คดีนี้ ผมในฐานะผู้อำนวยการโครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLAW) มีส่วนเกี่ยวข้องโดยเป็นหัวหน้าคณะให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายกรณี การคัดค้านโรงไฟฟ้าบ่อนอก-หินกรูด ของสภาทนายความ ติดตามข้อมูล ร่วมสอบข้อเท็จจริง กับหน่อย จินตนา แก้วขาว ตั้งแต่ปี 2544 แต่มิได้เป็นทนายความ ว่าความในคดีนี้โดยตรงครับ แต่ขอเสนอข้อเท็จจริงจากสำนวนและความเห็นทางกฎหมายดังนี้
คดีนี้อัยการฟ้องว่า จิตนาแก้วขาว มีความผิดในข้อหาบุกรุก โดยร่วมกันกระทำผิดตั้งแต่สองคนขึ้นไปศาลชั้นต้น ยกฟ้องไม่เชื่อพยานโจทก์ โดยอ้างอิง ถึงเจตนาการใช้สิทธิของชุมชนด้านสิ่งแวดล้อมตามรัฐธรรมนูญเป็นเหตุให้ต้องชั่งน้ำหนัก
พยานหลักฐานอย่างรอบคอบ เพื่อมิให้คนดีถูกรังแกโดยใช้กลไกตามกฎหมาย
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาลงโทษจำคุก 6 เดือน เพราะเห็นว่าพยานโจทก์น่าเชื่อถือ การเบิกความในศาลที่แตกต่างจากชั้นสอบสวนอาจเป็นเพราะเกรงกลัวอิทธิพลจินตนา
ศาลฎีกา พิพากษาลดโทษจำคุก 4 เดือน เพราะเข้ามอบตัว โดยไม่รอลงอาญา โดยศาลเห็นว่าพยานโจทก์น่าเชิ่อถือ เหมือนศาลอุทธรณ์ ส่วนประเด็นว่าการกระทำของจินตนามีเจตนาเพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมตามรธน.ไม่ใช่ความผิดอย่างคดีอาญาสามัญทั่วไปหรือเป็นข้อพิพาทระหว่างบุคลทั่วไป ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ต้องห้ามฎีกา
ซึ่งมีประเด็นข้อสังเกตุใหญ่ๆอย่างน้อย 2 ข้อ
1 ประเด็นว่าการกระทำของจินตนามีเจตนาเพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมตามรธน.ไม่ใช่ความผิดอย่างคดีอาญาสามัญทั่วไปหรือเป็นข้อพิพาทระหว่างบุคลทั่วไป ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ต้องห้ามฎีกานั้น
ศาลฎีกา ไม่ได้ให้เหตุผลอย่างชัดแจ้งว่า ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย อย่างไร เช่น นอกประเด็น เป็นเรื่องไม่เคยต่อสู้ปรากฎในสำนวนมาก่อน ฯ
การวินิจฉัยโดยยกถ้อยคำตามกฎหมาย แต่ไม่มีเหตุผลรองรับที่ชัดเจน ทำให้คำพิพากษาที่ไม่รับวินิจฉันในส่วนนี้ขาดเหตุผลรองรับที่เข้าใจได้ในทางกฎหมาย ทั้งๆที่การตัดประเด็นไม่รับพิจารณาข้อต่อสู้ของจำเลยเป็นเรื่องสำคัญในคดี รวมทัง้อาจทำให้ผู้ที่ทราบคำพิพากษา และสาธารณะชนทั่วไปเข้าใจได้ว่าศาลฎีกา ปฎิเสธความสำคัญที่เกี่ยวกับการใช้สิทธิตามรธน.ด้านสิ่งแวดล้อมของชุมชนในการพิจารณา พิพากษาคดี
2. ประเด็นว่า การต่อสู้เพื่อสิทธิชุมชนและสิ่งแวดล้อมของ หน่อย จินตนา ซึ่งศาลเห็นว่าเป็นความผิดในทางอาญานั้นเ ป็นอาชญากรร้ายแรงที่ควรได้รับโทษจำคุก โดยไม่รอการลงโทษหรือไม่
โดยเหตุที่คดีนี้ศาลลงโทษจำคุก 4 เดิอน เป็นโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และ คุณจินตนา ไม่เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อนซึ่งอยู่ในเงื่อนไขที่ ศาลฎีกาจะใช้ดุลพินิจรอการลงโทษได้ เมือพืจารณาถึง อายุ ประวัติ ฯ สภาพความผิด หรือเหตุอื่นอันควรปราณี ตาม ม. 56 ประมวลก.ม. อาญา ซึ่งเมื่อพิจารณาถึงเหตุในคดีนี้เกี่ยวเนื่องมาจาก จินตนา และชุมชนมีวัตถุประสงค์ในการปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมของ ชุมชนตาม รธน. จากการดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม มิใช่เป็นความขัดแย้งส่วนบุคคล ซึ่งคดีในลักษณะแบบนี้ ในศาลชั้นต้นส่วนใหญ่แม้วินิจฉัยว่ามีความผิด จะรอการลงโทษโดยเห็นว่า มีเจตนาเพื่อรักษาทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมของชุมชน แต่ปรากฎว่าในคดีนี้ ศาลฎีกา มิได้หยิบยกเหตุดังกล่าวเพื่อพิจารณา รอการลงโทษ สิ่งที่หน่อย จินตนา ทำไปเพือปกป้องสิ่งแวดล้อมของชุมชนดูเสมือนเป็น อาชกรรมร้ายแรงที่ไม่ควรได้รับโอกาสรอการลงโทษจากดุลพินิจและมุมมองของศาลฎีกาในคดีนี้
ในปัจจุบัน แม้ในทางกฎหมายคดีนี้จะถึงที่สุดแล้ว แต่การวิพากษ์ทางกฎหมายและในทางสังคมต่อกระบวนการยุติธรรมเป็นเพียงจุดเริ่มต้น
หน่อย จินตนาบอกกับผมทางโทรศัพท์ขณะถูกคุมขังที่ศาลในวันฟังคำพิพากษาว่า เป็นห่วงพี่น้องชุมชนต่างๆอีกจำนวนมากที่ถูกดำเนินคดีจากการต่อสู้ด้านสิ่ง แวดล้อมเราจะทำอย่างไรให้กระบวนการยุติธรรมคำนึงถึงและปกป้องการใช้สิทธิของ ชุมชนมากกว่านี้ ซึ่งนี้เป็นโจทย์ที่ภาคประชาสังคมต้องช่วยขับเคลื่อนต่อไป