we walk เดินมิตรภาพ

กฎหมายห้ามชุมนุมในรัฐทหาร (ตอนที่ 2) โดย เลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์

  ภาพจาก เพจ People GO network เลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ 28 มีนาคม 2561 อ่านบทความกฎหมายห้ามชุมนุมในรัฐทหาร ตอนที่ 1 องค์ประกอบหลักของการชุมนุมสาธารณะตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558  หรือ ‘กฎหมายชุมนุมสาธารณะ’ เกี่ยวข้องอยู่สองเรื่อง  เรื่องแรกเกี่ยวข้องกับลักษณะหรือประเภทของ ‘กิจกรรม’ ตามมาตรา 3[[1]] ที่กำหนดว่ากิจกรรมประเภทใดบ้างอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายฉบับนี้ที่ต้องแจ้งการชุมนุมต่อผู้รับแจ้งหรือเจ้าพนักงานเสียก่อนจึงจะได้รับความคุ้มครองและอำนวยความสะดวกให้เกิดการชุมนุมได้  ส่วนลักษณะหรือประเภทของกิจกรรมใดที่ไม่อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายฉบับนี้ก็สามารถทำได้เลยโดยไม่ต้องแจ้งการชุมนุมก่อน  เรื่องที่สองเกี่ยวข้องกับ ‘สถานที่’ ตามมาตรา 7[[2]] ที่ห้ามไม่ให้มีการชุมนุมในสถานที่บางประเภท  ส่วนการชุมนุมในสถานที่อื่นนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในมาตรา 7 ให้ถือว่าอยู่ในบังคับที่ต้องได้รับความคุ้มครองและอำนวยความสะดวกตามกฎหมายฉบับนี้  โดยมีเงื่อนไขไม่กีดขวางทางเข้าออก หรือรบกวนการปฎิบัติงานหรือการใช้บริการสถานที่สำหรับสถานที่บางประเภทตามมาตรา 8[[3]]  แต่ไม่ได้ห้ามการชุมนุมในสถานที่บางประเภทตามที่ระบุไว้ในมาตรา 8 แต่อย่างใด ดังนั้น  ถ้าการชุมนุมใดไม่ใช่กิจกรรมและสถานที่ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 3 และมาตรา 7 ก็ควรได้รับความคุ้มครองและอำนวยความสะดวกให้ชุมนุมได้ภายใต้กฎหมายฉบับนี้  โดยเฉพาะกิจกรรมที่ถูกยกเว้นให้ไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายฉบับนี้ตามมาตรา 3 ยิ่งสามารถทำได้เลยโดยไม่ต้องแจ้งการชุมนุมตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในกฎหมายฉบับนี้ ประเด็นสำคัญต่อเนื่องมา  นั่นคือ  เมื่อพิจารณาในแง่ของ ‘กิจกรรม’ และ ‘สถานที่’ อันเป็นองค์ประกอบหลักตามกฎหมายฉบับนี้แล้ว […]

