เสรีภาพในการชุมนุม

5 องค์กรสิทธิฯออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ยุติการจำกัดเสรีภาพในการชุมนุมของ We Walk เดินมิตรภาพ

แถลงการณ์ ให้ยุติการคุกคามและจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการชุมนุมโดยสงบ ขบวน “We Walk เดินมิตรภาพ” ของเครือข่าย People GO Network เผยแพร่วันที่ 24 มกราคม 2561 ตามที่เครือข่ายประชาชนในนาม People GO Network ได้จัดกิจกรรม “We Walk…เดินมิตรภาพ” เดินเท้าจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ถึงจังหวัดขอนแก่น ระหว่างวันที่ 20 มกราคม 2561–17 กุมภาพันธ์ 2561 เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงปัญหาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เกษตรกรรมและความมั่นคงทางอาหาร รัฐสวัสดิการและหลักประกันสุขภาพ ตลอดจนสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ โดยก่อนเริ่มกิจกรรมการเดิน เครือข่ายเครือข่ายประชาชนในนาม People GO Network ได้ดำเนินการแจ้งการชุมนุมสาธารณะต่อสถานีตำรวจภูธรคลองหลวง ตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 แล้ว แต่เจ้าหน้าที่ก็ได้พยายามกำหนดเงื่อนไขต่างๆ เพื่อไม่ให้การดำเนินกิจกรรมเป็นไปได้โดยง่าย โดยเฉพาะการที่เจ้าหน้าที่ผู้รับแจ้งการชุมนุมได้มีหนังสือถึงเครือข่ายประชาชนในนาม People GO Network ระบุว่าการดำเนินกิจกรรมที่มีการจำหน่วยเสื้อ และการให้ประชาชนเข้าชื่อยกเลิกประกาศ/คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้าข่ายเป็นการชุมนุมทางการเมือง จึงต้องไปขออนุญาต คสช. ก่อน […]

เดินมิตรภาพ: ปฏิบัติการสร้างวัฒนธรรมทางกฎหมายจากเบื้องล่าง

สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่   กฎหมายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม คือ เป็นเรื่องความคิดความเชื่อ และวัตรปฏิบัติของคนในสังคมในปฏิสัมพันธ์ที่มีต่อกัน ในแง่นี้กฎหมายไม่ได้เป็นเพียงเครื่องมือของเจ้าหน้าที่รัฐ ผู้พิพากษา หรือฝ่ายนิติบัญญัติในการกำหนดสิทธิและหน้าที่ให้กับประชาชนเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงความคิดความเชื่อของคนในสังคมเกี่ยวกับกฎหมายและสถาบันทางกฎหมายด้วย วัฒนธรรมทางกฎหมายแบบอำนาจนิยม คือ ความคิดความเชื่อที่ว่ากฎหมายเป็นเครื่องมือของรัฐในการกำกับควบคุมประชาชน กฎหมายไม่ได้มีไว้เป็นเครื่องมือจำกัดอำนาจรัฐและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพประชาชนแต่อย่างใด กลไกรัฐส่วนใหญ่มองกฎหมายในแง่นี้และพยายามสร้างความคิดความเชื่อเช่นนี้ให้กับสาธารณะผ่านปฏิบัติการต่างๆ การใช้การตีความกฎหมายเช่นนี้มีประสิทธิภาพมากในรัฐอำนาจนิยมที่พื้นที่สำหรับการต่อสู้ โต้แย้งการเผยแพร่ความคิดดังกล่าวถูกจำกัด เช่น ประเทศจีน ประเทศลาว เป็นต้น วัฒนธรรมทางกฎหมายแบบเสรีประชาธิปไตย คือ ความคิดความเชื่อที่ว่ากฎหมายเป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างรัฐกับประชาชน ที่ให้อำนาจรัฐบางเรื่องและในขณะเดียวกันก็จำกัดอำนาจรัฐไว้ด้วยกฎหมายนั้นเอง นอกจากเป็นข้อจำกัดของอำนาจรัฐแล้วกฎหมายยังเป็นเครื่องมือปกป้องประชาชนจากการใช้อำนาจตามอำเภอใจของรัฐด้วย ในแง่นี้กฎหมายจึงเป็นเสมือนกลไกที่สังคมใช้ในการควบคุมรัฐไม่ให้กลายเป็นโจร วัฒนธรรมทางกฎหมายเช่นนี้มักงอกงามในรัฐเสรีประชาธิปไตย เช่น เยอรมนี สหรัฐอเมริกา เป็นต้น ฝ่ายที่กุมอำนาจรัฐมีแนวโน้มที่จะพยายามสลัดตัวเองจากการควบคุมของสังคม เพื่อให้สามารถใช้อำนาจได้ตามที่พวกเขาต้องการ ดังอมตะวาจาของ ลอร์ด แอคตันที่ว่า “อำนาจทำให้คนลุแก่อำนาจ อำนาจที่สมบูรณ์ทำให้คนลุแก่อำนาจอย่างสมบูรณ์” เมื่อกฎหมายถูกใช้ถูกตีความจากรัฐ จึงมีแนวโน้มที่มันจะถูกใช้เป็นเครื่องมือของรัฐในการควบคุมประชาชน ยิ่งกว่าส่งเสริมสิทธิเสรีภาพประชาชนและควบคุมการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐ ปรากฏการณ์ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจทหารพยายามสกัดกั้นกิจกรรม “เดินมิตรภาพ” ด้วยการใช้การตีความพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 ประกอบกับคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 ในวันที่ […]

