SLAPPs

รายงานข้อเสนอแนะต่อการคุ้มครองผู้ใช้สิทธิและเสรีภาพเพื่อการมีส่วนร่วมในประเด็นสาธารณะจากการถูกฟ้องคดี

บทนำ การมีส่วนร่วมสาธารณะ (Public Participation) ถือเป็นหลักการและแนวปฏิบัติทางการเมือง ที่เป็นพื้นฐานสำคัญของสังคมประชาธิปไตย ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา ได้รับรองสิทธิในด้านต่าง ๆ เพื่อเป็นช่องทางให้ประชาชนได้เข้าไปมีส่วนร่วมสาธารณะได้ เช่น เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เสรีภาพในการชุมนุม เสรีภาพในการสมาคมสิทธิในการเสนอเรื่องราวร้องทุกข์ สิทธิชุมชน สิทธิการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากร เป็นต้น อย่างไรก็ดี ประชาชนที่ใช้สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญในการเข้าไปมีส่วนร่วมสาธารณะ มักจะถูกคุกคามในรูปแบบต่าง ๆ อยู่เสมอ ทั้งการใส่ร้ายป้ายสี การทำลายภาพลักษณ์ การเยี่ยมบ้าน การทำร้ายร่างกาย การใช้กองทัพหรือตำรวจปราบปราม การลอบสังหาร การบังคับให้สูญหาย เป็นต้น และอีกรูปแบบหนึ่งที่พบมากในปัจจุบันคือ “การคุกคามด้วยกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม” การคุกคามการด้วยกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ในลักษณะการฟ้องคดีต่อบุคคลที่เข้าไปมีส่วนร่วมสาธารณะนั้น มักถูกเรียกว่า “การดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อปิดกั้นการมีส่วนร่วมสาธารณะ” (Strategic Lawsuits Against Public Participation หรือ SLAPPs) บางครั้งอาจเรียกว่า “การฟ้องปิดปาก” SLAPPs มักถูกนำมาใช้อธิบายปรากฏการณ์ที่บริษัทเอกชนและรัฐฟ้องคดีต่อนักกิจกรรม นักเคลื่อนไหว แกนนำหรือสมาชิกชุมชนที่ออกมาใช้เสรีภาพในการแสดงออก การแสดงความคิดเห็น […]

นักปกป้องสิทธิมนุษยชนกับการถูกฟ้องคดีเมื่อปกป้องประโยชน์สาธารณะ: กรณี นายกฤษกร ศิลารักษ์ หรือ ป้าย ปากมูล

นักปกป้องสิทธิมนุษยชนหลายคนถูกแจ้งความดำเนินคดีและตั้งข้อหาอย่างไม่เป็นธรรมเพียงเพราะเรียกร้องให้รัฐคุ้มครองสิทธิของประชาชน การดำเนินคดีเช่นนี้ เรียกว่าการดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อระงับการมีส่วนร่วมของสาธารณชน(SLAPPs)

นิยามและความคิดทั่วไปเกี่ยวกับการฟ้องปิดปาก (SLAPPs)

นิยามและความคิดทั่วไปเกี่ยวกับ SLAPPs การดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อต่อต้านการมีส่วนร่วมของสาธารณะ (Strategic Lawsuit Against Public Participation) หรือ SLAPPs เป็นรูปแบบหนึ่งของการคุกคามโดยการใช้กระบวนการยุติธรรมเป็นเครื่องมือ (Judicial Harassment) โดยมุ่งคุกคามเฉพาะเจาะจงไปที่การมีส่วนร่วมสาธารณะหรือการใช้สิทธิทางการเมืองของประชาชน มุ่งก่อให้เกิดความเสียหายหรือคุกคามต่อเสรีภาพในการพูด การแสดงความคิดเห็น หรือการถกเถียงอย่างสร้างสรรค์ โดยมีเป้าหมายเป็นผู้ที่สื่อสารความคิดเห็น (communication) ที่จะมีอิทธิพลต่อการดำเนินการของรัฐบาล (government proceeding) ในประเด็นสำคัญเกี่ยวกับประโยชน์สาธารณะหรือประเด็นที่มีนัยสำคัญทางสังคม Penelope Canan ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทางสังคมวิทยา และ George Pring ศาสตราจารย์ทางกฎหมาย แห่งมหาวิทยาลัยเดนเวอร์ สหรัฐอเมริกา ผู้ทำการศึกษาเรื่องนี้อย่างเป็นระบบ ได้อธิบายในหนังสือเรื่อง SLAPPs: Getting Sued for Speaking Out ที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1996 ว่า การฟ้องคดีลักษณะ SLAPPs นี้ ส่วนใหญ่เป็นไปเพื่อการข่มขู่ มุ่งตอบโต้ หรือฟ้องเพื่อหยุดพฤติกรรมเฉพาะ ลงโทษการพูด หรือต่อต้านกิจกรรมทางการเมือง และคดีจำนวนมากมีลักษณะเป็นยุทธศาสตร์ ไม่ใช่เพียงแค่ยุทธวิธี ดังนั้น […]

