SLAPPs

แถลงการณ์ : เรียกร้องสถาบันตุลาการให้ปฏิบัติหน้าที่ตามหลักกฎหมาย โดยคำนึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

แถลงการณ์สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) เรียกร้องสถาบันตุลาการให้ปฏิบัติหน้าที่ตามหลักกฎหมาย โดยคำนึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และอุดมการณ์ของผู้พิพากษาตามประมวลจริยธรรมข้าราชการตุลาการ ตลอดระยะเวลาของการใช้เสรีภาพในการชุมนุมทางการเมืองที่ผ่านมา ประชาชนจำนวนมากต้องตกเป็นผู้ต้องหาและจำเลยในกระบวนการยุติธรรมอันเนื่องมาจากความเห็นต่างทางการเมือง อาจกล่าวได้ว่า กระบวนการยุติธรรมทั้งระบบถูกใช้เป็นกลไกเพื่อสนองนโยบายรัฐในการปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองของประชาชนฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลอย่างเต็มรูปแบบ โดยเฉพาะในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 การปล่อยชั่วคราวถูกใช้เป็นกลไกสำคัญในการปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ผ่านการไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว ห้ามไปกระทำการในลักษณะเดียวกันกับคดีเดิมอีก การกำหนดเวลาห้ามออกนอกเคหสถานในบางช่วงเวลาร่วมกับการใส่กำไล EM การอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวโดยให้ใส่กำไลติดตามตัว (EM) ร่วมกับคำสั่งห้ามออกนอกเคหสถานตลอด 24 ชั่วโมง เป็นเงื่อนไขการปล่อยชั่วคราวที่เข้มงวดกว่าอาชญากรที่ก่ออาชญากรรม และการมีคำสั่งถอนประกันได้โดยง่าย เหล่านี้ ถือเป็นการละเมิดสิทธิในกระบวนการยุติธรรม ถูกปฏิบัติโดยไม่คำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และไร้ซึ่งมนุษยธรรม ทั้งนี้ยังสะท้อนถึงความพยายามของศาลในการเข้ามามีบทบาทในการรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองเสียเองทั้งที่ไม่ใช่หน้าที่โดยตรงของศาล เพราะมีองค์กรอื่นทำหน้าที่อยู่แล้ว ศาลมีหน้าที่รักษาและดำรงความยุติธรรมในสังคมอย่างเป็นอิสระโดยอาศัยหลักกฎหมายเพื่อเป็นหลักประกันว่าประชาชนทุกคนจะได้รับความยุติธรรมแม้จะมีข้อพิพาทกับรัฐหรือเป็นฝ่ายตรงข้ามกับรัฐก็ตาม   แต่ปรากฏว่ากรณีที่ไม่ใช่คดีการเมือง เช่นกรณีของ พ.ต.อ.หญิงวัทนารีย์ กรณ์ชายานันท์ จำเลยที่ 8 ภรรยานายตู้ห่าว ชาวจีน ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจมีพยานหลักฐานว่ามีพฤติการณ์ข่มขู่พยาน เป็นการผิดเงื่อนไขการประกันของศาล ศาลกลับไม่ถอนประกัน โดยอ้างว่าศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวไปเเล้ว แต่พนักงานสอบสวนมายื่นเอกสารแบบกระชั้นชิด ทำให้การยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนการประกันตัว พ.ต.อ.หญิง วัทนารีย์ ดังกล่าวจึงเป็นเพียงคำร้องที่ประกอบการพิจารณา กรณีที่แตกต่างกันดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความลักลั่นและปัญหาการปล่อยชั่วคราวสำหรับผู้ต้องหาและจำเลยในคดีการเมือง   การถูกปฏิบัติโดยไม่คำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และไร้ซึ่งมนุษยธรรมโดยกระบวนการยุติธรรมดังกล่าวนำมาสู่การอดอาหารและน้ำของตะวันและแบมเพื่อทวงถามหาความยุติธรรม และเรียกร้องให้ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ปัจจุบันร่างกายของทั้งสองเข้าขั้นวิกฤติและสุ่มเสี่ยงต่อชีวิตอย่างมาก   สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าสถาบันศาลจะพิจารณาทบทวนบทบาทในการใช้ดุลพินิจในการปล่อยชั่วคราวให้เป็นไปตามหลักกฎหมาย […]