คำสั่งศาลปกครองคดีเดินมิตรภาพ: ผลิตผลของวัฒนธรรมทางกฎหมายที่มาจากเบื้องล่าง

สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์ คณะนิติศาสตร์ ม.เชียงใหม่ การเดินมิตรภาพเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจเนื่องจากเป็นกรณีที่ภาคประชาชนสามารถช่วงชิงการใช้การตีความกฎหมายจากการพยายามผูกขาดของหน่วยงานรัฐและสามารถใช้กฎหมายไปกำกับควบคุมการใช้อำนาจของรัฐได้สำเร็จในระดับหนึ่ง ทั้งที่อยู่ภายใต้รัฐบาลเผด็จการที่กุมอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด อีกทั้งยังเป็นการแสดงให้เห็นความสำคัญของภาคประชาชนในการต่อสู้เพื่อสร้างวัฒนธรรมทางกฎหมายที่เคารพสิทธิเสรีภาพประชาชนและปฏิเสธวัฒนธรรมทางกฎหมายแบบอำนาจนิยมด้วยปฏิบัติการทั้งในและนอกสถาบันทางกฎหมายที่เป็นทางการ การต่อสู้ครั้งแรกของภาคประชาชนกับรัฐบาลเกิดขึ้นในวันที่ 20 มกราคม 2561 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (รังสิต) เมื่อรัฐบาลพยายามปิดกั้นและไม่อนุญาตให้ทีมเดินมิตรภาพที่ชุมนุมกันอยู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (รังสิต) จัดกิจกรรมเดินจากกรุงเทพมหานครไปยังจังหวัดขอนแก่น โดยอ้าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 และคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2558 เป็นฐานในการใช้อำนาจดังกล่าว การปะทะกันครั้งแรกเกิดขึ้นนอกสถาบันทางกฎหมายที่เป็นทางการ เป็นการต่อสู้กันบนท้องถนน ภาคประชาชนพยายามโต้แย้งการตีความและบังคับใช้กฎหมายของรัฐด้วยการยืนยันว่าสิทธิในการชุมนุมและการเดินของพวกเขาเป็นสิทธิที่ได้รับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญและพวกเขาได้ปฏิบัติตามที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 บัญญัติไว้แล้วทุกประการ พวกเขาจึงมีสิทธิที่จะชุมนุมและเดิน ทีมเดินมิตรภาพยืนยันความคิดความเชื่อของพวกเขา ด้วยการแบ่งกลุ่มผู้ชุมนุมบางส่วนออกไปเดินตามที่วางแผนไว้ทั้งที่เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ยินยอม การต่อสู้ยกแรกระหว่างวัฒนธรรมทางกฎหมายแบบอำนาจนิยมกับวัฒนธรรมทางกฎหมายแบบเสรีประชาธิปไตยบนท้องถนน อาจถือได้ว่าภาคประชาชนเป็นฝ่ายมีชัยเหนือรัฐบาล เพราะนอกจากเจ้าหน้าที่ตำรวจจะไม่สามารถยุติการชุมนุม ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ตามที่ต้องการแล้ว ประชาชนยังสามารถยืนยันสิทธิด้วยการเดินตามที่วางแผนไว้ได้ (แม้จะต้องปรับแผนจากที่จะเดินหลายสิบคนมาเป็นเดินครั้งละ 4 คน) โดยที่ตำรวจไม่สามารถยุติกิจกรรมเดินมิตรภาพได้ ในแง่นี้อาจกล่าวได้ว่าการยืนยันสิทธิของประชาชนมีชัยเหนือการใช้อำนาจควบคุมโดยรัฐ อย่างไรก็ตามรัฐบาลตอบโต้ปฏิบัติการของภาคประชาชนด้วยการแจ้งความดำเนินคดีกับแกนนำกลุ่มเดินมิตรภาพจำนวน 8 คน นี่เป็นอีกครั้งที่รัฐพยายามสร้างวัฒนธรรมทางกฎหมายแบบอำนาจนิยมด้วยการใช้กลไกทางกฎหมายไปจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยครั้งนี้เป็นการใช้สถาบันทางกฎหมายที่เป็นทางการคือการใช้คดีอาญาเป็นเครื่องมือ น่าเชื่อได้ว่าการดำเนินคดีอาญาของรัฐบาลในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปิดกั้นการแสดงออกของภาคประชาชนยิ่งกว่าต้องการให้แกนนำทั้ง 8 ต้องรับโทษตามกฎหมาย การฟ้องคดีลักษณะนี้มีชื่อเฉพาะในทางวิชาการว่า “การฟ้องคดียุทธศาสตร์เพื่อปิดกั้นการมีส่วนร่วมและการแสดงออกของประชาชน” […]

5 องค์กรสิทธิฯออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ยุติการจำกัดเสรีภาพในการชุมนุมของ We Walk เดินมิตรภาพ

แถลงการณ์ ให้ยุติการคุกคามและจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการชุมนุมโดยสงบ ขบวน “We Walk เดินมิตรภาพ” ของเครือข่าย People GO Network เผยแพร่วันที่ 24 มกราคม 2561 ตามที่เครือข่ายประชาชนในนาม People GO Network ได้จัดกิจกรรม “We Walk…เดินมิตรภาพ” เดินเท้าจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ถึงจังหวัดขอนแก่น ระหว่างวันที่ 20 มกราคม 2561–17 กุมภาพันธ์ 2561 เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงปัญหาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เกษตรกรรมและความมั่นคงทางอาหาร รัฐสวัสดิการและหลักประกันสุขภาพ ตลอดจนสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ โดยก่อนเริ่มกิจกรรมการเดิน เครือข่ายเครือข่ายประชาชนในนาม People GO Network ได้ดำเนินการแจ้งการชุมนุมสาธารณะต่อสถานีตำรวจภูธรคลองหลวง ตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 แล้ว แต่เจ้าหน้าที่ก็ได้พยายามกำหนดเงื่อนไขต่างๆ เพื่อไม่ให้การดำเนินกิจกรรมเป็นไปได้โดยง่าย โดยเฉพาะการที่เจ้าหน้าที่ผู้รับแจ้งการชุมนุมได้มีหนังสือถึงเครือข่ายประชาชนในนาม People GO Network ระบุว่าการดำเนินกิจกรรมที่มีการจำหน่วยเสื้อ และการให้ประชาชนเข้าชื่อยกเลิกประกาศ/คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้าข่ายเป็นการชุมนุมทางการเมือง จึงต้องไปขออนุญาต คสช. ก่อน […]

