เสรีภาพในการชุมนุม

ชุมนุมสาธารณะ คุ้มครองเท่าไหร่ถึงจะเพียงพอ?

ในการชุมนุมสาธารณะ เจ้าหน้าที่รัฐมีหน้าที่ให้ความสะดวกแก่การชุมนุมสาธารณะตั้งแต่ระยะก่อนมีการชุมนุมไปจนถึงระยะหลังการชุมนุมเสร็จสิ้นลง เพื่อให้การชุมนุมเป็นไปได้อย่างราบรื่นและสอดคล้องกับพันธกรณีของรัฐที่มีหน้าที่ต้องคุ้มครองและประกันเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบตามกติการะหว่างประเทศ ทั้งนี้ แม้การจำกัดเสรีภาพในการชุมนุมและการสลายการชุมนุมจะสามารถกระทำได้ภายใต้กรอบของกฎหมาย การกระทำดังกล่าว ก็ย่อมต้องเป็นไปตามมาตรฐานสากลที่กำหนดไว้ในกติการะหว่างประเทศและแนวปฏิบัติของสหประชาชาติด้วย

เปิดหนังสือถึงประธานศาลฎีกา : “ศาล” บทบาทสำคัญ แก้ไขวิกฤติศรัทธาในกระบวนการยุติธรรม

วันที่ 24 สิงหาคม 2563 สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ได้ส่งหนังสือถึงประธานศาลฎีกา ขอให้สถาบันตุลาการดำรงไว้ซึ่งบทบาทในการอำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชน เสริมสร้างนิติธรรมให้เข้มแข็ง การออกจดหมายเปิดผนึกดังกล่าว สืบเนื่องมาจากกรณีการชุมนุมสาธารณะของกลุ่มเยาวชนปลดแอก ณ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2563  โดยมีข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล 3 ประการ คือ 1. ประกาศยุบสภา 2. รัฐหยุดคุกคามประชาชน 3. ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ซึ่งในวันดังกล่าวมีประชาชนเข้าร่วมการชุมนุมเป็นจำนวนมาก โดยต่อมาเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2563 เจ้าหน้าที่ตำรวจได้นำหมายจับเข้าจับกุม นายอานนท์ นำภา และ นายภานุพงศ์ จาดนอก ผู้ที่เข้าร่วมปราศรัยในการชุมนุมของกลุ่มเยาวชนปลดแอก โดยไม่มีการออกหมายเรียกบุคคลดังกล่าวมาก่อน ด้วยอ้างเหตุว่าโทษสูงสุดของความผิดที่ระบุในหมายจับ คือ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 ซึ่งมีโทษเกินกว่า 3 ปี อันสามารถเป็นเหตุให้ออกหมายจับได้โดยที่ไม่ต้องออกหมายเรียกก่อน ต่อมานายพริษฐ์ ชิวารักษ์ ก็ถูกจับกุมตามหมายจับ จากการชุมนุมของกลุ่มเยาวชนปลดแอกเช่นเดียวกัน และภายหลังยังมีการจับกุมนักกิจกรรมประชาธิปไตยอีกหลายคนจากการชุมนุมสาธารณะที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วประเทศ อีกทั้งในกรณีการออกหมายจับนายอานนท์ นายภานุพงศ์ […]

