เสรีภาพในการแสดงออก

แถลงการณ์ ให้ยุติการปิดกั้นการใช้เสรีภาพในการแสดงออกและการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อร่างรัฐธรรมนูญ

แถลงการณ์ ให้ยุติการปิดกั้นการใช้เสรีภาพในการแสดงออกและการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อร่างรัฐธรรมนูญ ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันที่กำลังจะมีการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 นี้ แต่การรณรงค์ก่อนประชามติกลับเป็นไปอย่างจำกัดเนื่องจากการแสดงออกในทางโต้แย้งร่างรัฐธรรมนูญถูกปิดกั้น โดยเฉพาะมาตรการทางกฎหมาย โดยเจ้าหน้าที่รัฐภายใต้รัฐบาล คสช. ได้บังคับใช้มาตรา 61 วรรคสองพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2559 และข้อ 12. ของคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/2558 อย่างกว้างขวางเพื่อปิดกั้นกลุ่มที่ออกมาเคลื่อนไหวในทางที่ไม่เห็นด้วยหรือโต้แย้งร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติ ซึ่งการจับกุมนักกิจกรรม นักศึกษาและผู้สื่อข่าวรวม 5 รายที่ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2559 ที่ผ่านมา ถือเป็นกรณีล่าสุดที่แสดงให้เห็นถึงการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในทางที่ปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชน องค์กรสิทธิฯ นักกฎหมาย ทนายความและนักกิจกรรมที่มีรายชื่อปรากฏท้ายแถลงการณ์นี้ มีความกังวลต่อสถานการณ์การบังคับใช้กฎหมายที่เกิดขึ้นดังกล่าว จึงมีความเห็นและข้อเรียกร้องดังต่อไปนี้ 1. เสรีภาพในการแสดงออก เป็นสิทธิที่รับรองไว้ในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง ที่ประเทศไทยมีพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตาม ซึ่งกติกาฯดังกล่าวได้ประกันสิทธิของบุคคลทุกคนที่จะถือเอาความคิดเห็นใดๆโดยปราศจากการแทรกแซง และบุคคลทุกคนมีสิทธิในเสรีภาพแห่งการแสดงออก รวมถึงเสรีภาพที่จะแสวงหา รับและกระจายข่าวและความคิดเห็นทุกรูปแบบ เสรีภาพในการแสดงออก เป็นเงื่อนไขที่จำเป็นในการที่จะส่งเสริมความเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์และถือเป็นองค์ประกอบที่ขาดไม่ได้ในสังคมประชาธิปไตย เพราะเสรีภาพดังกล่าวจะเป็นกลไกสำคัญในการแลกเปลี่ยนซึ่งความคิดเห็นอันนำไปสู่การพัฒนาสังคมการเมือง ส่งเสริมให้เกิดความโปร่งใสและความรับผิดชอบของผู้ใช้อำนาจรัฐ และนำมาซึ่งการปกป้องสิทธิและเสรีภาพของประชาชนและสังคมโดยส่วนร่วม อีกทั้ง ยังเป็นเครื่องมือที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อการเปลี่ยนผ่านประเทศไปสู่ประชาธิปไตยและการปรองดองดังที่ คสช. กล่าวอ้างเป็นเหตุในการเข้ายึดอำนาจ […]

แถลงการณ์ ให้ยุติการปิดกั้นการใช้เสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมโดยสงบ และปล่อยตัวผู้ถูกควบคุมตัวโดยทันที