แถลงการณ์ร่วม : ยืนยันเสรีภาพในการชุมนุม “We Walk…เดินมิตรภาพ”

ตามที่เครือข่ายประชาชนในนาม People GO Network ได้จัดงาน “We Walk…เดินมิตรภาพ” ระหว่างวันที่ 20 มกราคม 2561 – 17 กุมภาพันธ์ 2561 เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงปัญหาทรัพยากรสิ่งแวดล้อม เกษตรทางเลือก หลักประกันสุขภาพ และการใช้สิทธิเสรีภาพ โดยการเดินเท้าจากกรุงเทพมหานครถึงจังหวัดขอนแก่น โดยผู้จัดงานได้ดำเนินการแจ้งการชุมนุมตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 2561 ไปยังเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.คลองหลวงซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นในการดำเนินกิจกรรม ตั้งแต่วันที่ 17 มกราคม 2561 แล้วนั้น วันที่ 19 มกราคม 2561 เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ตอบกลับหนังสือแจ้งการชุมนุมสาธารณะระบุว่า จากการตรวจสอบกิจกรรมมีพฤติการณ์จำหน่ายเสื้อยืดซึ่งมีข้อความสื่อความหมายในทางการเมือง และการชักชวนให้ประชาชนทั่วไปร่วมลงลายมือชื่อยกเลิกกฎหมาย ซึ่งไม่ใช่การชุมนุมสาธารณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจมีอำนาจดูแล แต่เป็นการมั่วสุม หรือชุมนุมการเมือง ตามข้อ 12 ของคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/2558 ซึ่งหากฝ่าฝืนต้องรับโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ องค์กรสิทธิมนุษยชนซึ่งลงนามท้ายแถลงการณ์นี้ มีความเห็นต่อข้อชี้แจงดังกล่าว ดังนี้ 1. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติได้มีข้อสังเกตเชิงสรุปต่อประเทศไทยเมื่อมีนาคม 2560 แสดงถึงความกังวลในการบังคับใช้คำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/58 […]

ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้เลื่อนการพิพากษาคดี “อภิชาต” ชูป้ายคัดค้านรัฐประหารหน้าหอศิลป์กรุงเทพฯ

