Month: April 2020

ไม่ใช่แค่พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯควบคุมโควิด-19 สามจังหวัดชายแดนใต้ ยังถูกควบคุมด้วยกฎหมายพิเศษอีก 2 ฉบับ ไม่ใช่เฉพาะภาวะฉุกเฉิน-จำเป็น : อับดุลเลาะห์ หะยีอาบู ประธานมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม ประจำจังหวัดยะลา

สถานการณ์โควิด19 ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ค่อนข้างน่าเป็นห่วง เนื่องจากมีผู้ติดเชื้อจำนวนเยอะพอสมาควรเมื่อเทียบกับพื้นที่จังหวัดอื่น เหตุเพราะมีผู้ที่เดินทางกลับมาจากประเทศมาเลเซีย และพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ยังเป็นพื้นที่ที่ถูกควบคุมด้วยกฎหมายพิเศษทับซ้อนกันถึง 3 ฉบับอยู่แล้วมาเนิ่นนานกว่า 10 ปี

แรงงานข้ามชาติ แรงงานที่ตกหล่นจากการได้รับสิทธิเยียวยาจากรัฐในภาวะโควิด19 ระบาด : ปสุตา ชื้นขจร ผู้ประสานงานโครงการยุติธรรมเพื่อแรงงานข้ามชาติ

สิทธิของแรงงานข้ามชาติเป็นอีกหนึ่งประเด็นที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ระบาด เนื่องจากเป็นแรงงานที่ตกหล่นจากการที่จะได้รับการเยียวยาจากรัฐ เพราะส่วนมากจะเป็นแรงงานที่ไม่อยู่ในระบบ อีกทั้ง มาตรการมากมายภายในประเทศยังมีเงื่อนไขแต่เพียงการมุ่งเยียวยาแต่ประชาชนที่มีสัญชาติไทยเพียงเท่านั้น ปัญหาเหล่านี้เรื้อรังมานาน และถูกฉายชัดขึ้นในภาวะโรคระบาดนี้

สิทธิที่จะเลือกทนายความของผู้ขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนยุติธรรม

จากกรณีในทางปฏิบัติที่ผู้ขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนยุติธรรม ไม่สามารถเลือกทนายความ หรือเมื่อใช้ทนายความที่ตนหามาเองแล้วไม่สามารถที่จะรับค่าจ้างจากกองทุนยุติธรรมได้ เนื่องจากผู้ขอรับความช่วยเหลือต้องใช้ทนายความที่ขึ้นบัญชีไว้กับสำนักงานกองทุนยุติธรรม ทั้งที่โดยหลักการเพื่อให้ผู้ต้องหาหรือจำเลย ที่อยู่ในฐานะผู้ขอรับความช่วยเหลือสามารถเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมที่มีประสิทธิภาพได้นั้น สิทธิในการเลือกทนายความได้ จึงควรเป็นหลักการสำคัญที่ต้องคำนึงสำหรับการเข้าถึงกองทุนยุติธรรม

แนวโน้มคนไร้บ้านมากขึ้นหลังโควิด19 – ไม่มีงาน ไม่มีเงิน ไม่มีที่อยู่ มาตรการของรัฐยังซ้ำเติมกลุ่มคนไร้บ้าน : นพพรรณ พรหมศรี กลุ่มคนไร้บ้าน

สถานการณ์เกี่ยวกับโรคระบาดโควิด19 เกิดขึ้น ทำให้กลุ่มคนไร้บ้านได้รับผลกระทบอย่างมาก เนื่องมาจากมาตรการของรัฐที่ออกมายับยั้งการระบาดของโควิด19 มีการกำหนดระยะเวลาห้ามออกจากเคหสถาน หากฝ่าฝืนจะมีความผิดตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ กลุ่มคนไร้บ้านไม่มีแหล่งอาศัยถาวร จึงเปนกลุ่มคนหนึ่งที่ลำบากมากในภาวะเช่นนี้ มากไปกว่านั้น สถานการณ์นี้ทำให้เศรษฐกิจยิ่งย่ำแย่ คนไร้บ้านจึงมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีกช่วงหลังโควิด19 ผ่านไป

6 ปี…บิลลี่หาย เรียกร้อง ถม ช่องว่างความยุติธรรม

ครบรอบ 6 ปี พอละจี รักจงเจริญ หรือ บิลลี่ หายตัวไปตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน 2557 ไม่นานมานี้กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ แถลงพบชิ้นส่วนที่สันนิษฐานว่าเป็นชิ้นส่วนกะโหลกของบิลลี่ และได้สรุปสำนวนส่งพนักงานอัยการ แต่พนักงานอัยการมีความเห็นสั่งไม่ฟ้อง เนื่องจากพยานหลักฐานไม่เพียงพอ ปัจจุบัน อยู่ระหว่างการพิจารณาของอัยการสูงสุดว่าจะสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้อง กรณีบิลลี้เป็นกรณีหนึ่งที่ชี้ให้เห็นช่องว่างของกฎหมายในกรณีบังคับให้บุคคลสูญหาย หรือ การอุ้มหายในประเทศไทย

