แก่งกระจาน

กรณีการหายตัวไปของนายบิลลี่ กับอนุญาฯการต่อต้านการอุ้มหาย โดย ญาดา หัตถธรรมนูญ

นายบิลลี่ หรือ นายพอจะลี รักจงเจริญ เป็นแกนนำชาวบ้านกะเหรี่ยงบ้านบางกลอย นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน และผู้ช่วยทนายความ อยู่ระหว่างการเตรียมการต่อสู้คดีปกครองที่ชาวบ้านบางกลอยยื่นฟ้องกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชและนายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร จากกรณีการเข้ารื้อทำลาย เผาบ้านเรือนและทรัพย์สินของชาวบ้านกว่า 20 ครอบครัว ที่บ้านบางกลอยเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2554 เพื่อผลักดันให้ชาวบ้านออกจากพื้นที่แม้ปรากฎผลการศึกษายืนยันว่าชาวบ้านเป็นชนพื้นเมืองดังเดิมชาวปาเกอญอที่ตั้งรกรากอาศัยอยู่ในพื้นที่มาเป็นเวลาร่วมกว่า 100 ปีแล้ว นอกจากนี้ นายบิลลี่ยังอยู่ระหว่างการเตรียมถวายฎีกาเพื่อร้องเรียนขอความเป็นธรรมต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วย ทั้งนี้ เชื่อว่านายบิลลี่มีพยานหลักฐานเกี่ยวกับคดีและกรณีร้องเรียนดังกล่าวอยู่กับตัวด้วยในขณะที่หายไป นายบิลลี่หายตัวไปตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน 2557 โดยมีชาวบ้านพบเห็นนายบิลลี่ครั้งสุดท้ายเมื่อเวลาประมาณ 17.00 น. ขณะถูกควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ต่อมาเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2557 นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ได้ยอมรับว่าควบคุมตัวนายบิลลี่จริง เนื่องจากค้นตัวนายบิลลี่แล้วพบรังผึ้งและน้ำผึ้งหกขวด ตนจึงได้ทำการตักเตือน และอ้างว่าได้ปล่อยตัวนายบิลลี่ไปแล้ว อย่างไรก็ตามไม่ปรากฏหลักฐานที่อ้างเกี่ยวกับการจับกุมตามข้อกล่าวหาและหลักฐานการปล่อยตัวแต่อย่างใด จนถึงปัจจุบันเป็นเวลาร่วม 6 วันแล้วหลังจากถูกควบคุมตัว ที่ยังไม่มีผู้ใดพบเห็นนายบิลลี่อีก โดยครอบครัวของนายบิลลี่ พร้อมด้วยผู้ใหญ่บ้านและชาวบ้านบางกลอยได้แจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจในท้องที่ไว้แล้ว ก่อนหน้านี้ เมื่อเดือนกันยายน 2554 ได้มีการลอบสังหารนายทัศน์กมล โอบอ้อม […]

ความไม่ชัดเจนของสิทธิชุมชนในคดีกะเหรี่ยงแก่งกระจาน โดย สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์

เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2559 ศาลปกครองกลางได้อ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขแดงที่ ส.660/2559 (คำพิพากษาฯ) ระหว่างนายโคอิหรือโคอี้ มิมิ กับพวกรวม 6 คน ผู้ฟ้องคดี  กับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กับพวกรวม 2 คน เป็นผู้ถูกฟ้อง คำพิพากษาคดีนี้ได้รับความสนใจจากสังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างกว้างขวาง  เพราะคดีนี้เป็นผลต่อเนื่องจากการใช้ความรุนแรงของเจ้าหน้าที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ในการผลักดันชนกลุ่มน้อยชาวกะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ให้ออกจากพื้นที่ดังกล่าว  ด้วยมาตรการที่รุนแรงที่สุดเท่าที่หน่วยงานเคยใช้มาก่อนหน้านี้ คือ การเผาทำลายบ้านพัก และทรัพย์สินของชาวกะเหรี่ยงที่ถูกกล่าวหาว่าเข้าไปอยู่อาศัยในพื้นที่อุทยานโดยผิดกฎหมาย เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2559 ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  ได้จัดเสวนาวิชาการในหัวข้อ วิถีชาติพันธุ์และ “ความยุติธรรมทางสังคม?” ผู้เขียนในฐานะนักกฎหมายได้รับเกียรติจากผู้จัดให้เป็นหนึ่งในวิทยากรเพื่อให้แง่มุมต่อคำพิพากษาฯ บทความสั้นชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาที่ได้พูดคุยในเวทีดังกล่าวในประเด็นสิทธิชุมชน   โดยหวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเป็นประโยชน์ต่อการวางบรรทัดฐานในการรับรองสิทธิชุมชนในสังคมไทยต่อไป 1. คำพิพากษาฯ กับ สิทธิชุมชนตามที่รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ประเด็นหลักสำคัญที่สุดและส่งผลต่อการวินิจฉัยประเด็นอื่น ๆ ตามมา คือ […]

