ปล่อยตัวชั่วคราว

ภาคีฯ ออกหนังสือถึงรมต.กระทรวงยุติธรรมให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในเรือนจำ

ตามที่ปรากฏว่านายชูเกียรติ แสงวงค์ หรือจัสติน และนายอานนท์ นำภา ติดเชื้อไวรัสโรโรนา ๒๐๑๙ เนื่องจากไม่ได้รับสิทธิในการปล่อยชั่วคราวและถูกคุมขังอยู่ ณ เรือนจำพิเศษกรุงเทพ ตามที่ท่านทราบดีอยู่แล้วนั้น 

[แถลงการณ์] เรียกร้องให้ผู้พิพากษาปล่อยตัวชั่วคราวนักเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อยืนยันเจตจำนงค์แห่งรัฐธรรมนูญ

แถลงการณ์สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน  เรียกร้องให้ผู้พิพากษาปล่อยตัวชั่วคราวนักเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อยืนยันเจตจำนงค์แห่งรัฐธรรมนูญ [English Below]   จากกรณีที่นักเคลื่อนไหวทางการเมืองถูกจับกุมดำเนินคดีตามความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และมาตรา 116  และศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยหรือผู้ต้องหาได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว ด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น คดีมีอัตราโทษสูงเกรงว่าจะหลบหนีและเกรงว่าถ้าปล่อยตัวไปแล้วจำเลยจะไปกระทำผิดซ้ำกับความผิดที่ได้ถูกฟ้อง เป็นต้น แม้ทนายความและนักวิชาการได้พยายามยื่นคำร้องขอให้ศาลปล่อยตัวชั่วคราว รวมทั้งอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวไปหลายครั้ง แต่ศาลอาญามีคำสั่งไม่ให้ประกันตัวผู้ถูกกล่าวหา โดยให้เหตุผลว่าไม่มีเหตุให้เปลี่ยนแปลงคำสั่ง ทำให้จำเลยที่มีบทบาทในการเคลื่อนไหวทางการเมืองถูกคุมขังในระหว่างการพิจารณาคดี โดยปัจจุบันเป็นเวลากว่า 1 เดือนแล้ว และยังมีจำเลยรายอื่น ๆ ที่ทยอยถูกส่งฟ้องและศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้มีการปล่อยตัวชั่วคราวเช่นเดียวกัน วันนี้สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ในฐานะองค์กรต้นสังกัดที่นายอานนท์ นำภาเป็นสมาชิก ร่วมกับศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ในฐานะสำนักงานที่นายอานนท์ นำภาสังกัดอยู่ พร้อมกับรายชื่อทนายความจำนวน 187 คนที่ร่วมลงชื่อยื่นคำร้องขอให้ศาลพิจารณาปล่อยตัวชั่วคราวอานนท์ นำภาและจำเลยในคดีความผิดลักษณะเดียวกันอีกครั้ง เพื่อยืนยันหลักการตามรัฐธรรมนูญที่บัญญัติรับรองไว้ว่าก่อนที่จะมีคำพิพากษาจำเลยจะถูกปฏิบัติเหมือนผู้กระทำผิดไม่ได้ ประกอบกับมาตรา 107 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาบัญญัติให้สิทธิผู้ต้องหาหรือจำเลยทุกคนพึงได้รับอนุญาตในการปล่อยชั่วคราวเป็นหลัก มิใช่ให้นำข้อยกเว้นมาถือเป็นปฏิบัติเป็นสรณะและใช้หลักในข้อยกเว้นนั้นละเมิดต่อสิทธิของจำเลยและเมื่อพิจารณาหลักเกณฑ์ข้อยกเว้นมิให้ปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยหรือผู้ต้องหาตามมาตรา 108/1 พบว่า ไม่มีเหตุที่ควรเชื่อได้ว่าจำเลยจะมีพฤติการณ์ที่เข้าองค์ประกอบที่ศาลจะสามารถยกหลักข้อยกเว้นดังกล่าวมาบังคับใช้ ซึ่งข้อยกเว้นดังกล่าว คือ (1) ผู้ต้องหา หรือ จำเลย จะหลบหนี (2) ผู้ต้องหา หรือ จำเลย จะไปยุ่งเหยิง […]

คอรีเยาะ: กระบวนการยุติธรรมไทยเปราะบางถึงขนาดไม่กล้ายืนยันสิทธิในการปล่อยชั่วคราว

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2564 สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ได้จัดวงพูดคุยเเลกเปลี่ยนปัญหาในกระบวนการยุติธรรมที่ทนายความและญาติของผู้ที่ถูกดำเนินคดีทางการเมืองต้องเผชิญ ในหัวข้อ #ปล่อยเพื่อนเรา ยืนยันสิทธิในการปล่อยชั่วคราวนักโทษทางความคิด

จดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรี ขอให้พิจารณาปล่อยตัวผู้ต้องขังโดยเร็วและให้ความมั่นใจว่าทุกคนที่อยู่ในสถานที่คุมขังมีสุขภาพและปลอดภัยดี โดยเฉพาะจากไวรัสโคโรนา 2019

องค์กรสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและองค์การระหว่างประเทศดังมีชื่อข้างท้ายนี้ เป็นห่วงอย่างยิ่งต่อการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ COVID-19 ที่อาจจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงในหมู่ผู้ต้องขังในเรือนจำและเจ้าหน้าที่ในเรือนจำของประเทศไทย

สถานการณ์โควิด-19 แว่นขยายฉายภาพปัญหา “คนจนมักติดคุก” ที่เรื้อรังมานาน

สถานการณ์โควิด-19 แว่นขยายฉายภาพปัญหา “คนจนมักติดคุก” ที่เรื้อรังมานาน ท่ามกลางสภาวะการระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ทั่วทั้งโลกต่างต้องออกมาตรการเพื่อยับยั้งการระบาดของโลก และปกป้องชีวิตและความปลอดภัยของประชาชนอย่างดีที่สุด ทางด้านประเทศไทย ได้มีการรณรงค์ให้ทุกคนร่วมมือกันเว้นระยะห่างทางสังคม หรือ Social Distancing อีกทั้งรัฐบาลได้ประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 หรือ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2563 ถึง 30 เมษายน 2563 โดยรายละเอียดของมาตรการยับยั้งโรคระบาดนั้นจะเป็นไปตามข้อกำหนดออกตามมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2 ซึ่งมีข้อกำหนดในการจำกัดพื้นที่ ปิดสถานที่เสี่ยง การห้ามกักตุนสินค้า ห้ามชุมนุมหรือการนำเสนอข่าวต่างๆ และล่าสุดมีคำสั่งห้ามออกจากเคหสถานตั้งแต่เวลา 22.00- 04.00 น. ยกเว้นผู้ที่มีความจำเป็นหรือผู้ที่ปฏิบัติงานในหน้าที่ที่ได้ระบุไว้ หรือถ้าหากในพื้นที่ใดมีมาตรการที่มากกว่านี้ ให้ปฏิบัติตามมาตรการในพื้นที่ดังกล่าว โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2563 เป็นต้นไป จากมาตรการทั้งหมดที่ได้นำมาใช้ ไม่ว่าจะเป็นการรณรงค์ให้เว้นระยะห่างทางสังคม หรือแม้กระทั่งมาตรการทางกฎหมายล้วนแล้วแต่มีจุดประสงค์ให้เกิดการตัดตอนการระบาดของโรคจากการที่ประชาชนพบปะกันน้อยลง ซึ่งมาตรการเหล่านี้ย่อมส่งผลต่อวิถีชีวิตของประชาชนทั่วไป ทั้งในด้านการใช้ชีวิตประจำวัน […]