ปัญหาการพิจารณาค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา โดยสมชาย หอมลออ

ปัญหาการพิจารณาค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา โดยสมชาย หอมลออ

พระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. ๒๕๔๔ (“พระราชบัญญัติ”) มี ผลบังคับใช้มาเกือบจะสิบปีแล้ว ในระหว่างเวลาดังกล่าวมีคดีอาญาที่ (๑) จำเลยถูกดำเนินคดีโดยพนักงานอัยการและ (๒) ถูกคุมขังในระหว่างการพิจารณาคดี ที่ศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดยกฟ้องนับหมื่นคดี แต่มีจำเลยจำนวนน้อยนักที่ได้รับค่าทดแทนที่ต้องถูกคุมขังระหว่างการพิจารณา คดีและค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดีที่ตนต้องเสียไป จำเลยบางคนจะต้องข้อหาร้ายแรงและศาลไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างการ พิจารณาคดี หรือจำเลยบางคนแม้ถูกฟ้องร้องดำเนินคดีในข้อหาไม่ร้ายแรง แต่เนื่องจากเป็นคนยากจน ไร้ญาติขาดมิตร จึงไม่สามารถหาหลักประกันเพื่อขอให้ศาลปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างการพิจารณา คดีได้ บางคนศาลชั้นต้นแม้มีคำพิพากษายกฟ้อง แต่กลับต้องถูกคุมขังระหว่างการอุทธรณ์ เสมือนหนึ่งว่าศาลเองก็ไม่เชื่อมั่นว่าคำพิพากษาของศาลเองที่ให้ยกฟ้องถูก ต้องแล้ว

จำเลยเหล่านี้จำนวนไม่น้อยต้องถูกจองจำอยู่ในคุกนานนับปีกว่าที่ศาลจะมีคำ พิพากษาถึงที่สุดยกฟ้อง ถูกรัฐลิดรอนสิทธิเสรีภาพโดยการคุมขัง บางคนกระทั่งเสียชีวิตในคุก ใช่แต่เพียงเท่านั้น การที่จำเลยคนหนึ่งถูกจองจำอยู่เป็นระยะยาวนานย่อมมีผลกระทบต่อครอบครัวและ บุคคลใกล้ชิด ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และผลกระทบทางด้านจิตใจ หลายครอบครัวต้องแตกสลายเนื่องจากหัวหน้าครอบครัว หรือสมาชิกที่เป็นหลักของครอบครัวต้องถูกจองจำระหว่างการพิจารณาคดีเป็นเวลา นาน กลายเป็นปัญหาและภาระของสังคมในที่สุด

ปัญหา หลักของการที่อดีตจำเลยในคดีอาญานับพันๆคนไม่มีโอกาสได้รับค่าทดแทนและค่า ใช้จ่ายในการต่อสู้คดีคือการวินิจฉัยตีความกฎหมายของคณะกรรมการพิจารณาค่า ตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลย ในคดีอาญา ซึ่งเป็นคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. ๒๕๔๔ และการวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ยื่นคำขอของศาลอุทธรณ์ตามอำนาจที่กำหนดไว้ใน มาตรา ๒๕ แห่ง พระราชบัญญัติดังกล่าว
บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติ มาตรา ๒๐ (๓) ซึ่งระบุว่า

“มาตรา ๒๐ จำเลยมีสิทธิได้รับค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายตามพระราชบัญญัตินี้ ต้อง
(๑)__________
(๒)__________
(๓) ปรากฎหลักฐานชัดเจนว่าจำเลยมิได้เป็นผู้กระทำความผิดและมีการถอนฟ้องใน ระหว่างดำเนินคดี หรือปรากฎตามคำพิพากษาอันถึงที่สุดในคดีนั้นว่าข้อเท็จจริงฟังเป็นที่ยุติ ว่า จำเลยมิได้เป็นผู้กระทำความผิดหรือการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด”

