Month: June 2019

แถลงการณ์องค์กรสิทธิมนุษยชน เรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการนำตัวผู้กระทำความรุนแรงกับนักกิจกรรมทางการเมืองมาดำเนินคดีตามกฎหมายอย่างจริงจัง

จากเหตุการณ์ที่นายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ หรือจ่านิว นักกิจกรรมด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ถูกคนร้ายจำนวน ๔ คน ลอบทำร้ายเมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๒ จนได้รับบาดเจ็บสาหัส ต้องเข้ารับการรักษาตัวในห้องไอซียู

ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง นายเมาเซ้นหรือเซกะดอ จำเลยที่ 1 และ นายซอเล จำเลยที่ 2 ในคดีที่ถูกกล่าวหาว่าฆ่านางสาวอรวี สำเภาทอง (น้องแอ้ปเปิ้ล) กลับคำพิพากษาของศาลจังหวัดระนองที่พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย

วันพุธที่ 26 มิถุนายน 2562 ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องจำเลยทั้งสอง (นายเมาเซ้นหรือเซกะดอ ที่ 1 นายซอเล ที่ 2) ในคดีที่ถูกกล่าวหาว่าฆ่านางสาวอรวี สำเภาทอง (น้องแอ้ปเปิ้ล) กลับคำพิพากษาของศาลจังหวัดระนองที่พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย ทั้งนี้ ญาติเพิ่งทราบว่าศาลอุทธรณ์อ่านคำพิพากษา เนื่องจากวันนี้ไปเยี่ยมจำเลยที่เรือนจำแล้วไม่พบตัวจำเลย บุคคลที่เกี่ยวข้องรวมถึงทนายความไม่มีใครทราบว่ามีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2562 ยกเว้นศาลจังหวัดระนอง จำเลย หน้าบัลลังค์และตำรวจศาล ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโดยออกหมายปล่อยตัวจำเลย (ไม่ได้ออกหมายขังระหว่างฎีกา) ปัจจุบันจำเลยทั้งสองถูกกักตัวอยู่ ณ ตม. จังหวัดระนอง รอส่งกลับตามกระบวนการต่อไป ทั้งนี้ รายละเอียดคำพิพากษาศาลอุทธรณ์อยู่ระหว่างขอคัดสำเนาจากศาล ส่วนอัยการและโจทก์ร่วมจะฎีกาหรือไม่ สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนจะอัพเดทความคืบหน้าในคดีต่อไป อ่านคำพิพากษาศาลชั้นต้น “ศาลพิพากษาลงโทษ 4 แรงงานเมียนมาร์ตกเป็นจำเลยฆ่าน้องแอปเปิ้ล เนื่องจากเชื่อว่าจำเลยรับสารภาพในชั้นสอบสวนโดยสมัครใจ” ภาพประกอบจาก มติชนออนไลน์ ข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ นายรัษฎา มนูรัษฎา (ทนายความ) 081- 439-4938 นางสาวจันทร์จิรา จันทร์แผ้ว 065-7415395

สนส. เปิดตัวรายงานการฟ้องคดีปิดปาก เสนอแนวทางป้องกันการคุกคามรูปแบบใหม่ ใช้กฎหมายปิดกั้นการแสดงออกประชาชน

เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2562 สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) ร่วมด้วยมูลนิธิผสานวัฒนธรรม และสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) จัดงานเสวนาสถานการณ์การดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อระงับการมีส่วนร่วมของประชาชนในประเทศไทย ไพโรจน์ พลเพชร ที่ปรึกษาสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) กล่าวเปิดงานโดยชี้ให้เห็นว่า ในปัจจุบันประเทศไทยมีการคุกคามต่อผู้ที่ออกมาเคลื่อนไหวในประเด็นสาธารณะรูปแบบใหม่คือการใช้กฎหมายและใช้การฟ้องคดีระงับการแสดงความคิดเห็น หรือมีชื่อที่รู้จักในวงกว้างว่าการฟ้องคดีปิดปาก หรือ การฟ้องคดี SLAPPs เกิดขึ้นทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้จัดงานในวันนี้ขึ้น เนื่องจากการปกป้องสิทธิมนุษยชนนั้นต้องใช้ความรู้เพียงพอ ไม่ใช่ใช้ความรู้สึก สนส. จึงจัดทำวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพื่อให้ความรู้ และหาแนวทางแก้ไข จะทำอย่างไรไม่ให้เกิดการฟ้องคดีปิดปาก เพราะการฟ้องปิดปากคือการหยุดการเคลื่อนไหว ซึ่งมีผลกระทบต่อชุมชนเป็นอย่างมาก และเป็นภาวะที่เกิดขึ้นมากในช่วงระยะเวลาห้าปีที่ผ่านมา งานเสวนานี้ และงานวิจัยคงเป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะปกป้องสิทธิมนุษยชน และทำให้ทุกคนตื่นรู้ และทุกคนจะได้เสนอความเห็นว่าจะเดินหน้าปกป้องคนเหล่านี้ได้อย่างไร สนส. เปิดเนื้อหารายงานวิจัยเกี่ยวกับการฟ้องคดีปิดปาก บัณฑิต หอมเกษ นำเสนอถึงรายงาน “ข้อเสนอแนะต่อการคุ้มครองผู้ใช้สิทธิและเสรีภาพเพื่อการมีส่วนร่วมในประเด็นสาธารณะจากการถูกฟ้องคดี” SLAPPs หรือ Strategic Lawsuit Against Public Participation คือการฟ้องคดีเพื่อต่อต้านการมีส่วนร่วมสาธารณะ คนเข้าใจมากว่าเป็นการฟ้องเฉพาะคดีในข้อหาหมิ่นประมาท แต่ในความเป็นจริงแล้วมีข้อหาอื่นด้วย เช่น ความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ หรือพ.ร.บ.ชุมนุม […]

รายงานข้อเสนอแนะต่อการคุ้มครองผู้ใช้สิทธิและเสรีภาพเพื่อการมีส่วนร่วมในประเด็นสาธารณะจากการถูกฟ้องคดี

บทนำ การมีส่วนร่วมสาธารณะ (Public Participation) ถือเป็นหลักการและแนวปฏิบัติทางการเมือง ที่เป็นพื้นฐานสำคัญของสังคมประชาธิปไตย ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา ได้รับรองสิทธิในด้านต่าง ๆ เพื่อเป็นช่องทางให้ประชาชนได้เข้าไปมีส่วนร่วมสาธารณะได้ เช่น เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เสรีภาพในการชุมนุม เสรีภาพในการสมาคมสิทธิในการเสนอเรื่องราวร้องทุกข์ สิทธิชุมชน สิทธิการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากร เป็นต้น อย่างไรก็ดี ประชาชนที่ใช้สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญในการเข้าไปมีส่วนร่วมสาธารณะ มักจะถูกคุกคามในรูปแบบต่าง ๆ อยู่เสมอ ทั้งการใส่ร้ายป้ายสี การทำลายภาพลักษณ์ การเยี่ยมบ้าน การทำร้ายร่างกาย การใช้กองทัพหรือตำรวจปราบปราม การลอบสังหาร การบังคับให้สูญหาย เป็นต้น และอีกรูปแบบหนึ่งที่พบมากในปัจจุบันคือ “การคุกคามด้วยกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม” การคุกคามการด้วยกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ในลักษณะการฟ้องคดีต่อบุคคลที่เข้าไปมีส่วนร่วมสาธารณะนั้น มักถูกเรียกว่า “การดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อปิดกั้นการมีส่วนร่วมสาธารณะ” (Strategic Lawsuits Against Public Participation หรือ SLAPPs) บางครั้งอาจเรียกว่า “การฟ้องปิดปาก” SLAPPs มักถูกนำมาใช้อธิบายปรากฏการณ์ที่บริษัทเอกชนและรัฐฟ้องคดีต่อนักกิจกรรม นักเคลื่อนไหว แกนนำหรือสมาชิกชุมชนที่ออกมาใช้เสรีภาพในการแสดงออก การแสดงความคิดเห็น […]

นักปกป้องสิทธิมนุษยชนกับการถูกฟ้องคดีเมื่อปกป้องประโยชน์สาธารณะ: กรณี นายกฤษกร ศิลารักษ์ หรือ ป้าย ปากมูล

นักปกป้องสิทธิมนุษยชนหลายคนถูกแจ้งความดำเนินคดีและตั้งข้อหาอย่างไม่เป็นธรรมเพียงเพราะเรียกร้องให้รัฐคุ้มครองสิทธิของประชาชน การดำเนินคดีเช่นนี้ เรียกว่าการดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อระงับการมีส่วนร่วมของสาธารณชน(SLAPPs)

ประชาสัมพันธ์งาน “เสวนาสถานการณ์การดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อระงับการมีส่วนร่วมของประชาชนในประเทศไทย”

