ความเห็นทางกฎหมาย

สรุปงาน 15 ปี สมชาย นีละไพจิตร และเสียงจากผู้สูญหาย: พัฒนาการกฎหมายและกระบวนการสืบสวนสอบสวนในสังคมไทย

เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2562 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย มูลนิธิผสานวัฒนธรรม สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล (ICJ) สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (OHCHR) ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ สถานเอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย ร่วมกันจัดงานแสดงศิลปะและเสวนาสาธารณะเนื่องในวันครบรอบ 15 ปีของการหายตัวไปของคุณสมชาย นีละไพจิตร และคดีการหายตัวไปอื่นๆ ภายในงานผู้แทนสถานเอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย กล่าวขอบคุณผู้เข้าร่วม และญาติของผู้สูญหายที่มาและร่วมเรียกร้องความเป็นธรรม และนำคนทำผิดมาลงโทษ โดยเฉพาะการบังคับให้สูญหายถือเป็นอาชญากรรมร้ายแรงที่ต้องร่วมเรียกร้องให้เหยื่อและครอบครัวของเหยื่อได้รับความเป็นธรรม เสียงจากญาติผู้สูญหาย คุณอังคณา นีละไพจิตร ภริยาคุณสมชาย นีละไพจิตร : ทุกๆ วันที่ 12 มีนาคม ของทุกปี ดิฉันจะเป็นคนหนึ่งในบรรดาญาติของผู้ถูกบังคับให้สูญหายของประเทศไทยที่จะออกมาทวงถามถึงการสูญหาย ตั้งแต่วันที่คุณสมชายหายไป ดิฉันตามไปทุกที่ เพื่อให้รัฐเห็นการแสดงออกของดิฉันอย่างจริงใจ ตามไปที่ค่ายทหาร ที่ทิ้งขยะ ไปศาลทุกวันที่มีการพิจารณาคดี เผชิญหน้ากับตำรวจที่เป็นผู้กระทำความผิดทั้ง 5 คน ผ่านมา 15 ปี มีหลายสิ่งที่มีการเปลี่ยนแปลง เมื่อเดือนมกราคม 2555 […]

เสวนาวิชาการวิเคราะห์การรับฟังพยานหลักฐานของศาลผ่านคดีฆาตกรรมอำพรางวัยรุ่นกาฬสินธุ์ช่วงนโยบายทำสงครามกับยาเสพติด : เสนอการสร้างสังคมที่ตรวจสอบ วิจารณ์คำพิพากษาอย่างสร้างสรรค์

คดีฆาตกรรมอำพรางนายเกียรติศักดิ์ ถิตย์บุญครอง เป็นหนึ่งในคดีฆาตกรรมอีกนับกว่า 2,500 คดีที่เกิดขึ้นในช่วงนโยบายประกาศสงครามกับยาเสพติดที่เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2546 แต่คดีส่วนใหญ่กลับไม่มีความคืบหน้าในการสืบสวน สอบสวนหาตัวนำผู้กระทำความผิดมาลงโทษ  คดีฆาตกรรมอำพรางนายเกียรติศักดิ์ฯ เป็นกรณีเดียวที่สามารถนำคดีเข้าสู่การพิจารณาคดีของศาลได้ ซึ่งก็เกิดจากความพยายามอย่างหนักของญาติและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และต้องเสี่ยงกับการคุกคามมากมาย แม้ในทางคดีจะสิ้นสุดลงแล้วโดยคำพิพากษาศาลฎีกาให้ยกฟ้องจำเลยทั้งหมด ซึ่งได้มีการรับฟังและชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานในลักษณะที่แตกต่างไปจากศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จนทำให้ผลของคดีออกมาสวนทางกันอย่างมาก โดยเฉพาะประเด็นเรื่องการรับฟังและชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานของศาล  (สรุปคำพิพากษานายเกียรติศักดิ์ ถิตย์บุญครอง) งานเสวนาวิชาการ หัวข้อการวิเคราะห์การรับฟังพยานหลักฐานของศาลในคดีอาญา ผ่านคดีฆาตกรรมอำพรางวัยรุ่นกาฬสินธุ์ช่วงรัฐบาลประกาศนโยบายทำสงครามกับยาเสพติด ที่จัดขึ้นโดย สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.)  และสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 ได้มีกล่าวถึงปัญหาในประเด็นการรับฟังและการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานของศาล  รวมถึงประเด็นการคุ้มครองพยาน ผ่านกรณีคดีฆาตกรรมอำพรางนายเกียรติศักดิ์ฯ ในงานเสวนานี้ นักวิชาการหลายท่านได้นำเสนอแนวทางการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมตั้งแต่ชั้นสอบสวน ชั้นพิจารณาคดี ตลอดจนประเด็นเรื่องการคุ้มครองพยานไว้อย่างน่าสนใจ เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อกระบวนการยุติธรรมมากขึ้น  มองปัญหากระบวนการยุติธรรมชั้นสอบสวน ถึงชั้นพิจารณาคดี ผ่านคดีฆาตกรรมอำพรางนายเกียรติศักดิ์ฯ   ทนายรัษฎา มนูรัษฎา คณะทำงานจากสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ นำเสนอเเละชวนตั้งข้อสังเกตในประเด็นศาลฎีกาได้มีคำพิพากษา “กลับ” คำพิพากษาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ โดยยกฟ้องจำเลยทั้งหมดว่าไม่มีความผิด เนื่องจากศาลเห็นว่าพยานโจทก์และโจทก์ร่วมปาก นางสาว อ. มีพิรุธไม่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือ ให้การเเตกต่างไปจากการให้การไว้กับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ประกอบกับจำเลยให้การปฏิเสธมาโดยตลอด จึงยกประโยชน์เเห่งความสงสัยให้จำเลยทั้งหก ทั้งที่พยานที่สอบไว้จำนวน […]

