Month: September 2018

สนส. รับสมัครเพื่อนร่วมงาน 1 ตำแหน่ง

รู้จักเราก่อน สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) หรือชื่อภาษาอังกฤษ Human Rights Lawyers Association (HRLA) เป็นองค์กรไม่แสวงหากำลัง ไม่ใช่องค์กรสังกัดรัฐ  องค์กรของเราก่อกำหนดขึ้นด้วยความต้องการร่วมกันของนักกฎหมาย/ทนายความ รวมถึงคนทำงานด้านสิทธิมนุษยชนกลุ่มหนึ่ง ที่ต้องการให้มีพื้นที่เชื่อมประสานและสนับสนุนการทำงานเพื่อส่งเสริมหลักนิติธรรม ความเป็นธรรมในสังคม และคุ้มครองสิทธิมนุษยชน องค์กรของเราก่อตั้งขึ้นในปี 2551 โดยจดทะเบียนเป็นองค์กรตามกฎหมายในปี 2556 สำหรับภารกิจของเรา เราให้ทำงานอยู่ 3 ด้านหลักๆ คือ 1) งานเสริมสร้างศักยภาพและเครือข่าย เพราะเราเชื่อว่าหากมีการร่วมมือกัน  จะช่วยให้มีพลังในการสร้างการเปลี่ยนแปลงได้  คล้ายกับคำกล่าวที่ว่าคนเดียวหัวหาย หลายคนเพื่อนตายนั้นแหละ  2) งานคดียุทธศาสตร์  เป็นการใช้มาตรฐานทางกฎหมายและการดำเนินคดีเพื่อผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านทัศนคติของบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม แนวปฏิบัติ กฎหมายและนโยบายในภาพรวมที่สอดคล้องกับหลักนิติธรรม และหลักการด้านสิทธิมนุษยชน 3) งานข้อมูล วิชาการและงานสื่อสาร ซึ่งเป็นงานที่จำเป็นในการสนับสนุนการเคลื่อนไหวเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง ปัจจุบัน เราให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับปัญหาในการใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมเป็นเครื่องมือในการละเมิดสิทธิมนุษยชน  บางคนอาจจะเรียกสิ่งนี้ว่าการฟ้องคดีปิดปาก (SLAPPs) แต่บางคนอาจจะเรียกว่าการใช้กระบวนการยุติธรรมเพื่อคุกคาม (Judicial Harassment)  และอีกเรื่องที่เราให้ความสำคัญไม่แพ้กันก็คือเรื่องสิทธิในกระบวยการยุติธรรมทางอาญา โดยเฉพาะประเด็นการพิจารณาคดีที่เป็นธรรม (Fair Trial) ซึ่งสำหรับประเทศไทย แม้กฎหมายจะค่อนข้างดูดี แต่ในทางปฏิบัติค่อนข้างจะถอยหลังเข้าคลอง […]

เรื่องเล่าการปล่อยชั่วคราว : หลักการที่สวยงาม ความฝันของการปฏิรูป และความจริงที่เป็นอยู่

โดยหลักการแล้ว…. สิทธิที่จะได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว ถือว่าเป็นสิทธิที่มีความสำคัญมาก เพราะเป็นเรื่องที่กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของบุคคล และเกี่ยวพันสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรมอีกหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นสิทธิที่จะได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่ามีความผิด (The Presumption of Innocent) เพราะหากผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่ได้รับการปล่อยชั่วคราว เขาต้องถูกส่งไปขังไว้ที่เรือนจำ ต้องตัดผม ต้องใส่ชุดนักโทษ บางครั้งต้องใส่ตรวนออกมาศาล ซึ่งทำให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยมีสภาพไม่ต่างจากนักโทษเด็ดขาดที่ถูกตัดสินถึงที่สุดแล้วว่ามีความผิด สิทธิที่จะมีโอกาสอย่างเท่าเทียมและสิทธิที่จะต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่  หากผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่ได้รับอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว ย่อมก่อให้เกิดอุปสรรคในการที่จะแสวงหาพยานหลักฐานมาพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนอย่างเต็มที่และเท่าเทียมกับโจทก์ นอกจากนี้ การที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่ได้รับอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวซ้ำแล้วซ้ำเล่า หรือมีการกำหนดประกันหรือหลักประกันไว้สูงเกินไปจนผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่สามารถหาหลักประกันมาวางเพื่อการปล่อยชั่วคราวได้ ย่อมส่งผลให้เกิดความกดดันทางอ้อมให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยยอมรับสารภาพเพื่อให้คดีสิ้นสุดและถูกปล่อยตัวออกมาโดยเร็ว ด้วยผลกระทบมากมายที่มี  กฎเกณฑ์ทั้งระดับสากลและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเองจึงรับรองสิทธิประการดังกล่าวไว้  โดยให้ถือว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยต้องได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวเป็นหลัก ส่วนการไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวหรือการควบคุมตัวไว้ระหว่างดำเนินคดีให้เป็นข้อยกเว้น  เท่าที่จำเป็นเพื่อให้กระบวนการยุติธรรมสามารถดำเนินไปได้อย่างเรียบร้อยและการมีตัวจำเลยในการพิจารณาคดี (เพราะคดีอาญาถือหลักว่าการพิจารณาคดีต้องทำต่อหน้าจำเลย) รวมถึงการมีตัวในการบังคับโทษตามคำพิพากษา กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง (ICCPR) ข้อ 9 (3) กำหนดไว้ว่า  “…ผู้ถูกจับกุมหรือควบคุมในข้อหาทางอาญาได้รับการปล่อยตัวไป มิให้ถือเป็นหลักทั่วไปว่าจะต้องควบคุมบุคคลที่รอการพิจารณาคดี แต่ในการปล่อยตัวอาจกำหนดให้มีการประกันว่าจะมาปรากฏตัวในการพิจารณาคดี ในขั้นตอนอื่นของกระบวนพิจารณาและจะมาปรากฏตัวเพื่อการบังคับตามคำพิพากษา เมื่อถึงวาระนั้น” รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 29 บัญญัติว่า “การควบคุมหรือคุมขังผู้ต้องหาหรือจำเลยให้กระทำได้เพียงเท่าที่จำเป็น เพื่อป้องกันมิให้มีการหลบหนี” และ “คำขอประกันผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาต้องได้รับการพิจารณาและจะเรียกหลักประกันจนเกินควรแก่กรณีมิได้ การไม่ให้ประกันต้องเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ” อย่างไรก็ดี ในทางปฏิบัติการปล่อยตัวชั่วคราวถือเป็นเรื่องที่มีปัญหาและได้รับการพูดถึงมาตลอด โดยเฉพาะปัญหาเรื่องศาลมักให้ปล่อยชั่วคราวโดยกำหนดหลักประกันเป็นตัวเงินหรือทรัพย์สิน ทำให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยมีฐานะทางเศรษฐกิจไม่ดีต้องพบกับความยากลำบากในการหาหลักทรัพย์มาใช้ประกันตัวเอง ในความพยายามแก้ไขและความฝันของการปฏิรูป  […]

สมาคมนักกฎหมายสิทธิฯ ออกจดหมายเปิดผนึกถึงสถาบันตุลาการขอให้ทำหน้าที่คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนและตรวจสอบการใช้อำนาจตามประกาศ/ คำสั่ง คสช.

จดหมายเปิดผนึก วันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๖๑ เรื่อง     ขอให้สถาบันตุลาการทำหน้าที่คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ตรวจสอบการใช้อำนาจตามประกาศ/ คำสั่ง คสช. เรียน    ประธานศาลฎีกา           ผู้พิพากษาศาลยุติธรรมทั่วประเทศ สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) เป็นองค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหากำไร  มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมหลักนิติธรรม ความเป็นธรรมในสังคม และปกป้องสิทธิมนุษยชน  ผ่านการใช้มาตรการทางกฎหมายและการดำเนินคดี รวมถึงการผลักดันนโยบายต่างๆเพื่อให้บรรทัดฐานทางกฎหมายสอดคล้องกับหลักการสิทธิมนุษยชน หลักนิติธรรม และก่อให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม  โดยให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับประเด็นสิทธิในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม (Right to Fair Trial) สมาคมฯเห็นว่า สถาบันตุลาการเป็นหนึ่งในอำนาจอธิปไตยและเป็นกลไกสำคัญในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน  และช่วยสร้างหลักประกันว่าทุกคนที่ต้องสงสัยว่ากระทำความผิดจะได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรมตามมาตรฐานสากล  ฝ่ายตุลาการยังมีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้ตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจของฝ่ายบริหารและเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย เพื่อให้มีหลักประกันว่าการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐและฝ่ายบริหารได้ดำเนินการตามหลักสิทธิมนุษยชนและหลักนิติธรรมตามที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญและพันธกรณีระหว่างประเทศหรือไม่ ตลอดระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมานับแต่มีรัฐประหาร คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้มีการออกประกาศและคำสั่งที่จำกัดและละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนอย่างกว้างขวาง โดยอ้างว่ามีฐานะเป็นกฎหมาย หากจะยกเลิกประกาศหรือคำสั่งดังกล่าวได้จะต้องออกเป็นพระราชบัญญัติ  ตลอดเวลาที่ผ่านมา คสช. ไม่ได้มีท่าทีว่าจะยกเลิกประกาศหรือคำสั่งเหล่านั้นไปแต่อย่างใด และได้นำมาใช้เป็นเครื่องมือจำกัดและคุกคามสิทธิและเสรีภาพของประชาชนที่เห็นต่างจากรัฐอยู่เสมอ อันเป็นการละเมิดหลักการพื้นฐานของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และพันธกรณีระหว่างประเทศที่รัฐไทยเข้าเป็นภาคี โดยเฉพาะกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ ๓/๒๕๕๘ เรื่อง การรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของชาติ […]