“คดี SLAPPs คือการดำเนินคดีที่มีลักษณะเป็นยุทธศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหยุด ลงโทษ หรือการต่อต้านการใช้สิทธิทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นเสรีภาพในการพูด การร้องเรียน เสรีภาพในการแสดงออก (freedom of expression) ในการชุมนุม (freedom of assembly) และการสมาคม (freedom of association) เกี่ยวกับประเด็นสาธารณะ โดยผู้ฟ้องคดีไม่ได้มุ่งเอาชนะ แต่มุ่งลดทอนทรัพยากร และข่มขู่ให้ผู้ถูกฟ้องยอมยุติบทบาท …” — ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมงาน “เสวนาสถานการณ์การดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อระงับการมีส่วนร่วมของประชาชนในประเทศไทย” ในวันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน 2562 เวลา 10.00-14.00 น. ณ สํานักกลางนักเรียนคริสเตียน #กำหนดการ 10.00-10.30 น. ลงทะเบียน 10.30-10.45 น. กล่าวเปิดงาน โดยไพโรจน์ พลเพชร ที่ปรึกษาสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) 10.45-12.00 น. เสวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการใช้เสรีภาพในการแสดงออกและผลกระทบที่ได้รับเกี่ยวกับการตกเป็นเป้าหมายในการดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อระงับการมีส่วนร่วมในกิจการสาธารณะ (การฟ้องคดีปิดปาก) ร่วมเสวนาโดย – ชลธิชา […]

นิยามและความคิดทั่วไปเกี่ยวกับการฟ้องปิดปาก (SLAPPs)

นิยามและความคิดทั่วไปเกี่ยวกับ SLAPPs การดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อต่อต้านการมีส่วนร่วมของสาธารณะ (Strategic Lawsuit Against Public Participation) หรือ SLAPPs เป็นรูปแบบหนึ่งของการคุกคามโดยการใช้กระบวนการยุติธรรมเป็นเครื่องมือ (Judicial Harassment) โดยมุ่งคุกคามเฉพาะเจาะจงไปที่การมีส่วนร่วมสาธารณะหรือการใช้สิทธิทางการเมืองของประชาชน มุ่งก่อให้เกิดความเสียหายหรือคุกคามต่อเสรีภาพในการพูด การแสดงความคิดเห็น หรือการถกเถียงอย่างสร้างสรรค์ โดยมีเป้าหมายเป็นผู้ที่สื่อสารความคิดเห็น (communication) ที่จะมีอิทธิพลต่อการดำเนินการของรัฐบาล (government proceeding) ในประเด็นสำคัญเกี่ยวกับประโยชน์สาธารณะหรือประเด็นที่มีนัยสำคัญทางสังคม Penelope Canan ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทางสังคมวิทยา และ George Pring ศาสตราจารย์ทางกฎหมาย แห่งมหาวิทยาลัยเดนเวอร์ สหรัฐอเมริกา ผู้ทำการศึกษาเรื่องนี้อย่างเป็นระบบ ได้อธิบายในหนังสือเรื่อง SLAPPs: Getting Sued for Speaking Out ที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1996 ว่า การฟ้องคดีลักษณะ SLAPPs นี้ ส่วนใหญ่เป็นไปเพื่อการข่มขู่ มุ่งตอบโต้ หรือฟ้องเพื่อหยุดพฤติกรรมเฉพาะ ลงโทษการพูด หรือต่อต้านกิจกรรมทางการเมือง และคดีจำนวนมากมีลักษณะเป็นยุทธศาสตร์ ไม่ใช่เพียงแค่ยุทธวิธี ดังนั้น […]

“ป้าย ปากมูล” นักปกป้องสิทธิมนุษยชน กับข้อหา นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลอันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงฯ และคดีหมิ่นประมาทฯ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี

นายกฤษกร ศิลารักษ์ หรือ ป้าย ปากมูลได้ถูกฟ้องดำเนินคดีในเวลาไล่เลี่ยกันเป็นจำนวน 2 คดี โดยคดีแรกเป็นคดีอาญาหมายเลขดำที่ 2445/2561 ระหว่างพนักงานอัยการจังหวัดอุบลราชธานี โจทก์ โดยนายสฤษดิ์ วิฑูรย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เป็นผู้กล่าวหาและร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีกับจำเลย และนายกฤษกร ศิลารักษ์ จำเลย ในข้อหานำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลอันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงฯ และวันที่ 4 มิถุนายน – 5 มิถุนายน 2562 นายกฤษกรและทนายความ จะเดินทางไปศาลจังหวัดอุบลราชธานี โดยศาลนัดสืบพยานโจทก์และสืบพยานจำเลย