มักมีการหยิบยกคดีเชอรี่แอน ดันแคน ซึ่งจากเหตุบังเอิญทำให้พบหลักฐานชัดเจนว่าผู้ที่ตกเป็นจำเลยและต่อมาเป็น นักโทษในข้อหาฆาตกรรมเชอรี่แอนนั้น แท้ที่จริงเป็นผู้บริสุทธิ์ และเป็นเหยื่ออธรรมของกระบวนการยุติธรรม จนต้องมีการรื้อฟิ้นคดีขึ้นมาใหม่เป็นตัวอย่าง จำเลยในคดีดังกล่าวตก “เป็นแพะของกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบ” นับ ตั้งแต่ชั้นตำรวจและพนักงงานสอบสวน อัยการที่ไม่ได้ทำหน้าที่ในการตรวจสอบกลั่นกรองพยานหลักฐาน การใช้ดุลยพินิจของศาล และระบบการให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมายของรัฐแก่ผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญา ที่เป็นคนยากจน และความรับผิดชอบในทางวิชาชีพของทนายความในคดี จำเลยหลายคนในคดีเชอรี่แอนถูกจับกุมคุมขังระหว่างการดำเนินคดี และตามคำพิพากษาของถึงที่สุดว่ามีความผิดตามฟ้องของพนักงานอัยการ โดยที่พวกเขาบางคนไม่มีโอกาสเข้าถึงความยุติธรรมเลย เนื่องจากได้เสียชีวิตไปก่อนในคุก แม้คดีเชอรี่แอน ดันแคนจะ ได้เปิดเผยตัวตนอันแท้จริงและปัญหาของกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบอย่างล่อ จ้อนแล้วก็ตาม แต่จนบัดนี้ก็ยังไม่ได้มีการแก้ไขปรับปรุงกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบอย่างมี นัยสำคัญแต่อย่างใด ประชาชนผู้บริสุทธิ์จำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนยากคนจน ไร้ญาตขาดมิตร

ดังมีคดีตัวอย่างมากกมายทั้งจากประสบการในการทำงานขององ์การเอกชนด้านสิทธิ มนุษยชน ข่าวสารในสื่อมวลชน เช่นรายการ “คุยกับแพะ” ของทีวีไทยเป็นต้น จึงน่าเชื่อได้ว่ายังมีจำเลยในคดีอื่นๆ อีกไม่น้อยที่ตกเป็นแพะ เช่นเดียวกับจำเลยในคดีเชอรี่แอน ดันแคน เพียงแต่คนเหล่านั้นไม่โชคดีหรือกรรมไม่บันดาลให้ สามารถเข้าถึงความยุติธรรม ได้รับการชดใช้เยียวยาเช่นเดียวกับจำเลยหรือญาตในคดีเชอรี่แอนเท่านั้น

ตามหลักสิทธิมนุษยชน “มนุษย์ทั้งหลายเกิดมามีอิสระและเสมอภาคกันในเกียรติศักดิ์และสิทธิ ต่างล้วนมีเหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันด้วยเจตนารมณ์แห่งภราดรภาพ” [ข้อ ๑ ปฎิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งองค์การสหประชาชาติ (“ปฎิญญา”] มนุษย์ ได้ยอมสละหรือจำกัดสิทธิเสรีของตนเพื่อสร้างสังคมและรัฐเพื่อประกันว่าสิทธิ มนุษยชนของตนจะได้รับการปกป้องและส่งเสริมโดยรัฐ ดังนั้น รัฐจึงมีหน้าที่ในการปกป้องคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนของคนทุกคน โดยไม่เลือกปฏิบัติไม่ว่าด้วยเหตุหรือบนพื้นฐานใดๆ โดยรัฐจะต้องใช้มาตรการทางนโยบายและกฎหมายที่เที่ยงธรรมและได้ผลเพื่อการดัง กล่าว

การที่รัฐใช้มาตรการทางอาญาจับกุมคุมขังผู้ต้องสงสัยว่ากระทำความผิด ควบคุมตัวเป็นผู้ตองหาระหว่างการสอบสวนและเป็นจำเลยในคดีอาญาระหว่างการ พิจารณาคดี เป็นมาตรการของรัฐในการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคมเพื่อปกป้องคุ้มครอง สิทธิของผู้อื่นให้ปลอดพ้นจากอาชญากรรม แต่เมื่อต่อมาพบว่าผู้ที่ถูกจับกุมุมขัง และ “ปรากฎตามคำพิพากษาในคดีนั้นว่าข้อเท็จจริงฟังเป็นที่ยุติว่า จำเลยมิได้เป็นผู้กระทำความผิด” สังคม และรัฐจึงต้องชดใช้เยียวยาเยียวยาจำเลยสำหรับความเสียหายต่างๆที่จำเลยและ ครอบครัวได้รับจากการที่จำเลยต้องถูกดำเนินคดีสูญเสียอิสระภาพ ชื่อเสียงและเกีรติยศต่างๆ การชดใช้เยียวยาประการหนึ่งคือ การที่รัฐต้องจ่ายค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดีแก่จำเลยตาม รัฐธรรมนูญมาตรา ๔๐ (๕) และพระราชบัญญัติฉบับนี้ ซึ่งกล่าวตามความเป็นจริงโดยทั่วไปแล้ว ก็ยังไม่เพียงพอต่อความเสียหายที่จำเลยและครอบครัวได้รับ

