Month: May 2020

แจ้งข่าวนัดฟังคำพิพากษาป้ายปากมูลและชวนบริจาคเงินเพื่อสนับสนุนการต่อสู้คดี

วันที่ 21 พฤษภาคม 2563 นี้ ศาลจังหวัดอุบลราชธานี มีนัดฟังคำพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ 99/2562 ระหว่างพนักงานอัยการจังหวัดอุบลราชธานี โจทก์ กับ นายกฤษกร ศิลารักษ์ (ป้ายปากมูล) ในฐานความผิดหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา และหมิ่นประมาทศาล จากกรณีที่นายกฤษกรได้โพสต์ข้อความเกี่ยวกับกรณีที่ศาลจังหวัดอุบลราชธานี พิจารณาคดีของนายดวงเด่น สุทธาคง ที่ถูกดำเนินคดีในความผิดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ ซึ่งเป็นเหตุที่เกิดขึ้นในพื้นที่เกาะดอนคำพวง ตำบลกุดชมพู อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี  ซึ่งมีการตัดโค่นต้นไม้เป็นจำนวนมากและไม้ที่ถูกตัดนั้นมีไม้ยางนาซึ่งเป็นไม้ต้องห้ามรวมอยู่ด้วยหลายต้น ทั้งนี้ เมื่อนายกฤษกรติดตามการพิจารณาคดีแล้วพบว่ายังมีข้อมูลที่ขาดไป ด้วยความหวงแหนต่อทรัพยากรธรรมติในพื้นที่ จึงได้โพสต์ข้อความซึ่งเป็นข้อมูลลงเฟซบุ๊คของตนเองโดยตั้งค่าเป็นสาธารณะ เพื่อนำเสนอข้อมูลที่เห็นว่าตกหล่นและไม่ได้ถูกนำเข้าสู่กระบวนการพิจารณา นอกจากการโพสต์ข้อความเกี่ยวกับการพิจารราคดีของศาลจังหวัดอุบลราชธานีแล้ว นายกฤษกรยังได้โพสต์ข้อความเกี่ยวกับการบุกรุกเกาะและการตัดไม้ต้องห้ามในพื้นที่อย่างต่อเนื่องหลายข้อความ จึงเป็นเหตุให้นายจักรกฤช วิเศษชลธาร ข้าราชการบำนาญกรมสวบสวนคดีพิเศษ ผู้เสียหายที่ 1 ผู้พิพากษาศาลจังหวัดอุบล ผู้เสียหายที่ 2  และศาลจังหวัดอุบลราชธานี ผู้เสียหายที่ 3 แจ้งความดำเนินคดีในข้อหาหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาและหมิ่นศาล ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 198 , 326 และมาตรา 328 นอกจากคดีข้างต้นแล้ว นายกฤษกร  ยังถูกฟ้องหมิ่นประมาทในคดี “ปิดเขื่อนปากมูล” ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี […]

จดหมายเปิดผนึก ขอให้พิจารณายกเลิกการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และรับฟังประชาชน เพื่อแก้ปัญหาโควิด 19

สถานการณ์โรคไวรัสโควิด-19 ถือได้ว่าเป็นเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้คนในทุกประเทศทั่วโลก และมีผลกระทบต่อสังคมในหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ หรือความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและสุขภาพของประชาชน เหตุการณ์นี้มอบโจทย์ความท้าทายให้แก่ผู้บริหารและประชาชนของแต่ละประเทศว่าจะผ่านพ้นสถานการณ์ไปได้อย่างไร โดยไม่ทิ้งผู้ใด หรือคนกลุ่มใดไว้ข้างหลัง โดยที่ผ่านมาองค์กรสหประชาชาติได้ออกคำแนะนำให้แต่ละประเทศมีมาตรการที่สามารถควบคุมการระบาดของโรค และยังเคารพต่อสิทธิมนุษยชนสำหรับกลุ่มคนที่หลากหลาย เพราะพื้นฐานของการก้าวผ่านสถานการณ์โรคระบาดนี้อย่างยั่งยืน ภาครัฐต้องเคารพสิทธิของประชาชนและได้รับความร่วมมือที่ดีของประชาชนทุกคน ในประเทศไทยก็ใช้ทั้งมาตรการที่ออกมาควบคุมการใช้ชีวิตและการสร้างความตระหนักให้เกิดในหมู่ประชาชน คณะรัฐบาล นำโดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้ประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 หรือ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและออกข้อกำหนดมาเพื่อควบคุมสถานการณ์โรคระบาด โดยรายละเอียดของมาตรการยับยั้งโรคระบาดนั้นจะเป็นไปตามข้อกำหนดออกตามมาตรา 9 ฉบับที่ 1-7 ซึ่งมีข้อจำกัดการใช้พื้นที่ ปิดสถานที่เสี่ยง การห้ามกักตุนสินค้า ห้ามชุมนุมหรือการนำเสนอข่าวต่างๆ อีกทั้งมีคำสั่งห้ามออกจากเคหสถานตั้งแต่เวลา 23.00 – 04.00 น. ซึ่งจากเดิมเป็นเวลา 22.00 – 04.00 น. ยกเว้นผู้ที่มีความจำเป็น และได้มีการต่ออายุออกไปถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2563 สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) ได้รับเสียงสะท้อนจากสมาชิก และเครือข่ายผู้ที่ทำงานผลักดันประเด็นทางสังคม ถึงผลกระทบและความไม่เหมาะสมของการบังคับใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และมาตรการบางประการ ถึงแม้จะมีการผ่อนมาตรการบางประการในปัจจุบัน แต่ยังไม่ตอบสนองถึงปัญหาของกลุ่มคนที่หลากหลาย อีกทั้งมาตรการเยียวยาต่อสถานการณ์ที่ไม่ทั่วถึง จึงส่งผลให้ผู้คนยิ่งได้รับผลกระทบและความยากลำบากในการใช้ชีวิตมากยิ่งขึ้น […]

