เสรีภาพในการแสดงออก

ยาแรงยับยั้งโควิด-19 ของปอท. อาจเป็นมาตรการปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น

ครั้งแรกของการประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ โควิด-19 หรือ ศบค. โดยมีพล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นประธานศูนย์ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) ได้เสนอประเด็นทางกฎหมายเพิ่มเติมจากการออกข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ข้อ 6 ซึ่งเป็นเรื่องของ “การนำเสนอข่าว”

แถลงการณ์ : ให้ทบทวนและยุติการดำเนินคดีแอดมินเพจและบุคคล 12 ราย กรณีเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการร้องเรียนเรื่องการละเมิดทางเพศต่อนักท่องเที่ยวที่เกาะเต่า

ด้วยปรากฏรายงานข่าวผ่านสื่อมวลชนว่า ได้มีการออกหมายจับแอดมินเพจ CSI LA และคนแชร์ข้อมูลจากเพจดังกล่าวอีก 12 ราย ตามหมายจับศาลจังหวัดเกาะสมุย ที่ 65-77 /2561 ลงวันที่ 3 กันยายน 2561 ในฐานความผิดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายประชาชน นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยประการที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ซึ่งหลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ก็ทำการไล่จับกุมบุคคลตามหมายจับดังกล่าวไปแล้ว 9 ราย และคาดว่าจะมีการนำส่งพนักงานสอบสวน สภ. เกาะสมุยภายในวันนี้ มูลเหตุที่นำมาสู่การถูกออกหมายจับ เนื่องจากเพจ CSI LA ได้เผยแพร่ข้อความที่ในวันที่ 25 สิงหาคม 2561 เกี่ยวกับกรณีหญิงสาวอายุ 19 ปี นักท่องเที่ยวสัญชาติอังกฤษ ถูกข่มขืน ที่หาดทรายรี ตำบลเกาะเต่า อำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฏร์ธานี ในคืนวันที่ 26 มิถุนายน 2561 ต่อมาวันที่ 28 สิงหาคม 2561 เจ้าหน้าที่ตำรวจได้มีการลงพื้นที่ตรวจสอบ เจ้าหน้าที่ระบุว่ากระแสข่าวดังกล่าวได้สร้างผลกระทบต่อภาพลักษณ์การท่องเที่ยวของประเทศ พร้อมทั้งระบุว่าจะมีการดำเนินคดีกับเพจคือ เพจสมุยไทม์ […]

ศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีอภิชาติชู้ป้ายต้านรัฐประหาร ระบุประกาศ คสช. ชอบตาม “ระบอบแห่งการรัฐประหาร” แต่ด้วยจำเลยชุมนุมโดยสงบ จึงให้ยกฟ้องข้อหามั่วสุมฯก่อความวุ่นวาย

ศาลอุทธรณ์เห็นว่าประกาศ คสช. ฉบับที่ 7/2557 ถือเป็นกฎหมายตาม “ระบอบแห่งการรัฐประหาร” แล้ว ไม่จำเป็นต้องอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ. 2457 มารองรับอีก และม่จำเป็นต้องมีการลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาก่อน ส่วนผลของคำพิพากษานั้น ศาลเห็นว่าจำเลยชุมนุมโดยสงบ ไม่เข้าข่ายเป็นการมั่วสุมฯ ก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง จึงให้ยกฟ้องในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 215 วรรคแรก จึงยังคงให้ลงโทษตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ 3/2558 เรื่องการรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของชาติ  ข้อ 12  แต่ด้วยพฤติการณ์แห่งคดีไม่ร้ายแรง จึงยกโทษจำคุกตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ให้คงไว้เพียงโทษปรับ 6,000 บาท อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ฉบับเต็ม วันนี้ (31 พฤษภาคม 2561) เวลาประมาณ 09.30 น. ณ ศาลแขวงปทุมวัน ศาลอุทธรณ์อ่านคำพิพากษาคดีนายอภิชาตชูป้ายต้านรัฐประหารหน้าหอศิลป์กรุงเทพฯ เมื่อปี 2557 หลังจากเลื่อนอ่านคำพิพากษามาแล้ว 3 ครั้ง สำหรับบรรยากาศที่ศาลแขวงปทุมวันในช่วงเช้าวันนี้ มีความเข็มงวดเป็นพิเศษ เจ้าหน้าที่ศาลมายืนต้อนรับผู้คนที่เข้าออกประตูเครื่องตรวจ มีการสอบถามผู้เดินผ่านประตูตามปกติว่ามาติดต่อเรื่องอะไร แต่เมื่อมีการแจ้งว่ามาฟังคำพิพากษาคดีนายอภิชาต เจ้าหน้าที่จะแสดงท่าทีให้ความสนใจสอบถามเป็นพิเศษว่ามีความเกี่ยวข้องกับคดีอย่างไร เจ้าหน้าที่บางคนก็คาดเดาว่าเราเป็นนักข่าวหรือไม่ หลังจากนั้นจะมีการขอตรวจกระเป๋าตามปกติ แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ หากเจ้าหน้าที่พบว่าในกระเป๋ามีคอมพิวเตอร์พกพามาด้วย เขาจะไม่อนุญาตให้เข้าไปในห้องพิจารณา […]

