เสรีภาพสื่อมวลชน

แถลงการณ์ คัดค้านร่างกฎหมายควบคุมเสรีภาพสื่อมวลชน

ตามที่ร่างพระราชบัญญัติการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ….. ซึ่งกำลังพิจารณาอยู่ในสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศและได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนอย่างกว้างขวางว่าร่างพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าวมิได้เป็นการส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชนแต่กลับเป็นการแทรกแซงและควบคุมการปฏิบัติหน้าที่สื่อมวลชน โดยในร่างพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าวระบุให้ “ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน” ต้องได้รับใบอนุญาตโดยคณะกรรมการสภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติ มาจากกลุ่มบุคคล ซึ่งมีตัวแทนภาครัฐเข้าร่วมด้วย ซึ่งคณะกรรมการมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตวิชาชีพสื่อมวลชนได้อันเถือได้ว่าเป็นการเปิดทางให้มีการแทรกแซงสื่อได้นั้น สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.)และองค์กรข้างท้ายขอแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อการจัดทำกฎหมายเพื่อส่งเสริมสิทธิเสรีภาพและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน ดังต่อไปนี้ ๑. “เสรีภาพของประชาชน” หมายความเชื่อมโยงถึง “เสรีภาพของสื่อมวลชน”ด้วย ถือเป็นหลักการสำคัญของสิทธิเสรีภาพที่สำคัญประการหนึ่งในสังคมประชาธิปไตย ในแง่ที่ว่าหากจะมีการจำกัดเสรีภาพสื่อมวลชนจำเป็นต้องคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อสิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน ดังนั้นการส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวล จักต้องคำนึงถึงหลักการเรื่องสิทธิการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชนด้วยอย่างเคร่งครัด ๒. แนวคิดในการจัดทำกฎหมายเพื่อคุ้มครองเสรีภาพในการเสนอข่าวสารของสื่อมวลชนนั้นจักต้องอยู่บนพื้นฐานร่วมกันว่า สื่อมวลชนมีเสรีภาพควบคู่ไปกับ หรือถูกกำกับภายใต้ความรับผิดชอบที่สื่อมวลชนพึงมีต่อประโยชน์สาธารณะเป็นสำคัญ ซึ่งประชาชนหรือผู้บริโภคสื่อย่อมสามารถใช้วิจารณญาณในฐานะวิญญูชนที่จะวินิจฉัยได้ด้วยตนเอง อันเป็นประเด็นหนึ่งที่ต้องได้รับการพัฒนาเรียนรู้และสร้างมาตรฐานทางจริยธรรมร่วมกันในสังคมนั้นๆเอง ๓.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ มีบทบัญญัติคุ้มครองเสรีภาพของสื่อมวลชนไว้ในการเสนอข่าวสาร หรือแสดงความเห็นตามจริยธรรมแห่งวิชาชีพ ซึ่งสอดคล้องกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองเรื่องเสรีภาพในการรับ แสวงหาและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและความคิดเห็น โดยต้องอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบต่อการแสดงความคิดเห็น หรือการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารนั้นๆ โดยไม่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมของสังคม ซึ่งสื่อมวลชนยังต้องได้รับการกำกับภายใต้กฎหมายหลายฉบับ ทั้งประมวลกฎหมายอาญาว่าด้วยการหมิ่นประมาท กฎหมายเกี่ยวกับวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม กฎหมายเกี่ยวกับการโฆษณา กฎหมายเกี่ยวกับวัฒนธรรม กฎหมายเกี่ยวกับการศึกษา กฎหมายเกี่ยวกับสื่อลามกอนาจาร กฎหมายว่าด้วยคอมพิวเตอร์ กฎหมายด้านการจดแจ้งการพิมพ์ ฯลฯ โดยกฎหมายแต่ละฉบับก็มีเจ้าพนักงานของรัฐกำกับดูแลและควบคุมให้สื่อมวลชนมีความรับผิดชอบต่อบุคคลและต่อสังคมอยู่แล้ว จึงไม่มีความจำเป็นจะต้องมีกฎหมายเฉพาะในการคุ้มครองและส่งเสริมจริยธรรมสื่อมวลชนอีก ด้วยหลักการและเหตุผลดังกล่าวข้างต้น สสส.และองค์กรท้ายแถลงการณ์นี้ จึงมีข้อเสนอและข้อเรียกร้อง […]

17 เม.ย. 57 นัดส่งตัวนักข่าวภูเก็ตหวานขึ้นศาล หลังถูกกองทัพเรือฟ้องหมิ่นฯ ลุ้นประกันตัววันนั้น