ในสถานการณ์โควิด 19  สิทธิและเสรีภาพไม่ควรหายไปจากการพัฒนา

  เลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ 13 พฤษภาคม 2563     องค์ประกอบของการพัฒนาเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย  เพราะมีเงื่อนไข  หลักเกณฑ์  คุณสมบัติของผู้ลงทุน  ตามกฎหมายใหม่ ๆ เข้ามาร่วมเป็นองค์ประกอบอยู่เสมอ  โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ถูกพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ  เพื่อให้สอดคล้องต่อความต้องการ  ความปรารถนา  ที่เป็นไปในแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตส่วนบุคคลและสังคมให้ดีขึ้น   ในโลกสมัยใหม่ที่กำลังดำเนินอยู่นี้  รัฐบาลส่วนกลาง  ภูมิภาคและท้องถิ่นที่ใช้อำนาจรัฐแทนประชาชนไม่สามารถดำริและผลักดันการพัฒนาเพียงฝ่ายเดียวได้อีกต่อไป  กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อนำเสนอ  แสดงความเห็น  ตรวจสอบและคัดค้านการพัฒนาต่าง ๆ  มีความสำคัญในแง่ที่จะทำให้บ้านเมืองตั้งอยู่บนครรลองของการใช้กฎหมายตามหลักนิติธรรม  ซึ่งตรงกันข้ามกับการตั้งอยู่บนครรลองของการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือและข้ออ้างเพื่อสร้างความชอบธรรมที่ขัดต่อหลักนิติธรรม   อย่างน้อยที่สุด  หลักนิติธรรมก็ได้สร้างพันธะสัญญาต่อกัน  ระหว่างรัฐกับประชาชน  เพื่อให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งประกันซึ่งสิทธิและเสรีภาพของประชาชน  ให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมบริหารจัดการและพัฒนาบ้านเมือง  จึงเป็นความเหมาะสมที่หลักนิติธรรมจะเป็นตัวชี้วัดสำคัญของการพัฒนาในโลกสมัยใหม่  หากปราศจากหลักนี้แล้วก็เป็นการพัฒนาที่ไม่สอดคล้องเหมาะสม  ไม่ถูกทำนองคลองธรรม  เท่าที่ควร   การประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.​ 2548  หรือ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน  เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโรคโควิด 19  มีอำนาจที่ล้นเกินไปกว่าการควบคุมโรคปรากฎออกมาให้เห็น  นั่นคือ  มาตรการต่าง ๆ ที่จะทำให้ประชาชนไม่รวมตัวกันและเว้นระยะห่างทางสังคม  ไม่ว่าจะเป็นการขอให้กักตัวอยู่กับบ้านหรือที่พักอาศัยในเวลาปกติ  […]

เสนอยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ควบคุมโควิด19 – ใช้ concept รักษาคน ควบคุมโรค ไม่ใช่ควบคุมคน รักษาโรค และการผลักดันระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า : นิมิตร์ เทียนอุดม กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ

ระบบหลักประกันสุขภาพ เป็นระบบที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากในสถานการณ์ที่มีโรคไวรัสโควิด19 ระบาดอย่างเช่นปัจจุบัน ในภาวะที่ประชาชนต่างก็ขาดรายได้ และประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจไม่ต่างกัน ซึ่งไม่ใช่ทุกคนที่จะพร้อมสำหรับการรับมือเมื่อต้องเจ็บป่วย ขาดงาน และขาดรายได้ การมีระบบหลักประกันสุขภาพที่ดีในประเทศ และพร้อมจะดูแล เยียวยาประชาชนจึงเป็นเรื่องที่ทุกคนควรให้ความสนใจ และร่วมผลักดันไปด้วยกัน

กลุ่มผู้หลากหลายทางเพศเสี่ยงถูกเลือกปฏิบัติ-รับผลกระทบหลายด้านในภาวะโควิด19 ระบาด – หากจะแก้ปัญหา รัฐควรรับฟังปัญหา : ชิษณุพงศ์ นิธิวนา ผู้ก่อตั้ง Young Pride Club

สถานการณ์การระบาดอย่างร้ายแรงของโควิด19 ในปัจจุบัน กลุ่มหลากหลายทางเพศเป็นกลุ่มที่ถูกเลือกปฏิบัติเช่นกัน ทั้งในด้านเศรษฐกิจ หลายคนถูกพักงาน รายด้านลดลง เนื่องจากส่วนมากทำงานในด้านบันเทิงและการท่องเที่ยว อีกทั้งยังได้รับผลกระทบเนื่องจากเป็นกลุ่มคนที่ไม่เข้าเกณฑ์การได้รับมาตรการเยียวยาจากรัฐด้วย

โควิด-19 เพิ่มความท้าทายการเข้าถึงสิทธิของคนพิการ-รัฐควรคำนึงถึงสภาพเฉพาะของกลุ่มคนพิการแต่ละประเภท : นฤมล กาญวงษา กลุ่มผู้พิการ

เดิมทีการเข้าถึงสิทธิของคนพิการ แม้จะมีพ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการที่กำหนดสิทธิที่คนพิการควรจะได้รับมากมาย แต่ในทางปฏิบัติคนพิการไม่สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จริง ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อประเทศไทยตกอยู่ในภาวะการระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 ระบาด ปัญหาการเข้าถึงสิทธิของคนพิการก็เป็นไปได้ยากมากขึ้น เนื่องจากมาตรการของรัฐยังไม่สามารถรับรองคนทุกกลุ่มได้