แถลงการณ์ร่วม: ขอให้หยุดการคุกคามต่อสุชาณี คลัวเทรอ นักปกป้องสิทธิมนุษยชน

แถลงการณ์ร่วม หยุดการคุกคามต่อสุชาณี คลัวเทรอ, นักปกป้องสิทธิมนุษยชน การฟ้องคดีไม่มีมูลทำให้การปกป้องสิทธิแรงงานเป็นไปได้ยากขึ้น   26 ตุลาคม 2563 เรา, องค์กรสิทธิมนุษยชนสิบองค์กรที่ลงชื่อใต้แถลงการณ์นี้, เรียกร้องให้รัฐบาลไทยหยุดการคุกคามทางกฎหมายผ่านกระบวนการยุติธรรมต่อนักข่าว สุชาณี คลัวเทรอ และมีมาตรการที่ชัดเจนในการปกป้องนักข่าวและนักปกป้องสิทธิมนุษยชนจากกระบวนการทางอาญาที่การฟ้องคดีที่ไม่มีน้ำหนัก ในวันที่ 27 ตุลาคมนี้ ศาลจังหวัดลพบุรีจะอ่านคำพิพากษาอุทธรณ์ในคดีของสุชาณี ซึ่งถูกศาลชั้นต้นตัดสินลงโทษในคดีที่ริเริ่มโดยบริษัทธรรมเกษตร คดีนี้เน้นย้ำความจำเป็นในการยกเลิกข้อกฎหมายหมิ่นประมาททางอาญาซึ่งถูกใช้บ่อยครั้งโดยบริษัทธุรกิจและปัจเจกบุคคลที่มีอำนาจในการปิดปากคนวิพากษ์วิจารณ์   การฟ้องคดีต่อสุชาณีเกิดจากการทวีตเกี่ยวกับข้อกล่าวหาเรื่องการละเมิดสิทธิแรงงานในฟาร์มไก่ของบริษัทธรรมเกษตรในจังหวัดลพบุรี จากข้อร้องเรียนของแรงงานที่ส่งให้ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติพบว่าบริษัทไม่ได้จ่ายค่าแรงขั้นต่ำและค่าแรงล่วงเวลา ไม่ได้จัดหาเวลาพักและวันหยุดอย่างพอเพียง และมีการยึดเอกสารประจำตัวของคนงาน ในปี 2559 กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในจังหวัดลพบุรีได้มีคำสั่งให้บริษัทธรรมเกษตรจ่ายค่าชดเชย 1.7 ล้านบาทให้กับแรงงาน ซึ่งเป็นบทลงโทษที่ศาลฎีกาได้พิพากษายืน   สุชาณีเป็นนักข่าววอยซ์ทีวีในปี 2560 ซึ่งเป็นเวลาที่เธอทวีตข้อความดังกล่าวและรายงานข้อกล่าวหาที่ว่า ในเดือนมีนาคมปี 2562 ธรรมเกษตรได้ฟ้องคดีอาญาต่อสุชาณีภายใต้มาตรา 326 และ 328 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ว่าด้วยการหมิ่นประมาทและหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาตามลำดับ ในเดือนธันวาคมปี 2562 ศาลจังหวัดลพบุรีได้ตัดสินจำคุกสุชาณีสองปีโดยไม่รอลงอาญา   สุชาณีเป็นหนึ่งในผู้คนจำนวนมากที่ตกเป็นเป้าหมายของธรรมเกษตร ตั้งแต่ปี 2559, ธรรมเกษตรได้ริเริ่มคดีอาญาและคดีแพ่งต่อประชาชน 22 คนและวอยซ์ทีวี จากการที่ประชาชนและวอยซ์ทีวีพูดถึงการละเมิดสิทธิแรงงานของบริษัท […]

ข้อหาและกฎหมายที่รัฐนำมาใช้กับผู้ชุมนุมตั้งเเต่เดือนมิ.ย. จนถึง คืนวันสลายการชุมนุม