เส้นทาง “เดิน..เทใจให้เทพา” ภายใต้กฎหมายชุมนุมสาธารณะ

เราจะไปยื่นหนังสือต่อนายก ปกป้องบ้านของเรา เราเดินกันไปอย่างสงบ แล้วทำไมเราจะทำไม่ได้  ผมมาเดินตั้งแต่วันแรก ไม่เคยคิดว่าจะโดยจับ จำเลยหมายเลข 13 เจ้าหน้าที่ประกบผมสามคน เขาจับแขนผม บอกว่าขอเชิญตัว ผมบอกว่า ผมบอกว่าผมขอเดินไปเอง เขาให้ผมไปขึ้นรถตู้ ตอนนั้นเจ้าหน้าที่ไม่ได้แจ้งข้อหาอะไรผมเลย จำเลยหมายเลข 1 ในทางหลักการแล้ว เราถือว่าเสรีภาพในการชุมนุม  เป็นเสรีภาพขั้นพื้นฐานในสังคมประชาธิปไตย เพราะหลักการพื้นฐานประการหนึ่งของสังคมประชาธิปไตยคือ หลักการมีส่วนร่วมทางการเมือง โดยประชาชนต้องสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ ซึ่งเสรีภาพในการชุมนุมเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ทำให้การมีส่วนร่วมทางการเมืองและนโยบายสาธารณะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะจะช่วยให้ประชาชนได้แสดงออกซึ่งความคิดเห็นไปยังตัวแทน และยังเปิดพื้นที่ในถกเถียงแลกเปลี่ยน การโน้มน้าวจิตใจของผู้คนในสังคมให้มีเสียงสนับสนุนหรือคัดค้านข้อเสนอของตน และที่สำคัญเสรีภาพในการชุมนุมยังถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการต่อรองของประชาชนคนด้อยอำนาจเพื่อให้เข้าถึงสิทธิทางการเมือง เข้าทรัพยากร และเข้าถึงสิทธิเสรีภาพอื่นๆอีกด้วย อย่างไรก็ดี ในมุมมองของรัฐที่ไม่มีวัฒนธรรมประชาธิปไตยและค่อนไปทางอำนาจนิยม มักจะมองว่าการใช้เสรีภาพในการชุมนุมของประชาชนเป็นการก่อความวุ่นวาย ทำให้เกิดความไม่สงบ และเป็นพวกไม่หวังดีต่อชาติบ้านเมือง รัฐจึงต้องหาวิธีจัดการ เสรีภาพในการชุมนุม เป็นสิทธิมนุษยชนประการหนึ่งที่ถูกรับรองไว้ในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and  Political Rights (ICCPR)) ข้อ 21 ที่ระบุว่า “สิทธิในการชุมนุมโดยสงบย่อมได้รับการรับรอง การจำกัดการใช้สิทธินี้จะกระทำมิได้นอกจากจะกำหนดโดยกฎหมายและเพียงเท่าที่จำเป็นสำหรับสังคมประชาธิปไตย เพื่อประโยชน์แห่งความมั่นคงของชาติ หรือความปลอดภัย ความสงบเรียบร้อย การสาธารณสุข […]

ศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีอภิชาติชู้ป้ายต้านรัฐประหาร ระบุประกาศ คสช. ชอบตาม “ระบอบแห่งการรัฐประหาร” แต่ด้วยจำเลยชุมนุมโดยสงบ จึงให้ยกฟ้องข้อหามั่วสุมฯก่อความวุ่นวาย

ศาลอุทธรณ์เห็นว่าประกาศ คสช. ฉบับที่ 7/2557 ถือเป็นกฎหมายตาม “ระบอบแห่งการรัฐประหาร” แล้ว ไม่จำเป็นต้องอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ. 2457 มารองรับอีก และม่จำเป็นต้องมีการลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาก่อน ส่วนผลของคำพิพากษานั้น ศาลเห็นว่าจำเลยชุมนุมโดยสงบ ไม่เข้าข่ายเป็นการมั่วสุมฯ ก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง จึงให้ยกฟ้องในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 215 วรรคแรก จึงยังคงให้ลงโทษตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ 3/2558 เรื่องการรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของชาติ  ข้อ 12  แต่ด้วยพฤติการณ์แห่งคดีไม่ร้ายแรง จึงยกโทษจำคุกตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ให้คงไว้เพียงโทษปรับ 6,000 บาท อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ฉบับเต็ม วันนี้ (31 พฤษภาคม 2561) เวลาประมาณ 09.30 น. ณ ศาลแขวงปทุมวัน ศาลอุทธรณ์อ่านคำพิพากษาคดีนายอภิชาตชูป้ายต้านรัฐประหารหน้าหอศิลป์กรุงเทพฯ เมื่อปี 2557 หลังจากเลื่อนอ่านคำพิพากษามาแล้ว 3 ครั้ง สำหรับบรรยากาศที่ศาลแขวงปทุมวันในช่วงเช้าวันนี้ มีความเข็มงวดเป็นพิเศษ เจ้าหน้าที่ศาลมายืนต้อนรับผู้คนที่เข้าออกประตูเครื่องตรวจ มีการสอบถามผู้เดินผ่านประตูตามปกติว่ามาติดต่อเรื่องอะไร แต่เมื่อมีการแจ้งว่ามาฟังคำพิพากษาคดีนายอภิชาต เจ้าหน้าที่จะแสดงท่าทีให้ความสนใจสอบถามเป็นพิเศษว่ามีความเกี่ยวข้องกับคดีอย่างไร เจ้าหน้าที่บางคนก็คาดเดาว่าเราเป็นนักข่าวหรือไม่ หลังจากนั้นจะมีการขอตรวจกระเป๋าตามปกติ แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ หากเจ้าหน้าที่พบว่าในกระเป๋ามีคอมพิวเตอร์พกพามาด้วย เขาจะไม่อนุญาตให้เข้าไปในห้องพิจารณา […]