แถลงการณ์ ให้ยุติการปิดกั้นการใช้เสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมโดยสงบ และปล่อยตัวผู้ถูกควบคุมตัวโดยทันที สืบเนื่องจากกรณีที่เจ้าหน้าที่ทหารได้ทำการจับกุมควบคุมตัวนักกิจกรรมรวม 13 คน ที่จัดกิจกรรมแจกเอกสารรณรงค์ประชามติร่างรัฐธรรมนูญและเอกสารลงทะเบียนขอใช้สิทธิออกเสียงประชามตินอกพื้นที่ ที่ตลาดเคหะบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อช่วงเย็นของวันที่ 23 มิถุนายน 2559 พร้อมทั้งแจ้งข้อหาชุมนุมทางการเมืองเป็นจำนวน 5 คนขึ้นไปตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 3/2558 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2559 ซึ่งขณะนี้นักศึกษา 7 ใน 13 ราย ยังถูกควบคุมตัวภายในเรือนจำพิเศษกรุงเทพ อีกทั้ง ในช่วงสายของวันที่ 24 มิถุนายน 2559 เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ควบคุมตัวนักศึกษาและนักกิจกรรมอีก 7 คนที่จัดกิจกรรม “ปัดฝุ่นประชาธิปไตย” ณ อนุสาวรีย์ปราบกบฎ (หลักสี่) เพื่อเป็นการรำลึกถึงเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎร 24 มิถุนายน 2475 ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจได้แจ้งข้อหาทั้ง 7 คนในข้อหาขัดคำสั่ง คสช. ที่ 3/2558 และ พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 องค์กรสิทธิมนุษยชนตามที่ปรากฏรายชื่อแนบท้ายแถลงการณ์นี้ […]

รายงานเสวนาวิชาการ “เสรีภาพออนไลน์ภายใต้กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์”

เมื่อวันที่ 27 มิ.ย. 2559 สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนและสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สนับสนุนโดยสมาคมเครือข่ายผู้สื่อข่าวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ซีป้า) ได้จัดเสวนาวิชาการ “เสรีภาพออนไลน์ภายใต้กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์” ณ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย โดยภายในงานเสวนาครั้งนี้ได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนและหลายหน่วยงานที่ส่งตัวแทนเข้ารับฟังเป็นอย่างมาก นำเสนอการเสวนาโดยผู้ดำเนินรายการ คุณกรรณิการ์ กิจติเวชกุล กล่าวถึงความสนใจของประชาชนและสื่อมวลชนจำนวนมากที่มีต่อร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ที่กำลังมีการพิจารณาอยู่ในขณะนี้ รวมถึงข้อแตกต่างระหว่างฉบับเดิมและฉบับแก้ไขที่จะทำให้ดีขึ้น แย่ลงหรือกระทบต่อเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นบนโลกออนไลน์อย่างไร ทางด้าน พ.ต.อ.ดร.นิติพัฒน์ วุฒิบุณยสิทธิ์ ผู้กำกับสอบสวน กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี กล่าวถึงปัญหาการบังคับใช้กฎหมาย พ.ร.บ. คอมฯ ไว้ว่า “เป็นกฎหมายใหม่ ยังไม่มีฎีกาให้ทางพนักงานสอบสวนได้ใช้เพื่อเป็นแนวปฏิบัติ ที่สำคัญคือยังไม่มีผู้เชี่ยวชาญที่จะบอกได้ถึงความถูกต้องชัดเจนในเรื่องของการปฏิบัติงาน ฉะนั้นพนักงานสวบสวนจึงจะต้องใช้ดุลพินิจหลายๆอย่างประกอบรวมทั้งดุลพินิจของพนักงานสอบสวนเองในการทำงาน ประสบการณ์จากการทำงานหลายๆภาคส่วนมาประกอบในการรับเรื่องร้องเรียน โดยแบ่งเป็นหลายๆส่วน อาทิ ศูนย์รับเรื่องร้องทุกข์ เป็นต้น โดยจะไม่มีการแบ่งพื้นที่กันสามารถรับเรื่องร้องทุกข์ได้ทั่วประเทศ แต่ทั้งนี้พนักงานสอบสวนจะต้องมีการพิจารณาถึงลักษณะในการกระทำความผิด พฤติการณ์ในการกระทำความผิดเสียก่อน หากมีผู้กระทำความผิดตามพรบ.นี้ พนักงานสอบสวนต้องใช้ดุลพินิจในหลักฐานและพยานตามข้อเท็จจริง พร้อมย้ำว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นปลายเหตุ ดังนั้นประชาชนที่ใช้โลกโซเชียลจะต้องอย่าหลงเชื่อใครง่ายๆ พร้อมยืนยันหากมีการร้องทุกข์จริง ตำรวจปอท. พร้องผดุงความยุติธรรมในหลักฐานและพยานตามข้อเท็จจริง” คุณสุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ อธิบายว่า กฎหมายฉบับนี้มีปัญหาเรื่องการบังคับใช้พอสมควร เพราะบางส่วนคิดว่าตัวกฎหมายละเมิดสิทธิประชาชนมาก โดยเฉพาะมาตรา […]

17 เม.ย. 57 นัดส่งตัวนักข่าวภูเก็ตหวานขึ้นศาล หลังถูกกองทัพเรือฟ้องหมิ่นฯ ลุ้นประกันตัววันนั้น

17 เมษายน 2557 เวลา 9.30 น. อัยการจังหวัดภูเก็ต นัดหมายให้ นายอลัน มอริสัน และนางสาวชุติมา สีดาเสถียร นักข่าวจากสำนักข่าวออนไลน์ “ภูเก็ตหวาน” ไปพบที่ศาลจังหวัดภูเก็ตเพื่อนำตัวส่งฟ้องต่อศาล ในคดีที่กองทัพเรือร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีในข้อหาหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา และความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ คดีนี้สืบเนื่องจาก เมื่อเดือนกรกฎาคม 2556 สำนักข่าวภูเก็ตหวานเผยแพร่ “รายงานพิเศษเรื่อง : ทหารไทยได้รับผลประโยชน์จากการค้ามนุษย์ผู้อพยพทางเรือ” ซึ่งอ้างอิงแหล่งข้อมูลมาจากสำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานชิ้นนี้มีการกล่าวพาดพิงว่าเจ้าหน้าที่กองทัพเรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับขบวนการค้ามนุษย์ชาวโรฮิงญา โดยเมื่อเดือนธันวาคม 2556 กองทัพเรือจึงไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรวิชิต อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ตให้ดำเนินคดีทั้งสองคนฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา และเผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จ ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มาตรา 14(1) คดีนี้ นักข่าวทั้งสองคนยืนยันพร้อมจะต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ โดยต้องการให้คดีนี้เป็นกรณีศึกษาการละเมิดเสรีภาพในการนำเสนอข่าวสารของสื่อมวลชน โดยใช้การดำเนินคดีพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์  เป็นการบิดเบือนเจตนารมณ์ของกฎหมาย  เนื่องจากกฎหมายนี้ประสงค์ที่จะดำเนินคดีกับผู้ที่โจรกรรมข้อมูลในคอมพิวเตอร์ หรือการเจาะระบบ เนื่องจากผู้ต้องหาทั้งสองไม่ยอมรับการใช้กฎหมายนี้กับสื่อมวลชน จึงไม่ต้องการใช้หลักทรัพย์ของตัวเองเพื่อยื่นขอประกันตัวและยินยอมที่จะถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำจนกว่าการพิจารณาคดีจะเสร็จสิ้น อย่างไรก็ตามหลายฝ่ายได้ยื่นมือเข้าช่วยเหลือโดยขอให้กรมคุ้มครองสิทธิเสรีภาพเป็นผู้ประกันตัว และประสานขอความช่วยเหลือจากองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนทั้งในระดับประเทศและระดับสากล  ล่าสุดศูนย์กฎหมายและสิทธิชุมชนพื้นที่อันดามันมูลนิธิอันดามันได้ให้ความช่วยเหลือโดยให้ใช้สลากออมสินสำหรับใช้ยื่นประกันตัวในวันที่ 17 เม.ย.นี้ โดยยังต้องรอลุ้นว่าศาลจะอนุญาตให้ประกันตัวหรือไม่ ก่อนหน้านี้องค์กรด้านสิทธิมนุษยชนหลายองค์กร เช่น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (OHCHR)  และสมาคมเครือข่ายผู้สื่อข่าวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAPA) ได้ออกแถลงการณ์แสดงความห่วงใยต่อเสรีภาพการแสดงออกในประเทศไทย และเรียกร้องให้มีการถอนฟ้องคดีนี้

บทวิเคราะห์คำพิพากษาศาลแพ่งคดีหมายเลขแดงที่ 1812/2553 (คดีปิดเว็บไซต์ข่าวประชาไท) โดย สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์

เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2553 ศาลแพ่งได้มีคำพิพากษาคดีหมายเลขแดงที่ 1812/2553 ในคดีที่มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชนเจ้าของเว็บไซต์ข่าวประชาไทได้ยื่นฟ้องนายกรัฐมนตรี ผู้อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและกระทรวงการคลังเพื่อขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งปิดเว็บไซต์ข่าวประชาไท (www.prachatai.com) และเรียกร้องค่าเสียหายจากการถูกละเมิดสิทธิ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 45 ศาลแพ่งใช้เวลาพิจารณาคดีนี้ประมาณ 5 ชั่วโมง และได้มีคำพิพากษาในเย็นวันที่ 23 เมษายน 2553วันเดียวกับที่ยื่นฟ้อง โดยพิพากษายกฟ้องและไม่สั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลให้แก่โจทก์ ทั้งนี้ในการดำเนินกระบวนพิจารณาจนพิพากษาคดี ศาลไม่ได้ดำเนินการไต่สวนพยานโจทก์ตามที่โจทก์ร้องขอ และไม่ได้ส่งสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยทั้ง 5 บทความนี้ผู้เขียนประสงค์จะวิเคราะห์คำพิพากษาของศาลแพ่ง โดยใช้หลักกฎหมายปกครองที่สำคัญ คือ หลักการกระทำทางปกครองต้องชอบด้วยกฎหมาย เป็นฐานในการวิเคราะห์ เนื่องจากผู้เขียนเห็นว่าคดีนี้เป็นคดีปกครองที่แม้จะถูกบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลแพ่ง แต่เมื่อเป็นคดีปกครองหลักในการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายก็ต้องเป็นการตรวจสอบตาม หลักการกระทำทางปกครองต้องชอบด้วยกฎหมาย 1. สรุปคำฟ้องและคำพิพากษา เพื่อให้เข้าใจประเด็นในคำพิพากษาอย่างครบถ้วนผู้เขียนขอสรุปประเด็นในคำฟ้องไว้เพื่อให้ผู้อ่านพิจารณาประกอบคำพิพากษา ดังนี้ (อ่านเพิ่มเติมได้ที่http://www.prachatai.info/journal/2010/04/29095) 1.1 สรุปคำฟ้อง โจทก์ตั้งประเด็นในคำฟ้องถึงเหตุแห่งความไม่ชอบด้วยกฎหมายของการใช้อำนาจของจำเลยที่ 1 ถึง 4 ในการปิดเว็บไซต์ข่าวประชาไทของโจทก์เป็นสามประเด็นคือ 1) การใช้อำนาจปิดเว็บไซต์ข่าวประชาไทของเป็นการใช้อำนาจและดุลพินิจที่ไม่ชอบด้วย กฎหมายเพื่อลิดรอน จำกัด หรือละเมิดต่อสิทธิเสรีภาพสื่อสารมวลชนของโจทก์อันเป็นสิทธิเสรีภาพที่มีความสำคัญในสังคมประชาธิปไตย ทั้งยังขัดกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วย สิทธิพลเมือง และการเมือง (International […]

1 2