สิทธิในชีวิต

แถลงการณ์ ประนามเหตุระเบิดในโรงพยาบาล และเรียกร้องให้มีการค้นหาความจริงอย่างโปร่งใสและเป็นธรรม

ตามที่ปรากฎข่าวตามสื่อมวลชนหลายสำนักว่าเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม เวลาประมาณ 10.00 น. ได้เกิดเหตุระเบิดบริเวณห้องตรวจโรคนายทหารชั้นยศนายพล และที่ช่องจ่ายยา ช่องการเงิน ชั้น 1 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 ปี รพ.พระมงกุฎเกล้า ส่งผลให้ผู้ที่เข้ามาใช้บริการได้รับบาดเจ็บ 24 ราย และมีการยื่นยันจากเจ้าหน้าที่ที่เข้าตรวจสอบที่เกิดเหตุเบื้องต้นพบแผงวงจรไอซีทามเมอร์ เศษสายไฟ และเศษถ่านไฟฉายตกอยู่ในพื้นที่ คาดว่าเป็นอุปกรณ์ส่วนหนึ่งของระเบิด สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน มีความห่วงกังวลต่อสถานการณ์ความรุนแรงดังกล่าว และมีความเห็นว่า สิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกายเป็นสิทธิมนุษยชนที่สัมบูรณ์ ซึ่งถูกรับรองไว้โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 28 และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง ดังนั้น ไม่ว่ารัฐหรือบุคคลอื่นใดก็ไม่อาจล่วงละเมิดสิทธิดังกล่าวได้ การใช้โรงพยาบาลเป็นเป้าหมายของการก่อเหตุรุนแรง เป็นสิ่งที่ขัดต่อหลักกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ อันเป็นหลักการที่ได้รับการยอมรับในทางสากล โดยเฉพาะอนุสัญญาเจนีวาที่กำหนดหลักการมูลฐานสำคัญให้โรงพยาบาลเป็นเขตปลอดภัย การห้ามใช้โรงพยาบาล หรือสถานที่ที่มีเครื่องหมายกาชาดในทางที่ผิด หรือเพื่อประโยชน์แก่คู่พิพาทฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แม้กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศดังกล่าวจะเป็นกติกาที่กำหนดไว้เพื่อใช้ในสภาวะสงคราม แต่ในความขัดแย้งรุนแรงโดยทั่วไปก็ควรเคารพหลักการดังกล่าวด้วยเช่นกัน ในเหตุการณ์ความรุนแรงดังกล่าว รัฐจำเป็นต้องเร่งค้นหาความจริงที่เกิดขึ้นอย่างโปร่งใสและเป็นธรรม ในกระบวนการค้นหา จับกุมหรือควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยว่ากระทำความผิดจำเป็นต้องเคารพหลักการพิจารณาคดีที่เป็นธรรม ที่ถูกกำหนดในรัฐธรรมนูญและกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง ซึ่งกำหนดให้ห้ามจับกุมหรือควบคุมตัวบุคคลโดยอำเภอใจ ผู้ถูกจับกุมจะต้องได้รับแจ้งถึงเหตุผลในการจับกุม ได้รับแจ้งถึงข้อหาโดยพลัน และบุคคลที่ต้องหาว่ากระทำความผิดต้องได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานในการติดต่อกับทนายความและญาติ สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน จึงมีข้อเรียกร้องต่อสถานการณ์ดังกล่าวดังต่อไปนี้ 1.ขอประนามการก่อความรุนแรงในพื้นที่โรงพยาบาล […]