ปัญหาในการพิจารณาจ่ายค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายให้แก่จำเลยทั้งในระดับคณะ กรรมการพิจารณาค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลย ในคดีอาญา ที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติ และศาลอุทธรณ์ในกรณีที่อดีตจำเลยหรือญาติ (กรณีจำเลยเสียชีวิตไปก่อน) ไม่ เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของคณะกรรมการ และได้อุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์นั้น ทั้งคณะกรรมการและศาลอุทธรณ์ ได้ยึดแนวว่า การที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดียกฟ้องเพราะเหตุพนักงานอัยการโจทก์ไม่มี พยานหลักฐานเพียงพอที่นำสืบพิสูจน์ว่าจำเลยผู้ยื่นคำขอรับค่าทดแทนเป็นผู้ กระทำความผิด ข้อเท็จจริงจึงยังไม่เป็นที่ยุติว่า ผู้ยื่นคำขอมิได้เป็นผู้กระทำผิดตามฟ้อง กรณีจึงไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ผู้ยื่นคำขอจะมีสิทธิได้รับค่าทดแทนและค่าใช้จ่าย ตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลย ในคดีอาญา พ.ศ. ๒๕๔๔ (ดังตัวอย่างคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ คดีหมายเลขดำที่ ๓๓๕๗/๒๕๕๑ หมายเลขแดงที่ ๑๘๓๐/๒๕๕๓ ซึ่งมีนายมานิเพาะ มามะ เป็นผู้ยื่นอุทธรณ์) แนว การวินิจฉัยของคณะกรรมการและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในลักษณะดังกล่าว จึงปิดประตูตายสำหรับผู้ที่เคยตกเป็นจำเลยในคดีอาญา ที่ศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดยกฟ้องให้พ้นข้อหาความผิดแล้วนับพันนับหมื่น นับ ที่บางคนต้องถูกจองจำและตกอยู่ในห้วงเหวของความทุกข์ระทมนานนับปี ไม่ให้มีโอกาสได้รับค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายโดยเหตุว่า ข้อเท็จจริงจึงยังไม่เป็นที่ยุติว่า ผู้ยื่นคำขอมิได้เป็นผู้กระทำผิดตามฟ้อง แนวการตีความข้อกฎหมายดังกล่าวของคำวินิจฉัยของณะกรรมการและคำพิพากษาของศาล อุทธรณ์ในลักษณะดังกล่าวจึงน่าจะไม่ชอบด้วยหลักสิทธิมนุษยชนและความยุติธรรม กล่าวคือ

เมื่อพิจาณาจากหลักสิทธิมนุษยชนและหลักกฎหมาบอาญาที่ว่า “ทุก คน ที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดทางอาญา มีสิทธิที่จะได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริสุทธิ์ จนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่ามีความผิดตามกฎหมายในการพิจารณาคดีที่เปิดเผย ซึ่งตนได้รับหลักประกันบรรดาที่จำเป็นสำหรับการต่อสู้คดี” [ปฏิญญาฯ ข้อ ๑๑(๑)] หลักการดังกล่าวได้รับการยืนยันโดยกฎหมายภายในประเทศของไทย ทั้งรัฐธรรมนูญมาตรา ๓๙ วรรคสอง ที่ว่า “ในคดีอาญา ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด” และ ประมวลกฎหมายวิธิพืจารณาความอาญา ดังนั้นในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดยกคำฟ้องของพนักงงานอัยการปล่อย จำเลยให้เป็นอิสระและพ้นข้อหาไปนั้น ก็ต้องถือว่าจำเลยมิได้เป็นผู้กระทำผิดตามฟ้องของพนักงานอัยการ อดีตจำเลยคนนั้นไม่ได้เป็นผู้กระทำความผิด ทั้งก่อนตกเป็นผู้ต้องหา ในระหว่างการสอบสวน และในระหว่างการพิจารณาคดีของศาล และหลังจากตนได้รับการปล่อยตัวให้เป็นอิสระจากการจองจำและพ้นจากข้อกล่าวหา แล้ว จึงไม่มีเวลาใดๆเลยที่จำเลยเป็นผู้กระทำผิด จึงไม่มีเหตุผลใดๆเลยที่จำเลยจะต้องต่อสู้คดีเพื่อพิสูจน์ให้ได้ว่าตนมิได้ เป็นผู้กระทำผิด เพื่อให้ปรากฎตามคำพิพากษาในคดีนั้นว่าข้อเท็จจริงฟังเป็นที่ยุติว่า จำเลยมิได้เป็นผู้กระทำความผิด

