ข่าวสิทธิมนุษยชน

เมื่อ “แม่” เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม…

  …เมื่อ “แม่” เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม… ลูกจะอยู่อย่างไร เมื่อแม่ต้องถูกดำเนินคดี และถูกคุมขังนานกว่า 40 วัน เพราะหาเงินประกันตัวไม่ได้ เรื่องราวต่อไปนี้ เป็นเรื่องราวของผู้หญิงคนหนึ่งที่เข้าไปสัมผัสกับกระบวนการยุติธรรม เธอเป็นเกษตรกร เป็นคนที่ต่อสู้เรื่องสิทธิในที่ดิน และที่สำคัญเธอเป็น “แม่” เธอคือ วิไลวรรณ กลับนุ้ย หนึ่งในจำเลยคดี “ชุมชนน้ำแดง” จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ถูกดำเนินคดีอาญาความผิดฐาน ซ่องโจร ร่วมกันบุกรุกเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเพื่อถือการครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้น ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนหรือเข้าไปกระทำการใดๆ อันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นโดยปกติสุข และร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ซึ่งพืชหรือพืชผลของกสิกร วิไลวรรณ กลับนุ้ย ได้ร่วมกับเกษตรกรไร้ที่ดินทำกินจำนวนหนึ่ง ในนามสหพันธ์เกตรกรภาคใต้ เรียกร้องให้มีการตรวจสอบที่ดินรกร้างว่างเปล่าที่เอกชนครอบครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เกษตรกรไร้ที่ดินเหล่านี้ได้เรียกร้องให้มีการปฏิรูปที่ดินอย่างเป็นธรรม แต่การปฏิรูปที่ดินก็ดำเนินไปอย่างล้าช้า เกษตรกรแต่ละกลุ่มภายใต้การนำของสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้จึงได้เข้าไปก่อตั้งเป็นชุมชนในพื้นที่รกร้างว่างเปล่า พื้นที่ที่เอกชนครอบครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และสร้างรูปแบบการจัดการพื้นที่แบบโฉนดชุมชน วิไลวรรณและเกษตรกรจำนวนกว่าร้อยคน ได้เข้าครอบครองที่ดินที่เอกชนปล่อยทิ้งร้าง และร่วมกันก่อตั้งเป็น “ชุมชนน้ำแดงพัฒนา” ขึ้น ที่ตำบลคลองน้อย อำเภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฏร์ ธานี ตั้งแต่ ปี 2552 ชาวบ้านได้ร่วมกันจัดการพื้นที่ โดยได้ทำการปลูกทั้งพืช เศรษฐกิจ คือปาล์มน้ำมัน และพืชอาหาร […]

นงเยาว์ กลับนุ้ย : บทสะท้อนสิทธิในการปล่อยตัวชั่วคราวของคนจน

“ช่วยไม่ได้ ก็ต้องอยู่ให้ได้” คำพูดทั้งน้ำตา ของป้านงเยาว์ นงเยาว์ กลับนุ้ย อายุ 64 ปี หนึ่งในชาวชุมชนน้ำแดงพัฒนา สมาชิกสหพันธ์เกษตกรภาคใต้ 12 คน (ถูกออกหมายจับ 15 คน) ที่ถูกดำเนินคดีอาญาความผิดฐาน ซ่องโจร ร่วมกันบุกรุกเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเพื่อถือการครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้น ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนหรือเข้าไปกระทำการใดๆ อันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นโดยปกติสุข และร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ซึ่งพืชหรือพืชผลของกสิกร (อ่านข้อมูลเพิ่มเติม ) นงเยาว์ ถูกออกหมายจับพร้อมชาวบ้านชุมชนน้ำแดง 15 คน และถูกตำรวจ สภ. ชัยบุรีเข้าไปจับกุมที่ชุมชนเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2560พร้อมชาวบ้านอีก 4 คน หลังจากนั้น วันที่ 21 เมษายน ก็มีชาวบ้านถูกจับเพิ่มอีก 2 ราย หลังจากการจับกุม ญาติของผู้ถูกจับแต่ละรายและทนายความจากเครือข่ายทนายความสิทธิมนุษยชนภาคใต้ ก็พยายามยื่นขอประกันตัวผู้ถูกจับกุม แต่การขอประกันตัวไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะมีการกำหนดอัตราหลักประกันตามจำนวนข้อหาและคดีที่ค่อนข้างสูง ซึ่งในกรณีนี้มีการแยกดำเนินคดีเป็น 3 คดีตามจำนวนผู้ที่มาร้องทุกข์ และแต่ละคดีจะมีทั้ง 3 ข้อหา ซึ่งแต่เดิมมีการตั้งข้อหา […]

เครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่ ประเทศไทย : ข้อคิดเห็นต่อการแถลงข่าวการประกาศใช้กฎหมายแร่ฉบับใหม่

๑๑ สิงหาคม ๒๕๖๐ เครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่ เผยแพร่ข้อคิดเห็นต่อการแถลงข่าวการประกาศใช้กฎหมายแร่ฉบับใหม่ โดยมีข้อความดังนี้ ตามที่กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) จัดให้มีการแถลงข่าวการประกาศใช้กฎหมายแร่ฉบับใหม่  หรือพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๖๐  ณ ห้องประชุมดีบุก ชั้น ๒  อาคาร กพร.  ในเช้าวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๖๐  นั้น  เครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่มีข้อคิดเห็น  ดังนี้ ๑. ย่อหน้าแรกในเอกสารแจกของ กพร. ประกอบการแถลงข่าวในครั้งนี้  อธิบายเนื้อหาเกี่ยวกับใบอนุญาตที่มีอยู่ก่อนแล้วไม่ครบถ้วน  ความว่า  “บรรดาบรรดาอาชญาบัตร  ประทานบัตร  หรือใบอนุญาตอยู่ก่อนแล้ว  ให้ถือเป็นการได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติฉบับใหม่นี้จนกว่าจะสิ้นอายุหรือถูกเพิกถอน”  นั้น ตามมาตรา ๑๘๙ วรรคแรกของกฎหมายแร่ฉบับใหม่ระบุเนื้อหาที่ครบถ้วนเอาไว้ดังนี้  “บรรดาอาชญาบัตร  ประทานบัตร  หรือใบอนุญาตที่ได้ออกให้ตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๑๐  ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ  ให้ถือเป็นอาชญาบัตร  ประทานบัตร  หรือใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้  และให้ยังคงใช้ได้จนกว่าจะสิ้นอายุหรือถูกเพิกถอน  โดยต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้  ยกเว้นการจัดทําแนวพื้นที่กันชนการทําเหมืองและการจัดทําข้อมูลพื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนตามมาตรา ๓๒  การฟื้นฟูสภาพพื้นที่การทําเหมือง  การวางหลักประกัน  และการจัดทําประกันภัยตามมาตรา […]

ศาลปกครองสูงสุดพิพากษาคดีกลุ่มอนุรักษ์คนฮักท้องถิ่นยื่นฟ้องขอเพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยชีวมวล ในพื้นที่ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย

วันพุธที่ 5 กรกฎาคม 2560 เวลา 10.00 นาฬิกา ที่ศาลปกครองจังหวัดเชียงใหม่ มีนัดอ่านคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดคดีที่กลุ่มอนุรักษ์คนฮักท้องถิ่นยื่นฟ้องขอเพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยชีวมวล ในพื้นที่ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย ต่อศาลปกครอง เป็นคดีหมายเลขดำที่ 146/2554 และ คดีหมายเลขแดงที่ 278/2556 คดีนี้ประชาชนในพื้นที่ 3 ตำบล คือตำบลเวียงเหนือ ตำบลริมกก ตำบลทุ่งก่อ อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย จำนวน 100 รายเป็นผู้ฟ้องคดี และมีรายชื่อผู้สนับสนุนการฟ้องคดีกว่า 1,000 รายชื่อ รวมตัวกันยื่นฟ้องคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (ผู้ถูกฟ้องคดี) ต่อศาลปกครองเชียงใหม่เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2554 เพื่อให้ศาลปกครองจังหวัดเชียงใหม่เพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานผลิตไฟฟ้าที่ผู้ถูกฟ้องคดีออกให้แก่บริษัทพลังงานสะอาดดี 2 จำกัด เนื่องจากกระบวนการออกใบอนุญาตไม่ชอบด้วยกฎหมาย ประกอบด้วยพื้นที่ดังกล่าวไม่เหมาะสมในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าเนื่องจากเป็นพื้นที่เกษตรกรรมสำคัญของจังหวัดเชียงรายขัดกับกฎกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2535) ตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 และอาจมีผลกระทบกับแหล่งน้ำและความอุดมสมบูรณ์ในพื้นที่ มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยร่างกายจากฝุ่นละอองที่เกิดจากการเผาไหม้วัตถุดิบ รวมทั้งผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการขนส่งวัตถุดิบจากอำเภออื่นๆ มาใช้ในกระบวนการผลิตของโรงไฟฟ้าชีวมวลของบริษัท พลังงานสะอาดดี 2 […]

