 18.00 น.ของวันที่ 25 พฤศจิกายน 2560 โดยอ้างว่าเป็นการชุมนุมโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ต่อมาในวันนี้ ( 27 พฤศจิกายน 2560 เวลาประมาณบ่ายโมง เมื่อเครือข่ายฯเดินทางถึงบริเวณแยกสำโรง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา มีตำรวจประมาณ […]

ภาคประชาสังคมออกแถลงการณ์เนื่องในวันผู้สูญหายสากล เรียกร้องรัฐไทยเร่งดำเนินการป้องกันการบังคับบุคคลสูญหายอย่างจริงจังและคืนความจริงและความยุติธรรมแก่ผู้สูญหาย

การบังคับให้บุคคลสูญหายเป็นปรากฏการที่เกิดขึ้นทั่วโลก ประเทศไทยก็ไม่น้อยหน้า จากการรวบรวมข้อมูลการร้องเรียนของคณะทำงานว่าด้วยการบังคับบุคคลให้สูญหายหรือการสูญหายโดยไม่สมัครใจ ซึ่งเก็บข้อมูลตั้งแต่ปี 2523 ถึงปี 2559 ระบุว่าประเทศไทยมีการบังคับสูญหาย 82 กรณี ทั้งหมดยังไม่ได้รับการแก้ไข กลุ่มคนชายขอบ กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มที่เห็นต่างกับแนวทางพัฒนาของรัฐหรือเจ้าหน้าที่รัฐ นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนที่ลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อปกป้องสิทธิของตนเอง ชุมชน และตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐที่ไม่ถูกต้อง พวกเขาเหล่านี้ต้องเผชิญกับการข่มขู่ การคุกคามจากอำนาจรัฐที่ไม่ถูกต้อง ทั้งการใช้กำลังทำร้าย การเข็นฆ่า การบังคับสูญหาย หรือแม้แต่ใช้กลไกทางกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมเข้ามาเล่นงาน 19 มิถุนายน 2534 คุณทนง โพธิ์อ่าน ผู้นำแรงงาน ที่ต่อต้านการรัฐประหารของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ได้ถูกทำให้หายไป 12 มีนาคม 2547 ทนายสมชาย นีละไพจิตร ทนายความด้านสิทธิมนุษยชน ผู้ ถูกชายฉกรรจน์อุ้มขึ้นรถและหายไป การต่อสู้คดีกว่า 12 ปีเพื่อพิสูจน์ความจริงและความยุติธรรม จบลงด้วยศาลฎีกาพิพากษาให้ยกฟ้องจำเลยเมื่อวันที่ 29 ธ.ค. 2558 17 เมษายน 2557 บิลลี่ หรือพอละจี รักจงเจริญ นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยงแห่งบางกลอย ถูกทำให้หายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย […]

แถลงการณ์ ประนามเหตุระเบิดในโรงพยาบาล และเรียกร้องให้มีการค้นหาความจริงอย่างโปร่งใสและเป็นธรรม

ตามที่ปรากฎข่าวตามสื่อมวลชนหลายสำนักว่าเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม เวลาประมาณ 10.00 น. ได้เกิดเหตุระเบิดบริเวณห้องตรวจโรคนายทหารชั้นยศนายพล และที่ช่องจ่ายยา ช่องการเงิน ชั้น 1 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 ปี รพ.พระมงกุฎเกล้า ส่งผลให้ผู้ที่เข้ามาใช้บริการได้รับบาดเจ็บ 24 ราย และมีการยื่นยันจากเจ้าหน้าที่ที่เข้าตรวจสอบที่เกิดเหตุเบื้องต้นพบแผงวงจรไอซีทามเมอร์ เศษสายไฟ และเศษถ่านไฟฉายตกอยู่ในพื้นที่ คาดว่าเป็นอุปกรณ์ส่วนหนึ่งของระเบิด สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน มีความห่วงกังวลต่อสถานการณ์ความรุนแรงดังกล่าว และมีความเห็นว่า สิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกายเป็นสิทธิมนุษยชนที่สัมบูรณ์ ซึ่งถูกรับรองไว้โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 28 และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง ดังนั้น ไม่ว่ารัฐหรือบุคคลอื่นใดก็ไม่อาจล่วงละเมิดสิทธิดังกล่าวได้ การใช้โรงพยาบาลเป็นเป้าหมายของการก่อเหตุรุนแรง เป็นสิ่งที่ขัดต่อหลักกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ อันเป็นหลักการที่ได้รับการยอมรับในทางสากล โดยเฉพาะอนุสัญญาเจนีวาที่กำหนดหลักการมูลฐานสำคัญให้โรงพยาบาลเป็นเขตปลอดภัย การห้ามใช้โรงพยาบาล หรือสถานที่ที่มีเครื่องหมายกาชาดในทางที่ผิด หรือเพื่อประโยชน์แก่คู่พิพาทฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แม้กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศดังกล่าวจะเป็นกติกาที่กำหนดไว้เพื่อใช้ในสภาวะสงคราม แต่ในความขัดแย้งรุนแรงโดยทั่วไปก็ควรเคารพหลักการดังกล่าวด้วยเช่นกัน ในเหตุการณ์ความรุนแรงดังกล่าว รัฐจำเป็นต้องเร่งค้นหาความจริงที่เกิดขึ้นอย่างโปร่งใสและเป็นธรรม ในกระบวนการค้นหา จับกุมหรือควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยว่ากระทำความผิดจำเป็นต้องเคารพหลักการพิจารณาคดีที่เป็นธรรม ที่ถูกกำหนดในรัฐธรรมนูญและกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง ซึ่งกำหนดให้ห้ามจับกุมหรือควบคุมตัวบุคคลโดยอำเภอใจ ผู้ถูกจับกุมจะต้องได้รับแจ้งถึงเหตุผลในการจับกุม ได้รับแจ้งถึงข้อหาโดยพลัน และบุคคลที่ต้องหาว่ากระทำความผิดต้องได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานในการติดต่อกับทนายความและญาติ สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน จึงมีข้อเรียกร้องต่อสถานการณ์ดังกล่าวดังต่อไปนี้ 1.ขอประนามการก่อความรุนแรงในพื้นที่โรงพยาบาล […]

