เลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์

ในสถานการณ์โควิด 19  สิทธิและเสรีภาพไม่ควรหายไปจากการพัฒนา

  เลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ 13 พฤษภาคม 2563     องค์ประกอบของการพัฒนาเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย  เพราะมีเงื่อนไข  หลักเกณฑ์  คุณสมบัติของผู้ลงทุน  ตามกฎหมายใหม่ ๆ เข้ามาร่วมเป็นองค์ประกอบอยู่เสมอ  โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ถูกพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ  เพื่อให้สอดคล้องต่อความต้องการ  ความปรารถนา  ที่เป็นไปในแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตส่วนบุคคลและสังคมให้ดีขึ้น   ในโลกสมัยใหม่ที่กำลังดำเนินอยู่นี้  รัฐบาลส่วนกลาง  ภูมิภาคและท้องถิ่นที่ใช้อำนาจรัฐแทนประชาชนไม่สามารถดำริและผลักดันการพัฒนาเพียงฝ่ายเดียวได้อีกต่อไป  กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อนำเสนอ  แสดงความเห็น  ตรวจสอบและคัดค้านการพัฒนาต่าง ๆ  มีความสำคัญในแง่ที่จะทำให้บ้านเมืองตั้งอยู่บนครรลองของการใช้กฎหมายตามหลักนิติธรรม  ซึ่งตรงกันข้ามกับการตั้งอยู่บนครรลองของการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือและข้ออ้างเพื่อสร้างความชอบธรรมที่ขัดต่อหลักนิติธรรม   อย่างน้อยที่สุด  หลักนิติธรรมก็ได้สร้างพันธะสัญญาต่อกัน  ระหว่างรัฐกับประชาชน  เพื่อให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งประกันซึ่งสิทธิและเสรีภาพของประชาชน  ให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมบริหารจัดการและพัฒนาบ้านเมือง  จึงเป็นความเหมาะสมที่หลักนิติธรรมจะเป็นตัวชี้วัดสำคัญของการพัฒนาในโลกสมัยใหม่  หากปราศจากหลักนี้แล้วก็เป็นการพัฒนาที่ไม่สอดคล้องเหมาะสม  ไม่ถูกทำนองคลองธรรม  เท่าที่ควร   การประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.​ 2548  หรือ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน  เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโรคโควิด 19  มีอำนาจที่ล้นเกินไปกว่าการควบคุมโรคปรากฎออกมาให้เห็น  นั่นคือ  มาตรการต่าง ๆ ที่จะทำให้ประชาชนไม่รวมตัวกันและเว้นระยะห่างทางสังคม  ไม่ว่าจะเป็นการขอให้กักตัวอยู่กับบ้านหรือที่พักอาศัยในเวลาปกติ  […]

การแย่งยึดที่ดินเพื่อเพิ่มพื้นที่ปล่อยฝุ่น PM 2.5

เลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ 26 มกราคม 2562 ถ้าตัดเรื่องการเลือกตั้งที่มีความสำคัญมากต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดอนาคตบ้านเมืองออกไป  เหตุเพราะมีพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งประกาศออกมาแล้ว  และคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ก็ได้ประกาศให้มีการเลือกตั้ง ส.ส. ในวันที่ 24 มีนาคม 2562 แล้ว  ปัญหาเร่งด่วนอันดับแรกคือปัญหาเรื่องมลภาวะในอากาศที่เผชิญกับฝุ่น PM 2.5 สูงเกินค่ามาตรฐานอยู่ในขณะนี้ จนถึงวันนี้ค่าฝุ่น PM 2.5 ยังพุ่งสูงเกินค่ามาตรฐานกระจายไปทั่วกรุงเทพฯและปริมณฑลไม่หยุด  ขนาดเกิดวิกฤติถึงขั้นที่ค่าฝุ่น PM 2.5 สูงกว่ามาตรฐานเฉลี่ย 24 ชั่วโมงที่องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดไว้ที่ 25 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ถึง 2-3 เท่า  และมีค่าเกินมาตรฐานต่อเนื่องตลอดเดือนมกราคม  อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) ยังไม่เสนอให้รัฐบาลประกาศใช้มาตรา 9 ของกฎหมายสิ่งแวดล้อมเพื่อประกาศให้กรุงเทพฯและปริมณฑลเป็นเขตควบคุมมลพิษเพราะ “คำนึงถึงภาพลักษณ์ของประเทศ” คงกลัวความเสียหายเกิดขึ้นต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวจนอาจส่งผลกระทบทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือ GDP ตก ขณะที่หลายหน่วยงานขององค์กรภาครัฐและเอกชนต้องปรับเวลาทำงานใหม่เพื่อหลีกเลี่ยงการออกมาเผชิญผลกระทบจากภาวะมลพิษในอากาศช่วงเช้ากันแล้ว  และมีลูกจ้างจำนวนไม่น้อยต้องลาป่วยไม่สามารถออกไปทำงานได้จากโรคทางเดินหายใจและภูมิแพ้  แต่อธิบดี คพ. ยังออกมาให้สัมภาษณ์ว่าจะยังไม่ประกาศให้กรุงเทพฯและปริมณฑลเป็นเขตควบคุมมลพิษเพราะกลัวกระทบภาพลักษณ์ของประเทศ นี่แหละสมองของระบบราชการในองคาพยพรัฐเผด็จการ  ที่หน่วยงานหนึ่งคือ […]