31 พฤษภาคมนี้ ศาลอุทธรณ์นัดฟังคำพิพากษาคดีอภิชาตชูป้ายต้านรัฐประหารหน้าหอศิลป์กรุงเทพฯ ปี 2557 อีกครั้งหลังเลื่อนมาสามครั้ง

ขอเชิญสื่อมวลชนและผู้ที่สนใจเข้าร่วมฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีนายอภิชาต ชูป้ายต้านรัฐประหารหน้าหอศิลป์กรุงเทพฯ ปี 2557 ในวันที่ 31 พฤษภาคม 2561 เวลา 09.00 น. ณ ศาลแขวงปทุมวัน ศาลอุทธรณ์ได้เลื่อนฟังคำพิพากษามาแล้ว 3 ครั้ง ครั้งแรกเลื่อนมาจากวันที่ 30 สิงหาคม 2560 ครั้งที่สองเลื่อนมาจากวันที่ 16 พฤศจิกายน 2560 และครั้งที่สามเลื่อนมาจากวันที่ 31 มกราคม 2561 คดีนี้เกี่ยวข้องกับการต่อต้านรัฐประหารคดีแรกๆ ย้อนกลับเมื่อ 4 ปีที่แล้ว วันที่ 23 พฤษภาคม 2557 ภายหลังการรัฐประหารของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพียงหนึ่งวัน กลุ่มประชาชนจำนวนหนึ่งได้ออกมาทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ในพื้นที่บริเวณหน้าหอศิลป์ฯ เพื่อคัดค้านการรัฐประหาร  ซึ่งจ่าสิบเอกอภิชาต พงษ์สวัสดิ์ ก็เป็นหนึ่งในคนที่เข้าร่วมทำกิจกรรมในครั้งนั้น  กลุ่มประชาชนที่ออกมาคัดค้านรัฐประหารในวันนั้นได้แสดงสัญลักษณ์ที่แสดงออกถึงการคัดค้านรัฐประหาร ส่วนใหญ่จะเป็นป้ายข้อความในกระดาษ A 4 ที่เตรียมกันมาเอง ในส่วนของนายอภิชาตได้มีการชูป้ายข้อความว่า “ไม่ยอมรับอำนาจเถื่อน”  และในช่วงค่ำของวันนั้นเอง เจ้าหน้าที่ทหารได้เข้าเคลียร์พื้นที่และสลายกลุ่มประชาชน  นายอภิชาตถูกทหารจับกุมและถูกนำตัวไปควบคุมไว้ภายใต้อำนาจของกฎอัยการศึก 7 […]

แถลงการณ์ ขอให้ยุติการใช้คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 ปิดกั้นเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ และปล่อยตัวผู้ชุมนุมกลุ่มคนอยากเลือกตั้งโดยทันที

