คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558

สมาคมนักกฎหมายสิทธิฯ ออกจดหมายเปิดผนึกถึงสถาบันตุลาการขอให้ทำหน้าที่คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนและตรวจสอบการใช้อำนาจตามประกาศ/ คำสั่ง คสช.

จดหมายเปิดผนึก วันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๖๑ เรื่อง     ขอให้สถาบันตุลาการทำหน้าที่คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ตรวจสอบการใช้อำนาจตามประกาศ/ คำสั่ง คสช. เรียน    ประธานศาลฎีกา           ผู้พิพากษาศาลยุติธรรมทั่วประเทศ สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) เป็นองค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหากำไร  มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมหลักนิติธรรม ความเป็นธรรมในสังคม และปกป้องสิทธิมนุษยชน  ผ่านการใช้มาตรการทางกฎหมายและการดำเนินคดี รวมถึงการผลักดันนโยบายต่างๆเพื่อให้บรรทัดฐานทางกฎหมายสอดคล้องกับหลักการสิทธิมนุษยชน หลักนิติธรรม และก่อให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม  โดยให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับประเด็นสิทธิในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม (Right to Fair Trial) สมาคมฯเห็นว่า สถาบันตุลาการเป็นหนึ่งในอำนาจอธิปไตยและเป็นกลไกสำคัญในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน  และช่วยสร้างหลักประกันว่าทุกคนที่ต้องสงสัยว่ากระทำความผิดจะได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรมตามมาตรฐานสากล  ฝ่ายตุลาการยังมีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้ตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจของฝ่ายบริหารและเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย เพื่อให้มีหลักประกันว่าการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐและฝ่ายบริหารได้ดำเนินการตามหลักสิทธิมนุษยชนและหลักนิติธรรมตามที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญและพันธกรณีระหว่างประเทศหรือไม่ ตลอดระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมานับแต่มีรัฐประหาร คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้มีการออกประกาศและคำสั่งที่จำกัดและละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนอย่างกว้างขวาง โดยอ้างว่ามีฐานะเป็นกฎหมาย หากจะยกเลิกประกาศหรือคำสั่งดังกล่าวได้จะต้องออกเป็นพระราชบัญญัติ  ตลอดเวลาที่ผ่านมา คสช. ไม่ได้มีท่าทีว่าจะยกเลิกประกาศหรือคำสั่งเหล่านั้นไปแต่อย่างใด และได้นำมาใช้เป็นเครื่องมือจำกัดและคุกคามสิทธิและเสรีภาพของประชาชนที่เห็นต่างจากรัฐอยู่เสมอ อันเป็นการละเมิดหลักการพื้นฐานของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และพันธกรณีระหว่างประเทศที่รัฐไทยเข้าเป็นภาคี โดยเฉพาะกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ ๓/๒๕๕๘ เรื่อง การรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของชาติ […]

ศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีอภิชาติชู้ป้ายต้านรัฐประหาร ระบุประกาศ คสช. ชอบตาม “ระบอบแห่งการรัฐประหาร” แต่ด้วยจำเลยชุมนุมโดยสงบ จึงให้ยกฟ้องข้อหามั่วสุมฯก่อความวุ่นวาย