ใบแจ้งข่าว : 31 มกราคมนี้ ศาลอุทธรณ์นัดฟังคำพิพากษาคดีนายอภิชาติชูป้ายต้านรัฐประหารหน้าหอศิลป์กรุงเทพฯ ปี 2557 ลุ้นบรรทัดฐานสิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญและเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ

วันที่ 31 มกราคม 2561 เวลา 10.00 น. ณ ศาลแขวงปทุมวัน ขอเชิญสื่อมวลชนและผู้ที่สนใจเข้าร่วมฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีความผิดขัดคำสั่ง คสช. ฉบับที่ 7/2557 เรื่องห้ามชุมนุมทางการเมือง และชุมนุมมั่วสุม  ก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215วรรคแรก มาตรา216 และมาตรา 368 (คดีหมายเลขดำที่ 1097/2559 คดีหมายเลขแดงที่ 9075/2559)  ระหว่างพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด กับ จ่าสิบเอกอภิชาต พงษ์สวัสดิ์ คดีนี้ ศาลอุทธรณ์ได้เลื่อนฟังคำพิพากษามาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรกวันที่ 30 สิงหาคม 2560 และครั้งที่สองวันที่ 16 พฤศจิกายน 2560 คดีนี้เกี่ยวข้องกับการต่อต้านรัฐประหารคดีแรกๆ ย้อนกลับเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2557 ภายหลังการรัฐประหารของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพียงหนึ่งวัน กลุ่มประชาชนจำนวนหนึ่งได้ออกมาทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ในพื้นที่บริเวณหน้าหอศิลป์ฯ เพื่อคัดค้านการรัฐประหาร  ซึ่งจ่าสิบเอกอภิชาต พงษ์สวัสดิ์ […]

แถลงการณ์นักกฎหมาย ทนายความ กรณีการใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมคุกคามทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน

แถลงการณ์ นักกฎหมาย ทนายความ กรณีการใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมคุกคามทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน สืบเนื่องจากการที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้มีหมายเรียกให้นายอานนท์ นำภา ไปรับทราบข้อกล่าวหา “ดูหมิ่นศาลหรือผู้พิพากษาในการพิจารณาหรือพิพากษาของศาล และโดยทุจริตหรือโดยหลอกลวงนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ซึ่งบิดเบือนหรือปลอม ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน  อันมิใช่ความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา” ซึ่งพันตำรวจโทสุภารัตน์ คำอินทร์  เป็นผู้แจ้งความต่อกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) นั้น นายอานนท์ นำภา เป็นทนายความที่ใช้วิชาชีพของตนบนเส้นทางสิทธิมนุษยชนและความเป็นธรรมมาโดยตลอด ในหลายประเด็น อาทิ ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม สิทธิชุมชน การเข้าถึงความยุติธรรมของประชาชน การช่วยเหลือคดีบิลลี่นักปกป้องสิทธิมนุษยชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่ถูกบังคับสูญหาย รวมถึงคดีเกี่ยวกับการจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชน อันนำมาสู่การกล่าวหาว่ากระทำความผิดในคราวนี้ด้วย พวกเรา นักกฎหมายและทนายความ ในฐานะเพื่อนร่วมวิชาชีพที่ได้เดินทางมาให้กำลังใจนายอานนท์ ในวันนี้ มีความห่วงกังวลต่อการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าพนักงานตำรวจ  ซึ่งถือเป็นตัวแทนในการใช้อำนาจของรัฐ ดังต่อไปนี้ 1.  ความผิดฐานดูหมิ่นศาล มีเจตนารมณ์เพื่อให้กระบวนพิจารณาดำเนินไปโดยเรียบร้อยไม่ถูกขัดขวาง และเพื่อให้ศาลหรือผู้พิพากษาได้รับความคุ้มครองให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเป็นอิสระ เป็นกลาง และเป็นธรรม  ผู้เสียหายหรือผู้กล่าวหาจึงควรเป็นศาลหรือผู้พิพากษา  แต่กรณีนี้ผู้กล่าวหากลับเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ จึงเกิดคำถามว่า  ในการดำเนินการดังกล่าวข้างต้น  ศาลหรือผู้พิพากษาเองมีความประสงค์จะดำเนินคดีดังกล่าวหรือไม่ หากเป็นกรณที่ศาลหรือผู้พิพากษามีความประสงค์จะดำเนินคดีนี้  ในทางกฎหมายก็ยังคงมีความห่วงกังวลเกี่ยวกับขอบเขตของการใช้อำนาจของศาลหรือผู้พิพากษาในความผิดฐานนี้     2.  การใช้การตีความกฎหมายต้องคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยหลายฉบับที่ผ่านมา รวมถึงฉบับปัจจุบันได้ให้ความสำคัญต่อการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน  โดยวางหลักการไว้ว่าการใช้อำนาจรัฐต้องคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชนด้วยเสมอ  การจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนโดยหลักแล้วย่อมทำไม่ได้ เว้นแต่จะอาศัยอำนาจของกฎหมายและจะกระทบสาระสำคัญแห่งสิทธิเสรีภาพไม่ได้  กฎหมายอาญาและกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเป็นกฎหมายที่กระทบต่อสิทธิและเสรีภาพประชาชน เพราะให้อำนาจรัฐในการจำกัดสิทธิเสรีภาพหลายประการ  การใช้การตีความกฎหมายอาญาของเจ้าหน้าที่จึงต้องเป็นไปโดยเคร่งครัดและระมัดระวัง  มิเช่นนั้นกฎหมายจะกลายเป็นเครื่องมือของรัฐในการละเมิดสิทธิเสรีภาพและกลั่นแกล้งประชาชน  3. การใช้การตีความกฎหมายอาญาต้องตีความอย่างเคร่งครัด สืบเนื่องจากความสำคัญของสิทธิเสรีภาพ […]

ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้เลื่อนการพิพากษาคดี “อภิชาต” ชูป้ายคัดค้านรัฐประหารหน้าหอศิลป์กรุงเทพฯ

