พรกฉุกเฉิน

จดหมายเปิดผนึก ขอให้พิจารณายกเลิกการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และรับฟังประชาชน เพื่อแก้ปัญหาโควิด 19

สถานการณ์โรคไวรัสโควิด-19 ถือได้ว่าเป็นเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้คนในทุกประเทศทั่วโลก และมีผลกระทบต่อสังคมในหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ หรือความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและสุขภาพของประชาชน เหตุการณ์นี้มอบโจทย์ความท้าทายให้แก่ผู้บริหารและประชาชนของแต่ละประเทศว่าจะผ่านพ้นสถานการณ์ไปได้อย่างไร โดยไม่ทิ้งผู้ใด หรือคนกลุ่มใดไว้ข้างหลัง โดยที่ผ่านมาองค์กรสหประชาชาติได้ออกคำแนะนำให้แต่ละประเทศมีมาตรการที่สามารถควบคุมการระบาดของโรค และยังเคารพต่อสิทธิมนุษยชนสำหรับกลุ่มคนที่หลากหลาย เพราะพื้นฐานของการก้าวผ่านสถานการณ์โรคระบาดนี้อย่างยั่งยืน ภาครัฐต้องเคารพสิทธิของประชาชนและได้รับความร่วมมือที่ดีของประชาชนทุกคน ในประเทศไทยก็ใช้ทั้งมาตรการที่ออกมาควบคุมการใช้ชีวิตและการสร้างความตระหนักให้เกิดในหมู่ประชาชน คณะรัฐบาล นำโดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้ประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 หรือ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและออกข้อกำหนดมาเพื่อควบคุมสถานการณ์โรคระบาด โดยรายละเอียดของมาตรการยับยั้งโรคระบาดนั้นจะเป็นไปตามข้อกำหนดออกตามมาตรา 9 ฉบับที่ 1-7 ซึ่งมีข้อจำกัดการใช้พื้นที่ ปิดสถานที่เสี่ยง การห้ามกักตุนสินค้า ห้ามชุมนุมหรือการนำเสนอข่าวต่างๆ อีกทั้งมีคำสั่งห้ามออกจากเคหสถานตั้งแต่เวลา 23.00 – 04.00 น. ซึ่งจากเดิมเป็นเวลา 22.00 – 04.00 น. ยกเว้นผู้ที่มีความจำเป็น และได้มีการต่ออายุออกไปถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2563 สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) ได้รับเสียงสะท้อนจากสมาชิก และเครือข่ายผู้ที่ทำงานผลักดันประเด็นทางสังคม ถึงผลกระทบและความไม่เหมาะสมของการบังคับใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และมาตรการบางประการ ถึงแม้จะมีการผ่อนมาตรการบางประการในปัจจุบัน แต่ยังไม่ตอบสนองถึงปัญหาของกลุ่มคนที่หลากหลาย อีกทั้งมาตรการเยียวยาต่อสถานการณ์ที่ไม่ทั่วถึง จึงส่งผลให้ผู้คนยิ่งได้รับผลกระทบและความยากลำบากในการใช้ชีวิตมากยิ่งขึ้น […]

ไม่ใช่แค่พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯควบคุมโควิด-19 สามจังหวัดชายแดนใต้ ยังถูกควบคุมด้วยกฎหมายพิเศษอีก 2 ฉบับ ไม่ใช่เฉพาะภาวะฉุกเฉิน-จำเป็น : อับดุลเลาะห์ หะยีอาบู ประธานมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม ประจำจังหวัดยะลา

สถานการณ์โควิด19 ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ค่อนข้างน่าเป็นห่วง เนื่องจากมีผู้ติดเชื้อจำนวนเยอะพอสมาควรเมื่อเทียบกับพื้นที่จังหวัดอื่น เหตุเพราะมีผู้ที่เดินทางกลับมาจากประเทศมาเลเซีย และพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ยังเป็นพื้นที่ที่ถูกควบคุมด้วยกฎหมายพิเศษทับซ้อนกันถึง 3 ฉบับอยู่แล้วมาเนิ่นนานกว่า 10 ปี