แถลงการณ์ คัดค้านร่างกฎหมายควบคุมเสรีภาพสื่อมวลชน

ตามที่ร่างพระราชบัญญัติการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ….. ซึ่งกำลังพิจารณาอยู่ในสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศและได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนอย่างกว้างขวางว่าร่างพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าวมิได้เป็นการส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชนแต่กลับเป็นการแทรกแซงและควบคุมการปฏิบัติหน้าที่สื่อมวลชน โดยในร่างพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าวระบุให้ “ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน” ต้องได้รับใบอนุญาตโดยคณะกรรมการสภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติ มาจากกลุ่มบุคคล ซึ่งมีตัวแทนภาครัฐเข้าร่วมด้วย ซึ่งคณะกรรมการมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตวิชาชีพสื่อมวลชนได้อันเถือได้ว่าเป็นการเปิดทางให้มีการแทรกแซงสื่อได้นั้น สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.)และองค์กรข้างท้ายขอแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อการจัดทำกฎหมายเพื่อส่งเสริมสิทธิเสรีภาพและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน ดังต่อไปนี้ ๑. “เสรีภาพของประชาชน” หมายความเชื่อมโยงถึง “เสรีภาพของสื่อมวลชน”ด้วย ถือเป็นหลักการสำคัญของสิทธิเสรีภาพที่สำคัญประการหนึ่งในสังคมประชาธิปไตย ในแง่ที่ว่าหากจะมีการจำกัดเสรีภาพสื่อมวลชนจำเป็นต้องคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อสิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน ดังนั้นการส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวล จักต้องคำนึงถึงหลักการเรื่องสิทธิการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชนด้วยอย่างเคร่งครัด ๒. แนวคิดในการจัดทำกฎหมายเพื่อคุ้มครองเสรีภาพในการเสนอข่าวสารของสื่อมวลชนนั้นจักต้องอยู่บนพื้นฐานร่วมกันว่า สื่อมวลชนมีเสรีภาพควบคู่ไปกับ หรือถูกกำกับภายใต้ความรับผิดชอบที่สื่อมวลชนพึงมีต่อประโยชน์สาธารณะเป็นสำคัญ ซึ่งประชาชนหรือผู้บริโภคสื่อย่อมสามารถใช้วิจารณญาณในฐานะวิญญูชนที่จะวินิจฉัยได้ด้วยตนเอง อันเป็นประเด็นหนึ่งที่ต้องได้รับการพัฒนาเรียนรู้และสร้างมาตรฐานทางจริยธรรมร่วมกันในสังคมนั้นๆเอง ๓.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ มีบทบัญญัติคุ้มครองเสรีภาพของสื่อมวลชนไว้ในการเสนอข่าวสาร หรือแสดงความเห็นตามจริยธรรมแห่งวิชาชีพ ซึ่งสอดคล้องกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองเรื่องเสรีภาพในการรับ แสวงหาและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและความคิดเห็น โดยต้องอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบต่อการแสดงความคิดเห็น หรือการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารนั้นๆ โดยไม่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมของสังคม ซึ่งสื่อมวลชนยังต้องได้รับการกำกับภายใต้กฎหมายหลายฉบับ ทั้งประมวลกฎหมายอาญาว่าด้วยการหมิ่นประมาท กฎหมายเกี่ยวกับวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม กฎหมายเกี่ยวกับการโฆษณา กฎหมายเกี่ยวกับวัฒนธรรม กฎหมายเกี่ยวกับการศึกษา กฎหมายเกี่ยวกับสื่อลามกอนาจาร กฎหมายว่าด้วยคอมพิวเตอร์ กฎหมายด้านการจดแจ้งการพิมพ์ ฯลฯ โดยกฎหมายแต่ละฉบับก็มีเจ้าพนักงานของรัฐกำกับดูแลและควบคุมให้สื่อมวลชนมีความรับผิดชอบต่อบุคคลและต่อสังคมอยู่แล้ว จึงไม่มีความจำเป็นจะต้องมีกฎหมายเฉพาะในการคุ้มครองและส่งเสริมจริยธรรมสื่อมวลชนอีก ด้วยหลักการและเหตุผลดังกล่าวข้างต้น สสส.และองค์กรท้ายแถลงการณ์นี้ จึงมีข้อเสนอและข้อเรียกร้อง […]

