บทความน่าสนใจ

ความสำเร็จภายใต้กฎหมายความมั่นคง โดย มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม

นับเป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่ง ที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ภาค ๔ ส่วนหน้า ได้ประกาศผลความสำเร็จในการทำงานเพื่อยุติการใช้ความรุนแรงด้วยวิธีการอบรมแทนการดำเนินคดี ซึ่งเป็นการดำเนินการภายใต้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.๒๕๕๑ โดยมีผู้จบหลักสูตรการอบรมมาแล้วสองคน คือ นายรอยาลี บือราเฮง และนายยาซะ เจะหมะ ทั้งสองคนเป็นผู้ต้องหาและได้รับสารภาพในความผิดที่ถูกกล่าวหา โดยยอมรับว่ากระทำไปเพราะหลงผิดหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และยินยอมเข้ารับการอบรมตามมาตรา ๒๑ แทนการถูกดำเนินคดี นับว่าเป็นสัญญาณที่ดีและเป็นการสร้างบรรยากาศที่จะเอื้อให้หลายคนที่เข้าไปอยู่ในกลุ่มของขบวนการก่อความไม่สงบอย่างหลงผิดและรู้เท่าไม่ถึงการณ์ได้มีช่องทางหรือหาทางออกให้กับตัวเอง กฎหมายความมั่นคงฉบับนี้ฉีกแนวกว่ากฎหมายพิเศษที่ใช้บังคับมาแล้ว ทั้งกฎอัยการศึกและพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินหรือพ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพราะเปิดพื้นที่ให้ผู้กระทำความผิดที่กระทบต่อความมั่นคงแต่กลับใจได้มีโอกาสเข้ามอบตัว หรือในกรณีที่พนักงานสอบสวนดำเนินการสอบสวนแล้วพบว่าผู้ต้องหานั้นๆกระทำไปเพราะหลงผิดและรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ทั้งเห็นว่าการกลับใจของผู้นั้นจะเป็นประโยชน์ต่อการรักษาความมั่นคง ในกรณีอย่างนี้ หากผู้อำนวยการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (ผอ.กอ.รมน.) เห็นชอบ ก็สามารถส่งเรื่องให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องต่อศาล และหากศาลเห็นสมควร เมื่อสอบถามผู้ต้องหาแล้วสมัครใจเข้าร่วมอบรม ก็อาจสั่งให้ผู้ต้องหานั้นเข้ารับการอบรม ณ สถานที่ที่กำหนดไว้เป็นเวลาไม่เกินหกเดือนแทนการถูกดำเนินคดี ผลในทางกฎหมายในกรณีนี้ คือ สิทธิในการนำคดีมาฟ้องเกี่ยวกับความผิดตามข้อกล่าวหาดังกล่าวเป็นอันระงับไป ตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา ๓๙) ซึ่งจะเป็นผลดีต่อตัวผู้ต้องหาเอง เจตนารมณ์ของกฎหมายนั้นต้องการให้กลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงหรือผู้ที่มีหมายจับ ไม่ว่าจะเป็นหมายจับตามพรก.ฉุกเฉินหรือตามป.วิอาญาได้เข้าสู่กระบวนทางกฎหมาย ทั้งนี้เพื่อที่จะยุติการก่อเหตุรุนแรงหรือการก่อความไม่สงบ อันเป็นเรื่องที่สอดคล้องกับการสร้างบรรยากาศหรือเปิดพื้นที่ให้กับคนที่มีความเห็นต่างได้มีโอกาสเข้ามาให้ความร่วมมือกับภาครัฐในการแก้ไขปัญหา จึงเป็นความปรารถนาดีของรัฐที่มีต่อฝ่ายที่หลงผิดและเข้าสู่ขบวนการ ไม่ว่าที่ยังอยู่ในพื้นที่หรือที่กำลังหลบหนีก็ตาม ทั้งนี้เพื่อให้ยุติทั้งความคิดและการกระทำ เท่ากับว่ารัฐได้เปิดหนทางให้แล้ว และหากพวกเขาเข้าสู่กระบวนการนี้ก็มีโอกาสที่จะได้กลับมาใช้ชีวิตตามปกติ ในกรณีที่ไม่มีอาชีพ ทางการก็อาจหาอาชีพให้โดยมีข้อแลกเปลี่ยนคือขอให้ยุติการก่อเหตุรุนแรง หยุดสร้างความเสียหายแก่ชาติบ้านเมือง ร่วมกันพัฒนาชาติและสร้างสันติภาพในพื้นที่ต่อไป แต่ข้อสรุปนี้จะเป็นความคาดหวังที่ยังห่างไกลความจริงของรัฐหรือไม่ […]

