บทความน่าสนใจ

เพื่อผืนดินแม่ : การต่อสู้เพื่อปกป้องทรัพยากรและชุมชนจากการทำเหมืองหินที่บ้านกลาง อ่าวลึก จังหวัดกระบี่

ในช่วงที่ผ่านมา หลายคนอาจจะได้ยินชื่อตำบลบ้านกลาง อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ จากเหตุการณ์สะเทือนขวัญสังหาร 8 ศพ แต่อย่าตกใจไป บทความชิ้นนี้ ไม่ได้จะพาไปสืบสวนค้นหาความจริงอะไรจากเหตุการณ์ดังกล่าว อันนั้นปล่อยให้เป็นหน้าที่ของกระบวนการยุติธรรมได้ทำงานไป เราก็คงได้แต่ติดตามตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าที่จากข้างนอก สำหรับสิ่งที่จะเล่าต่อไปนี้ ผมจะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับบ้านกลางในมิติของการต่อสู้ของชาวบ้านเพื่อปกป้องทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและชุมชนของพวกเขา จากการพัฒนาที่ถูกยัดเหยียดให้ ก่อนเริ่มเดินทาง ผมจะพาไปแนะนำให้รู้จักกับชาวบ้านกลุ่มหนึ่ง พวกเขาคือ “กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมท้องถิ่นบ้านกลาง” ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของชาวบ้านจำนวนหนึ่งในตำบลบ้านกลาง การก่อตั้งกลุ่มแต่เดิม มีวัตถุประสงค์เพียงแค่งานอนุรักษ์แหล่งน้ำและป่าไม้ทั่วไปที่มีในหมู่บ้าน แต่ชีวิตของพวกเขาต้องเปลี่ยนไป เมื่อมีบริษัทเอกชนเข้ามาขอประทานบัตรเหมืองหินในภูเขา 2 ลูกที่อยู่ใกล้ชุมชน  หลังจากนั้นทางกลุ่มก็ได้มีการเคลื่อนไหวต่อสู้คัดค้านกับการทำเหมืองหินมาโดยตลอด อ้าว! แล้วทำไมต้องมาคัดค้านเหมืองหินล่ะ มันไม่ดีตรงไหน มันเป็นการพัฒนาประเทศไม่ใช่หรอ? กิจการเหมืองแร่ เป็นกิจการที่ไม่ค่อยได้รับการสนับสนุนจากชุมชนเท่าใดนัก ส่วนหนึ่งก็เพราะว่าการดำเนินกิจการดังกล่าวขาดการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างแท้จริง และที่สำคัญ กรทำเหมืองแร่ที่ผ่านๆมามันสร้างผลกระทบกับชุมชนมาแล้วมากมายในหลายพื้นที่ ในบรรดาการทำเหมืองแร่ทั้งปวง การทำเหมืองแร่หินปูน เป็นกิจการที่มีจำนวนมากในประเทศไทย ข้อมูลของกลุ่มควบคุมสัมปทานและกำกับการผลิต สำนักเหมืองแร่และสัมปทานกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ณ วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 ระบุว่า ปัจจุบันรัฐได้ประกาศกำหนดแหล่งหินอุตสาหกรรมทั่วประเทศ จำนวน 318 แหล่ง  บนพื้นที่ 141,394.00 ไร่  […]

แอะนอ พุกาด : กฎหมาย วิถีชีวิต และสิทธิชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบางกลอย

นางแอะนอ พุกาด อายุ 40 ปี หญิงชาติพันธุ์กะเหรี่ยงดั้งเดิมติดแผ่นดิน เกิดและตั้งรกรากถิ่นฐานบนพื้นที่บริเวณลำห้วยที้โพ้เปรือ หรือภาษาไทยเรียกว่าห้วยส้ม เป็นบริเวณที่ชาวกระเหรี่ยงดั้งเดิมเรียกว่า “ใจแผ่นดิน” บรรพบุรุษของเธอตั้งรกรากในพื้นที่นี้มาหลายชั่วอายุคนเป็นเวลานานกว่า 100 ปี เธอยังไม่มีบัตรประชาชน แต่ถือบัตรเลข 0 และเธอพูดและฟังภาษาไทยไม่ได้ สามีของเธอเสียชีวิตเมื่อ 2 ปีก่อน เธอมีลูก 4 คน เป็นชาย 3 หญิง 1 คน ปัจจุบันเธอจึงมีภาระเลี้ยงดูลูกที่ยังเรียนอยู่ 2 คน ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 6 ลูกๆทุกคนของเธอเกิดในพื้นที่บริเวณใจแผ่นดินเช่นเดียวกันเธอ และทุกคนถือบัตรเลข 0 อยู่ระหว่างรอสถานะ เธอเป็นหนึ่งในคนที่ผ่านเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นกับชาวบางกลอย โดยเฉพาะเหตุการณ์ผลักดันและเผาบ้านกะเหรี่ยงเมื่อปี 2554 ปัจจุบันเธอกำลังจะถูกดำเนินคดี เพราะทำไร่หมุนเวียนตามวิถีชีวิตเพื่อการเลี้ยงชีพ วิถีชีวิตชาติพันธุ์กะเหรี่ยงผูกติดกับที่ดิน กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ประกอบอาชีพทำไร่หมุนเวียน ซึ่งเป็นไร่ในลักษณะดั้งเดิมในที่ดินที่มีมากกว่าหนึ่งแปลงแล้วผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเพื่อที่จะได้มีการพักฟื้นที่ดินเพื่อปรับความสมดุลตามธรรมชาติ การทำไร่แบบเป็นแกนหลักต่อการดำรงชีวิต วัฒนธรรม และอัตลักษณ์ชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ซึ่งมีคุณูปการต่อระบบนิเวศ ความหลากหลายทางชีวภาพ ความอุดมสมบูรณ์ของหน้าดิน ภาวะไร้สารพิษทางการเกษตร […]

บนเส้นทางกฎหมายชุมนุมสาธารณะ : กรณีการชุมนุมยื่นหนังสือค้านแก้กฎหมายบัตรทอง

การชุมนุมสาธารณะ ถือเป็นเรื่องปกติในสังคมประชาธิปไตย ที่ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมในเรื่องสาธารณะ  สามารถแสดงออกถึงความเดือดร้อนของตนหรือกลุ่มตนต่อผู้มีอำนาจ หรือต้องการแสดงออกถึงเจตจำนงค์บางประการได้ การชุมนุมสาธารณะ เป็นเครื่องมือในการต่อรองหรือโต้แย้งกับอำนาจรัฐหรือทุนที่ไม่เป็นธรรม เป็นเครื่องมือสำคัญของชาวบ้านเพื่อเรียกร้องให้เกิดการแก้ไขปัญหาความทุกข์ร้อนบางอย่าง ตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน เราจะเห็นการชุมนุมสาธารณะเกิดขึ้นเสมอๆ ไม่ว่าจะเป็นการชุมนุมเพื่อเป้าหมายต่อต้านรัฐบาล หรือการชุมนุมย่อยๆของกลุ่มประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายของรัฐ แม้โดยหลักการ การชุมนุมสาธารณะโดยสงบจะถูกรับรองให้เป็นสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานประการหนึ่ง แต่ในสังคมไทย หลายคนก็ไม่ได้พึงใจกับการชุมนุมสาธารณะมากนัก เพราะมันดูมีความขัดแย้งวุ่นวาย ไทยนี้รักสงบ จะมาชุมนุมกันให้วุ่นวายทำไม คนที่ไม่ชอบให้มีการชุมนุมก็มักจะลดทอนความชอบธรรมของการชุมนุมด้วยการกล่าวหาว่า เป็นม็อบรับจ้างบ้าง ซึ่งผู้เขียนก็ไม่รู้ว่าม็อบแบบนั้นมีจริงสักเท่าไหร่กัน เพราะเท่าที่เข้าร่วมสักเกตุการณ์การชุมนุมที่ผ่านมาก็ไม่เห็นว่ามีใครถูกจ้างมาชุมนุม แต่ก็นั้นแหละครับ ใครอยากรู้ว่ากลุ่มต่างๆที่มาชุมนุมกันนั้น มีการจ้างมาหรือป่าว ก็น่าจะเข้าไปสังเกตการณ์การชุมนุมดูสักครั้ง เท่าที่ผู้เขียนติดตามการชุมนุมของกลุ่มต่างๆ พบว่า การชุมนุมมันมีสาเหตุ ไม่ได้เกิดจากการนึกอยากสนุก หรือการอยากเปลี่ยนบรรยากาศมากินนอนข้างถนน ตากแดดตากฝน การชุมนุมมันมีที่มาของมัน ซึ่งส่วนใหญ่เหตุปัจจัยที่ก่อให้เกิดการชุมนุมก็มาจากรัฐเป็นผู้ก่อปัญหาเอง แม้แต่การชุมนุมทางการเมืองเพื่อโค่นล้มรัฐบาลหลายครั้งหลายหนที่ผ่านมา เราก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่ารัฐบาลเองก็ทำผิดพลาด ดังนั้น หากรัฐจริงใจ ฟังเสียงของประชาชน เปิดพื้นที่การมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง มีการบริหารอย่างโปร่งใส และเคารพหลักนิติธรรม การชุมนุมสาธารณะก็คงลดลงหรือหมดไปเอง ไม่ต้องใช้อำนาจหรือกฎหมายใดๆมาจัดการด้วยซ้ำไป   ทำไมการชุมนุมสาธารณะถึงจำเป็น การชุมนุมถือเป็นเครื่องมือสำคัญของผู้ด้อยอำนาจเพื่อใช้ต่อรองหรือเพื่อกดดันเรียกร้องให้รัฐรับผิดชอบต่อความผิดพลาดหรือแก้ไขปัญหาต่างๆ อาจจะมีบางคนบอกว่า ทำไมไม่ใช้กลไกหรือช่องทางที่รัฐจัดไว้ให้ล่ะ? ประสบการณ์คงบอกภาคประชาชนอยู่แล้วว่า กลไกร้องทุกข์ร้องเรียนตามระบบราชการปัจจุบันทำงานยังไง และมีประสิทธิภาพขนาดไหน บางกลไกก็ตั้งขึ้นมาเพื่อให้เห็นว่ามี หรือเพื่อมารับหน้าแล้วขอไปที […]

