คดีฟ้องปิดปาก

ทำไมสถิติคดีฟ้องปิดปาก (SLAPP) ถึงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง:ปัญหาของกลไกกลั่นกรองคดีชั้นอัยการ

เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2563 กระทรวงยุติธรรมมีความเห็นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับรายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทยประจำปี 2562 ที่จัดทำโดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โดยความเห็นตอนหนึ่งระบุว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีกลไก หลายชั้นที่สามารถป้องกันกลั่นกรองคดีฟ้องปิดปากได้  หนึ่งในนั้นคือ ชั้นอัยการ โดยพนักงานอัยการสามารถใช้ช่องทางตามพระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553 มาตรา 21 สั่งไม่ฟ้องคดีเพื่อป้องกันการฟ้องร้องคดีที่ไม่สุจริตได้ ถ้าพนักงานอัยการเห็นว่าการฟ้องคดีอาญาจะไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชน หรือจะมีผลกระทบต่อความปลอดภัย หรือความมั่นคงของชาติ หรือต่อผลประโยชน์อันสำคัญของประเทศให้เสนอต่ออัยการสูงสุดเพื่อสั่งไม่ฟ้องได้

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คดีบริษัทธรรมเกษตรฟ้องหมิ่นประมาท งามศุกร์ รัตนเสถียรอาจารย์ประจำสถาบันสิทธิฯ

16 กรกฎาคม 2563 ศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น คดีบริษัทธรรมเกษตร โดยนายชาญชัย เพิ่มพล เป็นผู้รับมอบอำนาจดำเนินคดีแทน ฟ้องดำเนินคดีต่องามศุกร์ รัตนเสถียร อาจารย์ประจำสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ในข้อหาหมิ่นประมาท ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326 และมาตรา 328

แจ้งข่าวนัดฟังคำพิพากษาป้ายปากมูลและชวนบริจาคเงินเพื่อสนับสนุนการต่อสู้คดี

วันที่ 21 พฤษภาคม 2563 นี้ ศาลจังหวัดอุบลราชธานี มีนัดฟังคำพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ 99/2562 ระหว่างพนักงานอัยการจังหวัดอุบลราชธานี โจทก์ กับ นายกฤษกร ศิลารักษ์ (ป้ายปากมูล) ในฐานความผิดหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา และหมิ่นประมาทศาล จากกรณีที่นายกฤษกรได้โพสต์ข้อความเกี่ยวกับกรณีที่ศาลจังหวัดอุบลราชธานี พิจารณาคดีของนายดวงเด่น สุทธาคง ที่ถูกดำเนินคดีในความผิดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ ซึ่งเป็นเหตุที่เกิดขึ้นในพื้นที่เกาะดอนคำพวง ตำบลกุดชมพู อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี  ซึ่งมีการตัดโค่นต้นไม้เป็นจำนวนมากและไม้ที่ถูกตัดนั้นมีไม้ยางนาซึ่งเป็นไม้ต้องห้ามรวมอยู่ด้วยหลายต้น ทั้งนี้ เมื่อนายกฤษกรติดตามการพิจารณาคดีแล้วพบว่ายังมีข้อมูลที่ขาดไป ด้วยความหวงแหนต่อทรัพยากรธรรมติในพื้นที่ จึงได้โพสต์ข้อความซึ่งเป็นข้อมูลลงเฟซบุ๊คของตนเองโดยตั้งค่าเป็นสาธารณะ เพื่อนำเสนอข้อมูลที่เห็นว่าตกหล่นและไม่ได้ถูกนำเข้าสู่กระบวนการพิจารณา นอกจากการโพสต์ข้อความเกี่ยวกับการพิจารราคดีของศาลจังหวัดอุบลราชธานีแล้ว นายกฤษกรยังได้โพสต์ข้อความเกี่ยวกับการบุกรุกเกาะและการตัดไม้ต้องห้ามในพื้นที่อย่างต่อเนื่องหลายข้อความ จึงเป็นเหตุให้นายจักรกฤช วิเศษชลธาร ข้าราชการบำนาญกรมสวบสวนคดีพิเศษ ผู้เสียหายที่ 1 ผู้พิพากษาศาลจังหวัดอุบล ผู้เสียหายที่ 2  และศาลจังหวัดอุบลราชธานี ผู้เสียหายที่ 3 แจ้งความดำเนินคดีในข้อหาหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาและหมิ่นศาล ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 198 , 326 และมาตรา 328 นอกจากคดีข้างต้นแล้ว นายกฤษกร  ยังถูกฟ้องหมิ่นประมาทในคดี “ปิดเขื่อนปากมูล” ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี […]

ปัญหาที่ผู้ถูกฟ้องคดีปิดปากเผชิญในชั้นก่อนการพิจารณา

จากการรวบรวมข้อมูลของสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน พบว่า โดยส่วนมากของคดีปิดกั้นการมีส่วนร่วมสาธารณะในประเทศไทยเกิดจากการร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน โดยข้อกล่าวหาที่ถูกนำมาใช้ดำเนินคดี จำนวนมากเป็นความผิดเกี่ยวกับความผิดฐานหมิ่นประมาท ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงและความสงบเรียบร้อย ซึ่งรัฐเป็นผู้เสียหาย ทำให้คดีจำนวนมากถูกดำเนินคดีผ่านช่องทางอัยการ

SLAPP Data Center: ฐานข้อมูลคดีฟ้องปิดปากในประเทศไทย

สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ได้จัดทำฐานข้อมูลคดีฟ้องปิดปากในประเทศไทย (SLAPP DATA CENTER ) ขึ้นเพื่อรวบรวมคดีที่เข้าข่ายการฟ้องคดีเพื่อปิดกั้นการมีส่วนร่วมสาธารณะในไทยให้เป็นพื้นที่สำหรับติดตามและค้นคว้าศึกษา