    ปรากฏการณ์การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร การจับกุม การดำเนินคดีต่อแกนนำ ผู้เข้าร่วมชุมนุมโดยเฉพาะที่เป็นเยาวชน และสื่อมวลชนเป็นวงกว้างของเจ้าหน้าที่รัฐนั้น สะท้อนให้เห็นว่ารัฐพยายามนำกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมมาเป็นเครื่องมือในการปิดกั้นการมีส่วนร่วมของประชาชน (Judicial Harassment) เพื่อให้ผู้ชุมนุม และคนในสังคมเกิดความกลัวไม่กล้าเคลื่อนไหว จากข้อมูลของ สนส. (SLAPP DATABASE CENTERR) ในระยะเวลา 5 เดือนที่ผ่านมานี้ นับตั้งแต่การจัดกิจกรรม “ผูกโบขาว” ของนิสิตนักศึกษา สนท.  ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย หน้ากระทรวงกลาโหม หน้ากองทัพบก และหน้ากองทัพภาคที่ 1 เพื่อเรียกร้องความยุติธรรมให้ นายวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ ผู้ลี้ภัยชาวไทย ที่ถูกอุ้มหายในประเทศกัมพูชาเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน จนถึงการชุมนุมของคณะราษฎร 2563 เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม เพื่อเรียกร้องให้พลเอกประยุทธ์ ลาออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรี ให้มีการเปิดการประชุมวิสามัญรับร่างแก้รัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของประชาชน และให้มีการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ นั้น พบว่า มีการใช้ข้อหาความผิดลหุโทษ หรือความผิดอาญาที่ไม่มีโทษจำคุกกับผู้ที่เห็นต่างทางการเมืองมากขึ้น  อีกทั้งยังมีการนำกฎหมายพิเศษ อย่างพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548  หรือ พ.ร.ก ฉุกเฉินฯ […]

กลไกและกระบวนการยุติธรรมปกติไม่อาจยับยั้งคดีSLAPPได้: ต่างประเทศจึงมีAnti-SLAPP Law

หากติดตามสถานการณ์การใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมมาเป็นเครื่องมือในการปิดกั้น ข่มขู่หรือกดดันประชาชนที่สนใจและอยากลุกขึ้นมามีส่วนร่วมทางการเมือง หรือที่เรียกว่า SLAPP ในช่วงที่ผ่านมา จะเห็นว่าการฟ้องคดีในลักษณะดังกล่าวนั้น ทำให้ผู้ที่ตกเป็นเป้าหมายของการถูกฟ้องต้องเผชิญการคุกคาม เสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการสู้คดี และทำให้กิจกรรมหรือประเด็นที่เคลื่อนไหว เรียกร้องต้องหยุดชะงักลง

ทำไมสถิติคดีฟ้องปิดปาก (SLAPP) ถึงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง:ปัญหาของกลไกกลั่นกรองคดีชั้นอัยการ

เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2563 กระทรวงยุติธรรมมีความเห็นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับรายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทยประจำปี 2562 ที่จัดทำโดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โดยความเห็นตอนหนึ่งระบุว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีกลไก หลายชั้นที่สามารถป้องกันกลั่นกรองคดีฟ้องปิดปากได้  หนึ่งในนั้นคือ ชั้นอัยการ โดยพนักงานอัยการสามารถใช้ช่องทางตามพระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553 มาตรา 21 สั่งไม่ฟ้องคดีเพื่อป้องกันการฟ้องร้องคดีที่ไม่สุจริตได้ ถ้าพนักงานอัยการเห็นว่าการฟ้องคดีอาญาจะไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชน หรือจะมีผลกระทบต่อความปลอดภัย หรือความมั่นคงของชาติ หรือต่อผลประโยชน์อันสำคัญของประเทศให้เสนอต่ออัยการสูงสุดเพื่อสั่งไม่ฟ้องได้

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คดีบริษัทธรรมเกษตรฟ้องหมิ่นประมาท งามศุกร์ รัตนเสถียรอาจารย์ประจำสถาบันสิทธิฯ

16 กรกฎาคม 2563 ศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น คดีบริษัทธรรมเกษตร โดยนายชาญชัย เพิ่มพล เป็นผู้รับมอบอำนาจดำเนินคดีแทน ฟ้องดำเนินคดีต่องามศุกร์ รัตนเสถียร อาจารย์ประจำสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ในข้อหาหมิ่นประมาท ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326 และมาตรา 328