3 ปีบิลลี่ กับ 3 ประเด็นสิทธิที่ยังค้างคา

วันนี้ (17 เมษายน 2560) เครือข่ายภาคประชาชนชาติพันธุ์กระเหรี่ยง ได้ร่วมกันจัดงาน 3 ปีบิลลี่ พอละจี รักจงเจริญ ณ ห้วยกระซู่ ต.ยางน้ำกลัดเหนือ อ.หนองหญ้าปล้อง จ.เพชรบุรี โดยมีชาวบ้านชาต้พันธุ์กระเหรี่ยงเจ้าร่วมงานจากหลายพื้นที่ อาทิ บ้านลิ้นช้าง บ้านพุน้ำร้อน บ้านสาลิกา บ้านห้วยกระซู่ บ้านบางกลอย บ้านตากแดด ฯลฯ 17 เมษายน 2560 เป็นวันครบรอบ 3 ปีที่บิลลี่หายไป หลังถูกควบคุมโดยเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน บิลลี่ถือเป็นนักปกป้องสิทธิมนุษยชนและเป็นตัวแทนชุมชนบางกลอย ในการประสานงานดำเนินการเรื่องสิทธิชุมชนของคนกะเหรี่ยง (ปกาเกอะญอ) ต้นน้ำเพชรบุรี ในงานมีการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมและรำลึกถึงนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่จากไป อาทิ นายทัศกมล โอบอ้อม หรืออาจารย์ป๊อด ผู้ที่ช่วยเหลือชาวบ้านบางกลอยเรียกร้องสิทธิหลังถูกเผาบ้านไล่รื้อจากแผ่นดินเดิม ณ ใจแผ่นดิน อาจารย์ป๊อดถูกยิงในวันที่ 10 กันยายน 2554 กระบวนการยุติธรรมไม่สามารถลงโทษผู้กระทำความผิดได้ บิลลี่ พอละจี รักจงเจริญ นักปกป้องสิทธิชาติพันธุ์กระเหรี่ยงบางกลอย เขาหายตัวไปเมื่อวันที่ 17 เมษายน […]

เมื่อผีเสื้อขยับปีก …… เผยให้เห็นว่าประเทศไทยมีอาชญากรมากกว่า 2 ล้านคน โดย เลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล

หลังการอ่านคำพิพากษาอุทธรณ์คดีนางหน่อเฮหมุ่ย เวียงวิชชา และนายดิ๊แปะโพ ชาวปกาญอ บ้านแม่อมกิ ตำบลแม่วะหลวง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ทำให้เกิดคำถามต่างๆ ตามมามากมายในกลุ่มนักกฎหมาย ทนายความสิทธิมนุษยชน นักวิชาการและชาวบ้าน ซึ่งได้ติดตามคดีนี้มาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากคดีนี้มีเป็นคดีแรกที่จำเลยซึ่งถูกเจ้าหน้าที่ป่าไม้จับกุม เนื่องจากทำไร่หมุนเวียน ได้ยกเอาหลักสิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 66 และ 67 และ หลักวิชาการเกี่ยวกับการทำไร่หมุนเวียน ซึ่งถือเป็นวิถีการเกษตรที่ต่อเนื่องและเกื้อกูลต่อสิ่งแวดล้อม มาเป็นข้อต่อสู้ในชั้นศาล เป็นผลให้ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องทั้งสองคดี แต่ศาลอุทธรณ์กลับมีคำพิพากษาแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ทั้ง สองคดีนี้มีข้อเท็จจริงอย่างเดียวกันในสาระสำคัญ กล่าวคือ ที่พิพาทอยู่ติดกันโดยตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าท่าสองยาง , ถูกจับกุมในวันเดียวกัน , สภาพการใช้พื้นที่เหมือนกัน คือ ทำไร่หมุนเวียน , โจทก์ฟ้องในข้อหาเดียวกันและใช้พยานชุดเดียวกัน , จำเลยก็ยกข้อต่อสู้เหมือนกันและใช้พยานชุดเดียวกัน , ที่สำคัญคือ ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเหมือนกันซึ่งสรุปได้ว่า “จำเลยเป็นชาวเขา เผ่ากะเหรี่ยงไม่สามารถพูด อ่าน เขียนภาษาไทยได้ และได้อาศัยที่พิพาททำประโยชน์มาก่อนที่จะถูกประกาศเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ เข้าใจผิดคิดว่าสามารถทำกินได้ เห็นว่าเป็นการขาดเจตนา การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามฟ้อง” อย่าง ไรก็ตามเมื่ออัยการอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์มีความเห็นสำหรับสองคดีนี้แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง กล่าวคือ คดีนางหน่อเฮหมุ่ย ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น โดยสรุปได้ว่า “การ ที่จำเลยเข้าทำประโยชน์ในที่เกิดเหตุในลักษณะไร่หมุนเวียนมาก่อน ย่อมทำให้จำเลยเข้าใจได้ว่าที่เกิดเหตุเป็นที่ที่จำเลยสามารถเข้าทำประโยชน์ […]

ปัญหาการพิจารณาค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา โดยสมชาย หอมลออ

พระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. ๒๕๔๔ (“พระราชบัญญัติ”) มี ผลบังคับใช้มาเกือบจะสิบปีแล้ว ในระหว่างเวลาดังกล่าวมีคดีอาญาที่ (๑) จำเลยถูกดำเนินคดีโดยพนักงานอัยการและ (๒) ถูกคุมขังในระหว่างการพิจารณาคดี ที่ศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดยกฟ้องนับหมื่นคดี แต่มีจำเลยจำนวนน้อยนักที่ได้รับค่าทดแทนที่ต้องถูกคุมขังระหว่างการพิจารณา คดีและค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดีที่ตนต้องเสียไป จำเลยบางคนจะต้องข้อหาร้ายแรงและศาลไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างการ พิจารณาคดี หรือจำเลยบางคนแม้ถูกฟ้องร้องดำเนินคดีในข้อหาไม่ร้ายแรง แต่เนื่องจากเป็นคนยากจน ไร้ญาติขาดมิตร จึงไม่สามารถหาหลักประกันเพื่อขอให้ศาลปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างการพิจารณา คดีได้ บางคนศาลชั้นต้นแม้มีคำพิพากษายกฟ้อง แต่กลับต้องถูกคุมขังระหว่างการอุทธรณ์ เสมือนหนึ่งว่าศาลเองก็ไม่เชื่อมั่นว่าคำพิพากษาของศาลเองที่ให้ยกฟ้องถูก ต้องแล้ว จำเลยเหล่านี้จำนวนไม่น้อยต้องถูกจองจำอยู่ในคุกนานนับปีกว่าที่ศาลจะมีคำ พิพากษาถึงที่สุดยกฟ้อง ถูกรัฐลิดรอนสิทธิเสรีภาพโดยการคุมขัง บางคนกระทั่งเสียชีวิตในคุก ใช่แต่เพียงเท่านั้น การที่จำเลยคนหนึ่งถูกจองจำอยู่เป็นระยะยาวนานย่อมมีผลกระทบต่อครอบครัวและ บุคคลใกล้ชิด ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และผลกระทบทางด้านจิตใจ หลายครอบครัวต้องแตกสลายเนื่องจากหัวหน้าครอบครัว หรือสมาชิกที่เป็นหลักของครอบครัวต้องถูกจองจำระหว่างการพิจารณาคดีเป็นเวลา นาน กลายเป็นปัญหาและภาระของสังคมในที่สุด ปัญหา หลักของการที่อดีตจำเลยในคดีอาญานับพันๆคนไม่มีโอกาสได้รับค่าทดแทนและค่า ใช้จ่ายในการต่อสู้คดีคือการวินิจฉัยตีความกฎหมายของคณะกรรมการพิจารณาค่า ตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลย ในคดีอาญา ซึ่งเป็นคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. ๒๕๔๔ และการวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ยื่นคำขอของศาลอุทธรณ์ตามอำนาจที่กำหนดไว้ใน มาตรา ๒๕ แห่ง พระราชบัญญัติดังกล่าว […]