ศาลอุทธรณ์เห็นว่าประกาศ คสช. ฉบับที่ 7/2557 ถือเป็นกฎหมายตาม “ระบอบแห่งการรัฐประหาร” แล้ว ไม่จำเป็นต้องอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ. 2457 มารองรับอีก และม่จำเป็นต้องมีการลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาก่อน ส่วนผลของคำพิพากษานั้น ศาลเห็นว่าจำเลยชุมนุมโดยสงบ ไม่เข้าข่ายเป็นการมั่วสุมฯ ก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง จึงให้ยกฟ้องในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 215 วรรคแรก จึงยังคงให้ลงโทษตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ 3/2558 เรื่องการรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของชาติ  ข้อ 12  แต่ด้วยพฤติการณ์แห่งคดีไม่ร้ายแรง จึงยกโทษจำคุกตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ให้คงไว้เพียงโทษปรับ 6,000 บาท อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ฉบับเต็ม วันนี้ (31 พฤษภาคม 2561) เวลาประมาณ 09.30 น. ณ ศาลแขวงปทุมวัน ศาลอุทธรณ์อ่านคำพิพากษาคดีนายอภิชาตชูป้ายต้านรัฐประหารหน้าหอศิลป์กรุงเทพฯ เมื่อปี 2557 หลังจากเลื่อนอ่านคำพิพากษามาแล้ว 3 ครั้ง สำหรับบรรยากาศที่ศาลแขวงปทุมวันในช่วงเช้าวันนี้ มีความเข็มงวดเป็นพิเศษ เจ้าหน้าที่ศาลมายืนต้อนรับผู้คนที่เข้าออกประตูเครื่องตรวจ มีการสอบถามผู้เดินผ่านประตูตามปกติว่ามาติดต่อเรื่องอะไร แต่เมื่อมีการแจ้งว่ามาฟังคำพิพากษาคดีนายอภิชาต เจ้าหน้าที่จะแสดงท่าทีให้ความสนใจสอบถามเป็นพิเศษว่ามีความเกี่ยวข้องกับคดีอย่างไร เจ้าหน้าที่บางคนก็คาดเดาว่าเราเป็นนักข่าวหรือไม่ หลังจากนั้นจะมีการขอตรวจกระเป๋าตามปกติ แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ หากเจ้าหน้าที่พบว่าในกระเป๋ามีคอมพิวเตอร์พกพามาด้วย เขาจะไม่อนุญาตให้เข้าไปในห้องพิจารณา […]

31 พฤษภาคมนี้ ศาลอุทธรณ์นัดฟังคำพิพากษาคดีอภิชาตชูป้ายต้านรัฐประหารหน้าหอศิลป์กรุงเทพฯ ปี 2557 อีกครั้งหลังเลื่อนมาสามครั้ง

ขอเชิญสื่อมวลชนและผู้ที่สนใจเข้าร่วมฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีนายอภิชาต ชูป้ายต้านรัฐประหารหน้าหอศิลป์กรุงเทพฯ ปี 2557 ในวันที่ 31 พฤษภาคม 2561 เวลา 09.00 น. ณ ศาลแขวงปทุมวัน ศาลอุทธรณ์ได้เลื่อนฟังคำพิพากษามาแล้ว 3 ครั้ง ครั้งแรกเลื่อนมาจากวันที่ 30 สิงหาคม 2560 ครั้งที่สองเลื่อนมาจากวันที่ 16 พฤศจิกายน 2560 และครั้งที่สามเลื่อนมาจากวันที่ 31 มกราคม 2561 คดีนี้เกี่ยวข้องกับการต่อต้านรัฐประหารคดีแรกๆ ย้อนกลับเมื่อ 4 ปีที่แล้ว วันที่ 23 พฤษภาคม 2557 ภายหลังการรัฐประหารของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพียงหนึ่งวัน กลุ่มประชาชนจำนวนหนึ่งได้ออกมาทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ในพื้นที่บริเวณหน้าหอศิลป์ฯ เพื่อคัดค้านการรัฐประหาร  ซึ่งจ่าสิบเอกอภิชาต พงษ์สวัสดิ์ ก็เป็นหนึ่งในคนที่เข้าร่วมทำกิจกรรมในครั้งนั้น  กลุ่มประชาชนที่ออกมาคัดค้านรัฐประหารในวันนั้นได้แสดงสัญลักษณ์ที่แสดงออกถึงการคัดค้านรัฐประหาร ส่วนใหญ่จะเป็นป้ายข้อความในกระดาษ A 4 ที่เตรียมกันมาเอง ในส่วนของนายอภิชาตได้มีการชูป้ายข้อความว่า “ไม่ยอมรับอำนาจเถื่อน”  และในช่วงค่ำของวันนั้นเอง เจ้าหน้าที่ทหารได้เข้าเคลียร์พื้นที่และสลายกลุ่มประชาชน  นายอภิชาตถูกทหารจับกุมและถูกนำตัวไปควบคุมไว้ภายใต้อำนาจของกฎอัยการศึก 7 […]

