SLAPPs

คดีนักข่าว Voice TV ถูกบริษัทฟาร์มไก่ฟ้องหมิ่นประมาท กรณีทวิตข้อความเกี่ยวกับคดีแรงงานฟาร์มไก่ 14 คน

คดีนี้เป็นคดีที่นางสาวสุชาณี รุ่งเหมือนพร หรือ นางสุชาณี คลัวเทอ นักข่าวถูก บริษัทธรรมเกษตร โดยนายชาญชัย เพิ่มผล ผู้รับมอบอำนาจ ยื่นฟ้องเป็นคดีหมายเลขดำที่ อ.118/2562 ต่อศาลจังหวัดลพบุรี ในข้อหาหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา โดยมีมูลเหตุมาจากในระหว่างที่นางสาวสุชาณีฯ เป็นนักข่าวอยู่สำนักข่าว Voice TV และได้เผยแพร่ข้อความเพื่อประกาศข่าวสารในทวิตเตอร์ โดยเผยแพร่ข้อความต่อจากนายอานดี้ ฮอลล์ อดีตที่ปรึกษาเครือข่ายด้านสิทธิแรงงานข้ามชาติ (MWRN) ในวันที่ 14 กันยายน 2560

กรณีนายกฤษกร ศิลารักษ์ หรือ ป้าย ปากมูล นักปกป้องสิทธิมนุษยชนถูกฟ้องหมิ่นประมาท

ที่ปรึกษาสมัชชาคนจนเขื่อนปากมูล ถูกดำเนินคดีทั้งสิ้น 2 คดี ณ ศาลจังหวัดอุบลราชธานี จากการตรวจสอบและปกป้องพื้นที่สาธารณะ “ดอนคำพวง” และการเรียกร้องให้แก้ไขปัญหากรณีเขื่อนปากมูลที่เรื้อรังมานาน คดีแรกเป็นคดีอาญาหมายเลขดำที่ 2445/2561 ในข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์,หมิ่นประมาท และคดีที่สองเป็นคดีอาญาหมายเลขดำที่ 99/2562 ในข้อหาหมิ่นประมาท

การฟ้องปิดปากทางอาญา สร้างทั้งภาระให้จำเลย และยังใช้ทรัพยากรของรัฐไปโดยสิ้นเปลือง

หากติดตามกรณีการใช้ กฎหมายหรือกระบวนการยุติธรรมมาเป็นเครื่องมือในการดำเนินคดีต่อผู้ที่ใช้สิทธิในการมีส่วนร่วมสาธารณะ โดยการเเสดงความคิดเห็น วิพากษ์วิจารณ์หรือร้องเรียน ฯลฯ จะพบว่าผู้ที่มักตกเป็นเป้าหมายของการถูกดำเนินคดีจะพบว่ามีทั้งกลุ่มที่สามารถเข้าถึงทรัพยากรเเละการช่วยเหลือทางคดีได้ เช่น กลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมือง นักพัฒนาเอกชน สื่อมวลชน นักวิชาการ กับ กลุ่มที่เข้าถึงทรัพยากรค่อนข้างลำบาก เช่น กลุ่มประชาชนที่เคลื่อนไหวคัดค้านโครงการพัฒนาต่างๆ กลุ่มผู้ถูกละเมิดหรือญาติที่เรียกร้องความเป็นธรรม เป็นต้น

เมื่อการมีส่วนร่วมสาธารณะผ่านช่องทางรัฐมีปัญหา ประชาชนจึงออกมาร้องเรียนผ่านโลกออนไลน์

ปัจจุบันจะพบว่าพื้นที่สนทนาหลักของสังคมกลายเป็นการสื่อสารกันผ่านโลกออนไลน์เป็นหลัก ซึ่งในพื้นที่ออนไลน์นี้ไม่ได้เต็มไปด้วยข้อมูลความคิดเห็นของประชาชนเท่านั้น แต่ยังเป็นพื้นที่ที่ถูกนำมาใช้ในการร้องเรียน กรณีการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ การดำเนินงานของหน่วยงานรัฐ หรือโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ของเอกชนที่ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ร้องเรียน ทั้งนี้ ปัจจัยที่ทำให้ประชาชนออกมาเรียกร้องผ่านช่องทางออนไลน์เป็นเพราะการพัฒนาของเทคโนโลยีทางการสื่อสารเท่านั้นจริงหรือ?