คดีโลกร้อน ปะทะ สิทธิชุมชน โดย กฤษดา ขุนณรงค์

ปมที่ไม่อาจคลายหากยังไม่เลิกใช้ “ แบบจำลอง” ใช่ครับเรื่องที่จะพูดถึงต่อไปนี้เกิดขึ้นในเมืองไทยของเราเมื่อไม่กี่ปีมานี่เอง ปัจจุบันนี้หลายท่านพอคุ้นเคยกับคำว่า โลก ร้อนหรือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกซึ่งเชื่อกันว่าจะส่งผลร้ายแรง ต่อโลกของเรา ว่ากันไปถึงขั้นโลกใบนี้อาจถึงจุดอวสานหรือพูดกันให้เห็นภาพสั้น ๆ ภาษาชาวบ้าน ว่า “ โลกของเรากำลังจะแตก ” ทำนองนั้น หลายปีก่อนผู้นำกว่าร้อยประเทศทั่วโลกไปนั่งคุยเพื่อหาทางแก้ไขเรื่องนี้ และมีข้อตกลงอันเป็นพันธสัญญาทางกฎหมายภายใต้ชื่อ “ พิธีสารเกียวโต ” เป้าหมายหลัก คือ การลดการปล่อยก๊าชเรือนกระจกซึ่งมีคาร์บอนไดออกไซด์เป็นต้นเหตุสำคัญที่ส่ง ผลทำให้เกิดภาวะโลกร้อน กลุ่มประเทศอุตสาหกรรม เช่น สหภาพยุโรป แคนาดา รัสเซีย ญี่ปุ่น ยกเว้น สหรัฐและออสเตรเลีย ยอมที่จะรับผิดชอบปฏิบัติตามอนุสัญญา สำหรับประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีตามอนุสัญญาฉบับนี้ด้วย แต่เนื่องจากเราไม่ได้เป็นกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมจึงไม่มีผลบังคับให้ต้อง ดำเนินการครบถ้วนตามอนุสัญญา แต่สามารถเลือกเข้าร่วมโครงการต่าง ๆ ได้ ซึ่งปัจจุบันมีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับผิดชอบดูแลในเรื่องนี้ ผมเกริ่นถึงเรื่องนี้เสียยืดยาวเพื่อที่จะบอกว่ามันมีความสำคัญและจะไม่ไกลตัวของเราอีกแล้ว เพราะกระแสภาวะโลกร้อนไม่เพียงเป็นเรื่องข้อกังวลของคนทั่วโลกถึงผลกระทบทาง ธรรมชาติที่จะเกิดขึ้น แต่ด้านหนึ่งประเด็นนี้กำลังเชื่อมโยงมาถึงกลุ่มประเทศเกษตรกรรม ภาคชนบท ลงมาถึงชุมชนท้องถิ่นของประเทศไทยในฐานะผู้ต้องรับผิดชอบกับความเปลี่ยนแปลง ดังที่ว่า ช่วงปีสองปีที่ผ่านมา พวกเราคงพอได้ยินคำว่า “ คดีโลกร้อน ” กันอยู่บ้าง ดูจากคำก็ตีความได้ทันทีว่าเป็นคดีเกี่ยวกับคนกระทำความผิดข้อหาทำให้โลก […]

การเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวไผ่ ดาวดิน : บทสะท้อนปัญหาการปล่อยตัวชั่วคราว และการปิดกั้นการตั้งคำถามต่อกระบวนการยุติธรรม

สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2559 ที่ศาลจังหวัดขอนแก่นได้มีคำสั่งให้เพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวนายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ “ไผ่ ดาวดิน” หนึ่งในสมาชิกกลุ่มดาวดินและขบวนการประชาธิปไตยใหม่ ซึ่งถูกแจ้งความโดยเจ้าหน้าที่รัฐและถูกจับกุมเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2559 ในข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 จากกรณีแชร์ข่าวพระราชประวัติรัชกาลที่ 10 จากเว็บไซต์ข่าว BBC ไทย ซึ่งในครั้งนั้นศาลได้อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว โดยมีหลักทรัพย์ประกัน 400,000 บาท การขอเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวในคราวนี้ มีสาเหตุจากการที่นายจตุภัทร์โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊กว่า “ตอนแรกก็อยากจะขอโทษเพื่อนประชามติทั้ง 3 คน เพราะคดีล่าสุดก็โดนไป 400,000 แต่ผมไม่ได้ผิดไง ผมไม่สามารถกระทำการขอโทษได้จริง ๆ #เศรษฐกิจมันแย่แมร่งเอาแต่เงินประกัน” ซึ่งข้อความดังกล่าวถูกโพสต์หลังจากทราบข่าวว่าศาลจังหวัดพระโขนงไม่อนุญาตให้นักวิชาการใช้ตำแหน่งประกันตัวเพื่อนนักกิจกรรมที่ถูกฟ้องในคดีฉีกบัตรลงคะแนนประชามติ เป็นเหตุให้ต้องหาหลักทรัพย์มาประกันทั้งสามคนเป็นจำนวนถึง 600,000 บาท ทั้งนี้ ศาลจังหวัดขอนแก่นได้นัดไต่สวนคำร้องในวันที่ 22 ธันวาคม 2559 โดยได้สั่งให้มีการพิจารณาลับ และได้มีคำสั่งให้เพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวนายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา ซึ่งต่อมาทนายความของจตุภัทร์ได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลจังหวัดขอนแก่นต่อศาลอุทธรณ์ภาค 4 อย่างไรก็ดี ในวันที่ […]

หลังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีนายใช้ บุญทองเล็ก อีกครั้งกับการลอยนวลพ้นผิด

วันที่ 28 พฤศจิกายน 2559 ศาลจังหวัดเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้อ่านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 8 ในคดีสังหารนายใช้ บุญทองเล็ก นักต่อสู้เพื่อสิทธิในที่ดิน สมาชิกสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ โดยศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ยกฟ้อง กรณีนี้สืบเนื่องจากนายใช้ บุญทองเล็ก อายุ 61 ปี สมาชิกสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.) และนักต่อสู้เพื่อสิทธิในที่ดินชุมชนคลองไทรพัฒนา ตำบลไทรทอง อำเภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี ถูกยิงเสียชีวิตเมื่อวันที่ 11 ก.พ. 2558 ซึ่งในทางการสอบสวนพบว่ามีผู้ต้องสงสัยที่เกี่ยวข้องจำนวนสามคนคือ มือปืน ผู้จ้างวาน และคนขับรถจักรยานยนต์ แต่ในชั้นฟ้องร้องดำเนินคดี สามารถนำเพียงผู้ต้องต้องสงสัยที่คาดว่าเป็นคนขับรถจักรยานยนต์เท่านั้นมาดำเนินคดีในชั้นศาลได้ คดีนี้พนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้ที่ต้องสงสัยว่าเป็นคนขับรถจักรยานยนต์ให้มือปืนที่ก่อเหตุยิงนายใช้ ในข้อหาร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ร่วมกันมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตและร่วมกันพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต ทั้งนี้ ญาติของนายใช้ ได้ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการ โดยมีทนายความจากสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนให้การช่วยเหลือในด้านการดำเนินคดี เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2559 ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษายกฟ้องโจทก์. เนื่องจากศาลเห็นว่าประจักษ์พยานโจทก์ทั้งสองคนไม่น่าจะจดจำใบหน้าคนร้ายได้ เพราะเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ พยานอยู่ห่างจากจุดที่คนขับรถยืนอยู่พอสมควร ประกอบกับเป็นช่วงเวลาใกล้ค่ำ ส่วนที่โจทก์ร่วมนำสืบในประเด็นการใช้โทรศัพท์ของจำเลยซึ่งเชื่อมโยงกับคนยิงนั้น เห็นว่าเป็นข้อมูลหลังจากวันเกิดเหตุเวลานานมาก […]