แถลงการณ์ ขอให้ยุติการใช้คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 ปิดกั้นเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ และปล่อยตัวผู้ชุมนุมกลุ่มคนอยากเลือกตั้งโดยทันที

เผยแพร่ 22 พฤษภาคม 2561 ตามที่กลุ่มประชาชนในนาม “กลุ่มคนอยากเลือกตั้ง” ได้มีการจัดการชุมนุมในวาระครบรอบ 4 ปีการรัฐประหารของ คสช. เพื่อเรียกร้องให้มีการจัดเลือกตั้งภายในปลายปี 2561 และให้ คสช. หยุดสืบทอดอำนาจ การชุมนุมเริ่มขึ้นในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ตั้งแต่ช่วงเย็นของวันที่ 21 พฤษภาคม 2561 และมีการเคลื่อนขบวนไปยังทำเนียบรัฐบาลตั้งแต่ช่วงเช้าวันที่ 22 พฤษภาคม 2561 แต่ได้ถูกสกัดกั้นจากเจ้าหน้าตำรวจหลายกองร้อยทำให้ผู้ชุมนุมไม่สามารถเคลื่อนขบวนไปถึงทำเนียบรัฐบาลได้ และในที่สุดช่วงเวลาประมาณ 15.00 น. เจ้าหน้าที่ก็ได้ทำการจับกุมแกนนำการชุมนุมและผู้ชุมนุม และแกนนำบางส่วนตัดสินใจเข้ามอบตัว รวมแล้วมีผู้ถูกควบคุมตัวอย่างน้อย 14 คน โดยถูกแยกควบคุมตัวไว้ที่สถานีตำรวจนครบาลชนะสงคราม และสถานีตำรวจนครบาลพญาไทนั้น สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน มีความกังวลอย่างยิ่งต่อการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่ในกรณีดังกล่าว และมีความเห็นว่าการชุมนุมเรียกร้องให้มีการเลือกตั้ง ถือเป็นสิทธิในการกำหนดเจตจำนงของตนเองในทางการเมืองของประชาชน และเป็นเรื่องที่ชอบธรรมในสังคมที่เรียกตนเองว่าเป็นประชาธิปไตย โดยสิทธิประการดังกล่าวได้ถูกรับรองไว้ในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ดังนั้น รัฐควรที่จะเคารพสิทธิที่จะแสดงออกถึงเจตจำนงอย่างเสรีของประชาชน ไม่ควรมองว่าเป็นเรื่องที่ขัดต่อความมั่นคงและความสงบเรียบร้อย และผู้ที่แสดงออกถึงเจตจำนงดังกล่าวไม่ควรถูกดำเนินคดี การจัดกิจกรรมของกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง ถือเป็นการใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และอยู่ในขอบข่ายของการชุมนุมโดยสงบตามที่ถูกรับรองไว้ในมาตรา 34 และ 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย […]

กฎหมายห้ามชุมนุมในรัฐทหาร (ตอนที่ 2) โดย เลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์

