admin

เมื่อราษฎรลุกขึ้นโต้กลับ : 10 คดีที่ราษฎรฟ้องกลับ ตั้งแต่ตุลาคม 2563 – สิงหาคม 2564

ที่ผ่านมา ภาคีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ได้เข้าให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย และใช้มาตรการทางกฎหมายทุกช่องทางโต้กลับการใช้อำนาจมิชอบของรัฐ ภายใต้ชื่อ #ราษฎรฟ้องกลับ โดยในช่วงตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 จนถึงเดือนสิงหาคม 2564 ภาคีฯ มีคดีที่อยู่ในความรับผิดชอบทั้งหมด 26 คดี และได้ดำเนินการฟ้องคดีโต้กลับต่อศาลไปแล้วเป็นจำนวน 10 คดี

การเลือกปฏิบัติ : ภัยคุกคามความมั่นคงของระบอบประชาธิปไตย

ถ้าผู้มีอำนาจไม่เลือกปฏิบัติ ทำไม? รมว.กระทรวงยุติธรรมจัดปาร์ตี้แล้วเกิดคลัสเตอร์โควิด-19 #ไม่พบการดำเนินคดี แต่ผู้เข้าร่วมการชุมนุมเชิงสัญลักษณ์กลับถูกดำเนินคดี

ชุมนุมสาธารณะ คุ้มครองเท่าไหร่ถึงจะเพียงพอ?

ในการชุมนุมสาธารณะ เจ้าหน้าที่รัฐมีหน้าที่ให้ความสะดวกแก่การชุมนุมสาธารณะตั้งแต่ระยะก่อนมีการชุมนุมไปจนถึงระยะหลังการชุมนุมเสร็จสิ้นลง เพื่อให้การชุมนุมเป็นไปได้อย่างราบรื่นและสอดคล้องกับพันธกรณีของรัฐที่มีหน้าที่ต้องคุ้มครองและประกันเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบตามกติการะหว่างประเทศ ทั้งนี้ แม้การจำกัดเสรีภาพในการชุมนุมและการสลายการชุมนุมจะสามารถกระทำได้ภายใต้กรอบของกฎหมาย การกระทำดังกล่าว ก็ย่อมต้องเป็นไปตามมาตรฐานสากลที่กำหนดไว้ในกติการะหว่างประเทศและแนวปฏิบัติของสหประชาชาติด้วย

สำรวจเส้นแบ่งฟ้องหมิ่นประมาทอาญาแบบไหนเข้าข่ายฟ้องปิดปาก

การเหมารวมว่าคดีหมิ่นประมาททางอาญาที่เกิดขึ้นทั้งหมดเป็นคดีฟ้องปิดปากย่อมไม่ถูกนัก เพราะในบางกรณีผู้ฟ้องก็มีเป้าหมายเพื่อปกป้องชื่อเสียงเกียรติยศและแสวงหาความยุติธรรมให้แก่ตนเอง เพื่อแบ่งแยกการฟ้องหมิ่นประมาทอาญาว่าแบบไหนถึงเข้าข่ายเป็นการฟ้องปิดปาก สนส. จึงได้กำหนด 2 เงื่อนไข

ส่องร่างแก้รัฐธรรมนูญ 60 จุดยืนแต่ละร่างในเรื่องกระบวนการยุติธรรม

การเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ในครั้งนี้พบว่า ร่างเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้งจากกลุ่มนายไพบูลย์ นิติตะวัน กลุ่มนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ และกลุ่มนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฐ์ ได้มีการให้ความสนใจกับการเสนอให้แก้ไขบทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิในกระบวนการยุติธรรมพอสมควร โดยเฉพาะในร่างเสนอโดยกลุ่มนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ซึ่งนับว่าเป็นประเด็นที่น่าจับตามองอีกประการหนึ่งในการเปิดวาระแก้ไขรัฐธรรมนูญพิเศษเพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญและมีการลงมติ ในวันที่ 23-24 มิถุนายน 2564 ที่จะถึงนี้ 

สิทธิของเยาวชน บทกฎหมายที่รัฐละเลย

จากกรณีที่เยาวชนออกมาร่วมชุมนุมและแสดงออกทางการเมือง พบว่าเจ้าหน้าที่รัฐได้มีการละเมิดบทบัญญัติของกฎหมาย ทั้งกฎหมายภายในและกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิเด็กและเยาวชน ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของการลิดรอนสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมจนเกินจำเป็น การละเมิดสิทธิของเยาวชนที่ตกเป็นผู้ต้องหา และการดำเนินคดีต่อเยาวชนในลักษณะที่เป็นการเลือกปฏิบัติ