7 ปีที่รอคอย : มุมมองของเหยื่อซ้อมทรมานหลังคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด

  กรณีการซ้อมทรมานนายอิสมาแอ เตะ อดีตนักศึกษามหาวิทยาลัยสถาบันราชภัฎยะลาที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ บ่งชี้ว่าการซ้อมทรมานเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในสังคมไทย นายอิสมาแอถูกเจ้าหน้าที่ทหารจับกุมเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2551 โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ.2457 เพียงเพราะมีพยานซัดทอดว่าเป็นแนวร่วมก่อความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนใต้ โดยในระหว่างการควบคุมตัวตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึกฯ เขาได้ถูกเจ้าหน้าที่ทำร้ายร่างกาย เพื่อให้รับสารภาพว่าเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด ผ่านวิธีการต่างๆ ทั้งใช้ผ้าปิดตา ให้นั่งคุกเข่าหน้าอกแนบราบไปกับต้นขา แล้วใช้เก้าอี้วางครอบไปบนหลัง มีทหารนั่งอยู่บนเก้าอี้ และทหารคนอื่นๆ รุมเตะทำร้าย ใช้ยางในรถจักยานยนต์คล้องที่คอแล้วดึงขึ้น ทำให้หายใจไม่ออกและทรมาน ให้กินข้าวกลางฝนที่ตกหนัก ให้อยู่ในห้องที่เปิดแอร์เย็นจัดในขณะที่ตัวเปียก เป็นต้น จากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้นายอิสมาแอ เตะ และนายอามีซี มานาก ได้ตัดสินใจยื่นฟ้องกองทัพบกและกระทรวงกลาโหมต่อศาลปกครองจังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2552 ฐานละเมิดตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 ซึ่งหน่วยงานที่เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดสังกัดต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น และขอให้ศาลสั่งให้หน่วยงานดังกล่าวเยียวยาความเสียหายแก่นายอามีซีและนายอิสมาแอจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 32 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 “เราอยากให้กฎหมายดำเนินการลงโทษต่อเจ้าหน้าที่ที่ทำร้ายร่างกายประชาชน และอยากให้คดีของเราเป็นกรณีตัวอย่างเพื่อให้รัฐรับทราบว่าขณะนี้ในประเทศไทยยังคงมีการซ้อมทรมานอยู่แม้ว่าประเทศไทยจะมีการลงนามตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ(CAT) แต่สิ่งที่เกิดขึ้นทั้งในพื้นที่ภาคใต้และทั้งประเทศยังคงมีกรณีของการซ้อมทรมาน จึงอยากให้เรื่องนี้รับทราบสู่สาธารณะว่าการซ้อมทรมานประชาชนโดยเจ้าหน้าที่รัฐนั้นเกิดขึ้นจริง” นายอิสมาแอกล่าว การต่อสู้ของอิสมาแอและเพื่อนเกือบ 2 ปี จนนำไปสู่การได้มาซึ่งคำพิพากษาของศาลปกครองสงขลา เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน […]

การทุเลาการบังคับตามกฎหรือคำสั่งของศาลปกครองในคดีปกครองด้านสิ่งแวดล้อม : ศึกษากรณีคำสั่งยกคำร้องขอทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครองในคดี หมายเลขดำที่ 1454/2553 ของศาลปกครองกลาง โดย สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์