เผยแพร่ 22 พฤษภาคม 2561 ตามที่กลุ่มประชาชนในนาม “กลุ่มคนอยากเลือกตั้ง” ได้มีการจัดการชุมนุมในวาระครบรอบ 4 ปีการรัฐประหารของ คสช. เพื่อเรียกร้องให้มีการจัดเลือกตั้งภายในปลายปี 2561 และให้ คสช. หยุดสืบทอดอำนาจ การชุมนุมเริ่มขึ้นในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ตั้งแต่ช่วงเย็นของวันที่ 21 พฤษภาคม 2561 และมีการเคลื่อนขบวนไปยังทำเนียบรัฐบาลตั้งแต่ช่วงเช้าวันที่ 22 พฤษภาคม 2561 แต่ได้ถูกสกัดกั้นจากเจ้าหน้าตำรวจหลายกองร้อยทำให้ผู้ชุมนุมไม่สามารถเคลื่อนขบวนไปถึงทำเนียบรัฐบาลได้ และในที่สุดช่วงเวลาประมาณ 15.00 น. เจ้าหน้าที่ก็ได้ทำการจับกุมแกนนำการชุมนุมและผู้ชุมนุม และแกนนำบางส่วนตัดสินใจเข้ามอบตัว รวมแล้วมีผู้ถูกควบคุมตัวอย่างน้อย 14 คน โดยถูกแยกควบคุมตัวไว้ที่สถานีตำรวจนครบาลชนะสงคราม และสถานีตำรวจนครบาลพญาไทนั้น สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน มีความกังวลอย่างยิ่งต่อการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่ในกรณีดังกล่าว และมีความเห็นว่าการชุมนุมเรียกร้องให้มีการเลือกตั้ง ถือเป็นสิทธิในการกำหนดเจตจำนงของตนเองในทางการเมืองของประชาชน และเป็นเรื่องที่ชอบธรรมในสังคมที่เรียกตนเองว่าเป็นประชาธิปไตย โดยสิทธิประการดังกล่าวได้ถูกรับรองไว้ในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ดังนั้น รัฐควรที่จะเคารพสิทธิที่จะแสดงออกถึงเจตจำนงอย่างเสรีของประชาชน ไม่ควรมองว่าเป็นเรื่องที่ขัดต่อความมั่นคงและความสงบเรียบร้อย และผู้ที่แสดงออกถึงเจตจำนงดังกล่าวไม่ควรถูกดำเนินคดี การจัดกิจกรรมของกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง ถือเป็นการใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และอยู่ในขอบข่ายของการชุมนุมโดยสงบตามที่ถูกรับรองไว้ในมาตรา 34 และ 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย […]

กฎหมายห้ามชุมนุมในรัฐทหาร (ตอนที่ 2) โดย เลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์

  ภาพจาก เพจ People GO network เลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ 28 มีนาคม 2561 อ่านบทความกฎหมายห้ามชุมนุมในรัฐทหาร ตอนที่ 1 องค์ประกอบหลักของการชุมนุมสาธารณะตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558  หรือ ‘กฎหมายชุมนุมสาธารณะ’ เกี่ยวข้องอยู่สองเรื่อง  เรื่องแรกเกี่ยวข้องกับลักษณะหรือประเภทของ ‘กิจกรรม’ ตามมาตรา 3[[1]] ที่กำหนดว่ากิจกรรมประเภทใดบ้างอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายฉบับนี้ที่ต้องแจ้งการชุมนุมต่อผู้รับแจ้งหรือเจ้าพนักงานเสียก่อนจึงจะได้รับความคุ้มครองและอำนวยความสะดวกให้เกิดการชุมนุมได้  ส่วนลักษณะหรือประเภทของกิจกรรมใดที่ไม่อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายฉบับนี้ก็สามารถทำได้เลยโดยไม่ต้องแจ้งการชุมนุมก่อน  เรื่องที่สองเกี่ยวข้องกับ ‘สถานที่’ ตามมาตรา 7[[2]] ที่ห้ามไม่ให้มีการชุมนุมในสถานที่บางประเภท  ส่วนการชุมนุมในสถานที่อื่นนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในมาตรา 7 ให้ถือว่าอยู่ในบังคับที่ต้องได้รับความคุ้มครองและอำนวยความสะดวกตามกฎหมายฉบับนี้  โดยมีเงื่อนไขไม่กีดขวางทางเข้าออก หรือรบกวนการปฎิบัติงานหรือการใช้บริการสถานที่สำหรับสถานที่บางประเภทตามมาตรา 8[[3]]  แต่ไม่ได้ห้ามการชุมนุมในสถานที่บางประเภทตามที่ระบุไว้ในมาตรา 8 แต่อย่างใด ดังนั้น  ถ้าการชุมนุมใดไม่ใช่กิจกรรมและสถานที่ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 3 และมาตรา 7 ก็ควรได้รับความคุ้มครองและอำนวยความสะดวกให้ชุมนุมได้ภายใต้กฎหมายฉบับนี้  โดยเฉพาะกิจกรรมที่ถูกยกเว้นให้ไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายฉบับนี้ตามมาตรา 3 ยิ่งสามารถทำได้เลยโดยไม่ต้องแจ้งการชุมนุมตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในกฎหมายฉบับนี้ ประเด็นสำคัญต่อเนื่องมา  นั่นคือ  เมื่อพิจารณาในแง่ของ ‘กิจกรรม’ และ ‘สถานที่’ อันเป็นองค์ประกอบหลักตามกฎหมายฉบับนี้แล้ว […]

