Year: 2018

ข้อสังเกตต่อการลงมติเลือก กสม. ชุดที่ 4 ของ สนช.

หลังจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. สภาที่แต่งตั้งโดยรัฐบาลทหาร คสช. ได้ “ดอง” การพิจารณารับรอง กสม.ชุดใหม่ไว้เกือบ 4 เดือน นับแต่ที่ประชุม สนช. แต่งตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญตรวจสอบประวัติ ความพฤติกรรม และพฤติกรรมทางจริยธรรม ของผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หรือ กสม. จำนวน 7คน ตั้งแต่วันที่ 6 กันยายน 2561 โดยมีกรอบระยะเวลาการทำงาน 60 วัน เพื่อส่งให้ที่ประชุม สนช.พิจารณาต่อไป แต่อย่างไรก็ดี คณะกรรมาธิการสามัญฯ ได้ขอขยายเวลาการตรวจสอบประวัติฯ ออกไปถึง ๒ ครั้ง ทำให้การพิจารณารับรอง กสม. ชุดใหม่ล่าช้ากว่ากำหนด อ่าน จดหมายเปิดผนึกภาคประชาชนถึงประธาน สนช. กรณีคณะกรรมาธิการสามัญฯ ตรวจสอบประวัติผู้ถูกเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่ง กสม. ล่าช้า ในที่สุดเมื่อวานนี้ วันที่ 27 ธันวาคม 2561 สนช. ก็ได้ลงมติรับรองผู้สมควรได้รับการเสนอชื่อให้เป็นคณะกรรมการสิทธิมนุษยแห่งชาติชุดที่ 4 […]

ปลดล็อคการเมือง แต่ไม่ปลดล็อค ”ดอง” กสม.ชุดใหม่

คสช.ปลดล็อคการเมืองเข้าสู่การเลือกตั้งอย่างจริงจังแล้ว ด้วยการประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๖๑ ที่ผ่านมา แต่สนช.ยังไม่ปลดล็อค “ดอง” กสม.ชุดใหม่ ที่ดองไว้ตั้งแต่เดือนสิงหาคม ๒๕๖๑ ถึงปัจจุบันกว่า ๑๐๐ วันแล้ว ยังไม่นำเข้าสู่การพิจารณาว่าจะให้ความเห็นชอบหรือไม่ตามอำนาจหน้าที่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๖๐ กำหนดให้มีคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นองค์กรอิสระ .ให้ทำหน้าที่ดูแลด้านงานสิทธิมนุษยชนให้เป็นไปตามหลักสากลและกฎหมายภายในประเทศ โดยในวันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๖๑ คณะกรรมการสรรหาคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติชุดใหม่ ซึ่งมีนายชีพ จุลมนต์ ประธานศาลฎีกา เป็นประธาน และมีนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติ เป็นกรรมการ ได้มีมติเลือกกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติชุดใหม่ จำนวน ๗ คน จากนั้นนำรายชื่อทั้ง ๗ เข้าสู่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อพิจารณาให้การรับรอง จนปัจจุบันสภานิติบัญญัติแห่งชาติโดยคณะกรรมาธิการสามัญเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติ ความประพฤติ และพฤติกรรมของบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งกสม. ที่มีพลเอกอู๊ด เบื้องบน เป็นประธาน ยังดองและยื้อการพิจารณาไปเรื่อยๆอย่างไม่มีทีท่าจะสิ้นสุดการพิจารณา กินเวลากว่า ๑๐๐ วันแล้ว ทั้งๆที่ในกรณีรับรองกรรมการการเลือกตั้งเพิ่มอีก ๒ คน ซึ่งเสนอเข้าสนช.หลังกสม. […]

ภาคประชาชนส่งจดหมายเปิดผนึกถึงประธาน สนช. หลังคณะกรรมาธิการสามัญฯ ตรวจสอบประวัติผู้ถูกเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่ง กสม. ล่าช้า

จดหมายเปิดผนึก วันที่   ๑๔ ธันวาคม ๒๕๖๑ เรื่อง  การตรวจสอบประวัติ ความประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อให้ ดำรงตำแหน่งกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เรียน  ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่เคารพ ตามที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้แต่งตั้งคณะกรรมาธิการสามัญเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติ ความประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตั้งแต่เดือนกันยายน ๒๕๖๑ โดยกำหนดระยะเวลาการตรวจสอบให้แล้วเสร็จภายใน ๖๐ วัน คือวันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ ต่อมาคณะกรรมาธิการสามัญฯ ขอขยายเวลาการตรวจสอบประวัติฯ ครั้งที่ ๑ ไปอีก ๓๐ วันซึ่งสิ้นสุดในวันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ และล่าสุดขอขยายเวลาการตรวจสอบประวัติฯ ครั้งที่ ๒ อีก ๓๐ วัน ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๖๒ นั้น องค์กรภาคประชาสังคม องค์กรสิทธิมนุษยชน และบุคคลที่มีรายนามท้ายจดหมายนี้ ขอเสนอความเห็นและข้อเสนอมายังท่าน เพื่อการคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมและสมควรได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ดังต่อไปนี้ […]

แจ้งข่าว : 6 ธันวานี้ ชาวบ้านชาติพันธุ์กะเหรี่ยง 6 ราย นัดรับเงินชดเชยเยียวยากรณีถูกไล่รื้อและเผาบ้านเมื่อปี 2554  

วันที่ 6 ธันวาคม 2561 เวลา 13.00 น. ณ ศาลปกครองกลาง ผู้ฟ้องคดีหรือทายาทของผู้ฟ้องคดีทั้ง 6 ราย จะเดินทางมารับชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด  ในคดีหมายเลขดำที่ ส.58/2555 หมายเลขแดงที่ ส.660/2559 ระหว่าง นายโคอิ หรือคออี้ มีมิ ที่ 1 กับพวกรวม 6 คน ผู้ฟ้องคดี กับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ที่ 1 กับพวกรวม 2 คน ซึ่งศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2561 ให้กรมอุทยานแห่งชาติฯชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ฟ้องคดีทั้ง 6 ราย เป็นเงินเฉลี่ยรายละประมาณ 50,000 บาท ซึ่งในขณะนี้ผู้ถูกฟ้องคดีได้นำเงินจำนวนดังกล่าวมาวางไว้ที่ศาลแล้ว มูลเหตุของคดีนี้มีที่มาจากการที่เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานได้ปฏิบัติการตามโครงการขยายผลการอพยพผลักดัน จับกุมชนกลุ่มน้อยที่บุกรุกพื้นที่ตามแนวชายแดนไทย-สหภาพเมียนมาร์ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ครั้งที่ 4 บริเวณบ้านบางกลอยบนและบ้านใจแผ่นดิน ระหว่างวันที่ 4 ถึงวันที่ 9 […]

จดหมายเปิดผนึกถึงศาลทหาร : กรณีให้ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนลบข้อมูลเกี่ยวกับคำเบิกความพยานจากเว็บไซต์

