Month: March 2020

ยาแรงยับยั้งโควิด-19 ของปอท. อาจเป็นมาตรการปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น

ครั้งแรกของการประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ โควิด-19 หรือ ศบค. โดยมีพล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นประธานศูนย์ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) ได้เสนอประเด็นทางกฎหมายเพิ่มเติมจากการออกข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ข้อ 6 ซึ่งเป็นเรื่องของ “การนำเสนอข่าว”

สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกท่ามกลางสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ระบาด : กรณีจับ-ดำเนินคดีพ.ร.บ.คอมฯ ผู้กลับจากสเปน โพสต์เล่า ไม่มีมาตรการตรวจโควิดที่สนามบิน

กรณีดนัย อุศมา โพสต์ข้อความแสดงความคิดเห็นบน Facebook ในเชิงการตรวจสอบการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยระบุว่า “ตนเดินทางจากบาเซโลน่า ที่สนามบินบาเซโลน่า ตนและคนอื่นๆถูกตรวจร่างกายอย่างเข้มงวดก่อนจะขึ้นเครื่อง มาต่อเครื่องที่อาบูดาบี ต้องเดินผ่าน 3 ขั้นตอนในการตรวจร่างกายก่อนขึ้นเครื่อง จนบินมาถึงสนามบินสุวรรณภูมิไม่ได้รับการตรวจสุขภาพใดๆ” และถูกเข้าจับกุมเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2563 ในข้อหา “นำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน” ซึ่งเป็นการถูกจับกุมในระหว่างที่นายดนัยกำลังกักกันตัวเองตามนโยบายของภาครัฐที่ให้กักตัว 14 วันหลังจากกลับจากประเทศกลุ่มเสี่ยง และเป็นการจับโดยที่ไม่มีการออกหมายเรียกมาก่อน

ส.ส.รังสิมันต์ ถูกฟ้องหมิ่นประมาทหลังอภิปรายเรื่อง #ป่ารอยต่อ

จากกรณีที่นายรังสิมันต์ โรม ส.ส. บัญชีรายชื่อและรองโฆษกพรรคก้าวไกล ได้รับหมายเรียกจากสน.บางขุนนนท์ ลงวันที่ 12 มีนาคม 2563 ให้ไปรับทราบข้อกล่าวหาหมิ่นประมาทผู้อื่นโดยการโฆษณา เนื่องจาก มูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอย 5 จังหวัด โดยพ.อ.ภิญโญ บุญทรงสันติกุล ได้รับมอบอำนาจให้แจ้งความกล่าวหานายรังสิมันต์ จากการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2563 เกี่ยวกับมูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด

ข้อเรียกร้องต่อกรณีการจากไปของผู้พิพากษาคณากร เพียรชนะ

สืบเนื่องจากกรณีการเสียชีวิตของผู้พิพากษาคณากร เพียรชนะ โดยก่อนหน้านั้นมีการเผยแพร่แถลงการณ์ของนายคณากร ที่มีสาระสำคัญกล่าวถึงการแทรกแซงผลคำพิพากษาโดยอธิบดีผู้พิพากษาภาค