วันที่ 30 สิงหาคม 2560 เวลา10.00 น. ศาลแขวงปทุมวันมีคำสั่งให้เลื่อนการพิพากษาคดีไป เนื่องจากศาลอุทธรณ์พิจารณาคดียังไม่แล้วเสร็จ ในคดีหมายเลขดำที่ 1097/2559 และคดีหมายเลขแดงที่ 9075/2559 ระหว่างพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด กับ จ่าสิบเอกอภิชาต พงษ์สวัสดิ์ ในคดีความผิดต่อพระราชบัญญัติกฎอัยการศึกและความผิดต่อประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เรื่องห้ามชุมนุมทางการเมือง จากกรณีที่จ่าสิบเอกอภิชาตฯ ชูป้ายคัดค้านการรัฐประหารหน้าหอศิลป์กรุงเทพมหานคร คดีนี้ สืบเนื่องจากกรณีการทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ในพื้นที่บริเวณหน้าหอศิลป์ฯ ของจ่าสิบเอกอภิชาต พงษ์สวัสดิ์  ผู้ช่วยนักวิชาการปฎิรูปกฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการปฎิรูปกฎหมาย เพื่อคัดค้านการรัฐประหารของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2557 และพนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องในวันที่ 28เมษายน 2558 ในความผิดต่อพระราชบัญญัติกฎอัยการศึกและความผิดต่อประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เรื่องห้ามชุมนุมทางการเมือง ต่อมาศาลแขวงปทุมวันมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559  พิพากษายกฟ้อง โดยให้เหตุผลว่ากระบวนการสอบสวนไม่ถูกต้อง ซึ่งพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุดได้อุทธรณ์คำพิพากษาต่อศาลแขวงปทุมวันขอให้ศาลอุทธรณ์กลับคำพิพากษาและลงโทษจำเลยตามกฎหมาย โดยคดีนี้ ศาลแขวงปทุมวันอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในวันที่ 11 ตุลาคม 2559  เห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วมีคำพิพากษาใหม่ วันที่ 19 ธันวาคม 2559 ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาใหม่ว่า จำเลยมีความผิดตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 7/2557 ให้พิจารณาโทษตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 3/2558 และประมวลกฎหมายอาญามาตรา 215 วรรคแรก แต่เนื่องจากเป็นความผิดกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท จึงให้ลงโทษตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 3/2558 ให้จำคุก 2 เดือน […]

ใบแจ้งข่าว : ขอเชิญสื่อมวลชนและผู้ที่สนใจเข้าร่วมฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดี “อภิชาต” ชูป้ายคัดค้านรัฐประหารหน้าหอศิลป์กรุงเทพฯ

วันที่ 30 สิงหาคม 2560 เวลา 10.00 น. ณ ศาลแขวงปทุมวันมีนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ในคดีหมายเลขดำที่ 1097/2559 และคดีหมายเลขแดงที่ 9075/2559  ระหว่างพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด กับ จ่าสิบเอกอภิชาต พงษ์สวัสดิ์ ในคดีความผิดต่อพระราชบัญญัติกฎอัยการศึกและความผิดต่อประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เรื่องห้ามชุมนุมทางการเมือง จากกรณีที่จ่าสิบเอกอภิชาตฯ ชูป้ายคัดค้านการรัฐประหารหน้าหอศิลป์กรุงเทพมหานคร  จึงขอเชิญสื่อมวลชนและผู้ที่สนใจเข้าร่วมฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ตามวันและเวลาดังกล่าวข้างต้น คดีนี้ สืบเนื่องจากกรณีการทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ในพื้นที่บริเวณหน้าหอศิลป์ฯ ของจ่าสิบเอกอภิชาต พงษ์สวัสดิ์  ผู้ช่วยนักวิชาการปฎิรูปกฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการปฎิรูปกฎหมาย เพื่อคัดค้านการรัฐประหารของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2557 และพนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องในวันที่ 28 เมษายน 2558 ในความผิดต่อพระราชบัญญัติกฎอัยการศึกและความผิดต่อประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เรื่องห้ามชุมนุมทางการเมือง ต่อมาศาลแขวงปทุมวันมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559  พิพากษายกฟ้อง โดยให้เหตุผลว่ากระบวนการสอบสวนไม่ถูกต้อง เนื่องจากคดีนี้เหตุเกิดและจำเลยถูกจับกุมในท้องที่สน.ปทุมวัน แต่ตำรวจจากกองปราบเป็นผู้สอบสวน ซึ่งโจทก์ไม่ได้นำสืบให้ศาลเห็นถึงเขตอำนาจสอบสวน จึงถือว่าไม่มีการสอบสวนอย่างถูกต้อง วันที่ 17 มีนาคม 2559  […]