วันที่ 30 สิงหาคม 2560 เวลา10.00 น. ศาลแขวงปทุมวันมีคำสั่งให้เลื่อนการพิพากษาคดีไป เนื่องจากศาลอุทธรณ์พิจารณาคดียังไม่แล้วเสร็จ ในคดีหมายเลขดำที่ 1097/2559 และคดีหมายเลขแดงที่ 9075/2559 ระหว่างพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด กับ จ่าสิบเอกอภิชาต พงษ์สวัสดิ์ ในคดีความผิดต่อพระราชบัญญัติกฎอัยการศึกและความผิดต่อประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เรื่องห้ามชุมนุมทางการเมือง จากกรณีที่จ่าสิบเอกอภิชาตฯ ชูป้ายคัดค้านการรัฐประหารหน้าหอศิลป์กรุงเทพมหานคร คดีนี้ สืบเนื่องจากกรณีการทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ในพื้นที่บริเวณหน้าหอศิลป์ฯ ของจ่าสิบเอกอภิชาต พงษ์สวัสดิ์  ผู้ช่วยนักวิชาการปฎิรูปกฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการปฎิรูปกฎหมาย เพื่อคัดค้านการรัฐประหารของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2557 และพนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องในวันที่ 28เมษายน 2558 ในความผิดต่อพระราชบัญญัติกฎอัยการศึกและความผิดต่อประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เรื่องห้ามชุมนุมทางการเมือง ต่อมาศาลแขวงปทุมวันมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559  พิพากษายกฟ้อง โดยให้เหตุผลว่ากระบวนการสอบสวนไม่ถูกต้อง ซึ่งพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุดได้อุทธรณ์คำพิพากษาต่อศาลแขวงปทุมวันขอให้ศาลอุทธรณ์กลับคำพิพากษาและลงโทษจำเลยตามกฎหมาย โดยคดีนี้ ศาลแขวงปทุมวันอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในวันที่ 11 ตุลาคม 2559  เห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วมีคำพิพากษาใหม่ วันที่ 19 ธันวาคม 2559 ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาใหม่ว่า จำเลยมีความผิดตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 7/2557 ให้พิจารณาโทษตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 3/2558 และประมวลกฎหมายอาญามาตรา 215 วรรคแรก แต่เนื่องจากเป็นความผิดกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท จึงให้ลงโทษตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 3/2558 ให้จำคุก 2 เดือน […]

ใบแจ้งข่าว : ขอเชิญสื่อมวลชนและผู้ที่สนใจเข้าร่วมฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดี “อภิชาต” ชูป้ายคัดค้านรัฐประหารหน้าหอศิลป์กรุงเทพฯ

วันที่ 30 สิงหาคม 2560 เวลา 10.00 น. ณ ศาลแขวงปทุมวันมีนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ในคดีหมายเลขดำที่ 1097/2559 และคดีหมายเลขแดงที่ 9075/2559  ระหว่างพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด กับ จ่าสิบเอกอภิชาต พงษ์สวัสดิ์ ในคดีความผิดต่อพระราชบัญญัติกฎอัยการศึกและความผิดต่อประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เรื่องห้ามชุมนุมทางการเมือง จากกรณีที่จ่าสิบเอกอภิชาตฯ ชูป้ายคัดค้านการรัฐประหารหน้าหอศิลป์กรุงเทพมหานคร  จึงขอเชิญสื่อมวลชนและผู้ที่สนใจเข้าร่วมฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ตามวันและเวลาดังกล่าวข้างต้น คดีนี้ สืบเนื่องจากกรณีการทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ในพื้นที่บริเวณหน้าหอศิลป์ฯ ของจ่าสิบเอกอภิชาต พงษ์สวัสดิ์  ผู้ช่วยนักวิชาการปฎิรูปกฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการปฎิรูปกฎหมาย เพื่อคัดค้านการรัฐประหารของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2557 และพนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องในวันที่ 28 เมษายน 2558 ในความผิดต่อพระราชบัญญัติกฎอัยการศึกและความผิดต่อประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เรื่องห้ามชุมนุมทางการเมือง ต่อมาศาลแขวงปทุมวันมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559  พิพากษายกฟ้อง โดยให้เหตุผลว่ากระบวนการสอบสวนไม่ถูกต้อง เนื่องจากคดีนี้เหตุเกิดและจำเลยถูกจับกุมในท้องที่สน.ปทุมวัน แต่ตำรวจจากกองปราบเป็นผู้สอบสวน ซึ่งโจทก์ไม่ได้นำสืบให้ศาลเห็นถึงเขตอำนาจสอบสวน จึงถือว่าไม่มีการสอบสวนอย่างถูกต้อง วันที่ 17 มีนาคม 2559  […]