[English Below] จดหมายเปิดผนึก วันที่  7  พฤศจิกายน พ.ศ.  2561 เรื่อง    ขอให้ทบทวนการใช้อำนาจศาลทหารกรุงเทพ กรณีการให้ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนลบข้อมูลเกี่ยวกับคำเบิกความพยานจากเว็บไซต์ เรียน    เจ้ากรมพระธรรมนูญ หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร ตุลาการพระธรรมนูญหัวหน้าศาลทหารกรุงเทพ สืบเนื่องจากที่ศาลทหารกรุงเทพได้ทำการไต่สวนนายอานนท์ นำภา ทนายความ เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2561 จากกรณีที่เว็บไซต์ของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ได้เผยแพร่คำเบิกความพยานในคดีฐนกร (สงวนนามสกุล) ซึ่งถูกดำเนินคดีในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 จากการแชร์ผังทุจริตในโครงการก่อสร้างอุทยานราชภักดิ์ และข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จากการกดไลค์เพจที่มีข้อความหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ และโพสต์เสียดสีคุณทองแดง สุนัขทรงเลี้ยง โดยศาลทหารเห็นว่าข้อมูลดังกล่าวมาจากเอกสารที่นายอานนท์ขอคัดถ่ายไปจากศาล  จากการไต่สวน ศาลทหารกรุงเทพเห็นว่าการเผยแพร่คำเบิกความดังกล่าวอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อรูปคดี และเกิดผลกระทบต่อพยานที่มาเบิกความเป็นพยานต่อศาล จึงมีคำสั่งให้นายอานนท์แจ้งศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนให้ลบข้อมูลดังกล่าวจากเว็บไซต์ภายใน 24 ชั่วโมง และห้ามมิให้บุคคลหรือองค์ใดนำคำเบิกความพยานและการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลในคดีนี้ไปลงเผยแพร่ในสื่อทุกชนิด มิฉะนั้นจะถือว่าเป็นการละเมิดอำนาจศาล . ทั้งนี้ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ไม่ได้มีการดำเนินการลบข้อความดังกล่าวออกจากเว็บไซต์แต่อย่างใด เพราะเห็นว่าการเผยแพร่ข้อความพยานดังกล่าวไม่ใช่การกระทำที่เข้าข่ายจะเป็นการละเมิดอำนาจศาล (อ่านแถลงการณ์ของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน) และเห็นว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงยื่นคำร้องขอเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบและคำร้องขอทุเลาการบังคับตามคำสั่งต่อศาลทหารกรุงเทพในวันที่ 4 ตุลาคม 2561 […]

แถลงการณ์ร่วม 26 องค์กรภาคประชาชน 93 นักวิชาการและคนทำงานด้านสังคม เรียกร้องให้ยุติการดำเนินคดีชาวกะเหรี่ยงแก่งกระจานโดยทันที

[English Below]    เผยแพร่ 4 พฤศจิกายน 2561 แถลงการณ์ร่วม ขอให้ยุติการดำเนินคดีชาวกะเหรี่ยงแก่งกระจาน ทั้งทางแพ่งทางอาญา  หลังศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาว่าเจ้าหน้าที่ปฏิบัติโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และให้รัฐจ่ายเงินชดเชย  กรณีเจ้าหน้าที่เผาบ้านปู่คออี้และชุมชนกะเหรี่ยง เมื่อวันที่ 25-31 ตุลาคม 2561 มีสื่อมวลชนบางสำนักได้เผยแพร่ข่าวอย่างต่อเนื่องในทำนองว่า อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่หน่วยเฉพาะกิจฯ กรมอุทธยานฯ เข้าพบพนักงานสอบสวน สถานีตำรวจภูธรแก่งกระจาน อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี เพื่อร้องทุกข์กล่าวโทษให้สืบสวน สอบสวน ดำเนินคดีกับชาวกะเหรี่ยง คือทายาทของนายโคอิ มีมิ หรือปู่คออี้กับพวกรวม 6 คน ในข้อหายึดถือหรือครอบครองที่ดินในเขตอุทยานแห่งชาติ คือบริเวณบ้านบางกลอยบน-ใจแผ่นดิน ซึ่งถูกประกาศทับโดยเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เรื่องนี้นี้สืบเนื่องมาจากกรณีที่ในปี 2555  ปู่คออี้ และชาวกะเหรี่ยงบ้านบางกลอยบน-ใจแผ่นดิน รวม 6 คน ในฐานะผู้ฟ้องคดี ได้ยื่นฟ้องกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ต่อศาลปกครองกลาง เป็นคดีหมายเลขดำที่ ส. 58/2555 ซึ่งเป็นคดีเกี่ยวกับการต่อสู้เพื่อความเป็นธรรม สิทธิชุมชนและสิทธิของชนพื้นเมืองที่ ได้รับความสนใจจากสาธารณะชนในช่วงเกือบ 10 ปีมานี้ โดยผู้ฟ้องคดีทั้ง 6 คน กล่าวหาว่า เมื่อปี 2554 ในการปฏิบัติการยุทธการตะนาวศรี เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานกลุ่มหนึ่ง ได้ใช้กำลังบังคับให้พวกตนต้องโยกย้ายออกจากที่ดินและชุมชนบ้านบางกลอยบน-ใจแผ่นดิน อันเป็นถิ่นกำเนิด ที่ทำกินและอยู่อาศัยมาหลายชั่วอายุคน ทั้งได้เผาทำลายบ้านเรือน ยุ้งฉาง เรือกสวนไร่นาของพวกตนและประชาชนกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงคนอื่นๆอีกหลายสิบคนจนเสียหาย โดยเจ้าหน้าที่อ้างว่าบ้านเรือน […]