บนเส้นทางกฎหมายชุมนุมสาธารณะ : กรณีการชุมนุมยื่นหนังสือค้านแก้กฎหมายบัตรทอง

การชุมนุมสาธารณะ ถือเป็นเรื่องปกติในสังคมประชาธิปไตย ที่ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมในเรื่องสาธารณะ  สามารถแสดงออกถึงความเดือดร้อนของตนหรือกลุ่มตนต่อผู้มีอำนาจ หรือต้องการแสดงออกถึงเจตจำนงค์บางประการได้ การชุมนุมสาธารณะ เป็นเครื่องมือในการต่อรองหรือโต้แย้งกับอำนาจรัฐหรือทุนที่ไม่เป็นธรรม เป็นเครื่องมือสำคัญของชาวบ้านเพื่อเรียกร้องให้เกิดการแก้ไขปัญหาความทุกข์ร้อนบางอย่าง ตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน เราจะเห็นการชุมนุมสาธารณะเกิดขึ้นเสมอๆ ไม่ว่าจะเป็นการชุมนุมเพื่อเป้าหมายต่อต้านรัฐบาล หรือการชุมนุมย่อยๆของกลุ่มประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายของรัฐ แม้โดยหลักการ การชุมนุมสาธารณะโดยสงบจะถูกรับรองให้เป็นสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานประการหนึ่ง แต่ในสังคมไทย หลายคนก็ไม่ได้พึงใจกับการชุมนุมสาธารณะมากนัก เพราะมันดูมีความขัดแย้งวุ่นวาย ไทยนี้รักสงบ จะมาชุมนุมกันให้วุ่นวายทำไม คนที่ไม่ชอบให้มีการชุมนุมก็มักจะลดทอนความชอบธรรมของการชุมนุมด้วยการกล่าวหาว่า เป็นม็อบรับจ้างบ้าง ซึ่งผู้เขียนก็ไม่รู้ว่าม็อบแบบนั้นมีจริงสักเท่าไหร่กัน เพราะเท่าที่เข้าร่วมสักเกตุการณ์การชุมนุมที่ผ่านมาก็ไม่เห็นว่ามีใครถูกจ้างมาชุมนุม แต่ก็นั้นแหละครับ ใครอยากรู้ว่ากลุ่มต่างๆที่มาชุมนุมกันนั้น มีการจ้างมาหรือป่าว ก็น่าจะเข้าไปสังเกตการณ์การชุมนุมดูสักครั้ง เท่าที่ผู้เขียนติดตามการชุมนุมของกลุ่มต่างๆ พบว่า การชุมนุมมันมีสาเหตุ ไม่ได้เกิดจากการนึกอยากสนุก หรือการอยากเปลี่ยนบรรยากาศมากินนอนข้างถนน ตากแดดตากฝน การชุมนุมมันมีที่มาของมัน ซึ่งส่วนใหญ่เหตุปัจจัยที่ก่อให้เกิดการชุมนุมก็มาจากรัฐเป็นผู้ก่อปัญหาเอง แม้แต่การชุมนุมทางการเมืองเพื่อโค่นล้มรัฐบาลหลายครั้งหลายหนที่ผ่านมา เราก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่ารัฐบาลเองก็ทำผิดพลาด ดังนั้น หากรัฐจริงใจ ฟังเสียงของประชาชน เปิดพื้นที่การมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง มีการบริหารอย่างโปร่งใส และเคารพหลักนิติธรรม การชุมนุมสาธารณะก็คงลดลงหรือหมดไปเอง ไม่ต้องใช้อำนาจหรือกฎหมายใดๆมาจัดการด้วยซ้ำไป   ทำไมการชุมนุมสาธารณะถึงจำเป็น การชุมนุมถือเป็นเครื่องมือสำคัญของผู้ด้อยอำนาจเพื่อใช้ต่อรองหรือเพื่อกดดันเรียกร้องให้รัฐรับผิดชอบต่อความผิดพลาดหรือแก้ไขปัญหาต่างๆ อาจจะมีบางคนบอกว่า ทำไมไม่ใช้กลไกหรือช่องทางที่รัฐจัดไว้ให้ล่ะ? ประสบการณ์คงบอกภาคประชาชนอยู่แล้วว่า กลไกร้องทุกข์ร้องเรียนตามระบบราชการปัจจุบันทำงานยังไง และมีประสิทธิภาพขนาดไหน บางกลไกก็ตั้งขึ้นมาเพื่อให้เห็นว่ามี หรือเพื่อมารับหน้าแล้วขอไปที […]