17 เมษายน 2557 เวลา 9.30 น. อัยการจังหวัดภูเก็ต นัดหมายให้ นายอลัน มอริสัน และนางสาวชุติมา สีดาเสถียร นักข่าวจากสำนักข่าวออนไลน์ “ภูเก็ตหวาน” ไปพบที่ศาลจังหวัดภูเก็ตเพื่อนำตัวส่งฟ้องต่อศาล ในคดีที่กองทัพเรือร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีในข้อหาหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา และความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ คดีนี้สืบเนื่องจาก เมื่อเดือนกรกฎาคม 2556 สำนักข่าวภูเก็ตหวานเผยแพร่ “รายงานพิเศษเรื่อง : ทหารไทยได้รับผลประโยชน์จากการค้ามนุษย์ผู้อพยพทางเรือ” ซึ่งอ้างอิงแหล่งข้อมูลมาจากสำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานชิ้นนี้มีการกล่าวพาดพิงว่าเจ้าหน้าที่กองทัพเรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับขบวนการค้ามนุษย์ชาวโรฮิงญา โดยเมื่อเดือนธันวาคม 2556 กองทัพเรือจึงไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรวิชิต อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ตให้ดำเนินคดีทั้งสองคนฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา และเผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จ ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มาตรา 14(1) คดีนี้ นักข่าวทั้งสองคนยืนยันพร้อมจะต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ โดยต้องการให้คดีนี้เป็นกรณีศึกษาการละเมิดเสรีภาพในการนำเสนอข่าวสารของสื่อมวลชน โดยใช้การดำเนินคดีพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์  เป็นการบิดเบือนเจตนารมณ์ของกฎหมาย  เนื่องจากกฎหมายนี้ประสงค์ที่จะดำเนินคดีกับผู้ที่โจรกรรมข้อมูลในคอมพิวเตอร์ หรือการเจาะระบบ เนื่องจากผู้ต้องหาทั้งสองไม่ยอมรับการใช้กฎหมายนี้กับสื่อมวลชน จึงไม่ต้องการใช้หลักทรัพย์ของตัวเองเพื่อยื่นขอประกันตัวและยินยอมที่จะถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำจนกว่าการพิจารณาคดีจะเสร็จสิ้น อย่างไรก็ตามหลายฝ่ายได้ยื่นมือเข้าช่วยเหลือโดยขอให้กรมคุ้มครองสิทธิเสรีภาพเป็นผู้ประกันตัว และประสานขอความช่วยเหลือจากองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนทั้งในระดับประเทศและระดับสากล  ล่าสุดศูนย์กฎหมายและสิทธิชุมชนพื้นที่อันดามันมูลนิธิอันดามันได้ให้ความช่วยเหลือโดยให้ใช้สลากออมสินสำหรับใช้ยื่นประกันตัวในวันที่ 17 เม.ย.นี้ โดยยังต้องรอลุ้นว่าศาลจะอนุญาตให้ประกันตัวหรือไม่ ก่อนหน้านี้องค์กรด้านสิทธิมนุษยชนหลายองค์กร เช่น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (OHCHR)  และสมาคมเครือข่ายผู้สื่อข่าวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAPA) ได้ออกแถลงการณ์แสดงความห่วงใยต่อเสรีภาพการแสดงออกในประเทศไทย และเรียกร้องให้มีการถอนฟ้องคดีนี้

บทวิเคราะห์คำพิพากษาศาลแพ่งคดีหมายเลขแดงที่ 1812/2553 (คดีปิดเว็บไซต์ข่าวประชาไท) โดย สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์

เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2553 ศาลแพ่งได้มีคำพิพากษาคดีหมายเลขแดงที่ 1812/2553 ในคดีที่มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชนเจ้าของเว็บไซต์ข่าวประชาไทได้ยื่นฟ้องนายกรัฐมนตรี ผู้อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและกระทรวงการคลังเพื่อขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งปิดเว็บไซต์ข่าวประชาไท (www.prachatai.com) และเรียกร้องค่าเสียหายจากการถูกละเมิดสิทธิ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 45 ศาลแพ่งใช้เวลาพิจารณาคดีนี้ประมาณ 5 ชั่วโมง และได้มีคำพิพากษาในเย็นวันที่ 23 เมษายน 2553วันเดียวกับที่ยื่นฟ้อง โดยพิพากษายกฟ้องและไม่สั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลให้แก่โจทก์ ทั้งนี้ในการดำเนินกระบวนพิจารณาจนพิพากษาคดี ศาลไม่ได้ดำเนินการไต่สวนพยานโจทก์ตามที่โจทก์ร้องขอ และไม่ได้ส่งสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยทั้ง 5 บทความนี้ผู้เขียนประสงค์จะวิเคราะห์คำพิพากษาของศาลแพ่ง โดยใช้หลักกฎหมายปกครองที่สำคัญ คือ หลักการกระทำทางปกครองต้องชอบด้วยกฎหมาย เป็นฐานในการวิเคราะห์ เนื่องจากผู้เขียนเห็นว่าคดีนี้เป็นคดีปกครองที่แม้จะถูกบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลแพ่ง แต่เมื่อเป็นคดีปกครองหลักในการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายก็ต้องเป็นการตรวจสอบตาม หลักการกระทำทางปกครองต้องชอบด้วยกฎหมาย 1. สรุปคำฟ้องและคำพิพากษา เพื่อให้เข้าใจประเด็นในคำพิพากษาอย่างครบถ้วนผู้เขียนขอสรุปประเด็นในคำฟ้องไว้เพื่อให้ผู้อ่านพิจารณาประกอบคำพิพากษา ดังนี้ (อ่านเพิ่มเติมได้ที่http://www.prachatai.info/journal/2010/04/29095) 1.1 สรุปคำฟ้อง โจทก์ตั้งประเด็นในคำฟ้องถึงเหตุแห่งความไม่ชอบด้วยกฎหมายของการใช้อำนาจของจำเลยที่ 1 ถึง 4 ในการปิดเว็บไซต์ข่าวประชาไทของโจทก์เป็นสามประเด็นคือ 1) การใช้อำนาจปิดเว็บไซต์ข่าวประชาไทของเป็นการใช้อำนาจและดุลพินิจที่ไม่ชอบด้วย กฎหมายเพื่อลิดรอน จำกัด หรือละเมิดต่อสิทธิเสรีภาพสื่อสารมวลชนของโจทก์อันเป็นสิทธิเสรีภาพที่มีความสำคัญในสังคมประชาธิปไตย ทั้งยังขัดกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วย สิทธิพลเมือง และการเมือง (International […]