แถลงการณ์ เรียกร้องสภาทนายความแสดงบทบาทในการพิทักษ์ความเป็นอิสระแห่งวิชาชีพ

แถลงการณ์ เนื่องในวันทนายความ สภาทนายความต้องแสดงบทบาทอย่างเข็มแข็งในการพิทักษ์ความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ตามวิชาชีพของทนายความ รวมทั้งร่วมปกป้องหลักนิติธรรมและสิทธิมนุษยชน ภายหลังการยึดอำนาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ตั้งแต่ 22 พฤษภาคม 2557 เป็นต้นมา พบว่ามีการใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมที่มีความพิเศษผิดไปจากระบบปกติเพื่อจัดการกับผู้เคลื่อนไหวที่เห็นต่างจากคณะรัฐประหาร หรือจัดการกับชาวบ้านหรือบุคคลที่ลุกขึ้นมามีส่วนร่วม เรียกร้องและตรวจสอบรัฐ โดยมีการเลือกใช้กฎหมายหรือคำสั่งของคณะรัฐประหาร อาทิ พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ 3/2558 เรื่องการรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของชาติ หรืออื่นๆ เพื่อจัดการกับประชาชนที่ไม่ยอมเชื่อฟัง และที่สำคัญกระบวนการยุติธรรมไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ในการให้ความเป็นธรรม คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐได้อย่างที่ควรจะเป็น ทำให้การบังคับใช้กฏหมายค่อนข้างเป็นไปโดยอำเภอใจและไร้เหตุผลที่ถูกต้อง ดังเราจะเห็นการเรียกคนเข้าค่ายทหารหรือสถานีตำรวจโดยปราศจากความผิด การตั้งข้อหาแปลกประหลาดพิศดารเกิดขึ้นอยู่เสมอๆ ร้ายกว่านั้น การปฏิบัติหน้าที่ของทนายความในการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ผู้ต้องหาหรือจำเลยก็ตกอยู่ในสภาวะยากลำบาก กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมได้ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการคุกคามการปฏิบัติหน้าที่ของทนายความด้วยเช่นกัน ซึ่งในช่วงที่ผ่านมามีทนายความอย่างน้อย 2 รายเท่าที่เรามีข้อมูล ที่ถูกแจ้งความดำเนินคดี คือ กรณีทนายเบญจรัตน์ มีเทียน ที่ถูกแจ้งความดำเนินคดีโดยเจ้าหน้าที่ทหารเพื่อตอบโต้กลับจากการที่เธอได้รับมอบอำนาจจากลูกความซึ่งตกเป็นจำเลยในกรณี “ขอนแก่นโมเดล” ให้แจ้งความดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ทหารเหล่านั้ และกรณีทนายศิริกาญจน์ เจริญศิริ ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ซึ่งทำหน้าที่เป็นทนายความให้กับนักศึกษาขบวนการประชาธิปไตยใหม่ 14 คน ที่ถูกข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2558 และตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 ซึ่งเธอถูกดำเนินคดีจากเหตุการณ์ที่เจ้าหน้าจะทำการตรวจค้นหาหลักฐานของ […]

แถลงการณ์ให้รัฐเคารพเสรีภาพในการชุมนุมสาธารณะ  และปล่อยประชาชนที่ถูกควบคุมตัวจากการค้านโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่โดยไม่มีเงื่อนไข