เก็บประเด็นวงเสวนาป่าแหว่ง นักกฎหมายสิทธิชี้ช่องรื้อถอนบ้านพักตุลาการตีนดอยสุเทพ

วันที่ 28 ตุลาคม 2561 ที่ผ่านมา สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน(สสส.) ศูนย์ศึกษาสันติวิธีและความขัดแย้ง และเครือข่ายขอคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพ ได้ร่วมกันจัดงานเสวนาวิชาการ เรื่อง ความคิดเห็นของนักกฎหมายด้านสิทธิมนุษยชน “กรณีป่าแหว่ง” ณ ศูนย์ศึกษาสันติวิธีและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย งานเสวนาดังกล่าวสืบเนื่องจากการเคลื่อนไหวของเครือข่ายทวงคืนผืนป่าดอยสุเทพ เพื่อขอให้รื้อถอนบ้านพักตุลาการในพื้นที่ดอยสุเทพ และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีรับปากว่าจะย้ายสิ่งปลูกสร้างออก แต่จนบัดนี้ยังไม่ได้มีการดำเนินการใดที่เป็นรูปธรรม แม้ที่ผ่านมาจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 2 ชุด คือคณะกรรมการระดับจังหวัด และคณะกรรมการส่วนกลาง เพื่อแก้ปัญหานี้ คณะกรรมการระดับจังหวัดมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน มีมติไปแล้วเมื่อเดือนกรกฎาคม 2561 ให้รื้อย้าย 45 หลังที่ยังไม่มีผู้เข้าอยู่ ส่วนที่มีคนอยู่ ก็ให้รื้อย้ายโดยให้เอาคนที่เข้าไปอยู่แล้วลงด้านล่างนอกเขตป่าและจึงให้รื้อย้าย  ได้มีการส่งเรื่องมายังคณะกรรมการระดับชาติ ซึ่งมีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ (นายสุวพันธ์) เป็นประธานแล้ว แต่ยังไม่มีการเปิดประชุมเลย ประเด็นข้อถกเถียงประการสำคัญของการพิจารณารื้อถอนบ้านพักตุลาการดังกล่าวคือ การจะใช้อำนาจทางกฎหมายใดในการรื้อถอน นี้จึงเป็นที่มาที่เครือข่ายภาคประชาชนจัดการเสวนาระดมความคิดเห็นขึ้นในครั้ง ความเป็นมาของพื้นที่ ปี 2483 มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดิน ในท้องที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ พุทธศักราช 2483 ตามพระราชบัญญัติหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ. 2479 (เพื่อประโยชน์ในราชการทหาร) รายละเอียดกฎหมาย ปี 2492 […]

ศาลฎีกายกฟ้องตำรวจ 6 นายคดีฆาตกรรมอำพรางวัยรุ่นกาฬสินธุ์ช่วงสงครามยาเสพติด ทนายย้ำยังอยู่ในอายุความ เร่งหาผู้กระทำความผิดที่แท้จริงมาลงโทษ

