Month: November 2018

จดหมายเปิดผนึกถึงศาลทหาร : กรณีให้ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนลบข้อมูลเกี่ยวกับคำเบิกความพยานจากเว็บไซต์

[English Below] จดหมายเปิดผนึก วันที่  7  พฤศจิกายน พ.ศ.  2561 เรื่อง    ขอให้ทบทวนการใช้อำนาจศาลทหารกรุงเทพ กรณีการให้ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนลบข้อมูลเกี่ยวกับคำเบิกความพยานจากเว็บไซต์ เรียน    เจ้ากรมพระธรรมนูญ หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร ตุลาการพระธรรมนูญหัวหน้าศาลทหารกรุงเทพ สืบเนื่องจากที่ศาลทหารกรุงเทพได้ทำการไต่สวนนายอานนท์ นำภา ทนายความ เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2561 จากกรณีที่เว็บไซต์ของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ได้เผยแพร่คำเบิกความพยานในคดีฐนกร (สงวนนามสกุล) ซึ่งถูกดำเนินคดีในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 จากการแชร์ผังทุจริตในโครงการก่อสร้างอุทยานราชภักดิ์ และข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จากการกดไลค์เพจที่มีข้อความหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ และโพสต์เสียดสีคุณทองแดง สุนัขทรงเลี้ยง โดยศาลทหารเห็นว่าข้อมูลดังกล่าวมาจากเอกสารที่นายอานนท์ขอคัดถ่ายไปจากศาล  จากการไต่สวน ศาลทหารกรุงเทพเห็นว่าการเผยแพร่คำเบิกความดังกล่าวอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อรูปคดี และเกิดผลกระทบต่อพยานที่มาเบิกความเป็นพยานต่อศาล จึงมีคำสั่งให้นายอานนท์แจ้งศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนให้ลบข้อมูลดังกล่าวจากเว็บไซต์ภายใน 24 ชั่วโมง และห้ามมิให้บุคคลหรือองค์ใดนำคำเบิกความพยานและการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลในคดีนี้ไปลงเผยแพร่ในสื่อทุกชนิด มิฉะนั้นจะถือว่าเป็นการละเมิดอำนาจศาล . ทั้งนี้ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ไม่ได้มีการดำเนินการลบข้อความดังกล่าวออกจากเว็บไซต์แต่อย่างใด เพราะเห็นว่าการเผยแพร่ข้อความพยานดังกล่าวไม่ใช่การกระทำที่เข้าข่ายจะเป็นการละเมิดอำนาจศาล (อ่านแถลงการณ์ของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน) และเห็นว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงยื่นคำร้องขอเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบและคำร้องขอทุเลาการบังคับตามคำสั่งต่อศาลทหารกรุงเทพในวันที่ 4 ตุลาคม 2561 […]

แถลงการณ์ร่วม 26 องค์กรภาคประชาชน 93 นักวิชาการและคนทำงานด้านสังคม เรียกร้องให้ยุติการดำเนินคดีชาวกะเหรี่ยงแก่งกระจานโดยทันที