จากหลักการที่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าจำเลยในคดีอาญาเป็นผู้บริสุทธิ์ดัง กล่าว นำไปสู่วิธีการพิจารณาคดีที่อัยการโจทก์จะต้องเป็นฝ่ายนำพยานหลักฐานเข้า พิสูจน์ต่อศาลซึ่งเป็นคนกลางว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามข้อหาจริง ดังนั้นในการต่อสู้ดีอาญาของจำเลยนั้น หากอัยการโจทก์ไม่สามารถพิสูจน์ต่อศาลได้ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำผิด จำเลยก็ไม่จำเป็นจะต้องพิสูจน์ว่า ตนมิได้เป็นผู้กระทำผิด ซึ่งในการพิจารณาของศาลก็จะพิจารณาว่าพยานหลักฐานของอัยการโจทก์พอฟังได้ หรือไม่ว่า จำเลยน่าจะเป็นผู้กระทำผิด แล้วจึงนำพยานหลักฐานของจำเลยมาพิจารณาหักล้าง หากศาลได้พิจาณาแล้วว่า พยานของอัยการโจทก์ น่าเชื่อโดยปราศจากข้อสงสัยอันสมควรแล้วว่าจำเลยกระทำความผิด ศาลจึงสามารถพิพากษาลงโทษจำเลยได้ ในทางปฏิบัติทนายความจำเลยหากได้พิจารณาแล้วว่าพยานหลักฐานของอัยการโจทก์ ไม่พอที่จะพิสูจน์ความผิดของจำเลยได้ ทนายความจำเลยก็ไม่จำเป็นต้องนำพยานของจำเลยเสนอต่อศาลเพื่อพิสูจน์ว่าจำเลย ไม่ได้เป็นผู้กระทำผิด

สำหรับศาลเอง เมื่อพิจารณาพยานหลักฐานของอัยการโจทก์แล้วว่าไม่พอที่จะพิสูจน์ว่าจำเลยได้ กระทำผิดจริง ก็อาจมีคำพิพากษายกฟ้องได้เลยโดยไม่จำเป็นต้องพิจารณาพยานหลักฐานของจำเลย แต่อย่างใด ดังนั้นคำพิพากษาของศาลจึงมีไม่มากนักที่ ปรากฎตามคำพิพากษาในคดีนั้นว่าข้อเท็จจริงฟังเป็นที่ยุติว่า จำเลยมิได้เป็นผู้กระทำความผิด แนวคำวินิจฉัยของคณะกรรมการและคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์จึงน่าจะไม่สอดคล้อง กับการปฏิบัติในเรื่องการพิจารณาคดีอาญาดังกล่าว และเท่ากับเป็นการตั้งเงื่อนไขว่า หากจำเลยรายใดต้องการค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายในคดีอาญาแล้ว ก็จะต้องนำสืบให้ได้ว่า ตนมิได้เป็นผู้กระทำผิด ทั้งจะต้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาเช่นนั้นอีกด้วย

จริงอยู่ตามมาตรา ๒๕ วรรคสุดท้ายของพระราชบัญญัติ ให้ศาลอุทธรณ์มีอำนาจไต่สวนหลักฐานเพิ่มเติมโดยสืบพยานเองหรืออาจแต่งตั้ง ให้ศาลชั้นต้นตามที่เห็นสมควรทำแทนก็ได้ แม้ศาลอุทธรณ์จะให้มีการไต่สวนตามอำนาจของศาลอุทธรณ์ดังกล่าว ก็คงไม่สามารถทำให้คำพิพากษาของศาลเจ้าของคดีอาญาอันถึงที่สุดแล้วให้ปราก ฎตามคำพิพากษาข้อเท็จจริงฟังเป็นที่ยุติว่า จำเลยมิได้เป็นผู้กระทำความผิด ได้อีก เนื่องจากศาลในคดีนั้นได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดไปแล้ว ผลการไต่สวนของศาลอุทธรณื หากได้กระทำไป ก็ไม่มีผลในการเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาของคดี อันจะทำให้อดีตจำเลยสามารถมีสิทธิในการรับค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายได้ หากแนวคำวินิจฉัยของคณะกรรมการและศาลอุทธรณ์ยังเป็นเช่นนี้อยู่