Joint Statement : Review and Drop Charges against Page Administrator and Twelve other Individuals for Posting Alleged Koh Tao Tourist Sexual Assault

Pursuant to the media coverage that arrest warrants from Samui Provincial Court, No. 65-77/2561, dated 3rd September 2018, have been issued for the CSI LA Facebook page administrator and other people, totally, twelve individuals, who shared information regarding Samui sexual assault allegation, for dishonesty or deceitfully bringing into a computer system computer data which is […]

เลื่อนฟังคำพิพากษาศาลฏีกาคดีฆาตกรรมอำพรางวัยรุ่นกาฬสินธุ์ปี 2547 เหตุจำเลยที่ 5 ไม่มาศาล

วันนี้ ( 6 กันยายน 2561)​ เวลา 09.30 น. ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก นัดฟังคำพิพากษาศาลฎีกาคดีฆาตกรรมอำพรางนายเกียรติศักดื์ ถิตย์บุญครอง ช่วงสงครามยาเสพติด คดีอาญาหมายเลขดำที่ อ.3252/2552 คดีหมายเลขแดงที่ อ.2600/2555 อย่างไรก็ดี วันนี้จำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นอดีต ผกก.สภ.เมืองกาฬสินธุ์ ไม่มาศาลเพื่อฟังคำพิพากษา ศาลได้สอบถามทนายจำเลยที่ 5 ทนายแจ้งว่าไม่สามารถติดต่อจำเลยที่ 5 ได้ ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า จำเลยที่ 5 ทราบนัดโดยชอบแล้ว แต่ไม่มาศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้องหรือร้องขอเลื่อนคดี จึงถือว่ามีพฤติการณ์หลบหนีไม่มาฟังคำพิพากษาศาลฎีกา จึงให้ออกหมายจับจำเลยที่ 5 และให้เลื่อนไปฟังคำพิพากษา วันที่ 11 ตุลาคม 2561 เวลา 9 นาฬิกา คดีดีนี้พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีพิเศษ 1 เป็นโจทก์ และมีบิดาผู้เสียชีวิตเป็นโจทก์ร่วม โดยมีทนายความจากสภาทนายความและสมาคมนักกฏหมายสิทธิมนุษยชนใก้การช่วยเหลือ โจทก์ยื่นฟ้องเจ้าหน้าที่ตำรวจ 6 นาย ในฐานความผิดร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ย้ายศพเพื่อปิดบังเหตุแห่งการตาย […]

แถลงการณ์ : ให้ทบทวนและยุติการดำเนินคดีแอดมินเพจและบุคคล 12 ราย กรณีเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการร้องเรียนเรื่องการละเมิดทางเพศต่อนักท่องเที่ยวที่เกาะเต่า

ด้วยปรากฏรายงานข่าวผ่านสื่อมวลชนว่า ได้มีการออกหมายจับแอดมินเพจ CSI LA และคนแชร์ข้อมูลจากเพจดังกล่าวอีก 12 ราย ตามหมายจับศาลจังหวัดเกาะสมุย ที่ 65-77 /2561 ลงวันที่ 3 กันยายน 2561 ในฐานความผิดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายประชาชน นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยประการที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ซึ่งหลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ก็ทำการไล่จับกุมบุคคลตามหมายจับดังกล่าวไปแล้ว 9 ราย และคาดว่าจะมีการนำส่งพนักงานสอบสวน สภ. เกาะสมุยภายในวันนี้ มูลเหตุที่นำมาสู่การถูกออกหมายจับ เนื่องจากเพจ CSI LA ได้เผยแพร่ข้อความที่ในวันที่ 25 สิงหาคม 2561 เกี่ยวกับกรณีหญิงสาวอายุ 19 ปี นักท่องเที่ยวสัญชาติอังกฤษ ถูกข่มขืน ที่หาดทรายรี ตำบลเกาะเต่า อำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฏร์ธานี ในคืนวันที่ 26 มิถุนายน 2561 ต่อมาวันที่ 28 สิงหาคม 2561 เจ้าหน้าที่ตำรวจได้มีการลงพื้นที่ตรวจสอบ เจ้าหน้าที่ระบุว่ากระแสข่าวดังกล่าวได้สร้างผลกระทบต่อภาพลักษณ์การท่องเที่ยวของประเทศ พร้อมทั้งระบุว่าจะมีการดำเนินคดีกับเพจคือ เพจสมุยไทม์ […]

คดีฆาตกรรมอำพรางนายเกียรติศักดิ์ ในช่วงสงครามยาเสพติด

ผ่านมากว่า 14 ปีแล้วสำหรับคดีฆาตกรรมนายเกียรติศักดิ์ ถิตย์บุญครอง วัยรุ่นในจังหวัดกาฬสินธุ์ที่ถูกตำรวจฆาตกรรมอำพราง ย้อนไปเมื่อปี 2546 รัฐบาลได้ดำเนินนโยบายปราบปรามยาเสพติดแบบเด็ดขาด ชนิดที่เรียกว่า “ตาต่อตา ฟันต่อฟัน” มีการกำหนดให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ทั้งผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด ต้องปราบปรามผู้ค้ายาและผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้ได้ร้อยละ 25 จากจำนวนเป้าหมายที่ศูนย์ปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดจังหวัด (ศตส.จ.) กำหนดไว้ (บัญชีรายชื่อผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด หรือบัญชีดำ) โดยใช้หลักเกณฑ์วัดผลเชิงปริมาณ 3 ประการ คือ 1. การจับกุมดำเนินคดีจนถึงขั้นอัยการส่งฟ้องศาล  2. การวิสามัญฆาตกรรมในกรณีที่ผู้ค้ายาเสพติดต่อสู้ 3. การที่ผู้ค้ายาเสพติดเสียชีวิตไม่ว่าด้วยกรณีใดก็ตาม หากเจ้าหน้าที่ไม่สามารถดำเนินการตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวได้ก็อาจจะต้องพิจารณาโทษ[1] แม้สาธารณะชนจำนวนมากจะชื่นชอบกับนโยบายที่เด็ดขาดดังกล่าว แต่การใช้มาตรการแบบแข็งกร้าว เร่งรัดกดดันการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่  รวมทั้งการกำหนดนโยบายการให้รางวัลตอบแทนและการลงโทษเพื่อให้มีการปฏิบัตินโยบายดังกล่าว  เจ้าหน้าที่ต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างเร่งรีบเพื่อตอบสนองเจตนารมณ์ของรัฐบาล ประกอบกับไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการดำเนินการต่างๆให้ชัดเจนรัดกุม  ทำให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานสามารถใช้ดุลพินิจได้อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในการจัดทำบัญชีรายชื่อผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด (บัญชีดำ) ซึ่งเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ตัวชี้วัดผลสำเร็จที่มุ่งเน้นการลดจำนวนผู้ค้าและผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน ด้วยเหตุนี้ การดำเนินนโยบายดังกล่าวจึงก่อให้เกิดความสูญเสียต่อผู้เสียหายและครอบครัวผู้เสียหายเป็นจำนวนมาก[2] จากรายงานเบื้องต้นของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบ ศึกษา และวิเคราะห์ การกำหนดนโยบายปราบปรามยาเสพติดให้โทษและการนำนโยบายไปปฏิบัติจนเกิดความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย ชื่อเสียง และทรัพย์สินของประชาชน หรือ คตน. […]