  ภาพจาก เพจ People GO network เลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ 28 มีนาคม 2561 อ่านบทความกฎหมายห้ามชุมนุมในรัฐทหาร ตอนที่ 1 องค์ประกอบหลักของการชุมนุมสาธารณะตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558  หรือ ‘กฎหมายชุมนุมสาธารณะ’ เกี่ยวข้องอยู่สองเรื่อง  เรื่องแรกเกี่ยวข้องกับลักษณะหรือประเภทของ ‘กิจกรรม’ ตามมาตรา 3[[1]] ที่กำหนดว่ากิจกรรมประเภทใดบ้างอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายฉบับนี้ที่ต้องแจ้งการชุมนุมต่อผู้รับแจ้งหรือเจ้าพนักงานเสียก่อนจึงจะได้รับความคุ้มครองและอำนวยความสะดวกให้เกิดการชุมนุมได้  ส่วนลักษณะหรือประเภทของกิจกรรมใดที่ไม่อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายฉบับนี้ก็สามารถทำได้เลยโดยไม่ต้องแจ้งการชุมนุมก่อน  เรื่องที่สองเกี่ยวข้องกับ ‘สถานที่’ ตามมาตรา 7[[2]] ที่ห้ามไม่ให้มีการชุมนุมในสถานที่บางประเภท  ส่วนการชุมนุมในสถานที่อื่นนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในมาตรา 7 ให้ถือว่าอยู่ในบังคับที่ต้องได้รับความคุ้มครองและอำนวยความสะดวกตามกฎหมายฉบับนี้  โดยมีเงื่อนไขไม่กีดขวางทางเข้าออก หรือรบกวนการปฎิบัติงานหรือการใช้บริการสถานที่สำหรับสถานที่บางประเภทตามมาตรา 8[[3]]  แต่ไม่ได้ห้ามการชุมนุมในสถานที่บางประเภทตามที่ระบุไว้ในมาตรา 8 แต่อย่างใด ดังนั้น  ถ้าการชุมนุมใดไม่ใช่กิจกรรมและสถานที่ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 3 และมาตรา 7 ก็ควรได้รับความคุ้มครองและอำนวยความสะดวกให้ชุมนุมได้ภายใต้กฎหมายฉบับนี้  โดยเฉพาะกิจกรรมที่ถูกยกเว้นให้ไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายฉบับนี้ตามมาตรา 3 ยิ่งสามารถทำได้เลยโดยไม่ต้องแจ้งการชุมนุมตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในกฎหมายฉบับนี้ ประเด็นสำคัญต่อเนื่องมา  นั่นคือ  เมื่อพิจารณาในแง่ของ ‘กิจกรรม’ และ ‘สถานที่’ อันเป็นองค์ประกอบหลักตามกฎหมายฉบับนี้แล้ว […]

ศาลอุทธรณ์เลื่อนอ่านคำพิพากษาครั้งที่ 3 คดีอภิชาตชูป้ายต้านรัฐประหาร เหตุพิจารณายังไม่แล้วเสร็จ

31 มกราคม 2561 เวลา 10.00 น. ศาลแขวงปทุมวัน ได้นัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีนายอภิชาต พงษ์สวัสดิ์ ข้อหาขัดคำสั่ง คสช. ฉบับที่ 7/2557 เรื่องห้ามชุมนุมทางการเมือง และชุมนุมมั่วสุม ก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215วรรคแรก มาตรา216 และมาตรา 368 (คดีหมายเลขดำที่ 1097/2559 คดีหมายเลขแดงที่ 9075/2559) คดีนี้ ศาลอุทธรณ์ได้เลื่อนอ่านคำพิพากษามาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรกวันที่ 30 สิงหาคม 2560 และครั้งที่สองวันที่ 16 พฤศจิกายน 2560 บรรยากาศในศาลวันนี้ เจ้าหน้าที่หน้าบัลลังค์คอยถามคนที่เข้ามาในห้องพิจารณาว่าเป็นใคร มาจากไหน เกี่ยวข้องกับคดียังไง ถ้าบอกว่าเกี่ยวข้องกับฝ่ายจำเลย เจ้าหน้าก็จะให้ไปนั่งฝั่งเดียวกับจำเลย ทำให้ผู้ที่เข้ามาให้กำลังใจหรือมาสังเกตการณ์ต้องนั่วเบียดเสียดกัน ทั้งที่ที่นั่งอีกฝั่งค่อนข้างว่าง ผู้พิพากษาศาลแขวงออกนั่งบัลลังค์เวลาประมาณ 10.00 น. และได้แจ้งแก่นายอภิชาตและทนายความว่า ศาลอุทธรณ์ให้เลื่อนฟังคำพิพากษาออกไปเป็นวันที่ 31 พฤษภาคม 2561 เวลา […]