จอแฮริ สุณี ดอกไม้ : ความอยุติธรรมภาคต่อในผืนป่าแก่งกระจาน

วันนี้ (20 กันยายน 2560) เป็นวันที่พนักงานอัยการจังหวัดเพชรบุรีนัดส่งสำนวนและสั่งคดี กรณี 3 ชาวบ้านชาติพันธุ์กะเหรี่ยงถูกดำเนินคดีข้อหาความผิดเกี่ยวกับป่าไม้และอาวุธปืน ทั้งสามคนเข้าพบอัยการตามนัด พร้อมทั้งขอยื่นหนังสือร้องขอความเป็นธรรม ทั้งนี้ พนักงานอัยการให้เลื่อนนัดสั่งคดีไปเป็นวันที่ 19 ตุลาคม 2559 ผู้ต้องหา 3 คนคือ นายจอแฮริ กว่าบุ นายสุณี กว่าบุ และนายดอกไม้ พื้อแม้ ทั้ง 3 เป็นชาวบ้านชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบางกลอย พวกเขาถูกดำเนินคดีแบบงงๆ ในข้อหาทำไม้หรือทำอันตรายใดๆแก่ไม้หวงห้ามโดยไม่ได้รับอนุญาต แปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต, ยึดถือ ครอบครอง ทำประโยชน์ หรืออยู่อาศัยในที่ดิน ก่นสร้าง แผ้วถางหรือทำด้วยประการใดๆอันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติโดยไม่ได้รับอนุญาต, มีไม้แปรรูปไว้ในครอบครอง โดยไม่ได้รับอนุญาต, เก็บหาของป่า นำออกไปหรือทำด้วยประการใดๆให้เป็นอันตรายแก่สภาพป่าไม้ภายในอุทยานโดยไม่ได้รับอนุญาต การดำเนินคดีดังกล่าวมาจากเหตุการณ์การเข้าตรวจค้นของเจ้าหน้าที่หน่วยเฉพาะกิจทัพพระยาเสือ เจ้าหน้าที่กองร้อยตำรวจตะเวนชายแดนที่ 144 และเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2560 และได้ตรวจพบไม้แปรรูปจำนวนหนึ่ง ในพื้นที่หมู่ 1 ตำบลห้วยแม่เพรียง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ทั้ง […]

แอะนอ พุกาด : กฎหมาย วิถีชีวิต และสิทธิชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบางกลอย

นางแอะนอ พุกาด อายุ 40 ปี หญิงชาติพันธุ์กะเหรี่ยงดั้งเดิมติดแผ่นดิน เกิดและตั้งรกรากถิ่นฐานบนพื้นที่บริเวณลำห้วยที้โพ้เปรือ หรือภาษาไทยเรียกว่าห้วยส้ม เป็นบริเวณที่ชาวกระเหรี่ยงดั้งเดิมเรียกว่า “ใจแผ่นดิน” บรรพบุรุษของเธอตั้งรกรากในพื้นที่นี้มาหลายชั่วอายุคนเป็นเวลานานกว่า 100 ปี เธอยังไม่มีบัตรประชาชน แต่ถือบัตรเลข 0 และเธอพูดและฟังภาษาไทยไม่ได้ สามีของเธอเสียชีวิตเมื่อ 2 ปีก่อน เธอมีลูก 4 คน เป็นชาย 3 หญิง 1 คน ปัจจุบันเธอจึงมีภาระเลี้ยงดูลูกที่ยังเรียนอยู่ 2 คน ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 6 ลูกๆทุกคนของเธอเกิดในพื้นที่บริเวณใจแผ่นดินเช่นเดียวกันเธอ และทุกคนถือบัตรเลข 0 อยู่ระหว่างรอสถานะ เธอเป็นหนึ่งในคนที่ผ่านเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นกับชาวบางกลอย โดยเฉพาะเหตุการณ์ผลักดันและเผาบ้านกะเหรี่ยงเมื่อปี 2554 ปัจจุบันเธอกำลังจะถูกดำเนินคดี เพราะทำไร่หมุนเวียนตามวิถีชีวิตเพื่อการเลี้ยงชีพ วิถีชีวิตชาติพันธุ์กะเหรี่ยงผูกติดกับที่ดิน กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ประกอบอาชีพทำไร่หมุนเวียน ซึ่งเป็นไร่ในลักษณะดั้งเดิมในที่ดินที่มีมากกว่าหนึ่งแปลงแล้วผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเพื่อที่จะได้มีการพักฟื้นที่ดินเพื่อปรับความสมดุลตามธรรมชาติ การทำไร่แบบเป็นแกนหลักต่อการดำรงชีวิต วัฒนธรรม และอัตลักษณ์ชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ซึ่งมีคุณูปการต่อระบบนิเวศ ความหลากหลายทางชีวภาพ ความอุดมสมบูรณ์ของหน้าดิน ภาวะไร้สารพิษทางการเกษตร […]