“ป้าย ปากมูล” นักปกป้องสิทธิมนุษยชน กับข้อหา นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลอันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงฯ และคดีหมิ่นประมาทฯ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี

นายกฤษกร ศิลารักษ์ หรือ ป้าย ปากมูลได้ถูกฟ้องดำเนินคดีในเวลาไล่เลี่ยกันเป็นจำนวน 2 คดี โดยคดีแรกเป็นคดีอาญาหมายเลขดำที่ 2445/2561 ระหว่างพนักงานอัยการจังหวัดอุบลราชธานี โจทก์ โดยนายสฤษดิ์ วิฑูรย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เป็นผู้กล่าวหาและร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีกับจำเลย และนายกฤษกร ศิลารักษ์ จำเลย ในข้อหานำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลอันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงฯ และวันที่ 4 มิถุนายน – 5 มิถุนายน 2562 นายกฤษกรและทนายความ จะเดินทางไปศาลจังหวัดอุบลราชธานี โดยศาลนัดสืบพยานโจทก์และสืบพยานจำเลย

เมื่อกฎหมายตกเป็นเครื่องมือ ในการดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อยุติการมีส่วนร่วมทางการเมืองของพลเมือง

จากกรณีที่ยังคงมีการดำเนินคดีกับนักกิจกรรมที่ออกมารณรงค์เรียกร้องประชาธิปไตย เช่น กรณีกลุ่มนักกิจกรรม นักศึกษา 14 คน อาทิ นายรังสิมันต์ โรม นางสาวชลธิชา แจ้งเร็ว  นายภานุพงศ์ ศรีธนานุวัฒน์  นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา นายรัฐพล ศุภโสภณ เป็นต้น ซึ่งที่เคยจัดกิจกรรมเรียกร้องประชาธิปไตยเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 ในวาระครบรอบ 1 ปีรัฐประหาร 2557 ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และยังคงได้รับหมายเรียกจากพนักงานสอบสวน สน.ปทุมวัน  ให้ไปรับทราบข้อกล่าวหาเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคดี ในฐานความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 และมาตรา 215 ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2562  นี้

รู้จัก SLAPPs : แกล้งฟ้อง หรือ เรียกร้องความยุติธรรม?

วันที่ 17 เมษายน 2562 สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ร่วมกับมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น และศูนย์วิจัยและพัฒนากฎหมาย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดโครงการเสวนาเผยแพร่องค์ความรู้ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหัวข้อ “เรียนรู้กระบวนการยุติธรรมผ่านคดีสิทธิมนุษยชน” โดยภายในงาน นักศึกษาของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้เข้าร่วมรับฟัง และเรียนรู้กระบวนการยุติธรรม ผ่านกรณีศึกษา 3 กรณี คือ คดีโครงการบ้านพักตุลาการที่สร้างบนพื้นที่ใกล้อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ หรือคดีป่าแหว่ง, คดีทนายสุมิตรชัยถูกแจ้งความฐานนำสืบพยานหลักฐานเท็จ และคดีชูป้าย รวมพลคนอยากเลือกตั้งหน้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเรียนรู้ปรากฎการณ์การใช้กระบวนการยุติธรรมเป็นเครื่องมือในการปิดกั้นการแสดงออกในประเด็นสาธารณะ รองศาสตราจารย์สมชาย ปรีชาศิลปะกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า เรื่องที่จัดในวันนี้เป็นประเด็นเกี่ยวกับการฟ้องคดีปิดปาก ซึ่งเป็นการใช้กฎหมายแบบหนึ่งในปัจจุบัน เป็นการดำเนินคดีกับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวข้องกับหน่วยงานรัฐ มีผู้ที่ถูกดำเนินคดีได้อย่างถ้วนหน้า โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับสาธารณะประโยชน์ก็มักจะโดน การฟ้องปิดปาก/การฟ้องกลั่นแกล้ง (SLAPPs) คืออะไร? Strategic Lawsuit against Public Participation หรือที่นิยมเรียกว่า SLAPPs คือ การดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต่อต้านขัดขวางการใช้สิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชนในประเด็นสาธารณะ โดยการใช้กระบวนการยุติธรรมเป็นเครื่องมือในการปิดปากประชาชน เพื่อให้ยุติการวิพากษ์วิจารณ์ประเด็นสาธารณะ หรือหยุดการแสดงออกของประชาชนในบางเรื่อง ซึ่งถือเป็นการปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนทำให้ประชาชนที่ออกมาเรียกร้องในประเด็นสาธารณะนั้นเกิดภาระค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดีหรือทำให้เกิดความกลัว จนในที่สุดประชาชนเหล่านั้นก็จะละทิ้งความตั้งใจที่จะออกมาใช้สิทธิในการมีส่วนร่วม ข้อสังเกตของ […]

1 2 3 4