ลำดับเหตุการณ์กรณีการหายไปของบิลลี่ พอละจี รักจงเจริญ

นายพอละจี รักจงเจริญ หรือ บิลลี่ เกิดที่บางกลอยบน หรือ ใจแผ่นดิน เป็นหลานชายของปู่คออี้ แกนนำกลุ่มชาติพันธุ์ของชาวบ้านบางกลอย เขาเข้ามาทำงานในด้านสิทธิมนุษยชนเพื่อปกป้องชุมชนที่ตนเองเกิด และอยู่อาศัย จนกระทั่งมีเหตุการณ์การรื้อเผาบ้านชาวกระเหรี่ยงที่หมู่บ้านบางกลอยบน บิลลี่ได้เข้ามาเป็นปากเป็นเสียงสำคัญของชาวกะเหรี่ยง เขาทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยทนายความ และเป็นพยานปากสำคัญในคดีที่ชาวบ้านกระเหรี่ยงยื่นฟ้อง และวันหนึ่งเขาก็ถูกบังคับให้สูญหายไป

รัฐควรมีมาตรการเชิงรุกตรวจสอบและเยียวยาลูกจ้างที่ตกหล่นจากการคุ้มครองของรัฐ ในภาวะโควิด19ระบาด : คุ้มเกล้า ส่งสมบูรณ์ เครือข่ายทนายสิทธิแรงงาน

สถานการณ์ไวรัสโควิด19 ระบาด ส่งผลกระทบมากมายต่อเศรษฐกิจภายในประเทศ มีหลายกิจการต้องผิดตัวลง เนื่องจากผลประกอบการที่ลดลง และได้รับผลการทบจากการที่รัฐบาลประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เพื่อควบคุมและยับยั้งการแพร่กระจายของโรค มีบางกิจการที่ถูกประกาศให้ปิดตัวโดยรัฐ แต่ก็มีบางกิจการที่ต้องปิดตัวลงเอง ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อความสามารถในการจ้างงานของผู้ประกอบการ และผู้ประกอบการบางรายใช้ช่องทางนี้ในการเอาเปรียบลูกจ้าง ชวนอ่านบทสัมภาษณ์ของทนายคุ้มเกล้า ส่งสมบูรณ์ ผู้คลุกคลีกับเครือข่ายแรงงานมานาน กับมาตรการที่อยากให้รัฐลงมาดูแลเยียวยาลูกจ้างที่ถูกเอาเปรียบในภาวะเช่นนี้

จดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรี ขอให้พิจารณาปล่อยตัวผู้ต้องขังโดยเร็วและให้ความมั่นใจว่าทุกคนที่อยู่ในสถานที่คุมขังมีสุขภาพและปลอดภัยดี โดยเฉพาะจากไวรัสโคโรนา 2019

องค์กรสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและองค์การระหว่างประเทศดังมีชื่อข้างท้ายนี้ เป็นห่วงอย่างยิ่งต่อการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ COVID-19 ที่อาจจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงในหมู่ผู้ต้องขังในเรือนจำและเจ้าหน้าที่ในเรือนจำของประเทศไทย

ปัญหาที่ผู้ถูกฟ้องคดีปิดปากเผชิญในชั้นก่อนการพิจารณา

จากการรวบรวมข้อมูลของสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน พบว่า โดยส่วนมากของคดีปิดกั้นการมีส่วนร่วมสาธารณะในประเทศไทยเกิดจากการร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน โดยข้อกล่าวหาที่ถูกนำมาใช้ดำเนินคดี จำนวนมากเป็นความผิดเกี่ยวกับความผิดฐานหมิ่นประมาท ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงและความสงบเรียบร้อย ซึ่งรัฐเป็นผู้เสียหาย ทำให้คดีจำนวนมากถูกดำเนินคดีผ่านช่องทางอัยการ

การ “ทบทวน” คำสั่งไม่อนุมัติคำขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนยุติธรรม

การทบทวนคำสั่งไม่อนุมัติคำขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนยุติธรรม ยังไม่สามารถสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนผู้ขอรับความช่วยเหลือได้ เนื่องจากเป็นการทบทวนโดยคณะอนุกรรมการชุดเดิม ซึ่งได้มีคำสั่งไม่อนุมัติไปก่อนหน้านั้นแล้ว

1 2