แถลงการณ์ เรื่อง ขอให้เคารพเสรีภาพในการชุมนุมสาธารณะ และปล่อยประชาชนที่ถูกควบคุมตัวจากการค้านโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่โดยไม่มีเงื่อนไข ตามที่เจ้าหน้าที่ตำรวจได้จับกุมแกนนำค้านโรงไฟฟ้ากระบี่สามคน คือ นายประสิทธิชัย หนูนวล นายอัครเดช ฉากจินดา และ ม.ล.รุ่งคุณ กิตติยากร และได้ควบคุมตัวไว้ที่มณฑลทหารบกที่ 11 (มทบ.11) และมีการควบคุมตัวประชาชนอีกกว่า 10 คนไว้นั้น สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน(สสส.) และองค์กรที่มีชื่อท้ายแถลงการณ์ เห็นว่าการใช้เสรีภาพในการชุมนุมเพื่อคัดค้านโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ เป็นการใช้เสรีภาพชุมนุมตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 ที่กำหนดว่า “การชุมนุมในที่สาธารณะ เพื่อเรียกร้อง สนับสนุน คัดค้าน หรือแสดงความคิดเห็นในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยแสดงออกต่อประชาชนทั่วไป..”อีกทั้งผู้จัดการชุมนุมได้แจ้งการชุมนุมต่อเจ้าหน้าที่แล้ว แต่เจ้าหน้าที่อ้างว่าเป็นการชุมนุมผิดเงื่อนไข จึงไปร้องต่อศาลแพ่ง ให้วินิจฉัยว่าให้เลิกการชุมนุมและศาลแพ่งได้มีหมายนัดให้มีการไต่สวน ผู้จัดการชุมนุม ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 09.00 น. ในระหว่างที่รอการไต่สวนของศาลแพ่งนั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ดำเนินการห้ามผู้ชุมนุมไม่ให้ใช้ห้องน้ำ และไม่ให้ส่งอาหารให้ผู้เข้าร่วมชุมนุมรับประทาน อันเป็นการละเมิดสิทธิความเป็นมนุษย์ขั้นพื้นฐานอย่างรุนแรง อีกทั้งเจ้าหน้าที่ได้จับกุมแกนนำสามคนโดยไม่แจ้งสถานที่ควบคุมตัว ไม่แจ้งญาติ หรือทนายความให้ทราบในระหว่างการสอบสวน อันเป็นการขัดกับหลักสิทธิเสรีภาพตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ทั้งนี้โดย ไม่รอการไต่สวนของศาลแพ่ง ที่จะมีขึ้นในวันที่ 20 […]

แถลงการณ์ : คืนสิทธิปล่อยตัวระหว่างดำเนินคดีแก่นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษาโดยทันที

แถลงการณ์ คืนสิทธิปล่อยตัวระหว่างดำเนินคดีแก่นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษาโดยทันที เผยแพร่ 16 มกราคม 2560 สืบเนื่องจากตั้งแต่วันที่ 22 ธันวาคม 2559 ศาลจังหวัดขอนแก่นได้มีคำสั่งให้เพิกถอนสัญญาประกันตัว นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ “ไผ่ ดาวดิน” นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้ถูกกล่าวหาว่า กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 จากการแชร์ข่าวพระราชประวัติรัชกาลที่ 10 จากเฟซบุคของสำนักข่าวบีบีซีไทย ในเฟซบุคของตนเอง โดยศาลให้เหตุผลในการเพิกถอนการประกันตัวว่า ยังไม่ยอมลบข้อความที่ถูกกล่าวหา และมีการโพสรูปภาพแสดงท่าทางในเชิงสัญลักษณ์ที่ศาลเห็นว่าเป็นการเย้ยหยันอำนาจรัฐ ซึ่งนับตั้งแต่ศาลจังหวัดขอนแก่นมีคำสั่งเพิกถอนการประกันตัว ทนายความได้ยื่นอุทธรณ์ และฎีกาตามลำดับ แต่ศาลสูงได้ยืนตามคำสั่งของศาลจังหวัดขอนแก่น นอกจากนี้ ทนายความยังได้มีการยื่นขอประกันตัวใหม่ไปแล้วถึง 5 ครั้ง แต่ศาลก็ยังไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวจตุภัทร์ โดยอ้างว่า ยังไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม ประกอบกับพนักงานสอบสวนได้ยื่นขอฝากขัง ครั้งที่ 4 โดยอ้างว่า การสอบสวนพยานบุคคลยังไม่เสร็จสิ้น และศาลขอนแก่นได้อนุมัติฝากขัง เป็นผลให้จตุภัทร์ต้องถูกคุมขังต่อไปอีกจนถึงวันที่ 20 มกราคม 2560 ซึ่งจะทำให้เขาไม่ได้ออกมาสอบวิชาสุดท้าย ที่จะมีการสอบในวันที่ 17 มกราคม […]

1 2 3 4