บนเส้นทางกฎหมายชุมนุมสาธารณะ : กรณีการชุมนุมยื่นหนังสือค้านแก้กฎหมายบัตรทอง

การชุมนุมสาธารณะ ถือเป็นเรื่องปกติในสังคมประชาธิปไตย ที่ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมในเรื่องสาธารณะ  สามารถแสดงออกถึงความเดือดร้อนของตนหรือกลุ่มตนต่อผู้มีอำนาจ หรือต้องการแสดงออกถึงเจตจำนงค์บางประการได้ การชุมนุมสาธารณะ เป็นเครื่องมือในการต่อรองหรือโต้แย้งกับอำนาจรัฐหรือทุนที่ไม่เป็นธรรม เป็นเครื่องมือสำคัญของชาวบ้านเพื่อเรียกร้องให้เกิดการแก้ไขปัญหาความทุกข์ร้อนบางอย่าง ตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน เราจะเห็นการชุมนุมสาธารณะเกิดขึ้นเสมอๆ ไม่ว่าจะเป็นการชุมนุมเพื่อเป้าหมายต่อต้านรัฐบาล หรือการชุมนุมย่อยๆของกลุ่มประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายของรัฐ แม้โดยหลักการ การชุมนุมสาธารณะโดยสงบจะถูกรับรองให้เป็นสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานประการหนึ่ง แต่ในสังคมไทย หลายคนก็ไม่ได้พึงใจกับการชุมนุมสาธารณะมากนัก เพราะมันดูมีความขัดแย้งวุ่นวาย ไทยนี้รักสงบ จะมาชุมนุมกันให้วุ่นวายทำไม คนที่ไม่ชอบให้มีการชุมนุมก็มักจะลดทอนความชอบธรรมของการชุมนุมด้วยการกล่าวหาว่า เป็นม็อบรับจ้างบ้าง ซึ่งผู้เขียนก็ไม่รู้ว่าม็อบแบบนั้นมีจริงสักเท่าไหร่กัน เพราะเท่าที่เข้าร่วมสักเกตุการณ์การชุมนุมที่ผ่านมาก็ไม่เห็นว่ามีใครถูกจ้างมาชุมนุม แต่ก็นั้นแหละครับ ใครอยากรู้ว่ากลุ่มต่างๆที่มาชุมนุมกันนั้น มีการจ้างมาหรือป่าว ก็น่าจะเข้าไปสังเกตการณ์การชุมนุมดูสักครั้ง เท่าที่ผู้เขียนติดตามการชุมนุมของกลุ่มต่างๆ พบว่า การชุมนุมมันมีสาเหตุ ไม่ได้เกิดจากการนึกอยากสนุก หรือการอยากเปลี่ยนบรรยากาศมากินนอนข้างถนน ตากแดดตากฝน การชุมนุมมันมีที่มาของมัน ซึ่งส่วนใหญ่เหตุปัจจัยที่ก่อให้เกิดการชุมนุมก็มาจากรัฐเป็นผู้ก่อปัญหาเอง แม้แต่การชุมนุมทางการเมืองเพื่อโค่นล้มรัฐบาลหลายครั้งหลายหนที่ผ่านมา เราก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่ารัฐบาลเองก็ทำผิดพลาด ดังนั้น หากรัฐจริงใจ ฟังเสียงของประชาชน เปิดพื้นที่การมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง มีการบริหารอย่างโปร่งใส และเคารพหลักนิติธรรม การชุมนุมสาธารณะก็คงลดลงหรือหมดไปเอง ไม่ต้องใช้อำนาจหรือกฎหมายใดๆมาจัดการด้วยซ้ำไป   ทำไมการชุมนุมสาธารณะถึงจำเป็น การชุมนุมถือเป็นเครื่องมือสำคัญของผู้ด้อยอำนาจเพื่อใช้ต่อรองหรือเพื่อกดดันเรียกร้องให้รัฐรับผิดชอบต่อความผิดพลาดหรือแก้ไขปัญหาต่างๆ อาจจะมีบางคนบอกว่า ทำไมไม่ใช้กลไกหรือช่องทางที่รัฐจัดไว้ให้ล่ะ? ประสบการณ์คงบอกภาคประชาชนอยู่แล้วว่า กลไกร้องทุกข์ร้องเรียนตามระบบราชการปัจจุบันทำงานยังไง และมีประสิทธิภาพขนาดไหน บางกลไกก็ตั้งขึ้นมาเพื่อให้เห็นว่ามี หรือเพื่อมารับหน้าแล้วขอไปที […]

ไพโรจน์ พลเพชร : เราต้องยืนยันว่าเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบเป็นสิ่งที่พึงกระทำได้ไม่ว่าในรัฐบาลไหน