คำสั่งศาลปกครองคดีเดินมิตรภาพ: ผลิตผลของวัฒนธรรมทางกฎหมายที่มาจากเบื้องล่าง

สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์ คณะนิติศาสตร์ ม.เชียงใหม่ การเดินมิตรภาพเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจเนื่องจากเป็นกรณีที่ภาคประชาชนสามารถช่วงชิงการใช้การตีความกฎหมายจากการพยายามผูกขาดของหน่วยงานรัฐและสามารถใช้กฎหมายไปกำกับควบคุมการใช้อำนาจของรัฐได้สำเร็จในระดับหนึ่ง ทั้งที่อยู่ภายใต้รัฐบาลเผด็จการที่กุมอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด อีกทั้งยังเป็นการแสดงให้เห็นความสำคัญของภาคประชาชนในการต่อสู้เพื่อสร้างวัฒนธรรมทางกฎหมายที่เคารพสิทธิเสรีภาพประชาชนและปฏิเสธวัฒนธรรมทางกฎหมายแบบอำนาจนิยมด้วยปฏิบัติการทั้งในและนอกสถาบันทางกฎหมายที่เป็นทางการ การต่อสู้ครั้งแรกของภาคประชาชนกับรัฐบาลเกิดขึ้นในวันที่ 20 มกราคม 2561 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (รังสิต) เมื่อรัฐบาลพยายามปิดกั้นและไม่อนุญาตให้ทีมเดินมิตรภาพที่ชุมนุมกันอยู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (รังสิต) จัดกิจกรรมเดินจากกรุงเทพมหานครไปยังจังหวัดขอนแก่น โดยอ้าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 และคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2558 เป็นฐานในการใช้อำนาจดังกล่าว การปะทะกันครั้งแรกเกิดขึ้นนอกสถาบันทางกฎหมายที่เป็นทางการ เป็นการต่อสู้กันบนท้องถนน ภาคประชาชนพยายามโต้แย้งการตีความและบังคับใช้กฎหมายของรัฐด้วยการยืนยันว่าสิทธิในการชุมนุมและการเดินของพวกเขาเป็นสิทธิที่ได้รับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญและพวกเขาได้ปฏิบัติตามที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 บัญญัติไว้แล้วทุกประการ พวกเขาจึงมีสิทธิที่จะชุมนุมและเดิน ทีมเดินมิตรภาพยืนยันความคิดความเชื่อของพวกเขา ด้วยการแบ่งกลุ่มผู้ชุมนุมบางส่วนออกไปเดินตามที่วางแผนไว้ทั้งที่เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ยินยอม การต่อสู้ยกแรกระหว่างวัฒนธรรมทางกฎหมายแบบอำนาจนิยมกับวัฒนธรรมทางกฎหมายแบบเสรีประชาธิปไตยบนท้องถนน อาจถือได้ว่าภาคประชาชนเป็นฝ่ายมีชัยเหนือรัฐบาล เพราะนอกจากเจ้าหน้าที่ตำรวจจะไม่สามารถยุติการชุมนุม ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ตามที่ต้องการแล้ว ประชาชนยังสามารถยืนยันสิทธิด้วยการเดินตามที่วางแผนไว้ได้ (แม้จะต้องปรับแผนจากที่จะเดินหลายสิบคนมาเป็นเดินครั้งละ 4 คน) โดยที่ตำรวจไม่สามารถยุติกิจกรรมเดินมิตรภาพได้ ในแง่นี้อาจกล่าวได้ว่าการยืนยันสิทธิของประชาชนมีชัยเหนือการใช้อำนาจควบคุมโดยรัฐ อย่างไรก็ตามรัฐบาลตอบโต้ปฏิบัติการของภาคประชาชนด้วยการแจ้งความดำเนินคดีกับแกนนำกลุ่มเดินมิตรภาพจำนวน 8 คน นี่เป็นอีกครั้งที่รัฐพยายามสร้างวัฒนธรรมทางกฎหมายแบบอำนาจนิยมด้วยการใช้กลไกทางกฎหมายไปจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยครั้งนี้เป็นการใช้สถาบันทางกฎหมายที่เป็นทางการคือการใช้คดีอาญาเป็นเครื่องมือ น่าเชื่อได้ว่าการดำเนินคดีอาญาของรัฐบาลในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปิดกั้นการแสดงออกของภาคประชาชนยิ่งกว่าต้องการให้แกนนำทั้ง 8 ต้องรับโทษตามกฎหมาย การฟ้องคดีลักษณะนี้มีชื่อเฉพาะในทางวิชาการว่า “การฟ้องคดียุทธศาสตร์เพื่อปิดกั้นการมีส่วนร่วมและการแสดงออกของประชาชน” […]

5 องค์กรสิทธิฯออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ยุติการจำกัดเสรีภาพในการชุมนุมของ We Walk เดินมิตรภาพ

