Month: June 2016

แถลงการณ์ ให้ยุติการปิดกั้นการใช้เสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมโดยสงบ และปล่อยตัวผู้ถูกควบคุมตัวโดยทันที

แถลงการณ์ ให้ยุติการปิดกั้นการใช้เสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมโดยสงบ และปล่อยตัวผู้ถูกควบคุมตัวโดยทันที สืบเนื่องจากกรณีที่เจ้าหน้าที่ทหารได้ทำการจับกุมควบคุมตัวนักกิจกรรมรวม 13 คน ที่จัดกิจกรรมแจกเอกสารรณรงค์ประชามติร่างรัฐธรรมนูญและเอกสารลงทะเบียนขอใช้สิทธิออกเสียงประชามตินอกพื้นที่ ที่ตลาดเคหะบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อช่วงเย็นของวันที่ 23 มิถุนายน 2559 พร้อมทั้งแจ้งข้อหาชุมนุมทางการเมืองเป็นจำนวน 5 คนขึ้นไปตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 3/2558 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2559 ซึ่งขณะนี้นักศึกษา 7 ใน 13 ราย ยังถูกควบคุมตัวภายในเรือนจำพิเศษกรุงเทพ อีกทั้ง ในช่วงสายของวันที่ 24 มิถุนายน 2559 เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ควบคุมตัวนักศึกษาและนักกิจกรรมอีก 7 คนที่จัดกิจกรรม “ปัดฝุ่นประชาธิปไตย” ณ อนุสาวรีย์ปราบกบฎ (หลักสี่) เพื่อเป็นการรำลึกถึงเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎร 24 มิถุนายน 2475 ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจได้แจ้งข้อหาทั้ง 7 คนในข้อหาขัดคำสั่ง คสช. ที่ 3/2558 และ พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 องค์กรสิทธิมนุษยชนตามที่ปรากฏรายชื่อแนบท้ายแถลงการณ์นี้ […]

รายงานเสวนาวิชาการ “เสรีภาพออนไลน์ภายใต้กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์”

เมื่อวันที่ 27 มิ.ย. 2559 สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนและสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สนับสนุนโดยสมาคมเครือข่ายผู้สื่อข่าวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ซีป้า) ได้จัดเสวนาวิชาการ “เสรีภาพออนไลน์ภายใต้กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์” ณ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย โดยภายในงานเสวนาครั้งนี้ได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนและหลายหน่วยงานที่ส่งตัวแทนเข้ารับฟังเป็นอย่างมาก นำเสนอการเสวนาโดยผู้ดำเนินรายการ คุณกรรณิการ์ กิจติเวชกุล กล่าวถึงความสนใจของประชาชนและสื่อมวลชนจำนวนมากที่มีต่อร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ที่กำลังมีการพิจารณาอยู่ในขณะนี้ รวมถึงข้อแตกต่างระหว่างฉบับเดิมและฉบับแก้ไขที่จะทำให้ดีขึ้น แย่ลงหรือกระทบต่อเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นบนโลกออนไลน์อย่างไร ทางด้าน พ.ต.อ.ดร.นิติพัฒน์ วุฒิบุณยสิทธิ์ ผู้กำกับสอบสวน กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี กล่าวถึงปัญหาการบังคับใช้กฎหมาย พ.ร.บ. คอมฯ ไว้ว่า “เป็นกฎหมายใหม่ ยังไม่มีฎีกาให้ทางพนักงานสอบสวนได้ใช้เพื่อเป็นแนวปฏิบัติ ที่สำคัญคือยังไม่มีผู้เชี่ยวชาญที่จะบอกได้ถึงความถูกต้องชัดเจนในเรื่องของการปฏิบัติงาน ฉะนั้นพนักงานสวบสวนจึงจะต้องใช้ดุลพินิจหลายๆอย่างประกอบรวมทั้งดุลพินิจของพนักงานสอบสวนเองในการทำงาน ประสบการณ์จากการทำงานหลายๆภาคส่วนมาประกอบในการรับเรื่องร้องเรียน โดยแบ่งเป็นหลายๆส่วน อาทิ ศูนย์รับเรื่องร้องทุกข์ เป็นต้น โดยจะไม่มีการแบ่งพื้นที่กันสามารถรับเรื่องร้องทุกข์ได้ทั่วประเทศ แต่ทั้งนี้พนักงานสอบสวนจะต้องมีการพิจารณาถึงลักษณะในการกระทำความผิด พฤติการณ์ในการกระทำความผิดเสียก่อน หากมีผู้กระทำความผิดตามพรบ.นี้ พนักงานสอบสวนต้องใช้ดุลพินิจในหลักฐานและพยานตามข้อเท็จจริง พร้อมย้ำว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นปลายเหตุ ดังนั้นประชาชนที่ใช้โลกโซเชียลจะต้องอย่าหลงเชื่อใครง่ายๆ พร้อมยืนยันหากมีการร้องทุกข์จริง ตำรวจปอท. พร้องผดุงความยุติธรรมในหลักฐานและพยานตามข้อเท็จจริง” คุณสุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ อธิบายว่า กฎหมายฉบับนี้มีปัญหาเรื่องการบังคับใช้พอสมควร เพราะบางส่วนคิดว่าตัวกฎหมายละเมิดสิทธิประชาชนมาก โดยเฉพาะมาตรา […]