วันพุธที่ 15 มีนาคมนี้ เวลา 09.30 น. ศาลอาญารัชดานัดอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีที่ 10 เอนจีโอ/นักเคลื่อนไหวชุมนุมและปีนรั้วเข้ารัฐสภาเพื่อคัดค้านการออกกฎหมายของสภานิติบัญญัติแห่งชาติในช่วงปี 2550 คดีนี้เราเรียกกันสั้นๆติดปากว่า “คดีปีนสภา” ความเป็นมาของคดีนี้ก็คือ ในช่วงก่อนที่จะมีการเลือกตั้งทั่วไปที่กำหนดให้มีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ไม่กี่วัน  สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งตั้งขึ้นหลังการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ได้มีการเร่งรีบพิจารณาร่างกฎหมายจำนวนมาก โดยร่างกฎหมายหลายฉบับมีเนื้อหาที่ไม่เป็นธรรม ละเมิดสิทธิเสรีภาพและขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน  ทำให้กลุ่มบุคคลและองค์กรภาคเอกชนหลายร้อยคน ออกมาเคลื่อนไหวชุมนุมเพื่อแสดงความถึงความไม่เห็นด้วยและคัดค้านการปฏิบัติหน้าที่ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) รวมทั้งคัดค้านการพิจารณาออกกฎหมายจำนวน 11 ฉบับ อาทิ ร่างกฎหมายการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร ร่างกฎหมายว่าด้วยเงื่อนไขและหลักเกณฑ์การแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจ ร่างกฎหมายมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ ฯลฯ เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2549 ประชาชนหลายร้อยคน นัดชุมนุมกันที่บริเวณหน้ารัฐสภา และได้มีการปีนเข้าไปในอาคารรัฐสภา เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นเหตุให้ผู้ชุมนุม 10 คน ประกอบด้วย 1) นายจอน อึ๊งภากรณ์ อดีตประธานมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม 2) […]

แถลงการณ์ : คืนสิทธิปล่อยตัวระหว่างดำเนินคดีแก่นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษาโดยทันที

แถลงการณ์ คืนสิทธิปล่อยตัวระหว่างดำเนินคดีแก่นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษาโดยทันที เผยแพร่ 16 มกราคม 2560 สืบเนื่องจากตั้งแต่วันที่ 22 ธันวาคม 2559 ศาลจังหวัดขอนแก่นได้มีคำสั่งให้เพิกถอนสัญญาประกันตัว นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ “ไผ่ ดาวดิน” นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้ถูกกล่าวหาว่า กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 จากการแชร์ข่าวพระราชประวัติรัชกาลที่ 10 จากเฟซบุคของสำนักข่าวบีบีซีไทย ในเฟซบุคของตนเอง โดยศาลให้เหตุผลในการเพิกถอนการประกันตัวว่า ยังไม่ยอมลบข้อความที่ถูกกล่าวหา และมีการโพสรูปภาพแสดงท่าทางในเชิงสัญลักษณ์ที่ศาลเห็นว่าเป็นการเย้ยหยันอำนาจรัฐ ซึ่งนับตั้งแต่ศาลจังหวัดขอนแก่นมีคำสั่งเพิกถอนการประกันตัว ทนายความได้ยื่นอุทธรณ์ และฎีกาตามลำดับ แต่ศาลสูงได้ยืนตามคำสั่งของศาลจังหวัดขอนแก่น นอกจากนี้ ทนายความยังได้มีการยื่นขอประกันตัวใหม่ไปแล้วถึง 5 ครั้ง แต่ศาลก็ยังไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวจตุภัทร์ โดยอ้างว่า ยังไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม ประกอบกับพนักงานสอบสวนได้ยื่นขอฝากขัง ครั้งที่ 4 โดยอ้างว่า การสอบสวนพยานบุคคลยังไม่เสร็จสิ้น และศาลขอนแก่นได้อนุมัติฝากขัง เป็นผลให้จตุภัทร์ต้องถูกคุมขังต่อไปอีกจนถึงวันที่ 20 มกราคม 2560 ซึ่งจะทำให้เขาไม่ได้ออกมาสอบวิชาสุดท้าย ที่จะมีการสอบในวันที่ 17 มกราคม […]

1 2