กฎหมายห้ามชุมนุมในรัฐทหาร (ตอนที่ 2) โดย เลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์

  ภาพจาก เพจ People GO network เลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ 28 มีนาคม 2561 อ่านบทความกฎหมายห้ามชุมนุมในรัฐทหาร ตอนที่ 1 องค์ประกอบหลักของการชุมนุมสาธารณะตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558  หรือ ‘กฎหมายชุมนุมสาธารณะ’ เกี่ยวข้องอยู่สองเรื่อง  เรื่องแรกเกี่ยวข้องกับลักษณะหรือประเภทของ ‘กิจกรรม’ ตามมาตรา 3[[1]] ที่กำหนดว่ากิจกรรมประเภทใดบ้างอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายฉบับนี้ที่ต้องแจ้งการชุมนุมต่อผู้รับแจ้งหรือเจ้าพนักงานเสียก่อนจึงจะได้รับความคุ้มครองและอำนวยความสะดวกให้เกิดการชุมนุมได้  ส่วนลักษณะหรือประเภทของกิจกรรมใดที่ไม่อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายฉบับนี้ก็สามารถทำได้เลยโดยไม่ต้องแจ้งการชุมนุมก่อน  เรื่องที่สองเกี่ยวข้องกับ ‘สถานที่’ ตามมาตรา 7[[2]] ที่ห้ามไม่ให้มีการชุมนุมในสถานที่บางประเภท  ส่วนการชุมนุมในสถานที่อื่นนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในมาตรา 7 ให้ถือว่าอยู่ในบังคับที่ต้องได้รับความคุ้มครองและอำนวยความสะดวกตามกฎหมายฉบับนี้  โดยมีเงื่อนไขไม่กีดขวางทางเข้าออก หรือรบกวนการปฎิบัติงานหรือการใช้บริการสถานที่สำหรับสถานที่บางประเภทตามมาตรา 8[[3]]  แต่ไม่ได้ห้ามการชุมนุมในสถานที่บางประเภทตามที่ระบุไว้ในมาตรา 8 แต่อย่างใด ดังนั้น  ถ้าการชุมนุมใดไม่ใช่กิจกรรมและสถานที่ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 3 และมาตรา 7 ก็ควรได้รับความคุ้มครองและอำนวยความสะดวกให้ชุมนุมได้ภายใต้กฎหมายฉบับนี้  โดยเฉพาะกิจกรรมที่ถูกยกเว้นให้ไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายฉบับนี้ตามมาตรา 3 ยิ่งสามารถทำได้เลยโดยไม่ต้องแจ้งการชุมนุมตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในกฎหมายฉบับนี้ ประเด็นสำคัญต่อเนื่องมา  นั่นคือ  เมื่อพิจารณาในแง่ของ ‘กิจกรรม’ และ ‘สถานที่’ อันเป็นองค์ประกอบหลักตามกฎหมายฉบับนี้แล้ว […]