พรุ่งนี้แล้วต้องขึ้นศาล : ศาลจังหวัดเวียงสระนัดพร้อม/สอบคำให้การคดีชาวบ้านชุมชนน้ำแดงพัฒนา 13 ถูกกล่าวหาในความผิดฐานบุกรุก ทำให้เสียทรัพย์ และซ่องโจร

ศาลจังหวัดเวียงสระนัดพร้อม/สอบคำให้การคดีชาวบ้านชุมชนน้ำแดงพัฒนา 13 ถูกกล่าวหาในความผิดฐานบุกรุก ทำให้เสียทรัพย์ และซ่องโจร วันจันทร์ที่ 24 กรกฎาคม 2560 เวลา 09.00 น. ศาลจังหวัดเวียงสระ นัดพร้อม/สอบคำให้การคดีอาญาหมายเลขดำที่ 1460/2560 ซึ่งเป็นคดีที่ชาวบ้านชุมชนน้ำแดงพัฒนา 13 คนถูกแจ้งความดำเนินคดีในความผิดฐานซ่องโจร ร่วมกันบุกรุกเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเพื่อถือการครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วนหรือเข้าไปกระทำการใดๆอันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นโดยปกติสุข และร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ซึ่งพืชหรือพืชผลของกสิกร ที่มาของคดีนี้ สืบเนื่องจากเอกชนจำนวน 3 ราย ได้แก่ 1. นายภาสกร เจริญมีชัยกุล 2. บริษัทสากลทรัพยากรพัฒนา จำกัด 3. บริษัท อิควอโทเรียล คอมมิวนิเคชั่น (ประเทศไทย) จำกัด มหาชน ได้เข้าแจ้งความและตำรวจ สภ. ชัยบุรีได้ขอให้ศาลจังหวัดเวียงสระออกหมายจับชาวบ้านชุมชนน้ำแดงพัฒนาจำนวน 15 คน เป็นเหตุให้ในวันที่ 20 และ 21 เมษายน 2560 ตำรวจ สภ. ชัยบุรี ได้ทำการจับกุมตัวชาวบ้านจำนวน 8 คน […]

เรื่องราวของเอกสารสิทธิ์และจอบเสียม

เมื่อฝ่ายหนึ่งเป็นบริษัทที่มีเงินทุนกับอีกฝ่ายหนึ่งเป็นเกษตรกรที่หาเช้ากินค่ำให้ตัวเองและครอบครัวอยู่รอด เรื่องราวการต่อสู้ในกระบวนการยุติธรรมที่เกิดขึ้นจริง ณ ชุมชนน้ำแดงพัฒนา จ.สุราษฎร์ธานี นายเริงฤทธิ์ สโมสร สมาชิกสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ เป็นหนึ่งในชาวชุมชนน้ำแดงพัฒนาจาก 15 คน ที่ถูกดำเนินคดีอาญาความผิดฐาน ซ่องโจร ร่วมกันบุกรุกเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเพื่อถือการครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้น ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนหรือเข้าไปกระทำการใดๆ อันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นโดยปกติสุข และร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ซึ่งพืชหรือพืชผลของกสิกร (อ่านข้อมูลเพิ่มเติมคดีนี้ที่https://naksit.net/th/?p=608 ) ทางทีม HRLA ได้ลงไปติดตามสถานการณ์ต่างๆ ในพื้นที่ดังกล่าว ก็ได้พบกับนายเริงฤทธิ์ ซึ่งนายเริงฤทธิ์อาศัยอยู่ในชุมชนน้ำแดงมาระยะเวลาเกือบ 10 ปีแล้ว และได้เล่าเรื่องราวให้ฟัง… “จากปัญหาที่เกิด เรื่องปากท้องของชาวบ้าน ส่วนใหญ่ก็ไม่ค่อยมีที่ทำกิน เป็นเหตุผลที่ต้องเข้ามาหาพื้นที่ทำกิน ความรู้สึกของชาวบ้าน หลังจากที่ได้เข้ามาใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน ก็รู้สึกว่าเป็นครอบครัว เป็นชุมชน ตลอดระยะเวลาปีที่ 10 เห็นว่าพื้นที่ตรงนี้เป็นพื้นที่ที่ทิ้งร้าง ไม่มีผู้ใดมาใช้ประโยชน์ ชาวบ้านที่เป็นชาวบ้านข้างเคียง ก็เห็นว่าพื้นที่ตรงนี้เป็นพื้นที่ ที่ว่าน่าจะเอามาใช้ประโยชน์ เพื่อที่จะให้ครอบครัวมีอาชีพ ซึ่งชาวบ้านก็ไม่รู้ว่าที่ดินตรงนี้เป็นที่ดินประเภทไหน รู้แต่ว่าเป็นป่า ป่าที่ไม่มีใครใช้ประโยชน์ ชาวบ้านก็ทยอยเข้ามาทีละครัวสองครัว เข้ามาจับจองพื้นที่ทำกิน มาตลอดระยะเวลาที่เข้ามาอยู่ตั้งแต่ปลายปี 2551 ตลอดเวลาที่ผ่านมา ไม่มีใครเข้ามาแสดงสิทธิ์ว่าเป็นเจ้าของ กลุ่มชาวบ้านเองก็คาดไม่ถึงกับสิ่งที่เกิดขึ้นในเรื่องของคดีความ เพราะว่ามันเหมือนกับว่าชาวบ้านจน ๆ ที่เข้ามาใช้พื้นที่ ที่เค้าไม่ใช้ประโยชน์ แล้วจู่ […]