แจ้งข่าวนัดฟังคำพิพากษาป้ายปากมูลและชวนบริจาคเงินเพื่อสนับสนุนการต่อสู้คดี

วันที่ 21 พฤษภาคม 2563 นี้ ศาลจังหวัดอุบลราชธานี มีนัดฟังคำพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ 99/2562 ระหว่างพนักงานอัยการจังหวัดอุบลราชธานี โจทก์ กับ นายกฤษกร ศิลารักษ์ (ป้ายปากมูล) ในฐานความผิดหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา และหมิ่นประมาทศาล จากกรณีที่นายกฤษกรได้โพสต์ข้อความเกี่ยวกับกรณีที่ศาลจังหวัดอุบลราชธานี พิจารณาคดีของนายดวงเด่น สุทธาคง ที่ถูกดำเนินคดีในความผิดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ ซึ่งเป็นเหตุที่เกิดขึ้นในพื้นที่เกาะดอนคำพวง ตำบลกุดชมพู อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี  ซึ่งมีการตัดโค่นต้นไม้เป็นจำนวนมากและไม้ที่ถูกตัดนั้นมีไม้ยางนาซึ่งเป็นไม้ต้องห้ามรวมอยู่ด้วยหลายต้น ทั้งนี้ เมื่อนายกฤษกรติดตามการพิจารณาคดีแล้วพบว่ายังมีข้อมูลที่ขาดไป ด้วยความหวงแหนต่อทรัพยากรธรรมติในพื้นที่ จึงได้โพสต์ข้อความซึ่งเป็นข้อมูลลงเฟซบุ๊คของตนเองโดยตั้งค่าเป็นสาธารณะ เพื่อนำเสนอข้อมูลที่เห็นว่าตกหล่นและไม่ได้ถูกนำเข้าสู่กระบวนการพิจารณา นอกจากการโพสต์ข้อความเกี่ยวกับการพิจารราคดีของศาลจังหวัดอุบลราชธานีแล้ว นายกฤษกรยังได้โพสต์ข้อความเกี่ยวกับการบุกรุกเกาะและการตัดไม้ต้องห้ามในพื้นที่อย่างต่อเนื่องหลายข้อความ จึงเป็นเหตุให้นายจักรกฤช วิเศษชลธาร ข้าราชการบำนาญกรมสวบสวนคดีพิเศษ ผู้เสียหายที่ 1 ผู้พิพากษาศาลจังหวัดอุบล ผู้เสียหายที่ 2  และศาลจังหวัดอุบลราชธานี ผู้เสียหายที่ 3 แจ้งความดำเนินคดีในข้อหาหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาและหมิ่นศาล ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 198 , 326 และมาตรา 328 นอกจากคดีข้างต้นแล้ว นายกฤษกร  ยังถูกฟ้องหมิ่นประมาทในคดี “ปิดเขื่อนปากมูล” ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี […]

ปัญหาที่ผู้ถูกฟ้องคดีปิดปากเผชิญในชั้นก่อนการพิจารณา

จากการรวบรวมข้อมูลของสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน พบว่า โดยส่วนมากของคดีปิดกั้นการมีส่วนร่วมสาธารณะในประเทศไทยเกิดจากการร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน โดยข้อกล่าวหาที่ถูกนำมาใช้ดำเนินคดี จำนวนมากเป็นความผิดเกี่ยวกับความผิดฐานหมิ่นประมาท ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงและความสงบเรียบร้อย ซึ่งรัฐเป็นผู้เสียหาย ทำให้คดีจำนวนมากถูกดำเนินคดีผ่านช่องทางอัยการ

ส.ส.รังสิมันต์ ถูกฟ้องหมิ่นประมาทหลังอภิปรายเรื่อง #ป่ารอยต่อ

จากกรณีที่นายรังสิมันต์ โรม ส.ส. บัญชีรายชื่อและรองโฆษกพรรคก้าวไกล ได้รับหมายเรียกจากสน.บางขุนนนท์ ลงวันที่ 12 มีนาคม 2563 ให้ไปรับทราบข้อกล่าวหาหมิ่นประมาทผู้อื่นโดยการโฆษณา เนื่องจาก มูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอย 5 จังหวัด โดยพ.อ.ภิญโญ บุญทรงสันติกุล ได้รับมอบอำนาจให้แจ้งความกล่าวหานายรังสิมันต์ จากการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2563 เกี่ยวกับมูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด

ชวนจับตามอง 5 เรื่องกระบวนการยุติธรรมไทย

วันที่ 10 ธันวาคม เนื่องในวันสิทธิมนุษยชนสากล สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนขอเสนอ 5 เรื่องเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมไทย ที่อยากชวนทุกคนมาร่วมกันจับตามอง และย้ำเตือนให้คิดถึงสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในประเทศไทย

1 2