[English Below]    เผยแพร่ 4 พฤศจิกายน 2561 แถลงการณ์ร่วม ขอให้ยุติการดำเนินคดีชาวกะเหรี่ยงแก่งกระจาน ทั้งทางแพ่งทางอาญา  หลังศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาว่าเจ้าหน้าที่ปฏิบัติโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และให้รัฐจ่ายเงินชดเชย  กรณีเจ้าหน้าที่เผาบ้านปู่คออี้และชุมชนกะเหรี่ยง เมื่อวันที่ 25-31 ตุลาคม 2561 มีสื่อมวลชนบางสำนักได้เผยแพร่ข่าวอย่างต่อเนื่องในทำนองว่า อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่หน่วยเฉพาะกิจฯ กรมอุทธยานฯ เข้าพบพนักงานสอบสวน สถานีตำรวจภูธรแก่งกระจาน อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี เพื่อร้องทุกข์กล่าวโทษให้สืบสวน สอบสวน ดำเนินคดีกับชาวกะเหรี่ยง คือทายาทของนายโคอิ มีมิ หรือปู่คออี้กับพวกรวม 6 คน ในข้อหายึดถือหรือครอบครองที่ดินในเขตอุทยานแห่งชาติ คือบริเวณบ้านบางกลอยบน-ใจแผ่นดิน ซึ่งถูกประกาศทับโดยเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เรื่องนี้นี้สืบเนื่องมาจากกรณีที่ในปี 2555  ปู่คออี้ และชาวกะเหรี่ยงบ้านบางกลอยบน-ใจแผ่นดิน รวม 6 คน ในฐานะผู้ฟ้องคดี ได้ยื่นฟ้องกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ต่อศาลปกครองกลาง เป็นคดีหมายเลขดำที่ ส. 58/2555 ซึ่งเป็นคดีเกี่ยวกับการต่อสู้เพื่อความเป็นธรรม สิทธิชุมชนและสิทธิของชนพื้นเมืองที่ ได้รับความสนใจจากสาธารณะชนในช่วงเกือบ 10 ปีมานี้ โดยผู้ฟ้องคดีทั้ง 6 คน กล่าวหาว่า เมื่อปี 2554 ในการปฏิบัติการยุทธการตะนาวศรี เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานกลุ่มหนึ่ง ได้ใช้กำลังบังคับให้พวกตนต้องโยกย้ายออกจากที่ดินและชุมชนบ้านบางกลอยบน-ใจแผ่นดิน อันเป็นถิ่นกำเนิด ที่ทำกินและอยู่อาศัยมาหลายชั่วอายุคน ทั้งได้เผาทำลายบ้านเรือน ยุ้งฉาง เรือกสวนไร่นาของพวกตนและประชาชนกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงคนอื่นๆอีกหลายสิบคนจนเสียหาย โดยเจ้าหน้าที่อ้างว่าบ้านเรือน […]

เก็บประเด็นวงเสวนาป่าแหว่ง นักกฎหมายสิทธิชี้ช่องรื้อถอนบ้านพักตุลาการตีนดอยสุเทพ

วันที่ 28 ตุลาคม 2561 ที่ผ่านมา สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน(สสส.) ศูนย์ศึกษาสันติวิธีและความขัดแย้ง และเครือข่ายขอคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพ ได้ร่วมกันจัดงานเสวนาวิชาการ เรื่อง ความคิดเห็นของนักกฎหมายด้านสิทธิมนุษยชน “กรณีป่าแหว่ง” ณ ศูนย์ศึกษาสันติวิธีและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย งานเสวนาดังกล่าวสืบเนื่องจากการเคลื่อนไหวของเครือข่ายทวงคืนผืนป่าดอยสุเทพ เพื่อขอให้รื้อถอนบ้านพักตุลาการในพื้นที่ดอยสุเทพ และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีรับปากว่าจะย้ายสิ่งปลูกสร้างออก แต่จนบัดนี้ยังไม่ได้มีการดำเนินการใดที่เป็นรูปธรรม แม้ที่ผ่านมาจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 2 ชุด คือคณะกรรมการระดับจังหวัด และคณะกรรมการส่วนกลาง เพื่อแก้ปัญหานี้ คณะกรรมการระดับจังหวัดมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน มีมติไปแล้วเมื่อเดือนกรกฎาคม 2561 ให้รื้อย้าย 45 หลังที่ยังไม่มีผู้เข้าอยู่ ส่วนที่มีคนอยู่ ก็ให้รื้อย้ายโดยให้เอาคนที่เข้าไปอยู่แล้วลงด้านล่างนอกเขตป่าและจึงให้รื้อย้าย  ได้มีการส่งเรื่องมายังคณะกรรมการระดับชาติ ซึ่งมีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ (นายสุวพันธ์) เป็นประธานแล้ว แต่ยังไม่มีการเปิดประชุมเลย ประเด็นข้อถกเถียงประการสำคัญของการพิจารณารื้อถอนบ้านพักตุลาการดังกล่าวคือ การจะใช้อำนาจทางกฎหมายใดในการรื้อถอน นี้จึงเป็นที่มาที่เครือข่ายภาคประชาชนจัดการเสวนาระดมความคิดเห็นขึ้นในครั้ง ความเป็นมาของพื้นที่ ปี 2483 มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดิน ในท้องที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ พุทธศักราช 2483 ตามพระราชบัญญัติหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ. 2479 (เพื่อประโยชน์ในราชการทหาร) รายละเอียดกฎหมาย ปี 2492 […]