คดีทรมานนักศึกษายะลา : บทพิสูจน์ความก้าวหน้ากระบวนการยุติธรรมไทย โดย จันทร์จิรา จันทร์แผ้ว

คดียุทธศาสตร์อีกคดีหนึ่งที่เครือข่ายฯ เรียกกันติดปากคือ “คดีนักศึกษายะลา” เป็น คดีที่นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา ถูกเจ้าหน้าที่ทหารควบคุมตัวและทรมานให้รับสารภาพ เนื่องจากเป็นผู้ต้องสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับการก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดน ภาคใต้ โดยเจ้าหน้าที่ทหารใช้อำนาจควบคุมตัวตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ.๒๔๕๗ เหตุควบคุมตัวและการทรมานดังกล่าวเกิดขึ้นในเดือนมกราคม ๒๕๕๑ ที่หน่วยเฉพาะกิจที่ ๑๑ จังหวัดยะลา และค่ายอิงคยุทธบริหาร จังหวัดปัตตานี ที่เรียกกันติดปากว่าคดีนักศึกษายะลาก็เพราะว่าผู้ถูกควบคุมตัวและทรมานให้ รับสารภาพทั้งหมดรวม ๗ คน ยังเป็นนักศึกษาและบางส่วนทำกิจกรรมกับชุมชนและชาวบ้าน โดยเป็นสมาชิกของสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ โดยหวังว่าการทำกิจกรรมของตนจะเป็นส่วนหนึ่งในการคลี่คลายปัญหาความไม่สงบลง บ้าง แต่บทบาทดังกล่าวกลับเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ถูกควบคุมตัว ปัญหาการใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ.๒๔๕๗ และพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.๒๕๔๘ หรือที่เรียกกันว่ากฎหมายพิเศษ ทำให้ประชาชนตกเป็นผู้ต้องสงสัยและถูกควบคุมตัว ตลอดจนต้องเข้าสู่ขั้นตอนในกระบวนการยุติธรรมโดยไม่จำเป็น สร้างภาระและความเดือดร้อนให้ประชาชนอย่างมาก ภายใต้มายาคติว่าชาวไทยมุสลิมเป็นผู้ก่อความไม่สงบ ซึ่งกฎหมายดังกล่าวนอกจากไม่สามารถแก้ไขปัญหาความไม่สงบได้แล้ว ยังนำมาสู่ปัญหาการทรมานประชาชนโดยเจ้าหน้าที่เพื่อให้รับสารภาพอีกด้วย คดี นักศึกษายะลาเป็นหนึ่งในคดีที่มีการควบคุมตัวโดยมิชอบและทรมานให้รับสารภาพ จำนวนมากที่เกิดขึ้นในสังคมไทย โดยเฉพาะในจังหวัดชายแดนภาคใต้ การควบคุมตัวบุคคลโดยอาศัยอำนาจตามกฎอัยการศึกฯ ทำได้โดยง่าย เพียงเป็น “ผู้ต้องสงสัย” เจ้าหน้าที่ก็มีอำนาจควบคุมตัวบุคคลนั้นไว้ได้นาน ๗ วัน เมื่อครบกำหนด และเจ้าหน้าที่ประสงค์จะควบคุมตัวต่อไป ให้ขออนุญาตต่อศาลเพื่อออกหมายจับและควบคุมตัวตามพระราชกำหนดการบริหาร ราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ ต่อไปอีก ๓๐ […]

1 4 5 6 7