1. เหตุผลที่ต้องมีมาตรการทุเลาการบังคับตามกฎหรือคำสั่งทางปกครองก่อนการพิพากษา เนื่องจากระบบกฎหมายยอมรับข้อเท็จจริงที่ว่า กระบวนการยุติธรรมมักใช้ระยะเวลานานพอสมควรจึงจะสามารถหาข้อยุติจนนำไปสู่ การมีคำพิพากษาที่ให้ความเป็นธรรมกับคู่กรณีได้ แต่การฟ้องคดีปกครองประเภทขอให้เพิกถอนกฎหรือคำสั่งตามพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 9 (1) <1> กฎหมาย บัญญัติว่าระหว่างที่ยังไม่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งใด ๆ ออกมา คำสั่งทางปกครองหรือกฎที่เป็นวัตถุแห่งคดีที่ออกโดยฝ่ายปกครองย่อมยังมีผล ใช้บังคับต่อไป <2> นั่นหมายความว่าความเดือดร้อนเสียหายของผู้ฟ้องคดีที่เกิดจากกฎหรือคำสั่งทางปกครอง ยังคงมีอยู่และดำเนินต่อไปตราบเท่าที่ศาลยังไม่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณารัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศก็จะพบว่า มีบทบัญญัติที่รับรองสิทธิเสรีภาพที่สำคัญคือ มาตรา 28 วรรคสอง <3> ซึ่งเป็นการให้หลักประกันในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนโดยองค์กรตุลาการ โดยการตีความรัฐธรรมนูญมาตรานี้ย่อมต้องตีความว่าเป็นการคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพของประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพอย่างมีประสิทธิภาพ ย่อมหมายถึงการคุ้มครองสิทธิให้ทันกับเวลาและสภาพความเป็นจริงที่ต้องคุ้ม ครองด้วย หลักประกันในการคุ้มครองสิทธิโดยองค์กรตุลาการจึงต้องคำนึงถึงการคุ้มครอง สิทธิในสภาพความเป็นจริง จากสภาพพื้นฐานที่กล่าวมาจึงจำต้องมีหลักประกันในการคุ้มครองชั่วคราว ไม่เช่นนั้นการพิจารณาคดีปกครองก็จะไม่ก่อให้เกิดผลในการคุ้มครองสิทธิของ ประชาชนแต่อย่างใด <4> จึงสรุปได้ว่าเหตุผลที่ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ได้บัญญัติให้ศาลมีอำนาจกำหนดมาตรการหรือวิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนการ พิพากษาไว้ในมาตรา 66 <5>คือ เพื่อให้การดำเนินคดีปกครองสามารถคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ตามที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 28 วรรคสองได้บัญญัติรับรองและคุ้มครองไว้ 2. […]

กรณีล่ามโซ่นายชาลี ดียู ว่าด้วยการบังคับใช้กฎหมาย : สถานะของระเบียบกับรัฐธรรมนูญ โดย จันทร์จิรา จันทร์แผ้ว

แม้การทรมาน การปฏิบัติและการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมและย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ตามอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้าน การทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (CAT) จะไม่ใช่เรื่องใหม่ในสังคมไทยแล้วก็ตาม แต่ยังคงไม่เป็นที่รับรู้ในหมู่ประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐมากนัก ทั้งที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๒ ได้รับรองสิทธิในชีวิตและร่างกาย และสิทธิที่จะไม่ถูกทรมานการทรมาน ทารุณกรรม หรือการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรม ซึ่งสอดคล้องและเป็นไปตามอนุสัญญาฯ ดังกล่าวซึ่งไทยเป็นภาคีและมีผลบังคับใช้ให้ต้องปฏิบัติตามพันธกรณีเมื่อวัน ที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ เป็นต้นมา รูปแบบของการทรมาน การปฏิบัติหรือลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมและย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ นอกจากการทำร้ายร่างกายและจิตใจให้รับสารภาพด้วยวิธีการต่างๆ ทั้งที่ทำให้ปรากฏร่องรอยตามร่างกายและไม่ปรากฏร่องรอยตามร่างกาย เช่น การใช้น้ำหยดลงบนศรีษะอยู่ตลอดเวลา การบังคับให้ร่างกายอยู่ในสภาพที่ไม่สามารถขยับเขยื้อนได้เป็นเวลานานจน กล้ามเนื้อได้รับบาดเจ็บ เป็นต้น ยังมีรูปแบบอื่นที่ถือเป็นการทรมาน การปฏิบัติและการลงโทษโดยย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เช่น การจำตรวนนักโทษไว้ตลอดเวลา การคุมขังอยู่ในสถานที่ที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขอนามัย การไม่ได้รับการรักษาพยาบาล หรือการขังเดี่ยว เป็นต้น กรณีของนายชาลี ดียู ชาวพม่าซึ่งประสบอุบัติเหตุจากการทำงานได้รับบาดเจ็บสาหัส ซึ่งมีสถานะเป็นแรงงานข้ามชาติมีสิทธิอาศัยชั่วคราวและได้รับอนุญาตให้ทำงาน ตามกฎหมาย แต่เนื่องจากเอกสารสูญหาย จึงถูกควบคุมตัวและส่งไปรักษารักษาอาการบาดเจ็บที่โรงพยาบาลตำรวจ เจ้าหน้าที่ได้ล่ามโซ่นายชาลีไว้โดยอ้างว่ามีระเบียบกำหนดไว้ และเกรงว่านายชาลีจะหลบหนี แม้ภายในห้องของโรงพยาบาลจะมีลูกกรงเหล็กซึ่งมีลักษณะเป็นที่คุมขังอยู่แล้ว ก็ตาม ต่อมามูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาได้เข้าให้การช่วยเหลือและประสาน งานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอให้ปลดโซ่ที่ล่ามไว้กับเตียง […]