การคุ้มครองนักต่อสู้ด้านสิทธิมนุษยชนและการฟ้องคดีปิดปากในไทย

ในหัวข้อเสวนาเรื่อง “การเข้าถึงความคุ้มครองทางสังคมและการเข้าถึงความยุติธรรมของแรงงานข้ามชาติและครอบครัว” ของงานประชุมหารือเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเชิงนโยบายในการนำฉันทามติอาเซียนว่าด้วยแรงงานข้ามชาติไปสู่การปฏิบัติ โดยมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาและองค์กรภาคี เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2562

ความเห็นทางกฎหมาย: กรณีการดำเนินคดีกับสฤณี อาชวานันทกุล และบรรณาธิการหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจในความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล

สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๖๒ ศาลฎีกาโดยนายฉันทวัธน์ วรทัต ผู้พิพากษา   ได้มีหมายเรียกนางสาวสฤณี อาชวานันทกุล และบรรณาธิการข่าวหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ให้ไปให้การต่อศาลฎีกาในวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๖๒ เวลา ๑๐.๓๐ น.

แจ้งข่าวคดีนักปกป้องสิทธิแรงงานถูกฟาร์มไก่ฟ้องละเมิดเรียกค่าเสียหาย กรณีรายงานการละเมิดสิทธิแรงงาน ศาลใช้เวลาไกล่เกลี่ย 3 ชม.กว่า ก่อนโจทก์จำเลยตกลงกันได้และโจทก์ยอมถอนฟ้อง  

สืบเนื่องจากกรณีที่บริษัทธรรมเกษตร  จำกัด ได้ฟ้องนางสาวสุธารี วรรณศิริ นักปกป้องสิทธิมนุษยชน ในคดีละเมิดตามมาตรา 423 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  เรียกค่าเสียหายจำนวน  5,000,000 บาท (ห้าล้านบาทถ้วน) 

นัดสืบพยานคดีนักวิจัยประเด็นแรงงานถูกบริษัทธรรมเกษตรฟ้องหมิ่นประมาท

นัดสืบพยานคดีนักวิจัยประเด็นแรงงานถูกบริษัทธรรมเกษตรฟ้องหมิ่นประมาท เผยแพร่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2562 วันที่ 26-30 สิงหาคม พ.ศ. 2562 ศาลแพ่ง ถนนรัชดาภิเษก นัดสืบพยานโจทก์และจำเลยในคดี บริษัทธรรมเกษตร จำกัด ฟ้องคดีละเมิดเรียกค่าเสียหายเนื่องจากการหมิ่นประมาทโดยการโฆษณากับ นางสาวสุธารี วรรณศิริ นักวิจัยประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน และศาลนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2562 Summary bullet point ● ศาลแพ่ง ถ.รัชดาภิเษก นัดสืบพยานโจทก์และจำเลย คดีนางสาวสุธารี วรรณศิริ นักวิจัยประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ถูกบริษัทธรรมเกษตร จำกัด ฟ้องคดีละเมิดเรียกค่าเสียหายเนื่องจากการหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา ● มูลเหตุคดีสืบเนื่องจาก นางสาวสุธารีได้เผยแพร่คลิปจากยูทูปซึ่งเป็นคลิปสัมภาษณ์อดีตลูกจ้างของบริษัทธรรมเกษตรฯซึ่งเป็นแรงงานข้ามชาติ สัญชาติเมียนมาร์ในประเด็นเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิแรงงาน ● บริษัทธรรมเกษตร จำกัด เป็นโจทก์ฟ้องทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา ต่อ อดีตลูกจ้างของตนเอง แรงงานข้ามชาติ รวมถึงบุคคลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ นักปกป้องสิทธิมนุษยชน นักข่าว ที่สื่อสารประเด็นการละเมิดสิทธิต่อสาธารณะมาตั้งแต่ปี […]

คู่มือประชาชน: เรื่องการคุกคามด้วยการฟ้องคดีปิดปาก (SLAPPs)