ศาลอุทธรณ์เลื่อนอ่านคำพิพากษาครั้งที่ 3 คดีอภิชาตชูป้ายต้านรัฐประหาร เหตุพิจารณายังไม่แล้วเสร็จ

31 มกราคม 2561 เวลา 10.00 น. ศาลแขวงปทุมวัน ได้นัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีนายอภิชาต พงษ์สวัสดิ์ ข้อหาขัดคำสั่ง คสช. ฉบับที่ 7/2557 เรื่องห้ามชุมนุมทางการเมือง และชุมนุมมั่วสุม ก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215วรรคแรก มาตรา216 และมาตรา 368 (คดีหมายเลขดำที่ 1097/2559 คดีหมายเลขแดงที่ 9075/2559) คดีนี้ ศาลอุทธรณ์ได้เลื่อนอ่านคำพิพากษามาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรกวันที่ 30 สิงหาคม 2560 และครั้งที่สองวันที่ 16 พฤศจิกายน 2560 บรรยากาศในศาลวันนี้ เจ้าหน้าที่หน้าบัลลังค์คอยถามคนที่เข้ามาในห้องพิจารณาว่าเป็นใคร มาจากไหน เกี่ยวข้องกับคดียังไง ถ้าบอกว่าเกี่ยวข้องกับฝ่ายจำเลย เจ้าหน้าก็จะให้ไปนั่งฝั่งเดียวกับจำเลย ทำให้ผู้ที่เข้ามาให้กำลังใจหรือมาสังเกตการณ์ต้องนั่วเบียดเสียดกัน ทั้งที่ที่นั่งอีกฝั่งค่อนข้างว่าง ผู้พิพากษาศาลแขวงออกนั่งบัลลังค์เวลาประมาณ 10.00 น. และได้แจ้งแก่นายอภิชาตและทนายความว่า ศาลอุทธรณ์ให้เลื่อนฟังคำพิพากษาออกไปเป็นวันที่ 31 พฤษภาคม 2561 เวลา […]