3 ปีบิลลี่ กับ 3 ประเด็นสิทธิที่ยังค้างคา

วันนี้ (17 เมษายน 2560) เครือข่ายภาคประชาชนชาติพันธุ์กระเหรี่ยง ได้ร่วมกันจัดงาน 3 ปีบิลลี่ พอละจี รักจงเจริญ ณ ห้วยกระซู่ ต.ยางน้ำกลัดเหนือ อ.หนองหญ้าปล้อง จ.เพชรบุรี โดยมีชาวบ้านชาต้พันธุ์กระเหรี่ยงเจ้าร่วมงานจากหลายพื้นที่ อาทิ บ้านลิ้นช้าง บ้านพุน้ำร้อน บ้านสาลิกา บ้านห้วยกระซู่ บ้านบางกลอย บ้านตากแดด ฯลฯ 17 เมษายน 2560 เป็นวันครบรอบ 3 ปีที่บิลลี่หายไป หลังถูกควบคุมโดยเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน บิลลี่ถือเป็นนักปกป้องสิทธิมนุษยชนและเป็นตัวแทนชุมชนบางกลอย ในการประสานงานดำเนินการเรื่องสิทธิชุมชนของคนกะเหรี่ยง (ปกาเกอะญอ) ต้นน้ำเพชรบุรี ในงานมีการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมและรำลึกถึงนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่จากไป อาทิ นายทัศกมล โอบอ้อม หรืออาจารย์ป๊อด ผู้ที่ช่วยเหลือชาวบ้านบางกลอยเรียกร้องสิทธิหลังถูกเผาบ้านไล่รื้อจากแผ่นดินเดิม ณ ใจแผ่นดิน อาจารย์ป๊อดถูกยิงในวันที่ 10 กันยายน 2554 กระบวนการยุติธรรมไม่สามารถลงโทษผู้กระทำความผิดได้ บิลลี่ พอละจี รักจงเจริญ นักปกป้องสิทธิชาติพันธุ์กระเหรี่ยงบางกลอย เขาหายตัวไปเมื่อวันที่ 17 เมษายน […]

เสวนา 2 ปีบิลลี่ ญาติและองค์กรสิทธิเรียกร้องให้เร่งสืบสวนสอบสวนคดีจนทราชะตากรรมของบิลลี่และเด่น คำแหล้ รวมทั้งเรียกร้องให้รัฐเร่งสร้างกลไกเพื่อป้องกันการบังคับสูญหาย

