ไพโรจน์ พลเพชร

ศาลฎีกาพิพากษา 10 จำเลยคดีปีนสภามีความผิด แต่ให้รอการกำหนดโทษไว้ 2 ปี

วันนี้ (พุธที่ 15 มีนาคม 2560) เวลา 10.00 น. ศาลอาญาได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีหมายเลขดำ อ.4383/2553 คดีหมายเลขแดงที่ อ.1092/2556 ที่พนักงานอัยการ ฟ้องนายจอน อึ้งภากรณ์ กับพวกรวม 10 คน ในความผิดฐานร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้าย ก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง และร่วมกันทำให้ปรากฏด้วยวาจา อันมิใช่กระทำในความหมายรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่แสดงความคิดเห็นโดยปกติเพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 91, 116, 215, 362, 364, 365 ซึ่งสาเหตุการฟ้องร้องดำเนินคดีนี้ เกิดจากการที่มีประชาชนจำนวนหลายร้อยคนทำการชุมนุมและเข้าไปในรัฐสภาในวันที่ 12 ธันวาคม 2550 เพื่อคัดค้านการออกกฎหมายของสภานิติบัญญัติที่เกิดขึ้นหลังรัฐประหารปี 2549 เพราะไม่เห็นด้วยกับการพิจารณาร่างกฎหมายจำนวน 11 ฉบับ ที่ได้มีการเร่งรีบพิจารณา โดยร่างกฎหมายมีเนื้อหาที่ไม่เป็นธรรม ละเมิดสิทธิเสรีภาพและขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน สำหรับคดีนี้ ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2556 ให้จำคุกและปรับจำเลย แต่จำเลยให้การเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา […]

ไพโรจน์ พลเพชร : เราต้องยืนยันว่าเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบเป็นสิ่งที่พึงกระทำได้ไม่ว่าในรัฐบาลไหน

วันพุธที่ 15 มีนาคมนี้ เวลา 09.30 น. ศาลอาญารัชดานัดอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีที่ 10 เอนจีโอ/นักเคลื่อนไหวชุมนุมและปีนรั้วเข้ารัฐสภาเพื่อคัดค้านการออกกฎหมายของสภานิติบัญญัติแห่งชาติในช่วงปี 2550 คดีนี้เราเรียกกันสั้นๆติดปากว่า “คดีปีนสภา” ความเป็นมาของคดีนี้ก็คือ ในช่วงก่อนที่จะมีการเลือกตั้งทั่วไปที่กำหนดให้มีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ไม่กี่วัน  สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งตั้งขึ้นหลังการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ได้มีการเร่งรีบพิจารณาร่างกฎหมายจำนวนมาก โดยร่างกฎหมายหลายฉบับมีเนื้อหาที่ไม่เป็นธรรม ละเมิดสิทธิเสรีภาพและขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน  ทำให้กลุ่มบุคคลและองค์กรภาคเอกชนหลายร้อยคน ออกมาเคลื่อนไหวชุมนุมเพื่อแสดงความถึงความไม่เห็นด้วยและคัดค้านการปฏิบัติหน้าที่ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) รวมทั้งคัดค้านการพิจารณาออกกฎหมายจำนวน 11 ฉบับ อาทิ ร่างกฎหมายการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร ร่างกฎหมายว่าด้วยเงื่อนไขและหลักเกณฑ์การแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจ ร่างกฎหมายมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ ฯลฯ เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2549 ประชาชนหลายร้อยคน นัดชุมนุมกันที่บริเวณหน้ารัฐสภา และได้มีการปีนเข้าไปในอาคารรัฐสภา เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นเหตุให้ผู้ชุมนุม 10 คน ประกอบด้วย 1) นายจอน อึ๊งภากรณ์ อดีตประธานมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม 2) […]