ศาลฎีกาพิพากษา 10 จำเลยคดีปีนสภามีความผิด แต่ให้รอการกำหนดโทษไว้ 2 ปี

วันนี้ (พุธที่ 15 มีนาคม 2560) เวลา 10.00 น. ศาลอาญาได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีหมายเลขดำ อ.4383/2553 คดีหมายเลขแดงที่ อ.1092/2556 ที่พนักงานอัยการ ฟ้องนายจอน อึ้งภากรณ์ กับพวกรวม 10 คน ในความผิดฐานร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้าย ก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง และร่วมกันทำให้ปรากฏด้วยวาจา อันมิใช่กระทำในความหมายรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่แสดงความคิดเห็นโดยปกติเพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 91, 116, 215, 362, 364, 365 ซึ่งสาเหตุการฟ้องร้องดำเนินคดีนี้ เกิดจากการที่มีประชาชนจำนวนหลายร้อยคนทำการชุมนุมและเข้าไปในรัฐสภาในวันที่ 12 ธันวาคม 2550 เพื่อคัดค้านการออกกฎหมายของสภานิติบัญญัติที่เกิดขึ้นหลังรัฐประหารปี 2549 เพราะไม่เห็นด้วยกับการพิจารณาร่างกฎหมายจำนวน 11 ฉบับ ที่ได้มีการเร่งรีบพิจารณา โดยร่างกฎหมายมีเนื้อหาที่ไม่เป็นธรรม ละเมิดสิทธิเสรีภาพและขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน สำหรับคดีนี้ ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2556 ให้จำคุกและปรับจำเลย แต่จำเลยให้การเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา […]

ใบแจ้งข่าว นัดฟังคำพิพากษาศาลฎีกาคดีคัดค้านการออกกฎหมายของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) หลังรัฐประหาร 2549

วันพุธที่ 15 มีนาคม 2560 เวลา 09.30 น. ณ ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก บัลลังก์ 710 มีนัดอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีหมายเลขดำที่ อ.4383/2553 คดีหมายเลขแดงที่ อ.1092/2556 ระหว่างพนักงานอัยการ โจทก์ กับ นายจอน อึ้งภากรณ์ กับพวกรวม 10 คน จำเลย ในความผิดฐานร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้าย ก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง และร่วมกันทำให้ปรากฏด้วยวาจา อันมิใช่กระทำในความหมายรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่แสดงความคิดเห็นโดยปกติเพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 91, 116, 215, 362, 364, 365 คดีนี้สืบเนื่องจากหลังการรัฐประหาร โดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยฯ เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2549 และตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ขึ้นมาทำหน้าที่ในการออกกฎหมาย […]