คำสั่งศาลปกครองคดีเดินมิตรภาพ: ผลิตผลของวัฒนธรรมทางกฎหมายที่มาจากเบื้องล่าง

สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์ คณะนิติศาสตร์ ม.เชียงใหม่ การเดินมิตรภาพเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจเนื่องจากเป็นกรณีที่ภาคประชาชนสามารถช่วงชิงการใช้การตีความกฎหมายจากการพยายามผูกขาดของหน่วยงานรัฐและสามารถใช้กฎหมายไปกำกับควบคุมการใช้อำนาจของรัฐได้สำเร็จในระดับหนึ่ง ทั้งที่อยู่ภายใต้รัฐบาลเผด็จการที่กุมอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด อีกทั้งยังเป็นการแสดงให้เห็นความสำคัญของภาคประชาชนในการต่อสู้เพื่อสร้างวัฒนธรรมทางกฎหมายที่เคารพสิทธิเสรีภาพประชาชนและปฏิเสธวัฒนธรรมทางกฎหมายแบบอำนาจนิยมด้วยปฏิบัติการทั้งในและนอกสถาบันทางกฎหมายที่เป็นทางการ การต่อสู้ครั้งแรกของภาคประชาชนกับรัฐบาลเกิดขึ้นในวันที่ 20 มกราคม 2561 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (รังสิต) เมื่อรัฐบาลพยายามปิดกั้นและไม่อนุญาตให้ทีมเดินมิตรภาพที่ชุมนุมกันอยู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (รังสิต) จัดกิจกรรมเดินจากกรุงเทพมหานครไปยังจังหวัดขอนแก่น โดยอ้าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 และคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2558 เป็นฐานในการใช้อำนาจดังกล่าว การปะทะกันครั้งแรกเกิดขึ้นนอกสถาบันทางกฎหมายที่เป็นทางการ เป็นการต่อสู้กันบนท้องถนน ภาคประชาชนพยายามโต้แย้งการตีความและบังคับใช้กฎหมายของรัฐด้วยการยืนยันว่าสิทธิในการชุมนุมและการเดินของพวกเขาเป็นสิทธิที่ได้รับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญและพวกเขาได้ปฏิบัติตามที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 บัญญัติไว้แล้วทุกประการ พวกเขาจึงมีสิทธิที่จะชุมนุมและเดิน ทีมเดินมิตรภาพยืนยันความคิดความเชื่อของพวกเขา ด้วยการแบ่งกลุ่มผู้ชุมนุมบางส่วนออกไปเดินตามที่วางแผนไว้ทั้งที่เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ยินยอม การต่อสู้ยกแรกระหว่างวัฒนธรรมทางกฎหมายแบบอำนาจนิยมกับวัฒนธรรมทางกฎหมายแบบเสรีประชาธิปไตยบนท้องถนน อาจถือได้ว่าภาคประชาชนเป็นฝ่ายมีชัยเหนือรัฐบาล เพราะนอกจากเจ้าหน้าที่ตำรวจจะไม่สามารถยุติการชุมนุม ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ตามที่ต้องการแล้ว ประชาชนยังสามารถยืนยันสิทธิด้วยการเดินตามที่วางแผนไว้ได้ (แม้จะต้องปรับแผนจากที่จะเดินหลายสิบคนมาเป็นเดินครั้งละ 4 คน) โดยที่ตำรวจไม่สามารถยุติกิจกรรมเดินมิตรภาพได้ ในแง่นี้อาจกล่าวได้ว่าการยืนยันสิทธิของประชาชนมีชัยเหนือการใช้อำนาจควบคุมโดยรัฐ อย่างไรก็ตามรัฐบาลตอบโต้ปฏิบัติการของภาคประชาชนด้วยการแจ้งความดำเนินคดีกับแกนนำกลุ่มเดินมิตรภาพจำนวน 8 คน นี่เป็นอีกครั้งที่รัฐพยายามสร้างวัฒนธรรมทางกฎหมายแบบอำนาจนิยมด้วยการใช้กลไกทางกฎหมายไปจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยครั้งนี้เป็นการใช้สถาบันทางกฎหมายที่เป็นทางการคือการใช้คดีอาญาเป็นเครื่องมือ น่าเชื่อได้ว่าการดำเนินคดีอาญาของรัฐบาลในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปิดกั้นการแสดงออกของภาคประชาชนยิ่งกว่าต้องการให้แกนนำทั้ง 8 ต้องรับโทษตามกฎหมาย การฟ้องคดีลักษณะนี้มีชื่อเฉพาะในทางวิชาการว่า “การฟ้องคดียุทธศาสตร์เพื่อปิดกั้นการมีส่วนร่วมและการแสดงออกของประชาชน” […]

ใบแจ้งข่าว : 31 มกราคมนี้ ศาลอุทธรณ์นัดฟังคำพิพากษาคดีนายอภิชาติชูป้ายต้านรัฐประหารหน้าหอศิลป์กรุงเทพฯ ปี 2557 ลุ้นบรรทัดฐานสิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญและเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ

วันที่ 31 มกราคม 2561 เวลา 10.00 น. ณ ศาลแขวงปทุมวัน ขอเชิญสื่อมวลชนและผู้ที่สนใจเข้าร่วมฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีความผิดขัดคำสั่ง คสช. ฉบับที่ 7/2557 เรื่องห้ามชุมนุมทางการเมือง และชุมนุมมั่วสุม  ก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215วรรคแรก มาตรา216 และมาตรา 368 (คดีหมายเลขดำที่ 1097/2559 คดีหมายเลขแดงที่ 9075/2559)  ระหว่างพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด กับ จ่าสิบเอกอภิชาต พงษ์สวัสดิ์ คดีนี้ ศาลอุทธรณ์ได้เลื่อนฟังคำพิพากษามาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรกวันที่ 30 สิงหาคม 2560 และครั้งที่สองวันที่ 16 พฤศจิกายน 2560 คดีนี้เกี่ยวข้องกับการต่อต้านรัฐประหารคดีแรกๆ ย้อนกลับเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2557 ภายหลังการรัฐประหารของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพียงหนึ่งวัน กลุ่มประชาชนจำนวนหนึ่งได้ออกมาทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ในพื้นที่บริเวณหน้าหอศิลป์ฯ เพื่อคัดค้านการรัฐประหาร  ซึ่งจ่าสิบเอกอภิชาต พงษ์สวัสดิ์ […]

1 2 3