วันนี้ (11 ตุลาคม 2561) ณ ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ศาลนัดฟังคำพิพากษาศาลฎีกาคดีฆาตกรรมอำพรางนายเกียรติศักดิ์ ถิตย์บุญครอง วัยรุ่นในจังหวัดกาฬสินธุ์ คดีอาญาหมายเลขดำที่ อ.3252/2552 และคดีหมายเลขแดงที่ อ.2600/2555 ระหว่าง พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีพิเศษ 1 โจทก์ กับ ด.ต.อังคาร ที่ 1 กับพวกรวม 6 คน จำเลย ในฐานความผิดร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ย้ายศพเพื่อปิดบังเหตุแห่งการตาย และเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญากระทำการในตำแหน่งอันเป็นการมิชอบเพื่อช่วยเหลือบุคคลหนึ่งบุคคลใดมิให้ต้องรับโทษ ในห้องพิจารณาคดีที่ 902 มีผู้สนใจมาร่วมฟังคำพิพากษาจำนวนมากจนเกินความจุของที่นั่งในห้องพิจารณา คนที่มาฟังส่วนใหญ่เป็นญาติฝ่ายจำเลย มีสื่อมวลชนจำนวนหนึ่งเข้าร่วมฟังด้วย  ในส่วนของคู่ความในคดีนั้น มีผู้รับมอบอำนาจโจทก์ร่วม  ทนายโจทก์ร่วม จำเลยที่ 1 – 4 และจำเลยที่ 6 ทนายจำเลยที่ 4 ที่ 5 ที่ 6  นายประกันจำเลยที่ 5 และที่ 6 มาศาล  […]

สนส. รับสมัครเพื่อนร่วมงาน 1 ตำแหน่ง

รู้จักเราก่อน สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) หรือชื่อภาษาอังกฤษ Human Rights Lawyers Association (HRLA) เป็นองค์กรไม่แสวงหากำลัง ไม่ใช่องค์กรสังกัดรัฐ  องค์กรของเราก่อกำหนดขึ้นด้วยความต้องการร่วมกันของนักกฎหมาย/ทนายความ รวมถึงคนทำงานด้านสิทธิมนุษยชนกลุ่มหนึ่ง ที่ต้องการให้มีพื้นที่เชื่อมประสานและสนับสนุนการทำงานเพื่อส่งเสริมหลักนิติธรรม ความเป็นธรรมในสังคม และคุ้มครองสิทธิมนุษยชน องค์กรของเราก่อตั้งขึ้นในปี 2551 โดยจดทะเบียนเป็นองค์กรตามกฎหมายในปี 2556 สำหรับภารกิจของเรา เราให้ทำงานอยู่ 3 ด้านหลักๆ คือ 1) งานเสริมสร้างศักยภาพและเครือข่าย เพราะเราเชื่อว่าหากมีการร่วมมือกัน  จะช่วยให้มีพลังในการสร้างการเปลี่ยนแปลงได้  คล้ายกับคำกล่าวที่ว่าคนเดียวหัวหาย หลายคนเพื่อนตายนั้นแหละ  2) งานคดียุทธศาสตร์  เป็นการใช้มาตรฐานทางกฎหมายและการดำเนินคดีเพื่อผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านทัศนคติของบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม แนวปฏิบัติ กฎหมายและนโยบายในภาพรวมที่สอดคล้องกับหลักนิติธรรม และหลักการด้านสิทธิมนุษยชน 3) งานข้อมูล วิชาการและงานสื่อสาร ซึ่งเป็นงานที่จำเป็นในการสนับสนุนการเคลื่อนไหวเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง ปัจจุบัน เราให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับปัญหาในการใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมเป็นเครื่องมือในการละเมิดสิทธิมนุษยชน  บางคนอาจจะเรียกสิ่งนี้ว่าการฟ้องคดีปิดปาก (SLAPPs) แต่บางคนอาจจะเรียกว่าการใช้กระบวนการยุติธรรมเพื่อคุกคาม (Judicial Harassment)  และอีกเรื่องที่เราให้ความสำคัญไม่แพ้กันก็คือเรื่องสิทธิในกระบวยการยุติธรรมทางอาญา โดยเฉพาะประเด็นการพิจารณาคดีที่เป็นธรรม (Fair Trial) ซึ่งสำหรับประเทศไทย แม้กฎหมายจะค่อนข้างดูดี แต่ในทางปฏิบัติค่อนข้างจะถอยหลังเข้าคลอง […]

เรื่องเล่าการปล่อยชั่วคราว : หลักการที่สวยงาม ความฝันของการปฏิรูป และความจริงที่เป็นอยู่

