นักศึกษายะลา

คดีทรมานนักศึกษายะลา : บทพิสูจน์ความก้าวหน้ากระบวนการยุติธรรมไทย โดย จันทร์จิรา จันทร์แผ้ว

คดียุทธศาสตร์อีกคดีหนึ่งที่เครือข่ายฯ เรียกกันติดปากคือ “คดีนักศึกษายะลา” เป็น คดีที่นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา ถูกเจ้าหน้าที่ทหารควบคุมตัวและทรมานให้รับสารภาพ เนื่องจากเป็นผู้ต้องสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับการก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดน ภาคใต้ โดยเจ้าหน้าที่ทหารใช้อำนาจควบคุมตัวตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ.๒๔๕๗ เหตุควบคุมตัวและการทรมานดังกล่าวเกิดขึ้นในเดือนมกราคม ๒๕๕๑ ที่หน่วยเฉพาะกิจที่ ๑๑ จังหวัดยะลา และค่ายอิงคยุทธบริหาร จังหวัดปัตตานี ที่เรียกกันติดปากว่าคดีนักศึกษายะลาก็เพราะว่าผู้ถูกควบคุมตัวและทรมานให้ รับสารภาพทั้งหมดรวม ๗ คน ยังเป็นนักศึกษาและบางส่วนทำกิจกรรมกับชุมชนและชาวบ้าน โดยเป็นสมาชิกของสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ โดยหวังว่าการทำกิจกรรมของตนจะเป็นส่วนหนึ่งในการคลี่คลายปัญหาความไม่สงบลง บ้าง แต่บทบาทดังกล่าวกลับเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ถูกควบคุมตัว ปัญหาการใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ.๒๔๕๗ และพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.๒๕๔๘ หรือที่เรียกกันว่ากฎหมายพิเศษ ทำให้ประชาชนตกเป็นผู้ต้องสงสัยและถูกควบคุมตัว ตลอดจนต้องเข้าสู่ขั้นตอนในกระบวนการยุติธรรมโดยไม่จำเป็น สร้างภาระและความเดือดร้อนให้ประชาชนอย่างมาก ภายใต้มายาคติว่าชาวไทยมุสลิมเป็นผู้ก่อความไม่สงบ ซึ่งกฎหมายดังกล่าวนอกจากไม่สามารถแก้ไขปัญหาความไม่สงบได้แล้ว ยังนำมาสู่ปัญหาการทรมานประชาชนโดยเจ้าหน้าที่เพื่อให้รับสารภาพอีกด้วย คดี นักศึกษายะลาเป็นหนึ่งในคดีที่มีการควบคุมตัวโดยมิชอบและทรมานให้รับสารภาพ จำนวนมากที่เกิดขึ้นในสังคมไทย โดยเฉพาะในจังหวัดชายแดนภาคใต้ การควบคุมตัวบุคคลโดยอาศัยอำนาจตามกฎอัยการศึกฯ ทำได้โดยง่าย เพียงเป็น “ผู้ต้องสงสัย” เจ้าหน้าที่ก็มีอำนาจควบคุมตัวบุคคลนั้นไว้ได้นาน ๗ วัน เมื่อครบกำหนด และเจ้าหน้าที่ประสงค์จะควบคุมตัวต่อไป ให้ขออนุญาตต่อศาลเพื่อออกหมายจับและควบคุมตัวตามพระราชกำหนดการบริหาร ราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ ต่อไปอีก ๓๐ […]

ศาลปกครองสูงสุดพิพากษาให้กองทัพบกชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหาย กรณีที่นายอิสมาแอ เตะ และนายอามีซี มานาก อดีตนักศึกษามหาวิทยาลัยสถาบันราชภัฎยะลาถูกเจ้าหน้าที่ทหารจับกุม