ความจริงคนละชุด โดย ไพโรจน์ พลเพชร

ไม่ว่าฝ่ายรัฐบาลหรือฝ่ายผู้ชุมนุมก็ตาม คุณค่าชีวิตจะต้องมาก่อนเป็นอันดับหนึ่ง ไม่มีสิทธิ์อ้างประชาธิปไตยเพื่อเอาชีวิตเข้าไปทำลายชีวิต ขณะเดียวกันไม่ใช่เอาอำนาจหน้าที่เพื่อรักษาสังคมแล้วทำลายชีวิต เพราะว่านี่คือคุณค่าที่สำคัญที่สุด ไม่มีอะไรยิ่งใหญ่กว่าชีวิตคน ประชาธิปไตยก็ไม่ยิ่งใหญ่กว่าชีวิตคน หน้าที่ในการปกป้องสังคมก็ไม่ยิ่งใหญ่กว่าชีวิตคน ที่รัฐอ้างว่าเป็นหน้าที่ต้องปกป้องความสงบสุขเรียบร้อย ก็ไม่ยิ่งใหญ่กว่าชีวิตคน กฎหมายจัดการไม่ได้ ตำรวจจัดการไม่ได้ รัฐบาลก็ทำอะไรไม่ได้ แล้วสังคมนี้จะอยู่กันอย่างไร มีคนวิตกแบบนี้ และนี่เป็นแรงขับดันทำให้พลังอำนาจทหารที่เข้ามาแทรกแซงทางการเมืองเป็นไปได้สูง ดังนั้นต้องถามว่าแล้ว นปช.ต้องการอย่างนั้นหรือเปล่า ทำไมต้องการอย่างนั้น หรือกลุ่มที่เคลื่อนไหวต้องการอย่างนั้นหรือ ถ้าเราไม่ต้องการ เราต้องการรักษาประชาธิปไตยใช่ไหม เราจะต้องไม่ทำให้ไปสู่ทางนั้น แน่นอนว่าเขาจ้องอยู่ เราก็ไม่ต้องสร้างเงื่อนไข หลังเหตุการณ์นองเลือดวันที่ 10 เมษา ดูหมือนสังคมไทยยังไม่ได้เรียนรู้จากความสูญเสีย เช่นเดียวกับที่ไม่เคยถอดบทเรียนในอดีตของการใช้ความรุนแรงแก้ปัญหาการเมือง เพราะจนถึง วันนี้ทั้งสองฝ่ายยังส่งสัญญาณว่ากำลังจะเดินไปสู่จุดนั้นอีกครั้ง และครั้งนี้สังคมก็กำลังจะอนุญาตให้ใช้ความรุนแรงอย่างชอบธรรม ภาวะเงื่อนไขเช่นนี้ ประธานคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) ตั้งคำถามกับนักประชาธิปไตยฝ่าย นปช.และรัฐบาลว่ายังจะเลือกเดินทางนี้อีกหรือ สองฝ่ายขาดความชอบธรรม “ที่จริงมันเตือนกันมาตลอด แต่มันก็ไปจนได้ ก่อนหน้านี้ข้อเรียกร้องทางสังคมก็พูดอยู่สองเรื่องใหญ่ๆ เรียกร้องอันแรกก็คือว่าจะต้องใช้แนวทางสันติทั้งสองฝ่าย หมายความว่ารัฐบาลก็ต้องใช้มาตรการแบบสันติวิธี การกำกับการควบคุมผู้ชุมนุมก็ใช้แบบสันติ ขณะเดียวกันผู้ชุมนุมก็ต้องใช้แนวทางสันติ และดูเหมือนจากวันที่ 12 มี.ค.เป็นต้นมา ในช่วงแรกที่จริงมันก็เกิดสิ่งใหม่ๆ เช่น รัฐบาลก็มีตัวแทนอย่างคุณกอร์ปศักดิ์ นปช.ก็มีหมอเหวงเพื่อประสานงานในการจัดการชุมนุม ประสานงานบริหารการชุมนุม ซึ่งถามว่าในอดีตที่ผ่านมามันมีไหม […]