2557 – 2561 นักต่อสู้ด้านที่ดินถูกคุกคามด้วยความรุนแรงเฉลี่ยปีละราย

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาและกลางดึกของเมื่อวาน (3 กันยายน 2561) มีข่าวการลอบยิงในพื้นที่ภาคเหนือถึง 2 เหตุการณ์ เหตุการณ์แรกเป็นการยิงอดีตกำนันเสียชีวิต อีกเหตุการณ์เป็นการลอบยิงกุฏิพระสงฆ์ แต่โชคดีที่ท่านไม่เป็นอะไร ซึ่งความน่าสนใจของทั้งสองเหตุการณ์คือ ผู้ที่ตกเป็นเป้ามีประวัติด้านการทำงานพัฒนาและการเคลื่อนไหวเรื่องที่ดินในพื้นที่ภาคเหนือ การลอบสังหารและการอุ้มหายนักต่อสู้เพื่อสิทธิในที่ดินทำกินไม่ใช่เรื่องที่พึ่งเกิด แต่เป็นสิ่งที่ปรากฎมานานแล้ว โดยเฉพาะในช่วงปี 2517 ถึง  2522  มีข้อมูลว่าผู้นำชาวนาชาวไร่ถูกสังหารมากถึง 33 คน บาดเจ็บสาหัส 8 คน และหายสาบสูญ 5 คน[1]  แม้ในระยะหลังสถานการณ์การคุกคามต่อนักต่อสู้ด้านที่ดินด้วยความรุนแรงดังกล่าวจะคลี่คลายลงไปบ้าง และพึงมาปรากฏชัดอีกครั้งในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะภายใต้การปกครองของรัฐบาลทหารที่อ้างเรื่องการรักษาความสงบเรียบร้อยอยู่ตลอดเวลา แต่กลับพบว่ามีการคุกคามด้วยความรุนแรงทั้งการสังหารและการอุ้มหายต่อคนที่ทำงานเกี่ยวกับประเด็นด้านที่ดินเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยแล้วปีละ 1 ราย และที่สำคัญยังไม่สามารถนำผู้กระทำความผิดมาลงโทษได้เลยสักคดีเดียว   ปี 2557 แกนนำกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงแห่งบางกลอยถูกบังคับให้สูญหาย วันที่ 17 เมษายน 2557 นายบิลลี่ หรือพอละจี รักจงเจริญ นักต่อสู้เพื่อสิทธิในที่ดินของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงแห่งบางกลอย ได้ถูกทำให้หายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย หลังจากถูกควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ปัจจุบันผ่านไป 4 ปี การค้นหาความจริงยังไม่คืบหน้ามากนัก  กรมสอบสวนคดีพิเศษพึ่งมีมติรับเป็นคดีพิเศษไปเมื่อเดือนมิถุนายน […]

นัดฟังคำพิพากษาศาลฎีกาคดีฆาตกรรมนายเกียรติศักดิ์ ถิตย์บุญครอง อันเนื่องมาจากการควบคุมตัวของเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมืองกาฬสินธุ์ ในช่วงสงครามยาเสพติด

วันที่ 6 กันยายน 2561 เวลา 09.30 น. ณ ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ขอเชิญสื่อมวลชนและผู้สนใจเข้าร่วมฟังคำพิพากษาศาลฎีกา ในคดีหมายเลขดำที่ อ.3252/2552 คดีหมายเลขแดงที่ อ.2600/2555 ระหว่าง พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีพิเศษ 1 โจทก์ กับ ด.ต.อังคาร คำมูลนา ที่ 1 กับพวกรวม 6 คน จำเลย  คดีนี้ โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยในฐานความผิดร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ย้ายศพเพื่อปิดบังเหตุแห่งการตาย และเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญากระทำการในตำแหน่งอันเป็นการมิชอบเพื่อช่วยเหลือบุคคลหนึ่งบุคคลใดมิให้ต้องรับโทษ สืบเนื่องจากกรณีนายเกียรติศักดิ์ ถิตย์บุญครอง อายุ 17 ปี เด็กนักเรียน จ.กาฬสินธุ์ เสียชีวิตด้วยการถูกฆ่าแขวนคอที่กระท่อมกลางทุ่งนาใน จ.ร้อยเอ็ด หลังจากได้รับการปล่อยตัวจาก สภ.เมืองกาฬสินธุ์ เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2547 ซึ่งเป็นช่วงที่รัฐบาลมีนโยบายประกาศทำสงครามกับยาเสพติด โดยญาติของนายเกียรติศักดิ์ ในฐานะผู้เสียหายได้เข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการด้วย เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2555 […]