สมาคมนักกฎหมายสิทธิฯ ออกจดหมายเปิดผนึกถึงสถาบันตุลาการขอให้ทำหน้าที่คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนและตรวจสอบการใช้อำนาจตามประกาศ/ คำสั่ง คสช.

จดหมายเปิดผนึก วันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๖๑ เรื่อง     ขอให้สถาบันตุลาการทำหน้าที่คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ตรวจสอบการใช้อำนาจตามประกาศ/ คำสั่ง คสช. เรียน    ประธานศาลฎีกา           ผู้พิพากษาศาลยุติธรรมทั่วประเทศ สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) เป็นองค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหากำไร  มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมหลักนิติธรรม ความเป็นธรรมในสังคม และปกป้องสิทธิมนุษยชน  ผ่านการใช้มาตรการทางกฎหมายและการดำเนินคดี รวมถึงการผลักดันนโยบายต่างๆเพื่อให้บรรทัดฐานทางกฎหมายสอดคล้องกับหลักการสิทธิมนุษยชน หลักนิติธรรม และก่อให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม  โดยให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับประเด็นสิทธิในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม (Right to Fair Trial) สมาคมฯเห็นว่า สถาบันตุลาการเป็นหนึ่งในอำนาจอธิปไตยและเป็นกลไกสำคัญในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน  และช่วยสร้างหลักประกันว่าทุกคนที่ต้องสงสัยว่ากระทำความผิดจะได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรมตามมาตรฐานสากล  ฝ่ายตุลาการยังมีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้ตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจของฝ่ายบริหารและเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย เพื่อให้มีหลักประกันว่าการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐและฝ่ายบริหารได้ดำเนินการตามหลักสิทธิมนุษยชนและหลักนิติธรรมตามที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญและพันธกรณีระหว่างประเทศหรือไม่ ตลอดระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมานับแต่มีรัฐประหาร คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้มีการออกประกาศและคำสั่งที่จำกัดและละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนอย่างกว้างขวาง โดยอ้างว่ามีฐานะเป็นกฎหมาย หากจะยกเลิกประกาศหรือคำสั่งดังกล่าวได้จะต้องออกเป็นพระราชบัญญัติ  ตลอดเวลาที่ผ่านมา คสช. ไม่ได้มีท่าทีว่าจะยกเลิกประกาศหรือคำสั่งเหล่านั้นไปแต่อย่างใด และได้นำมาใช้เป็นเครื่องมือจำกัดและคุกคามสิทธิและเสรีภาพของประชาชนที่เห็นต่างจากรัฐอยู่เสมอ อันเป็นการละเมิดหลักการพื้นฐานของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และพันธกรณีระหว่างประเทศที่รัฐไทยเข้าเป็นภาคี โดยเฉพาะกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ ๓/๒๕๕๘ เรื่อง การรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของชาติ […]