การที่คณะกรรมการและศาลอุทธรณืยึดแนวการตีความคำว่าต้อง ปรากฎตามคำพิพากษาในคดีนั้นว่าข้อเท็จจริงฟังเป็นที่ยุติว่า จำเลยมิได้เป็นผู้กระทำความผิด ในลักษณะดังกล่าว อาจมีผลให้รัฐสามารถประหยัดงบประมาณที่จะต้องจ่ายเป็นค่าทดแทนและค่าใช้จ่าย ได้เป็นจำนวนมาก เนื่องจากในแต่ละปีมีคดีอาญาที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้องในอัตราที่ สูง แต่ผลเสียก็คือ นอกจากทำให้อดีตจำเลยจำนวนมากไม่สามารถขึ้งค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแล้ว ยังมีผลทำให้ไม่มีการปรับปรุงกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบที่จะทำให้ “บุคคลย่อมมีสิทธิที่จะให้คดีของตนได้รับการพิจารณาอย่างถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นธรรม” ตาม ที่กำหนดไว้ในมาตรา ๔๐ (๓) แห่งรัฐธรรมนูญอีกด้วย การที่รัฐไม่ต้องรับผิดชอบ หรืออีกนัยหนึ่งการที่คำวินิจฉัยของคณะกรรมการและคำพิพากษาของศาล ทำให้รัฐสามารถหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบในการชดใช้เยียวยาให้แก่จำเลย ซึ่งตกเป็นเหนือของการละเมิดสิทธิมนุษยชนเนื่องจากความอ่อนแอ ไร้ประสิทธิภาพ หรือกระทั่งฉ้อฉลของกระบวนการยุติธรรม เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้รัฐไม่มีเจตจำนงทางการเมืองอย่างแท้จริงในการที่จะ ปรับปรุงกระบวนการยุติธรรมตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ผลของการละเลยดังกล่าวของรัฐ ทำให้กระบวนการยุติธรรม ล่าช้า ไม่มีมีมาตรฐานหรือสองมาตรฐาน กระทั่งมีการนำเอาการคุมขังผู้ต้องหรือจำเลยในระหว่างการพิจารณา โดยเฉพาะคดีความมั่นคงมาใช้ในลักษณะเป็นมาตรการในการในการควบคุมตัวผู้ต้อง สงสัยว่าจะเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศเช่นในกรณีภาคใต้ ในลักษณะเป็นการควบคุมตัวในเชิงป้องกัน (Preventive Detention) ซึ่งตามระบบกฎหมายไทยอนุญาตให้ทำได้เฉพาะในกรณีที่มีการประกาศภาวะฉุกเฉิน เท่านั้น โดยควบคุมตัวได้ไม่เกิน ๓๐ วัน แต่มีคดีอาญาจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งคดีความมั่นคงที่จำเลยถูกควบคุมตัวหลายปี กว่าศาลจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้พ้นข้อกล่าวหาไปนั้น นอกจากเกิดจากการไร้ประสิทธิภาพของกระบวนการยุติธรรมแล้ว ยังเกิดจากการบิดเบือนการใช้กฎหมาย โดยนำอำมาตรการคุมขังระหว่างการพิจารณาคดีและในระหว่างอุทธร ฏีกา มาใช้เป็นมาตรการในเชิงป้องกัน หรือ Preventive Detention ด้วย

การที่รัฐขาดเจตจำนงในการปรับปรุงกระบวนการยุติธรรม และการปฏิบัติของพนักงานในกระบวนการยุติธรรมในบางกรณีที่ถือหลัก Preventive Detention มีผลให้ในการฟ้องร้องดำเนินดดีอาญานั้น มีคดีที่ศาลยกฟ้องในอัตราที่สูงมาก ในกรณีคดีความมั่นคงทางใต้ มีอัตราสูงเกือบร้อยละ ๕๐ ส่วนคดีอาญาทั่วๆไปก็มีอัตราสูงเช่นเดียวกัน ผู้ที่ตกเป็นเหยือของการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยกระบวนการยุติธรรมดังกล่าว มักเป็นคนยากจน ขาดความรู้และเงินทองที่จะนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดี ทำให้ไม่ได้รับความยุติธรรม และเมื่อได้รับความยุติธรรมระดับหนึ่งจากศาลเจ้าของสำนวนคดีที่พิพากษายก ฟ้องแล้ว ก็ยังไม่ได้รับการชดใช้เยียวยาที่ได้รับความเสียหายจากการจองจำด้วย จึงไม่แปลกใจเลยที่กระบวนการยุติธรรม ไม่ได้รับความเชื่อถือจากประชาชนทั่วไป ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนยากจนและด้อยโอกาส