แจ้งข่าว : ศาลปกครองสูงสุดนัดฟังคำพิพากษาคดีกลุ่มคนฮักท้องถิ่นคัดค้านโครงการก่อสร้างโรงงานกระแสไฟฟ้าด้วยชีวมวล ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย

วันพุธที่ 5 กรกฎาคม 2560 เวลา 10.00 นาฬิกา ณ ศาลปกครองจังหวัดเชียงใหม่ ขอเรียนเชิญสื่อมวลชนและผู้สนใจเข้าร่วมฟังคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดคดีชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์ คนฮักท้องถิ่นคัดค้านโครงการก่อสร้างโรงงานกระแสไฟฟ้าด้วยชีวมวล ในพื้นที่ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย คดีหมายเลขดำที่ 146/2554 และ คดีหมายเลขแดงที่ 278/2556 คดีนี้สืบเนื่องจากประชาชนในพื้นที่ตำบลเวียงเหนือ ตำบลริมกก ตำบลทุ่งก่อ อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย จำนวน 100 รายเป็นผู้ฟ้องคดี พร้อมรายชื่อผู้สนับสนุนการฟ้องคดีกว่า 1,000 รายชื่อ รวมตัวกันยื่นฟ้องคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (ผู้ถูกฟ้องคดี) ต่อศาลปกครองเชียงใหม่เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2554 เพื่อให้ศาลปกครองจังหวัดเชียงใหม่เพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานผลิตไฟฟ้าที่ผู้ถูกฟ้องคดีออกให้แก่บริษัทพลังงานสะอาดดี 2 จำกัด เนื่องจากกระบวนการออกใบอนุญาตไม่ชอบด้วยกฎหมาย ประกอบด้วยพื้นที่ดังกล่าวไม่เหมาะสมในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าเนื่องจากเป็นพื้นที่เกษตรกรรมสำคัญของจังหวัดเชียงรายขัดกับกฎกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2535) ตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 และอาจมีผลกระทบกับแหล่งน้ำและความอุดมสมบูรณ์ในพื้นที่ มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยร่างกายจากฝุ่นละอองที่เกิดจากการเผาไหม้วัตถุดิบ รวมทั้งผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการขนส่งวัตถุดิบจากอำเภออื่นๆ มาใช้ในกระบวนการผลิตของโรงไฟฟ้าชีวมวลของบริษัท พลังงานสะอาดดี 2 จำกัด นอกจากนี้บริเวณใกล้เคียงกับพื้นที่ก่อสร้างยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญของจังหวัดเชียงราย […]

“คุณัญญา สองสมุทร”กับเส้นทางอาสาสมัครนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน

หากนับจากรุ่นแรกที่ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2549 จนถึงปัจจุบัน(พ.ศ.2556) โครงการอาสาสมัครนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนที่จัดตั้งขึ้นภายใต้การดำเนินงานมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม(มอส.)ได้รับอาสาสมัครเข้าโครงการจำนวน 8 รุ่นแล้ว โครงการนี้ได้ปลูกฝังจิตสำนึกด้านสิทธิมนุษยชนแล้วส่งต่อคนออกมาทำงานด้านสิทธิมนุษยชนจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียวทั้งในบทบาทนักกฎหมายและทนายความ ส่งผลให้แวดวงนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนมีชีวิตชีวามากขึ้นกว่าที่เคยเป็น แม้ว่าพวกเขาเหล่านั้นยังมีประสบการณ์ทำงานไม่มากนัก แต่การที่ได้ทำงานกับทนายความรุ่นพี่ๆที่คอยส่งต่อความรู้และถ่ายทอดประสบการณ์ให้กับรุ่นน้องๆอยู่เสมอ อย่างน้อยก็เป็นหลักประกันได้ว่ามุมมองแนวคิดการทำงานเรื่องสิทธิมนุษยชนโดยใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือยังคงมีอยู่ในสังคมไทยไม่ได้สลายหายไปตามสายลม สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน(HRLA) เป็นองค์กรหนึ่งที่มีจุดเริ่มจากการปลูกฝังแนวคิดด้านสิทธิมนุษยชนจากโครงการอาสาสมัครนักฎหมายสิทธิมนุษยชน โดยเหล่าอดีตอาสาสมัครในหลายๆรุ่นของโครงการดังกล่าวร่วมด้วยช่วยกันชักชวนนักกฎหมายและทนายความที่มีประสบการณ์และมีแนวคิดการทำงานด้านสิทธิมนุษยชนเพื่อก่อร่างสร้างพื้นที่ห้องทดลองงานด้านสิทธิมนุษยชนขึ้น โดยหวังเอาไว้ว่าสักวันวัฒนธรรมสิทธิมนุษยชนจะเกิดขึ้นในสังคมไทย แม้จะมองว่าเป็นเรื่องที่ต้องทุ่มทั้งกำลังกายและกำลังใจในปริมาณที่มากโขให้กับสิ่งๆนั้นพวกเขาก็เต็มใจที่ทุ่มแรงกายและใจ ผลสำเร็จอาจไม่ได้มาเพียงชั่วข้ามคืนเป็นเรื่องที่ต้องดูกันยาวๆ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างแรงขับเคลื่อนใหม่ๆเพื่อให้สัมฤทธิ์ผลในอนาคต นั่นเองที่ทำให้สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน(HRLA) หรือแม้กระทั่งมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม (มอส.)เอง ได้เล็งเห็นความสำคัญของพลังคนรุ่นใหม่ที่จะสานต่อภารกิจให้ลุล่วง จึงเลือกที่จะให้พื้นที่กับนักกฎหมายรุ่นใหม่ๆได้เข้ามาเรียนรู้และทำงานในเส้นทางสายสิทธิมนุษยชนอยู่เสมอๆ แม้จะมีเบี้ยมีทุนไม่มากมายนักแต่ด้วยหัวจิตหัวใจทำให้โครงการอาสาสมัครนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนได้ล่วงเข้าสู่รุ่นที่ 8แล้ว ที่ผ่านมาทำให้เกิดคนทำงานด้านกฎหมายสิทธิมนุษยชนในจำนวนที่เพิ่มขึ้นกว่าเดิมบ้างแล้ว และหวังว่ามันจะเพิ่มจำนวน(พร้อมคุณภาพ)มากขึ้นเรื่อยๆในอนาคต หากเป็นเช่นนั้นจริงความหวังคงไม่ไกลเกินจริงมากนัก ในปีนี้ “นางสาวคุณัญญา สองสมุทร” คือคนที่ได้โอกาสใช้พื้นที่ของการเป็นอาสาสมัครเข้าทำงานร่วมกับสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (HRLA) เธอไม่ได้เข้ามาจากการโหวตทาง sms จากทางบ้านแต่อย่างใด เธอบอกกับเราว่าเธอมาพร้อมใจที่อาสาทำดี จริงเท็จประการใดลองไปทำความรู้จักกับตัวตนและความคิดของเธอในฐานะ “อาสาสมัครนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน” ไปกันเลย !!! HRLA: ช่วยแนะนำตัวให้เราได้รู้จักที่ไปที่มาของตัวคุณ Volunteer: ชื่อคุณัญญา สองสมุทร ชื่อเล่น หนึ่ง ปัจจุบันหนึ่งอายุ 28 ปี หนึ่งเป็นคนจังหวัดระนอง เรียนชั้นประถมศึกษาที่จังหวัดระนอง ชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนสายปัญญาในพระบรมราชินูปถัมภ์ […]