โดยหลักการแล้ว…. สิทธิที่จะได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว ถือว่าเป็นสิทธิที่มีความสำคัญมาก เพราะเป็นเรื่องที่กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของบุคคล และเกี่ยวพันสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรมอีกหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นสิทธิที่จะได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่ามีความผิด (The Presumption of Innocent) เพราะหากผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่ได้รับการปล่อยชั่วคราว เขาต้องถูกส่งไปขังไว้ที่เรือนจำ ต้องตัดผม ต้องใส่ชุดนักโทษ บางครั้งต้องใส่ตรวนออกมาศาล ซึ่งทำให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยมีสภาพไม่ต่างจากนักโทษเด็ดขาดที่ถูกตัดสินถึงที่สุดแล้วว่ามีความผิด สิทธิที่จะมีโอกาสอย่างเท่าเทียมและสิทธิที่จะต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่  หากผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่ได้รับอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว ย่อมก่อให้เกิดอุปสรรคในการที่จะแสวงหาพยานหลักฐานมาพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนอย่างเต็มที่และเท่าเทียมกับโจทก์ นอกจากนี้ การที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่ได้รับอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวซ้ำแล้วซ้ำเล่า หรือมีการกำหนดประกันหรือหลักประกันไว้สูงเกินไปจนผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่สามารถหาหลักประกันมาวางเพื่อการปล่อยชั่วคราวได้ ย่อมส่งผลให้เกิดความกดดันทางอ้อมให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยยอมรับสารภาพเพื่อให้คดีสิ้นสุดและถูกปล่อยตัวออกมาโดยเร็ว ด้วยผลกระทบมากมายที่มี  กฎเกณฑ์ทั้งระดับสากลและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเองจึงรับรองสิทธิประการดังกล่าวไว้  โดยให้ถือว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยต้องได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวเป็นหลัก ส่วนการไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวหรือการควบคุมตัวไว้ระหว่างดำเนินคดีให้เป็นข้อยกเว้น  เท่าที่จำเป็นเพื่อให้กระบวนการยุติธรรมสามารถดำเนินไปได้อย่างเรียบร้อยและการมีตัวจำเลยในการพิจารณาคดี (เพราะคดีอาญาถือหลักว่าการพิจารณาคดีต้องทำต่อหน้าจำเลย) รวมถึงการมีตัวในการบังคับโทษตามคำพิพากษา กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง (ICCPR) ข้อ 9 (3) กำหนดไว้ว่า  “…ผู้ถูกจับกุมหรือควบคุมในข้อหาทางอาญาได้รับการปล่อยตัวไป มิให้ถือเป็นหลักทั่วไปว่าจะต้องควบคุมบุคคลที่รอการพิจารณาคดี แต่ในการปล่อยตัวอาจกำหนดให้มีการประกันว่าจะมาปรากฏตัวในการพิจารณาคดี ในขั้นตอนอื่นของกระบวนพิจารณาและจะมาปรากฏตัวเพื่อการบังคับตามคำพิพากษา เมื่อถึงวาระนั้น” รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 29 บัญญัติว่า “การควบคุมหรือคุมขังผู้ต้องหาหรือจำเลยให้กระทำได้เพียงเท่าที่จำเป็น เพื่อป้องกันมิให้มีการหลบหนี” และ “คำขอประกันผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาต้องได้รับการพิจารณาและจะเรียกหลักประกันจนเกินควรแก่กรณีมิได้ การไม่ให้ประกันต้องเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ” อย่างไรก็ดี ในทางปฏิบัติการปล่อยตัวชั่วคราวถือเป็นเรื่องที่มีปัญหาและได้รับการพูดถึงมาตลอด โดยเฉพาะปัญหาเรื่องศาลมักให้ปล่อยชั่วคราวโดยกำหนดหลักประกันเป็นตัวเงินหรือทรัพย์สิน ทำให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยมีฐานะทางเศรษฐกิจไม่ดีต้องพบกับความยากลำบากในการหาหลักทรัพย์มาใช้ประกันตัวเอง ในความพยายามแก้ไขและความฝันของการปฏิรูป  […]

1 2 3 7