เดินมิตรภาพ: ปฏิบัติการสร้างวัฒนธรรมทางกฎหมายจากเบื้องล่าง

สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่   กฎหมายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม คือ เป็นเรื่องความคิดความเชื่อ และวัตรปฏิบัติของคนในสังคมในปฏิสัมพันธ์ที่มีต่อกัน ในแง่นี้กฎหมายไม่ได้เป็นเพียงเครื่องมือของเจ้าหน้าที่รัฐ ผู้พิพากษา หรือฝ่ายนิติบัญญัติในการกำหนดสิทธิและหน้าที่ให้กับประชาชนเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงความคิดความเชื่อของคนในสังคมเกี่ยวกับกฎหมายและสถาบันทางกฎหมายด้วย วัฒนธรรมทางกฎหมายแบบอำนาจนิยม คือ ความคิดความเชื่อที่ว่ากฎหมายเป็นเครื่องมือของรัฐในการกำกับควบคุมประชาชน กฎหมายไม่ได้มีไว้เป็นเครื่องมือจำกัดอำนาจรัฐและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพประชาชนแต่อย่างใด กลไกรัฐส่วนใหญ่มองกฎหมายในแง่นี้และพยายามสร้างความคิดความเชื่อเช่นนี้ให้กับสาธารณะผ่านปฏิบัติการต่างๆ การใช้การตีความกฎหมายเช่นนี้มีประสิทธิภาพมากในรัฐอำนาจนิยมที่พื้นที่สำหรับการต่อสู้ โต้แย้งการเผยแพร่ความคิดดังกล่าวถูกจำกัด เช่น ประเทศจีน ประเทศลาว เป็นต้น วัฒนธรรมทางกฎหมายแบบเสรีประชาธิปไตย คือ ความคิดความเชื่อที่ว่ากฎหมายเป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างรัฐกับประชาชน ที่ให้อำนาจรัฐบางเรื่องและในขณะเดียวกันก็จำกัดอำนาจรัฐไว้ด้วยกฎหมายนั้นเอง นอกจากเป็นข้อจำกัดของอำนาจรัฐแล้วกฎหมายยังเป็นเครื่องมือปกป้องประชาชนจากการใช้อำนาจตามอำเภอใจของรัฐด้วย ในแง่นี้กฎหมายจึงเป็นเสมือนกลไกที่สังคมใช้ในการควบคุมรัฐไม่ให้กลายเป็นโจร วัฒนธรรมทางกฎหมายเช่นนี้มักงอกงามในรัฐเสรีประชาธิปไตย เช่น เยอรมนี สหรัฐอเมริกา เป็นต้น ฝ่ายที่กุมอำนาจรัฐมีแนวโน้มที่จะพยายามสลัดตัวเองจากการควบคุมของสังคม เพื่อให้สามารถใช้อำนาจได้ตามที่พวกเขาต้องการ ดังอมตะวาจาของ ลอร์ด แอคตันที่ว่า “อำนาจทำให้คนลุแก่อำนาจ อำนาจที่สมบูรณ์ทำให้คนลุแก่อำนาจอย่างสมบูรณ์” เมื่อกฎหมายถูกใช้ถูกตีความจากรัฐ จึงมีแนวโน้มที่มันจะถูกใช้เป็นเครื่องมือของรัฐในการควบคุมประชาชน ยิ่งกว่าส่งเสริมสิทธิเสรีภาพประชาชนและควบคุมการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐ ปรากฏการณ์ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจทหารพยายามสกัดกั้นกิจกรรม “เดินมิตรภาพ” ด้วยการใช้การตีความพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 ประกอบกับคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 ในวันที่ […]

แถลงการณ์ร่วม : ยืนยันเสรีภาพในการชุมนุม “We Walk…เดินมิตรภาพ”

ตามที่เครือข่ายประชาชนในนาม People GO Network ได้จัดงาน “We Walk…เดินมิตรภาพ” ระหว่างวันที่ 20 มกราคม 2561 – 17 กุมภาพันธ์ 2561 เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงปัญหาทรัพยากรสิ่งแวดล้อม เกษตรทางเลือก หลักประกันสุขภาพ และการใช้สิทธิเสรีภาพ โดยการเดินเท้าจากกรุงเทพมหานครถึงจังหวัดขอนแก่น โดยผู้จัดงานได้ดำเนินการแจ้งการชุมนุมตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 2561 ไปยังเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.คลองหลวงซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นในการดำเนินกิจกรรม ตั้งแต่วันที่ 17 มกราคม 2561 แล้วนั้น วันที่ 19 มกราคม 2561 เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ตอบกลับหนังสือแจ้งการชุมนุมสาธารณะระบุว่า จากการตรวจสอบกิจกรรมมีพฤติการณ์จำหน่ายเสื้อยืดซึ่งมีข้อความสื่อความหมายในทางการเมือง และการชักชวนให้ประชาชนทั่วไปร่วมลงลายมือชื่อยกเลิกกฎหมาย ซึ่งไม่ใช่การชุมนุมสาธารณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจมีอำนาจดูแล แต่เป็นการมั่วสุม หรือชุมนุมการเมือง ตามข้อ 12 ของคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/2558 ซึ่งหากฝ่าฝืนต้องรับโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ องค์กรสิทธิมนุษยชนซึ่งลงนามท้ายแถลงการณ์นี้ มีความเห็นต่อข้อชี้แจงดังกล่าว ดังนี้ 1. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติได้มีข้อสังเกตเชิงสรุปต่อประเทศไทยเมื่อมีนาคม 2560 แสดงถึงความกังวลในการบังคับใช้คำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/58 […]