วันนี้ (19 ตุลาคม 2559) เวลา 14.30 น. ศาลปกครองสงขลาอ่านคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขดำที่ อ.55-56/2555 และคดีหมายเลขแดงที่ อ.1309-1310/2559ระหว่าง นายอิสมาแอ เตะที่1 กับนายอามีซี มานากที่2 ผู้ฟ้องคดี กับ กองทัพบกที่ 1 กับพวกรวม 2 คน ผู้ถูกฟ้องคดี ในคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย จากกรณีที่นายอิสมาแอ เตะ และนายอามีซี มานาก อดีตนักศึกษามหาวิทยาลัยสถาบันราชภัฎยะลาถูกเจ้าหน้าที่ทหารจับกุมและซ้อมทรมานในระหว่างถูกควบคุมตัวเพื่อให้รับสารภาพอันจะนำไปสู่การถูกดำเนินคดีเกี่ยวกับความมั่นคง โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ.2457 โดยคดีนี้ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษา ดังนี้ 1. กรณีจากการที่เจ้าหน้าที่ทหารของผู้ถูกฟ้องคดีที่1 ได้ใช้กำลังเข้าตรวจค้นเพื่อจับกุมบุคคลที่เป็นสมาชิกกลุ่มก่อความไม่สงบตามหมายจับของศาลในความผิดเกี่ยวกับเหตุความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น เป็นไปเพื่อการระงับ ปราบปราม และรักษาความสงบเรียบร้อยให้เกิดแก่ประชาชนในพื้นที่ตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึกพ.ศ. 2457 แต่การใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ต้องกระทำเท่าที่จำเป็นเพื่อป้องกันมิให้บุคคลกระทำการหรือร่วมกระทำการใดๆอันจะทำให้เกิดเหตุร้ายแรงหรือเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการระงับเหตุการณ์ร้ายแรงโดยคำนึงถึงสิทธิและเสรีภาพในชีวิตร่างกาย และเสรีภาพในการเดินทาง และเสรีภาพในการเลือกถิ่นที่อยู่ภายในราชอาณาจักรของบุคคลตามที่รัฐธรรมนูญไทยได้บัญญัติรับรองไว้ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฎว่าผู้ฟ้องคดีทั้งสองถูกเจ้าหน้าที่ทหารของผู้ถูกฟ้องคดีที่1จับกุมและในขณะควบคุมตัวมีการทำร้ายร่างกายนายอิสมาแอ เตะ (ผู้ฟ้องคดีที่1) ปรากฎตามหลักฐานสำเนาเวชระเบียนสอดคล้องกับกับสำเนาภาพถ่ายที่บันทึกภายหลังจากการถูกปล่อยตัว การทำร้ายร่างกายในขณะถูกควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่ทหารจึงเป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่มีเหตุอันสมควรหรือเกินกว่ากรณีจำเป็น เมื่อพิจารณาถึงพฤติการณ์และระดับความร้ายแรงแห่งการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่1และสภาพความเสียหายที่ผู้ฟ้องคดีที่1ได้รับ กำหนดให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่1ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในส่วนนี้แก่ผู้ฟ้องคดีที่1 เป็นจำนวนเงิน 100,000 บาท […]

ใบแจ้งข่าว : ฟังคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีนักศึกษายะลาถูกซ้อมทรมาน

  ศาลปกครองสงขลามีนัดอ่านคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ในคดีหมายเลขดำที่ 187/2552, 188/2552 และคดีหมายเลขแดงที่ 235-236/2554 ระหว่าง นายอิสมาแอ เตะที่1 กับพวกรวม 2 คน ผู้ฟ้องคดี กับ กองทัพบกที่ 1 กับพวกรวม 2 คน ผู้ถูกฟ้องคดี จากกรณีที่นายอิสามาแอ เตะ และนายอามีซี นักศึกษามหาวิทยาลัยสถาบันราชภัฎยะลาถูกเจ้าหน้าที่ทหารจับกุมและซ้อมทรมานในระหว่างถูกควบคุมตัวเพื่อให้รับสารภาพอันจะนำไปสู่การถูกดำเนินคดีเกี่ยวกับความมั่นคง โดยอาศัยอำนาจตามกฎอัยการศึกฯ จึงขอเชิญสื่อมวลชนและผู้ที่สนใจเข้าร่วมฟังคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดในวันพุธที่ 19 ตุลาคม 2559 เวลา 14.00 น. ณ ห้องพิจารณาคดีที่ 1 ศาลปกครองสงขลา คดีนี้ ศาลปกครองสงขลาได้มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2554 โดยพิพากษาให้กองทัพบกรับผิดในผลแห่งการละเมิดของเจ้าหน้าที่อันเกิดจากการใช้อำนาจโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ให้ชำระเงินแก่นายอามีซี จำนวน 250,000 บาท และนายอิสมาแอ เตะจำนวน 255,000 บาท เนื่องจากควบคุมตัวไว้เกินกำหนด 7 วันตามกฎอัยการศึกฯ พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ […]