SLAPP

การเลือกปฏิบัติ : ภัยคุกคามความมั่นคงของระบอบประชาธิปไตย

ถ้าผู้มีอำนาจไม่เลือกปฏิบัติ ทำไม? รมว.กระทรวงยุติธรรมจัดปาร์ตี้แล้วเกิดคลัสเตอร์โควิด-19 #ไม่พบการดำเนินคดี แต่ผู้เข้าร่วมการชุมนุมเชิงสัญลักษณ์กลับถูกดำเนินคดี

สำรวจเส้นแบ่งฟ้องหมิ่นประมาทอาญาแบบไหนเข้าข่ายฟ้องปิดปาก

การเหมารวมว่าคดีหมิ่นประมาททางอาญาที่เกิดขึ้นทั้งหมดเป็นคดีฟ้องปิดปากย่อมไม่ถูกนัก เพราะในบางกรณีผู้ฟ้องก็มีเป้าหมายเพื่อปกป้องชื่อเสียงเกียรติยศและแสวงหาความยุติธรรมให้แก่ตนเอง เพื่อแบ่งแยกการฟ้องหมิ่นประมาทอาญาว่าแบบไหนถึงเข้าข่ายเป็นการฟ้องปิดปาก สนส. จึงได้กำหนด 2 เงื่อนไข

สิทธิของเยาวชน บทกฎหมายที่รัฐละเลย

จากกรณีที่เยาวชนออกมาร่วมชุมนุมและแสดงออกทางการเมือง พบว่าเจ้าหน้าที่รัฐได้มีการละเมิดบทบัญญัติของกฎหมาย ทั้งกฎหมายภายในและกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิเด็กและเยาวชน ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของการลิดรอนสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมจนเกินจำเป็น การละเมิดสิทธิของเยาวชนที่ตกเป็นผู้ต้องหา และการดำเนินคดีต่อเยาวชนในลักษณะที่เป็นการเลือกปฏิบัติ

รายงาน “สถานการณ์การฟ้องคดีปิดปากในประเทศไทย: มีกลไกกลั่นกรองแล้วแต่ทำไมแนวโน้มคดียังสูงขึ้นต่อเนื่อง”

รายงานสถานการณ์การฟ้องคดีปีปากในประเทศไทย ปี 2562 ซึ่งเป็นช่วงที่รัฐไทยอธิบายต่อสังคมว่ามีกลไกกลั่นกรองคดีฟ้องปิดปากที่มีประสิทธิภาพอยู่เเล้ว อาทิ ประมวลกฎหมายอาญาวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 161/1 และมาตรา 165/2 พ.ร.บ.อัยการ มาตรา 21 และระเบียบว่าด้วยการสั่งคดีอาญาที่จะไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณะชน หรือจะมีผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติหรือต่อผลประโยชน์อันสำคัญของประเทศ รวมถึงภาครัฐ โดยกรมคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่ผลักดันแผนว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน ซึ่งบรรจุประเด็นเรื่องการคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชน (เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ) จากการถูกฟ้องคดี

ความคืบหน้าคดีธรรมเกษตรฟ้องหมิ่นประมาทอังคณา นีละไพจิตร

4 สิงหาคม 25S63 เวลา 09.00 น. ศาลอาญากรุงเทพใต้นัดไต่สวนมูลฟ้องในคดีบริษัทธรรมเกษตร โดยนายชาญชัย เพิ่มผล เป็นผู้รับมอบอำนาจฟ้องดำเนินคดีต่อกับอังคณา นีละไพจิตร ในข้อหาหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา มาตรา 326, 328 ตามประมวลกฎหมายอาญา จากกรณีการทวีตข้อความสนับสนุนนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่ถูกบริษัทธรรมเกษตรดำเนินคดีก่อนหน้านี้ พร้อมแนบลิ้งก์ที่ซึ่งเชื่อมโยงไปยังแถลงการณ์ยุติการฟ้องคดีหมิ่นประมาทต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชน โดยเนื้อหาในเเถลงการณ์ได้อ้างถึงคลิปวิดีโอที่อดีตเเรงงานข้ามชาติของบริษัทธรรมเกษตรได้ให้สัมภาษณ์ในทวีตเตอร์ส่วนตัว 

ทำไมสถิติคดีฟ้องปิดปาก (SLAPP) ถึงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง:ปัญหาของกลไกกลั่นกรองคดีชั้นอัยการ

เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2563 กระทรวงยุติธรรมมีความเห็นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับรายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทยประจำปี 2562 ที่จัดทำโดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โดยความเห็นตอนหนึ่งระบุว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีกลไก หลายชั้นที่สามารถป้องกันกลั่นกรองคดีฟ้องปิดปากได้  หนึ่งในนั้นคือ ชั้นอัยการ โดยพนักงานอัยการสามารถใช้ช่องทางตามพระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553 มาตรา 21 สั่งไม่ฟ้องคดีเพื่อป้องกันการฟ้องร้องคดีที่ไม่สุจริตได้ ถ้าพนักงานอัยการเห็นว่าการฟ้องคดีอาญาจะไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชน หรือจะมีผลกระทบต่อความปลอดภัย หรือความมั่นคงของชาติ หรือต่อผลประโยชน์อันสำคัญของประเทศให้เสนอต่ออัยการสูงสุดเพื่อสั่งไม่ฟ้องได้

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คดีบริษัทธรรมเกษตรฟ้องหมิ่นประมาท งามศุกร์ รัตนเสถียรอาจารย์ประจำสถาบันสิทธิฯ

16 กรกฎาคม 2563 ศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น คดีบริษัทธรรมเกษตร โดยนายชาญชัย เพิ่มพล เป็นผู้รับมอบอำนาจดำเนินคดีแทน ฟ้องดำเนินคดีต่องามศุกร์ รัตนเสถียร อาจารย์ประจำสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ในข้อหาหมิ่นประมาท ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326 และมาตรา 328

สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกท่ามกลางสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ระบาด : กรณีจับ-ดำเนินคดีพ.ร.บ.คอมฯ ผู้กลับจากสเปน โพสต์เล่า ไม่มีมาตรการตรวจโควิดที่สนามบิน

กรณีดนัย อุศมา โพสต์ข้อความแสดงความคิดเห็นบน Facebook ในเชิงการตรวจสอบการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยระบุว่า “ตนเดินทางจากบาเซโลน่า ที่สนามบินบาเซโลน่า ตนและคนอื่นๆถูกตรวจร่างกายอย่างเข้มงวดก่อนจะขึ้นเครื่อง มาต่อเครื่องที่อาบูดาบี ต้องเดินผ่าน 3 ขั้นตอนในการตรวจร่างกายก่อนขึ้นเครื่อง จนบินมาถึงสนามบินสุวรรณภูมิไม่ได้รับการตรวจสุขภาพใดๆ” และถูกเข้าจับกุมเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2563 ในข้อหา “นำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน” ซึ่งเป็นการถูกจับกุมในระหว่างที่นายดนัยกำลังกักกันตัวเองตามนโยบายของภาครัฐที่ให้กักตัว 14 วันหลังจากกลับจากประเทศกลุ่มเสี่ยง และเป็นการจับโดยที่ไม่มีการออกหมายเรียกมาก่อน

ข้อเสนอถึง ประธานคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน ประเด็นเรื่องการดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อปิดกั้นการมีส่วนร่วมสาธารณะ(SLAPPs)

วันนี้ (16 มกราคม 2562) สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) เข้ายื่นข้อเสนอประเด็นเรื่องการดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อปิดกั้นการมีส่วนร่วมสาธารณะ (SLAPPs) ต่อประธานคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน เนื่องจากในปัจจุบันประชาชนซึ่งใช้สิทธิและเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ เพื่อเรียกร้องการปกป้องคุ้มครองสิทธิของตนเองหรือผู้อื่น ต้องเผชิญกับการถูกฟ้องคดีทั้งคดีแพ่งและอาญาต่อศาล

SLAPP Data Center: ฐานข้อมูลคดีฟ้องปิดปากในประเทศไทย

สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ได้จัดทำฐานข้อมูลคดีฟ้องปิดปากในประเทศไทย (SLAPP DATA CENTER ) ขึ้นเพื่อรวบรวมคดีที่เข้าข่ายการฟ้องคดีเพื่อปิดกั้นการมีส่วนร่วมสาธารณะในไทยให้เป็นพื้นที่สำหรับติดตามและค้นคว้าศึกษา

1 2 3