ข้อวิพากษ์ทางกฎหมาย เบื้องต้น ต่อกรณีคำพิพากษาฎีกาจำคุก 4 เดือน แกนนำผู้ใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญปกป้องชุมชนและสิ่งแวดล้อม โดย สุรชัย ตรงงาม

คดีนี้ ผมในฐานะผู้อำนวยการโครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLAW) มีส่วนเกี่ยวข้องโดยเป็นหัวหน้าคณะให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายกรณี การคัดค้านโรงไฟฟ้าบ่อนอก-หินกรูด ของสภาทนายความ ติดตามข้อมูล ร่วมสอบข้อเท็จจริง กับหน่อย จินตนา แก้วขาว ตั้งแต่ปี 2544 แต่มิได้เป็นทนายความ ว่าความในคดีนี้โดยตรงครับ แต่ขอเสนอข้อเท็จจริงจากสำนวนและความเห็นทางกฎหมายดังนี้ คดีนี้อัยการฟ้องว่า จิตนาแก้วขาว มีความผิดในข้อหาบุกรุก โดยร่วมกันกระทำผิดตั้งแต่สองคนขึ้นไปศาลชั้นต้น ยกฟ้องไม่เชื่อพยานโจทก์ โดยอ้างอิง ถึงเจตนาการใช้สิทธิของชุมชนด้านสิ่งแวดล้อมตามรัฐธรรมนูญเป็นเหตุให้ต้องชั่งน้ำหนัก พยานหลักฐานอย่างรอบคอบ เพื่อมิให้คนดีถูกรังแกโดยใช้กลไกตามกฎหมาย ศาลอุทธรณ์ พิพากษาลงโทษจำคุก 6 เดือน เพราะเห็นว่าพยานโจทก์น่าเชื่อถือ การเบิกความในศาลที่แตกต่างจากชั้นสอบสวนอาจเป็นเพราะเกรงกลัวอิทธิพลจินตนา ศาลฎีกา พิพากษาลดโทษจำคุก 4 เดือน เพราะเข้ามอบตัว โดยไม่รอลงอาญา โดยศาลเห็นว่าพยานโจทก์น่าเชิ่อถือ เหมือนศาลอุทธรณ์ ส่วนประเด็นว่าการกระทำของจินตนามีเจตนาเพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมตามรธน.ไม่ใช่ความผิดอย่างคดีอาญาสามัญทั่วไปหรือเป็นข้อพิพาทระหว่างบุคลทั่วไป ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ต้องห้ามฎีกา ซึ่งมีประเด็นข้อสังเกตุใหญ่ๆอย่างน้อย 2 ข้อ 1 ประเด็นว่าการกระทำของจินตนามีเจตนาเพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมตามรธน.ไม่ใช่ความผิดอย่างคดีอาญาสามัญทั่วไปหรือเป็นข้อพิพาทระหว่างบุคลทั่วไป ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ต้องห้ามฎีกานั้น ศาลฎีกา ไม่ได้ให้เหตุผลอย่างชัดแจ้งว่า ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย อย่างไร เช่น นอกประเด็น […]

โอบามา & โอซามา (บิน ลาดิน) กรณีจับตายเหยื่อศาลเตี้ยระดับโลก โดย พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ

ตามข่าวที่แผยแพร่ไปทั่วโลกว่าประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกานายบารัก โอบามา กำกับดูแลการลงโทษประหารชีวิตตามคำสั่งศาลโดยไม่รู้ว่าศาล (เตี้ย)ได้ พิจารณาคดีนี้ที่แห่งหนใด เป็นเหตุให้จำเลยของสหรัฐอเมริกาและของโลกนายโอซามา บิน ลาเดน ผู้นำกลุ่มอัล กออิดะห์ เสียชีวิตพร้อมบุคคลอื่นไม่ทราบจำนวน และการปฏิบัติการครั้งนี้ถูกนับว่าเป็นความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ของอเมริกา และคนทั้งโลก และนายโอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกายังกล่าวสำทับอีกว่า “And on nights like this one, we can say to those families who have lost loved ones to al Qaeda’s terror: Justice has been done” ในคืนอย่างเช่นคืนนี้ (คืนที่โอบามาประกาศทางโทรทัศน์เกี่ยวกับการเสียชีวิตของนายบิน ลาดิน) เราพูดกับครอบครัวของผู้สูญเสียจากการก่อการร้ายของอัลกออิดะห์ได้แล้วว่าเราได้รับความยุติธรรมแล้ว” เหตุการณ์ บันลือโลกแห่งศตวรรษที่ 21 ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อคืนวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 นำโดยประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ปีพ.ศ. 2552 […]

บทวิเคราะห์คำพิพากษาศาลแพ่งคดีหมายเลขแดงที่ 1812/2553 (คดีปิดเว็บไซต์ข่าวประชาไท) โดย สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์

เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2553 ศาลแพ่งได้มีคำพิพากษาคดีหมายเลขแดงที่ 1812/2553 ในคดีที่มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชนเจ้าของเว็บไซต์ข่าวประชาไทได้ยื่นฟ้องนายกรัฐมนตรี ผู้อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและกระทรวงการคลังเพื่อขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งปิดเว็บไซต์ข่าวประชาไท (www.prachatai.com) และเรียกร้องค่าเสียหายจากการถูกละเมิดสิทธิ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 45 ศาลแพ่งใช้เวลาพิจารณาคดีนี้ประมาณ 5 ชั่วโมง และได้มีคำพิพากษาในเย็นวันที่ 23 เมษายน 2553วันเดียวกับที่ยื่นฟ้อง โดยพิพากษายกฟ้องและไม่สั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลให้แก่โจทก์ ทั้งนี้ในการดำเนินกระบวนพิจารณาจนพิพากษาคดี ศาลไม่ได้ดำเนินการไต่สวนพยานโจทก์ตามที่โจทก์ร้องขอ และไม่ได้ส่งสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยทั้ง 5 บทความนี้ผู้เขียนประสงค์จะวิเคราะห์คำพิพากษาของศาลแพ่ง โดยใช้หลักกฎหมายปกครองที่สำคัญ คือ หลักการกระทำทางปกครองต้องชอบด้วยกฎหมาย เป็นฐานในการวิเคราะห์ เนื่องจากผู้เขียนเห็นว่าคดีนี้เป็นคดีปกครองที่แม้จะถูกบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลแพ่ง แต่เมื่อเป็นคดีปกครองหลักในการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายก็ต้องเป็นการตรวจสอบตาม หลักการกระทำทางปกครองต้องชอบด้วยกฎหมาย 1. สรุปคำฟ้องและคำพิพากษา เพื่อให้เข้าใจประเด็นในคำพิพากษาอย่างครบถ้วนผู้เขียนขอสรุปประเด็นในคำฟ้องไว้เพื่อให้ผู้อ่านพิจารณาประกอบคำพิพากษา ดังนี้ (อ่านเพิ่มเติมได้ที่http://www.prachatai.info/journal/2010/04/29095) 1.1 สรุปคำฟ้อง โจทก์ตั้งประเด็นในคำฟ้องถึงเหตุแห่งความไม่ชอบด้วยกฎหมายของการใช้อำนาจของจำเลยที่ 1 ถึง 4 ในการปิดเว็บไซต์ข่าวประชาไทของโจทก์เป็นสามประเด็นคือ 1) การใช้อำนาจปิดเว็บไซต์ข่าวประชาไทของเป็นการใช้อำนาจและดุลพินิจที่ไม่ชอบด้วย กฎหมายเพื่อลิดรอน จำกัด หรือละเมิดต่อสิทธิเสรีภาพสื่อสารมวลชนของโจทก์อันเป็นสิทธิเสรีภาพที่มีความสำคัญในสังคมประชาธิปไตย ทั้งยังขัดกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วย สิทธิพลเมือง และการเมือง (International […]

1 5 6 7