พรทิพย์ หงชัย : กฎหมายชุมนุมฯ ทำให้เสียงของผู้เดือดร้อนเงียบลง

สถานการณ์ปัจจุบัน ประเทศไทยตกอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลทหาร ที่กระทำการรัฐประหารรัฐบาลพลเรือนเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2549 สิทธิและสรีภาพของประชาชน ตลอดจนการมีส่วนร่วมในเรื่องต่างๆของประชาชนถูกจำกัดมากกว่าในยุครัฐบาลปกติ นอกจากรัฐบาลทหารจะมีกองกำลังที่ใหญ่โตในมือเพื่อปิดกั้นการเคลื่อนไหวของประชาชนแล้ว สิ่งหนึ่งที่รัฐบาลทหารนำมาใช้และค่อนข้างได้ผลก็คือกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม โดยกฎหมายที่มักจะถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการจำกัดเสรีภาพของประชาชนก็คือพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 และคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 เรื่อง การรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของชาติ พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 ถูกตราออกมาได้โดยง่ายในยุคสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่มีสมาชิกประกอบด้วยข้าราชการเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งในยุครัฐบาลปกติ แม้จะมีการพยายามผลักดันกฎหมายเหล่านี้ แต่ก็ไม่สามารถจะตราออกมาได้ง่ายๆ ส่วนคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 ออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ซึ่งเป็นที่รู้กันว่ารัฐธรรมนูญมาตรานี้ได้ให้อำนาจแก่หัวหน้า คสช. อย่างกว้างขว้างในการออกคำสั่งใดๆก็ได้ในนามของการรักษาความสงบและการปฏิรูปประเทศ และที่ผ่านมาก็มีการใช้อำนาจตามมาตราดังกล่าวออกคำสั่งต่างๆที่มีค่าบังคับเป็นกฎหมายมาใช้บังคับมากมาย โดยที่ประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วมใดๆ กฎหมายเหล่านี้ ถูกนำมาใช้อย่างต่อเนื่องเพื่อจัดการกับประชาชนที่ต่อต้านรัฐบาล คสช. โดยตรง และประชาชนที่ออกมาเคลื่อนไหวเพื่อปกป้องสิทธิของตนเองและชุมชนจากการดำเนินโครงการพัฒนาต่างๆของรัฐและทุนที่ก่อผลกระทบต่อชุมชน วันที่ 8 มีนาคมที่ผ่านมา พรบ. ชุมนุมฯ ก็แผลงฤทธิ์อีกครั้ง เมื่อ สภ.วังสะพุง […]

ไพโรจน์ พลเพชร : เราต้องยืนยันว่าเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบเป็นสิ่งที่พึงกระทำได้ไม่ว่าในรัฐบาลไหน

วันพุธที่ 15 มีนาคมนี้ เวลา 09.30 น. ศาลอาญารัชดานัดอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีที่ 10 เอนจีโอ/นักเคลื่อนไหวชุมนุมและปีนรั้วเข้ารัฐสภาเพื่อคัดค้านการออกกฎหมายของสภานิติบัญญัติแห่งชาติในช่วงปี 2550 คดีนี้เราเรียกกันสั้นๆติดปากว่า “คดีปีนสภา” ความเป็นมาของคดีนี้ก็คือ ในช่วงก่อนที่จะมีการเลือกตั้งทั่วไปที่กำหนดให้มีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ไม่กี่วัน  สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งตั้งขึ้นหลังการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ได้มีการเร่งรีบพิจารณาร่างกฎหมายจำนวนมาก โดยร่างกฎหมายหลายฉบับมีเนื้อหาที่ไม่เป็นธรรม ละเมิดสิทธิเสรีภาพและขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน  ทำให้กลุ่มบุคคลและองค์กรภาคเอกชนหลายร้อยคน ออกมาเคลื่อนไหวชุมนุมเพื่อแสดงความถึงความไม่เห็นด้วยและคัดค้านการปฏิบัติหน้าที่ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) รวมทั้งคัดค้านการพิจารณาออกกฎหมายจำนวน 11 ฉบับ อาทิ ร่างกฎหมายการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร ร่างกฎหมายว่าด้วยเงื่อนไขและหลักเกณฑ์การแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจ ร่างกฎหมายมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ ฯลฯ เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2549 ประชาชนหลายร้อยคน นัดชุมนุมกันที่บริเวณหน้ารัฐสภา และได้มีการปีนเข้าไปในอาคารรัฐสภา เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นเหตุให้ผู้ชุมนุม 10 คน ประกอบด้วย 1) นายจอน อึ๊งภากรณ์ อดีตประธานมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม 2) […]

1 2 3