ประชาชนทุกคนไม่ว่าจะมีเพศ อายุ ศาสนา หรือประกอบอาชีพใดก็ตามสามารถตกเป็นเป้าหมายของการฟ้องปิดปากเพื่อให้ยุติการมีส่วนร่วมทางสังคม หรือการเคลื่อนไหวทางการเมืองได้ทั้งสิ้น ทั้งนี้การยุติบทบาทการมีส่วนร่วม ไม่ถือว่าเป็นการแก้ไขปัญหาที่มีอยู่อย่างตรงจุด อีกทั้งส่งผลกระทบร้ายแรงต่อการพัฒนาความเป็นประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนจึงได้จัดทำ คู่มือประชาชน เรื่องการคุกคามด้วยการฟ้องคดีปิดปาก (SLAPPs) ฉบับนี้ขึ้น โดยเนื้อหาประกอบด้วย บทที่ 1 การฟ้องปิดปาก คืออะไร คำนิยาม วิธีตรวจสอบว่าคดีที่ถูกแจ้งความเป็นการฟ้องปิดปากหรือไม่ ความเสียหายและผลกระทบของคดีฟ้องปิดปาก บทที่ 2 วิธีป้องกันตัวเองจากการถูกฟ้องปิดปาก รู้สิทธิของตัวเอง พูดความจริง บทที่ 3 ทำอย่างไรเมื่อถูกฟ้องปิดปาก  บทที่ 4 ร่วมพัฒนากลไกป้องกันการฟ้องปิดปาก ข้อกังวลของกลไกป้องกันการฟ้องปิดปากที่มีอยู่ในปัจจุบัน ร่วมสร้างกลไกป้องกันการฟ้องปิดปาก     ดาวน์โหลด คู่มือฉบับย่อ คู่มือฉบับเต็ม

สนส. เปิดตัวรายงานการฟ้องคดีปิดปาก เสนอแนวทางป้องกันการคุกคามรูปแบบใหม่ ใช้กฎหมายปิดกั้นการแสดงออกประชาชน

เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2562 สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) ร่วมด้วยมูลนิธิผสานวัฒนธรรม และสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) จัดงานเสวนาสถานการณ์การดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อระงับการมีส่วนร่วมของประชาชนในประเทศไทย ไพโรจน์ พลเพชร ที่ปรึกษาสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) กล่าวเปิดงานโดยชี้ให้เห็นว่า ในปัจจุบันประเทศไทยมีการคุกคามต่อผู้ที่ออกมาเคลื่อนไหวในประเด็นสาธารณะรูปแบบใหม่คือการใช้กฎหมายและใช้การฟ้องคดีระงับการแสดงความคิดเห็น หรือมีชื่อที่รู้จักในวงกว้างว่าการฟ้องคดีปิดปาก หรือ การฟ้องคดี SLAPPs เกิดขึ้นทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้จัดงานในวันนี้ขึ้น เนื่องจากการปกป้องสิทธิมนุษยชนนั้นต้องใช้ความรู้เพียงพอ ไม่ใช่ใช้ความรู้สึก สนส. จึงจัดทำวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพื่อให้ความรู้ และหาแนวทางแก้ไข จะทำอย่างไรไม่ให้เกิดการฟ้องคดีปิดปาก เพราะการฟ้องปิดปากคือการหยุดการเคลื่อนไหว ซึ่งมีผลกระทบต่อชุมชนเป็นอย่างมาก และเป็นภาวะที่เกิดขึ้นมากในช่วงระยะเวลาห้าปีที่ผ่านมา งานเสวนานี้ และงานวิจัยคงเป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะปกป้องสิทธิมนุษยชน และทำให้ทุกคนตื่นรู้ และทุกคนจะได้เสนอความเห็นว่าจะเดินหน้าปกป้องคนเหล่านี้ได้อย่างไร สนส. เปิดเนื้อหารายงานวิจัยเกี่ยวกับการฟ้องคดีปิดปาก บัณฑิต หอมเกษ นำเสนอถึงรายงาน “ข้อเสนอแนะต่อการคุ้มครองผู้ใช้สิทธิและเสรีภาพเพื่อการมีส่วนร่วมในประเด็นสาธารณะจากการถูกฟ้องคดี” SLAPPs หรือ Strategic Lawsuit Against Public Participation คือการฟ้องคดีเพื่อต่อต้านการมีส่วนร่วมสาธารณะ คนเข้าใจมากว่าเป็นการฟ้องเฉพาะคดีในข้อหาหมิ่นประมาท แต่ในความเป็นจริงแล้วมีข้อหาอื่นด้วย เช่น ความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ หรือพ.ร.บ.ชุมนุม […]

1 2 3 4