คดีโลกร้อน

คดีโลกร้อน ปะทะ สิทธิชุมชน โดย กฤษดา ขุนณรงค์

ปมที่ไม่อาจคลายหากยังไม่เลิกใช้ “ แบบจำลอง” ใช่ครับเรื่องที่จะพูดถึงต่อไปนี้เกิดขึ้นในเมืองไทยของเราเมื่อไม่กี่ปีมานี่เอง ปัจจุบันนี้หลายท่านพอคุ้นเคยกับคำว่า โลก ร้อนหรือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกซึ่งเชื่อกันว่าจะส่งผลร้ายแรง ต่อโลกของเรา ว่ากันไปถึงขั้นโลกใบนี้อาจถึงจุดอวสานหรือพูดกันให้เห็นภาพสั้น ๆ ภาษาชาวบ้าน ว่า “ โลกของเรากำลังจะแตก ” ทำนองนั้น หลายปีก่อนผู้นำกว่าร้อยประเทศทั่วโลกไปนั่งคุยเพื่อหาทางแก้ไขเรื่องนี้ และมีข้อตกลงอันเป็นพันธสัญญาทางกฎหมายภายใต้ชื่อ “ พิธีสารเกียวโต ” เป้าหมายหลัก คือ การลดการปล่อยก๊าชเรือนกระจกซึ่งมีคาร์บอนไดออกไซด์เป็นต้นเหตุสำคัญที่ส่ง ผลทำให้เกิดภาวะโลกร้อน กลุ่มประเทศอุตสาหกรรม เช่น สหภาพยุโรป แคนาดา รัสเซีย ญี่ปุ่น ยกเว้น สหรัฐและออสเตรเลีย ยอมที่จะรับผิดชอบปฏิบัติตามอนุสัญญา สำหรับประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีตามอนุสัญญาฉบับนี้ด้วย แต่เนื่องจากเราไม่ได้เป็นกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมจึงไม่มีผลบังคับให้ต้อง ดำเนินการครบถ้วนตามอนุสัญญา แต่สามารถเลือกเข้าร่วมโครงการต่าง ๆ ได้ ซึ่งปัจจุบันมีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับผิดชอบดูแลในเรื่องนี้ ผมเกริ่นถึงเรื่องนี้เสียยืดยาวเพื่อที่จะบอกว่ามันมีความสำคัญและจะไม่ไกลตัวของเราอีกแล้ว เพราะกระแสภาวะโลกร้อนไม่เพียงเป็นเรื่องข้อกังวลของคนทั่วโลกถึงผลกระทบทาง ธรรมชาติที่จะเกิดขึ้น แต่ด้านหนึ่งประเด็นนี้กำลังเชื่อมโยงมาถึงกลุ่มประเทศเกษตรกรรม ภาคชนบท ลงมาถึงชุมชนท้องถิ่นของประเทศไทยในฐานะผู้ต้องรับผิดชอบกับความเปลี่ยนแปลง ดังที่ว่า ช่วงปีสองปีที่ผ่านมา พวกเราคงพอได้ยินคำว่า “ คดีโลกร้อน ” กันอยู่บ้าง ดูจากคำก็ตีความได้ทันทีว่าเป็นคดีเกี่ยวกับคนกระทำความผิดข้อหาทำให้โลก […]