ภาคประชาชน เรียกร้องรัฐรับฟังความเห็นร่างกฎหมายอย่างแท้จริง ไม่ใช่เพียงพิธีกรรม

วันที่ 30 มิถุนายน 2560 เครือข่ายองค์ภาคประชาสังคม ร่วมกันออกแถลงการณ์แสดงความกังวลต่อกระบวนการรับฟังความคิดเห็นและการวิเคราะห์ผลกระทบจากการออกกฎหมาย ตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญ 2560 แถลงการณ์ฉบับนี้รวบรวมและสรุปความคิดเห็นจากนักวิชาการ และภาคประชาชน ในงานเสวนา “การวิเคราะห์ผลกระทบในการออกกฎหมาย กับ กรณีการออกกฎหมายตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 77” ซึ่งจัดขึ้นที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน ที่ผ่านมา นายสุรชัย ตรงงาม เลขาธิการมูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า มติคณะรัฐมนตรีที่ออกเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2560 กำหนดแนวทางการประเมินผลกระทบของกฎหมายและการรับฟังความคิดเห็น ไว้แค่ให้หน่วยงานรัฐเปิดรับฟังความคิดเห็นทางเว็บไซต์ อย่างน้อย 15 วันเท่านั้น ซึ่งเป็นมาตรฐานการรับฟังประชาชนที่ต่ำมาก ทำให้การรับฟังความคิดเห็นกลายเป็นแค่เพียงพิธีกรรม “ที่ผ่านมาการเร่งดำเนินการร่างกฎหมายเป็นไปอย่างรวดเร็ว การรับฟังความคิดเห็นเป็นเพียงการทำตามแบบฟอร์มตามมติคณะรับมนตรีและไม่สนใจกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ขัดกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ มาตรา 77 ที่รัฐต้องรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้อง และต้องวิเคราะห์ผลกระทบอย่างรอบด้านและเป็นระบบ” สุรชัย กล่าว นายสุรชัย ยกตัวอย่างว่า ตลอดระยะเวลาเกือบสามเดือนหลังรัฐธรรมนูญ 2560 ประกาศใช้ พบตัวอย่างการเปิดรับฟังความคิดเห็นตามมติคณะรัฐมนตรีในประเด็นที่กระทบต่อประชาชน เช่น […]

ศาลฎีกาพิพากษาคดีสองชาวชาติพันธุ์กระเหรี่ยงบ้านแม่อมกิ ไม่ผิดฐานบุกรุกป่าสงวน เพราะอยู่มาก่อน แต่ต้องออกจากพื้นที่

วันที่ 21 มีนาคม 2560 ศาลจังหวัดแม่สอด จังหวัดตาก อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาคดี 2 ชาวกระเหรี่ยงบ้านแม่อมกิ คือ นางน่อเฮมุ้ยหรือหน่อเฮหมุ่ย เวียงวิชชา และนายดิแปะโปหรือดิ๊แปะโพ ถูกดำเนินคดีในข้อหาบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติ โดยศาลฎีกามีคำพิพากษาสรุปความได้ว่า จำเลยทั้งสองไม่มีความผิด เพราะขาดเจตนาบุกรุก เนื่องจากเป็นคนดั้งเดิมอยู่อาศัยทำกินมาก่อนประกาศเขตป่าสงวน แต่อย่างไรก็ดี ศาลฎีกายังคงยืนยันให้จำเลยทั้งสองและบริวารต้องออกจากพื้นที่ เดินในวันนี้ (22 มีนาคม 2560) ศาลนัดอ่านคำพิพากษาเฉพาะคดีของนางน่อเฮมุ้ยหรือหน่อเฮหมุ่ย เวียงวิชชา คดีหมายเลขดำที่ อ.1770/2551 หมายเลขแดงที่ 1737/2551 คดีความผิดต่อพ.ร.บ ป่าไม้ และพ.ร.บ ป่าสงวนแห่งชาติ แต่ทนายความได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลอ่านคำพิพากษาฎีกาในคดีของนายดิแปะโปหรือดิ๊แปะโพ หมายเลขดำที่ อ.1771/2551 หมายเลขแดงที่ 1738/2551 ด้วยในวันเดียวกันนี้ จากเดิมที่ศาลนัดอ่านในวันที่ 23 มีนาคม 2560 คดีนี้สืบเนื่องจากชาวกระเหรี่ยง 2 คนคือ นางน่อเฮมุ้ย เวียงวิชชา และนายดิแปะโป ที่มีอาชีพทำไร่หมุนเวียนเพื่อเลี้ยงชีพ ในชุมชนบ้านแม่อมกิ ตำบลแม่ว่าหลวง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก […]

1 10 11 12 13 14