วันที่ 10 พฤษภาคม2559 ณ ห้องประชุมสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน และมูลนิธิผสานวัฒนธรรม ได้ร่วมกันจัดเวทีเสวนาวิชาการ 2 ปีบิลลี่ : อุ้มหายคน อุ้มหายความยุติธรรม อุ้มหายสิทธิเสรีภาพ เพื่อเป็นการทบทวนบทเรียนและวิเคราะห์สถานการณ์การบังคับสูญหาย รวมทั้งจัดทำข้อเสนอของภาคประชาสังคมต่อกฎหมายการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับให้สูญหาย ตลอดจนร่วมผลักดันให้มีการออกกฎหมายดังกล่าวโดยเร่งด่วนเพื่อที่จะยกระดับการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและผลักดันกลไกในการป้องกันการบังคับสูญหายและมีกระบวนการยุติธรรมที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยในงานมีผู้สนใจเข้าร่วมกว่า 50 คน คุณพิณภา พฤกษาพรรณ หรือมึนอ ภรรยาของบิลลี่ กล่าวถึงการหายตัวไปของบิลลี่ วันสุดท้ายที่เขาพบบิลลี่อยู่บ้านก็คือวันที่ 15 เมษายน 2557 และได้ข่าวจากน้องชายของบิลลี่ ว่าเจ้าหน้าที่อุทยานควบคุมตัวเขาไว้ที่ด่านมะเร็ว เหล่าแล้วเขาก็หายตัวไป มึนอยังกล่าวถึงกรณีที่เจ้าหน้าที่ที่ถูกกล่าวหาว่าเกี่ยวพันกับการหายตัวไปของบิลลี่และถูกร้องขอให้ตรวจสอบและขอให้ย้ายออกจากพื้นที่ แต่ปัจจุบันกลับได้รับผิดชอบหน้าที่ที่ยิ่งใหญ่ขึ้นกว่าเดิม เหมือนคนๆนี้มีอำนาจเหนือกฎหมาย ทำไมคนที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำบิลลี่และคดียังไม่ถึงที่สุด กลับได้รับตำแหน่งที่ดูจะใหญ่โตขึ้น นอกจากนี้ มึนอยังกล่าวถึงการยื่นคำร้องให้ศาลตรวจสอบการควบคุมตัวบิลลี่โดยมิชอบ ตามมาตรา 90 ของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา แต่ก็ปรากฎว่าทั้งสามศาลต่างยกฟ้องไปแล้ว คุณวราภรณ์ อุทัยรังสี ทนายความจากสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ซึ่งมีบทบาทเข้าไปช่วยเหลือทางกฎหมายในการยื่นคำร้องขอให้ปล่อยตัวบิลลี่โดยมิชอบ สะท้อนปัญหาว่าการใช้เครื่องมือทางกฎหมายผ่านกลไกมาตรา 90 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญานั้น พบว่าศาลไม่ได้เข้าไปค้นหาความจริงอย่างเต็มที่ ในศาลฎีกานั้นพบว่าศาลเน้นวินิจฉัยในข้อกฎหมายจนตัดข้อเท็จจริงออกไปแทบทั้งหมด กล่าวคือศาลฎีกาเห็นว่าการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้ศาลไม่สามารถรับฟังพยานปากของชัยวัฒน์และเจ้าหน้าที่ได้ ส่วนพยานฝ่ายของผู้ร้องก็เป็นเพียงพยานบอกเล่า เมื่อไม่มีข้อเท็จจริงให้ฟังได้ ข้อเท็จจริงที่จะรับฟังว่าบิลลี่ถูกควบคุมตัวไว้โดยมิชอบจริงหรือไม่จึงไม่เพียงพอ ด้วยเหตุนี้ศาลก็เลยยกฟ้อง มีคำถามว่า กรณีเช่นนี้ที่กระบวนการพิจารณาที่กระทำโดยมิชอบตั้งแต่ศาลชั้นต้น จนนำมาสู่การตัดพยานและการยกฟ้อง […]

ทบทวนการใช้กลไกทางกฎหมายกรณีการหายตัวไปของบิลลี่ 2 ปีการหายไปของบิลลี่ กับความยุติธรรมที่ยังมาไม่ถึง

นับตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน พ.ศ.2557 ที่นายพอละจี รักจงเจริญ หรือบิลลี่ ได้หายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย หลังจากถูกควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2557 ที่ด่านเขามะเร็ว ซึ่งเจ้าหน้าที่อ้างว่าบิลลี่มีรังผึ้งและน้ำผึ้งป่าไว้ในครอบครอง หลังจากนั้นบิลลี่ก็หายตัวไปโดยไม่ทราบชะตากรรมจนกระทั่งบัดนี้  แม้ภายหลังนายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานจะอ้างว่าได้ทำการตักเตือนและปล่อยตัวบิลลี่ไปแล้ว อย่างไรก็ดี ไม่ปรากฏหลักฐานที่อ้างเกี่ยวกับการจับกุมและหลักฐานการปล่อยตัวแต่อย่างใด บิลลี่เป็นแกนนำชาวบ้านกะเหรี่ยงบ้านบางกลอย  นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน และผู้ช่วยทนายความในคดีที่ชาวบ้านบางกลอยยื่นฟ้องกรมอุทยานแห่งชาติฯ ต่อศาลปกครองกลาง จากกรณีที่นายชัยวัฒน์  ลิ้มลิขิตอักษร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เข้ารื้อทำลาย เผาบ้านเรือนและทรัพย์สินของชาวบ้านกว่า 20 ครอบครัว  ที่บ้านบางกลอยเมื่อเดือนพฤษภาคม 2554 ตาม“โครงการขยายผลการอพยพ ผลักดัน/จับกุม ชนกลุ่มน้อยที่บุกรุกพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ตามแนวชายแดนไทยพม่า”  หรือ“ยุทธการตะนาวศรี”  เพื่อผลักดันให้ชาวบ้านออกจากพื้นที่ แม้จะปรากฏผลการศึกษายืนยันว่าชาวบ้านเป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิมชาวปาเกอญอที่ตั้งรกรากอาศัยอยู่ในพื้นที่มาเป็นเวลาร่วมกว่า100ปีแล้วขณะที่บิลลี่หายตัวไปนั้นอยู่ระหว่างการเตรียมข้อมูลเพื่อต่อสู้คดีดังกล่าว นอกจากนี้ บิลลี่ยังอยู่ระหว่างการเตรียมถวายฎีกาเพื่อร้องเรียนขอความเป็นธรรมต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วย ทั้งนี้ เรายังเชื่อด้วยว่านายบิลลี่มีพยานหลักฐานเกี่ยวกับคดีและกรณีร้องเรียนดังกล่าวอยู่กับตัวด้วยในขณะที่หายไป หลังจากที่บิลลี่ถูกบังคับให้หายตัวไป ครอบครัวของเขา รวมทั้งองค์กรพัฒนาเอกชนทั้งในและระหว่างประเทศหลายองค์กร ได้พยายามเคลื่อนไหวมาอย่างต่อเนื่องเพื่อเรียกร้องให้มีการสืบสวนสอบสวนหาตัวบิลลี่และนำตัวผู้กระทำมาลงโทษ ผ่านการใช้กลไกทางกฎหมายหลากหลายช่องทาง แต่ 2 ปีผ่านไป การดำเนินการเหล่านั้นกลับไม่ประสบความสำเร็จมากนัก การสืบสวนสอบสวนคดีอาญา การดำเนินคดีอาญาถือเป็นกลไกหลักที่สำคัญในการที่จะสืบหาตัวบิลลี่ที่สูญหายไปและนำผู้ที่เกี่ยวข้องกับการทำให้เขาหายไปมารับโทษอย่างเหมาะสม การสืบสวนสอบสวนเริ่มต้นขึ้น เมื่อนางสาวพิณนภา พฤกษาพรรณ ภรรยาของบิลลี่  […]

ศาลสั่งสอบนายชัยวัฒน์ หัวหน้าอุทยานแก่งกระจาน กรณีการหายตัวไปของนายบิลลี่

ล่าสุดวันนี้ เวลาประมาณ 15.30 นาฬิกา ศาลจังหวัดเพชรบุรี ได้ออกนั่งบัลลังก์ไต่ส่วนคำร้องกรณีนายบิลลี่หายตัวไป โดยศาลสั่งให้นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานและนายเกษม ลือฤทธิ์ หัวหน้าหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ กจ.6 (เขามะเร็ว) มาสอบพยานเพิ่มเติม ในวันที่ 30 เมษายน 2557 เวลา 13.30 นาฬิกา โดยกรณีนี้สืบเนื่องมาจาก เช้าวันนี้ (24 เมษายน 2557) คณะทนายความจากสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนและมูลนิธิผสานวัฒนธรรม พร้อมด้วยภรรยาของนายบิลลี่ หรือ นายพอละจี รักจงเจริญ ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลจังหวัดเพชรบุรีเพื่อขอไต่สวนกรณีการหายตัวไปของนายบิลลี่ เพื่อขอศาลเรียกหัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานและเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมตัวมาไต่สวนให้ชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการควบคุมตัวนายบิลลี่ และขอให้ปล่อยตัวทันที ทั้งนี้ นายบิลลี่ เป็นนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน แกนนำชาวบ้านกะเหรี่ยงบ้านบางกลอย อ.แก่งกระจาน จ. เพชรบุรี  ได้หายตัวไปหลังจากถูกเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานจับกุมเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2557 และไม่ทราบชะตากรรมจนถึงปัจจุบัน ในช่วงบ่าย ศาลได้พิจารณาไต่สวนคำร้องและพยานฝ่ายผู้ร้องแล้วเห็นว่า กรณีมีเหตุอันสมควรสงสัยว่า นายพอละจีอยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานหรือไม่ เพื่อให้ข้อเท็จจริงกระจ่างขึ้น จึงเห็นสมควรให้มีหมายเรียก นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานและนายเกษม […]

1 2 3