แถลงการณ์ ให้ยุติการคุกคามและจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการชุมนุมโดยสงบ ขบวน “We Walk เดินมิตรภาพ” ของเครือข่าย People GO Network เผยแพร่วันที่ 24 มกราคม 2561 ตามที่เครือข่ายประชาชนในนาม People GO Network ได้จัดกิจกรรม “We Walk…เดินมิตรภาพ” เดินเท้าจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ถึงจังหวัดขอนแก่น ระหว่างวันที่ 20 มกราคม 2561–17 กุมภาพันธ์ 2561 เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงปัญหาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เกษตรกรรมและความมั่นคงทางอาหาร รัฐสวัสดิการและหลักประกันสุขภาพ ตลอดจนสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ โดยก่อนเริ่มกิจกรรมการเดิน เครือข่ายเครือข่ายประชาชนในนาม People GO Network ได้ดำเนินการแจ้งการชุมนุมสาธารณะต่อสถานีตำรวจภูธรคลองหลวง ตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 แล้ว แต่เจ้าหน้าที่ก็ได้พยายามกำหนดเงื่อนไขต่างๆ เพื่อไม่ให้การดำเนินกิจกรรมเป็นไปได้โดยง่าย โดยเฉพาะการที่เจ้าหน้าที่ผู้รับแจ้งการชุมนุมได้มีหนังสือถึงเครือข่ายประชาชนในนาม People GO Network ระบุว่าการดำเนินกิจกรรมที่มีการจำหน่วยเสื้อ และการให้ประชาชนเข้าชื่อยกเลิกประกาศ/คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้าข่ายเป็นการชุมนุมทางการเมือง จึงต้องไปขออนุญาต คสช. ก่อน […]

แถลงการณ์ร่วม : ยืนยันเสรีภาพในการชุมนุม “We Walk…เดินมิตรภาพ”

ตามที่เครือข่ายประชาชนในนาม People GO Network ได้จัดงาน “We Walk…เดินมิตรภาพ” ระหว่างวันที่ 20 มกราคม 2561 – 17 กุมภาพันธ์ 2561 เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงปัญหาทรัพยากรสิ่งแวดล้อม เกษตรทางเลือก หลักประกันสุขภาพ และการใช้สิทธิเสรีภาพ โดยการเดินเท้าจากกรุงเทพมหานครถึงจังหวัดขอนแก่น โดยผู้จัดงานได้ดำเนินการแจ้งการชุมนุมตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 2561 ไปยังเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.คลองหลวงซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นในการดำเนินกิจกรรม ตั้งแต่วันที่ 17 มกราคม 2561 แล้วนั้น วันที่ 19 มกราคม 2561 เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ตอบกลับหนังสือแจ้งการชุมนุมสาธารณะระบุว่า จากการตรวจสอบกิจกรรมมีพฤติการณ์จำหน่ายเสื้อยืดซึ่งมีข้อความสื่อความหมายในทางการเมือง และการชักชวนให้ประชาชนทั่วไปร่วมลงลายมือชื่อยกเลิกกฎหมาย ซึ่งไม่ใช่การชุมนุมสาธารณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจมีอำนาจดูแล แต่เป็นการมั่วสุม หรือชุมนุมการเมือง ตามข้อ 12 ของคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/2558 ซึ่งหากฝ่าฝืนต้องรับโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ องค์กรสิทธิมนุษยชนซึ่งลงนามท้ายแถลงการณ์นี้ มีความเห็นต่อข้อชี้แจงดังกล่าว ดังนี้ 1. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติได้มีข้อสังเกตเชิงสรุปต่อประเทศไทยเมื่อมีนาคม 2560 แสดงถึงความกังวลในการบังคับใช้คำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/58 […]