ความเห็นทางกฎหมายต่อความรับผิดของเจ้าหน้าที่ภายใต้กฎอัยการศึก โดย ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน

ตามที่โฆษกของคณะรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (คสช.) ได้แถลงต่อสื่อมวลชนเมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๗ สรุปใจความได้ว่า “ประชาชนกลุ่มต่อต้านที่ออกมาชุมนุมอยู่ในหลายพื้นที่ ซึ่งเจ้าหน้าที่อาจจำเป็นต้องบังคับใช้กฎหมายอย่างเด็ดขาด หากปะทะกันอาจบาดเจ็บสูญเสีย จะไม่สามารถเรียกร้องอะไรได้ เพราะขณะนี้อยู่ในช่วงภาวะไม่ปกติ เจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจ ปฏิบัติงานภายใต้กฎอัยการศึก ,ประกาศ ,และคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติในทุกพื้นที่ของประเทศ” (อ่านข่าวได้ที่ http://thainews.prd.go.th/centerweb/news/NewsDetail?NT01_NewsID=WNPOL5705250020022)  ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน (ศทส.) เห็นว่าการให้ข้อมูลดังกล่าวไม่ถูกต้องตามหลักกฎหมาย และขัดต่อแนวคำพิพากษาของทั้งศาลปกครองและศาลทหาร  ที่เคยวินิจฉัยกรณีพิพาทที่มีข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายในสถานการณ์กฎอัยการศึกว่าหากเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารใช้อำนาจหน้าที่อย่างไม่ถูกต้องตามกฎหมาย  ประชาชนที่เสียหายก็ยังมีสิทธิฟ้องหน่วยงานให้ชดใช้ค่าเสียหายและแจ้งความดำเนินคดีอาญากับเจ้าหน้าที่ได้  หลักการพื้นฐานของกฎหมายปกครองมีอยู่ว่า การใช้อำนาจของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ว่าในสถานการณ์พิเศษอย่างไร  ก็ต้องเป็นไปตามกฎหมาย เป็นไปอย่างมีเหตุมีผล  และหากมีการฝ่าฝืนต่อหลักการข้างต้นก็ย่อมต้องมีความรับผิดอย่างไม่อาจปฏิเสธได้ ในรัฐสมัยใหม่ที่ยอมรับว่าประชาชนมีฐานะเป็นพลเมืองของรัฐเป็นประธานแห่งสิทธิและรัฐมีอำนาจจำกัดเท่าที่จำเป็นนั้น  การดำเนินการใด ๆ ของรัฐอันอาจไปกระทบสิทธิเสรีภาพของประชาชนนั้นจะกระทำได้ก็แต่โดยมีกฎหมายให้อำนาจไว้อย่างชัดแจ้ง  ไม่เพียงเท่านั้นต่อให้มีกฎหมายให้อำนาจไว้อย่างชัดแจ้งแล้ว  การใช้อำนาจของฝ่ายปกครองยังต้องเป็นไปโดยถูกต้องเป็นไปตามกฎหมาย มีเหตุผล  เมื่อพิจารณาการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจในสถานการณ์ปัจจุบันที่มีการประกาศใช้ พ.ร.บ. กฎอัยการศึกทั่วประเทศ  จะพบว่ามีบทบัญญัติที่กำหนดยกเว้นความรับผิดของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารไว้ในมาตรา ๑๖ ของ ซึ่งบัญญัติว่า “ความเสียหายซึ่งอาจบังเกิดขึ้นอย่างหนึ่งอย่างใด ในเรื่องอำนาจของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร ตามที่ได้กล่าวมาแล้วในมาตรา ๘ ถึงมาตรา ๑๕ บุคคลหรือบริษัทใด ๆ จะร้องขอค่าเสียหายหรือค่าปรับอย่างหนึ่งอย่างใดแก่เจ้าหน้าที่ทหารไม่ได้เลย เพราะอำนาจทั้งปวงที่เจ้าหน้าที่ทหารได้ปฏิบัติและดำเนินการตามกฎอัยการศึกนี้เป็นการสำหรับป้องกันพระมหากษัตริย์ ชาติ […]

1 2