มหากาพย์ ไม่ห้าม แต่ไม่คุ้มครอง ทนายความหญิงสวมกางเกง

กฎหมายหรือข้อบังคับ ต้องพัฒนาตาม​ความจำเป็นแห่งสภาพของสังคม ทว่าจวบจนปัจจุบัน ทนายความหญิงยังคงต้องสวมกระโปรงว่าความตามข้อบังคับเมื่อ 35 ปีก่อนเท่านั้น เนื่องจากสภาทนายความฯ ได้ตีความแล้วว่า ตามข้อบังคับไม่ได้ห้ามทนายความหญิงสวมกางเกง ดังนั้นจึงไม่มีเหตุผลอันสมควรแต่ประการใด ต้องแก้ไขข้อบังคับดังกล่าว?

มาตรา 112 กระบวนการยุติธรรมแบบโกงตาชั่ง

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการเอาผิดประชาชนที่แสดงความคิดเห็น หรือออกมามีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมือง โดยจากการบังคับใช้มาตรา 112 เท่าที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นปัญหาของตัวบทกฎหมาย โดยเฉพาะปัญหาในการตีความที่กว้างจนเกินขอบเขตและปัญหาการบังคับใช้ที่สร้างภาระให้กับจำเลยจนเกินสมควรจนเป็นการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน อันเป็นสิทธิเสรีภาพที่ถูกรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ

หมายเรียก หมายจับ กฎหมายไม่อนุญาตให้ออกพลาดบ่อย

พนักงานตำรวจออกหมายเรียกผู้รับหมายมาให้ถ้อยคำหรือเอกสาร ถือเป็นเรื่องปกติเพราะกฎหมายได้ให้อำนาจพนักงานสอบสวนไว้ อย่างไรก็ตาม ยังมีกฎหมายและระเบียบต่างๆ ควบคุมการดำเนินการออกหมายเรียกและหมายจับของเจ้าหน้าที่ ให้การปฏิบัติตามหน้าที่เป็นไปตามหลักการและความยุติธรรม ไม่ “พลาด”หรือเผลอไปละเมิดสิทธิเสรีภาพประชาชน

ก่อนที่กฎหมายจะถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือปิดปาก…

  หากกล่าวถึงกฎหมายที่เป็นเครื่องมือฟ้องปิดปากประชาชนที่ออกมามีส่วนร่วมในประเด็นสาธารณะนั้น หลายคนอาจนึกถึงกฎหมายอาญาที่มีโทษร้ายแรง อย่างมาตรา 112 ฐานดูหมิ่นกษัตริย์ฯ มาตรา 116 ฐานยุยงปลุกปั่น มาตรา 328 329 ฐานหมิ่นประมาท หรือกฎหมายอื่น ๆ เช่น พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ[1] พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ เป็นต้น ซึ่งความจริงแล้วยังมีกฎหมายอีกหลายฉบับที่ไม่น่าเชื่อว่าจะกลายเป็นเครื่องมือฟ้องปิดปากถูกนำมาบังคับใช้อย่างไม่ถูกต้องตามเจตนารมณ์ บางข้อหารัฐได้อาศัยสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) เป็นข้ออ้างในการบังคับใช้กฎหมายด้วย ซึ่งในบทความนี้ สนส. จะนำเสนอฐานความผิดที่ถูกนำมาใช้บังคับขัดกับเจตนารมณ์และที่มาในการบัญญัติกฎหมาย ได้แก่   พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ข้อหาที่ถูกนำมาใช้ฟ้องปิดปาก คือ ข้อหาฝ่าฝืนข้อกำหนดและประกาศที่ออกตามมาตรา 9 ของ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ร่วมกันจัดกิจกรรมในลักษณะมั่วสุมหรือมีโอกาสติดต่อสัมผัสกันง่าย เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรค เช่นกรณีของกลุ่ม “ขอคืนไม่ได้ขอทาน” ที่นายบูรณ์ อารยพล พร้อมพวก รวม 4 คนถูกแจ้งข้อกล่าวหาฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จากกรณีปักหลักหน้าทำเนียบรัฐบาล โดยก่อนหน้านี้กลุ่มของหมอบูรณ์ได้มีข้อเรียกร้องและเคลื่อนไหวมาอย่างต่อเนื่อง ขอให้สำนักงานประกันสังคมแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ผู้สมทบเงินประกันสังคมสามารถเบิกเงินสะสมชราภาพมาใช้ก่อนเกษียณ[2] ซึ่งจากการมาเคลื่อนไหวประเด็นดังกล่าวหมอบูรณ์ได้ถูกดำเนินคดีมาแล้วก่อนหน้านี้ 2 ครั้ง […]

1 2 3 4 32