บนเส้นทางกฎหมายชุมนุมสาธารณะ : กรณีการชุมนุมยื่นหนังสือค้านแก้กฎหมายบัตรทอง

การชุมนุมสาธารณะ ถือเป็นเรื่องปกติในสังคมประชาธิปไตย ที่ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมในเรื่องสาธารณะ  สามารถแสดงออกถึงความเดือดร้อนของตนหรือกลุ่มตนต่อผู้มีอำนาจ หรือต้องการแสดงออกถึงเจตจำนงค์บางประการได้ การชุมนุมสาธารณะ เป็นเครื่องมือในการต่อรองหรือโต้แย้งกับอำนาจรัฐหรือทุนที่ไม่เป็นธรรม เป็นเครื่องมือสำคัญของชาวบ้านเพื่อเรียกร้องให้เกิดการแก้ไขปัญหาความทุกข์ร้อนบางอย่าง ตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน เราจะเห็นการชุมนุมสาธารณะเกิดขึ้นเสมอๆ ไม่ว่าจะเป็นการชุมนุมเพื่อเป้าหมายต่อต้านรัฐบาล หรือการชุมนุมย่อยๆของกลุ่มประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายของรัฐ แม้โดยหลักการ การชุมนุมสาธารณะโดยสงบจะถูกรับรองให้เป็นสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานประการหนึ่ง แต่ในสังคมไทย หลายคนก็ไม่ได้พึงใจกับการชุมนุมสาธารณะมากนัก เพราะมันดูมีความขัดแย้งวุ่นวาย ไทยนี้รักสงบ จะมาชุมนุมกันให้วุ่นวายทำไม คนที่ไม่ชอบให้มีการชุมนุมก็มักจะลดทอนความชอบธรรมของการชุมนุมด้วยการกล่าวหาว่า เป็นม็อบรับจ้างบ้าง ซึ่งผู้เขียนก็ไม่รู้ว่าม็อบแบบนั้นมีจริงสักเท่าไหร่กัน เพราะเท่าที่เข้าร่วมสักเกตุการณ์การชุมนุมที่ผ่านมาก็ไม่เห็นว่ามีใครถูกจ้างมาชุมนุม แต่ก็นั้นแหละครับ ใครอยากรู้ว่ากลุ่มต่างๆที่มาชุมนุมกันนั้น มีการจ้างมาหรือป่าว ก็น่าจะเข้าไปสังเกตการณ์การชุมนุมดูสักครั้ง เท่าที่ผู้เขียนติดตามการชุมนุมของกลุ่มต่างๆ พบว่า การชุมนุมมันมีสาเหตุ ไม่ได้เกิดจากการนึกอยากสนุก หรือการอยากเปลี่ยนบรรยากาศมากินนอนข้างถนน ตากแดดตากฝน การชุมนุมมันมีที่มาของมัน ซึ่งส่วนใหญ่เหตุปัจจัยที่ก่อให้เกิดการชุมนุมก็มาจากรัฐเป็นผู้ก่อปัญหาเอง แม้แต่การชุมนุมทางการเมืองเพื่อโค่นล้มรัฐบาลหลายครั้งหลายหนที่ผ่านมา เราก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่ารัฐบาลเองก็ทำผิดพลาด ดังนั้น หากรัฐจริงใจ ฟังเสียงของประชาชน เปิดพื้นที่การมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง มีการบริหารอย่างโปร่งใส และเคารพหลักนิติธรรม การชุมนุมสาธารณะก็คงลดลงหรือหมดไปเอง ไม่ต้องใช้อำนาจหรือกฎหมายใดๆมาจัดการด้วยซ้ำไป   ทำไมการชุมนุมสาธารณะถึงจำเป็น การชุมนุมถือเป็นเครื่องมือสำคัญของผู้ด้อยอำนาจเพื่อใช้ต่อรองหรือเพื่อกดดันเรียกร้องให้รัฐรับผิดชอบต่อความผิดพลาดหรือแก้ไขปัญหาต่างๆ อาจจะมีบางคนบอกว่า ทำไมไม่ใช้กลไกหรือช่องทางที่รัฐจัดไว้ให้ล่ะ? ประสบการณ์คงบอกภาคประชาชนอยู่แล้วว่า กลไกร้องทุกข์ร้องเรียนตามระบบราชการปัจจุบันทำงานยังไง และมีประสิทธิภาพขนาดไหน บางกลไกก็ตั้งขึ้นมาเพื่อให้เห็นว่ามี หรือเพื่อมารับหน้าแล้วขอไปที […]

1 2