สิทธิในการปล่อยตัวระหว่างพิจารณา

แถลงการณ์ : เรียกร้องสถาบันตุลาการให้ปฏิบัติหน้าที่ตามหลักกฎหมาย โดยคำนึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

แถลงการณ์สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) เรียกร้องสถาบันตุลาการให้ปฏิบัติหน้าที่ตามหลักกฎหมาย โดยคำนึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และอุดมการณ์ของผู้พิพากษาตามประมวลจริยธรรมข้าราชการตุลาการ ตลอดระยะเวลาของการใช้เสรีภาพในการชุมนุมทางการเมืองที่ผ่านมา ประชาชนจำนวนมากต้องตกเป็นผู้ต้องหาและจำเลยในกระบวนการยุติธรรมอันเนื่องมาจากความเห็นต่างทางการเมือง อาจกล่าวได้ว่า กระบวนการยุติธรรมทั้งระบบถูกใช้เป็นกลไกเพื่อสนองนโยบายรัฐในการปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองของประชาชนฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลอย่างเต็มรูปแบบ โดยเฉพาะในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 การปล่อยชั่วคราวถูกใช้เป็นกลไกสำคัญในการปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ผ่านการไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว ห้ามไปกระทำการในลักษณะเดียวกันกับคดีเดิมอีก การกำหนดเวลาห้ามออกนอกเคหสถานในบางช่วงเวลาร่วมกับการใส่กำไล EM การอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวโดยให้ใส่กำไลติดตามตัว (EM) ร่วมกับคำสั่งห้ามออกนอกเคหสถานตลอด 24 ชั่วโมง เป็นเงื่อนไขการปล่อยชั่วคราวที่เข้มงวดกว่าอาชญากรที่ก่ออาชญากรรม และการมีคำสั่งถอนประกันได้โดยง่าย เหล่านี้ ถือเป็นการละเมิดสิทธิในกระบวนการยุติธรรม ถูกปฏิบัติโดยไม่คำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และไร้ซึ่งมนุษยธรรม ทั้งนี้ยังสะท้อนถึงความพยายามของศาลในการเข้ามามีบทบาทในการรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองเสียเองทั้งที่ไม่ใช่หน้าที่โดยตรงของศาล เพราะมีองค์กรอื่นทำหน้าที่อยู่แล้ว ศาลมีหน้าที่รักษาและดำรงความยุติธรรมในสังคมอย่างเป็นอิสระโดยอาศัยหลักกฎหมายเพื่อเป็นหลักประกันว่าประชาชนทุกคนจะได้รับความยุติธรรมแม้จะมีข้อพิพาทกับรัฐหรือเป็นฝ่ายตรงข้ามกับรัฐก็ตาม   แต่ปรากฏว่ากรณีที่ไม่ใช่คดีการเมือง เช่นกรณีของ พ.ต.อ.หญิงวัทนารีย์ กรณ์ชายานันท์ จำเลยที่ 8 ภรรยานายตู้ห่าว ชาวจีน ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจมีพยานหลักฐานว่ามีพฤติการณ์ข่มขู่พยาน เป็นการผิดเงื่อนไขการประกันของศาล ศาลกลับไม่ถอนประกัน โดยอ้างว่าศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวไปเเล้ว แต่พนักงานสอบสวนมายื่นเอกสารแบบกระชั้นชิด ทำให้การยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนการประกันตัว พ.ต.อ.หญิง วัทนารีย์ ดังกล่าวจึงเป็นเพียงคำร้องที่ประกอบการพิจารณา กรณีที่แตกต่างกันดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความลักลั่นและปัญหาการปล่อยชั่วคราวสำหรับผู้ต้องหาและจำเลยในคดีการเมือง   การถูกปฏิบัติโดยไม่คำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และไร้ซึ่งมนุษยธรรมโดยกระบวนการยุติธรรมดังกล่าวนำมาสู่การอดอาหารและน้ำของตะวันและแบมเพื่อทวงถามหาความยุติธรรม และเรียกร้องให้ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ปัจจุบันร่างกายของทั้งสองเข้าขั้นวิกฤติและสุ่มเสี่ยงต่อชีวิตอย่างมาก   สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าสถาบันศาลจะพิจารณาทบทวนบทบาทในการใช้ดุลพินิจในการปล่อยชั่วคราวให้เป็นไปตามหลักกฎหมาย […]

เรื่องเล่าการปล่อยชั่วคราว : หลักการที่สวยงาม ความฝันของการปฏิรูป และความจริงที่เป็นอยู่

โดยหลักการแล้ว…. สิทธิที่จะได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว ถือว่าเป็นสิทธิที่มีความสำคัญมาก เพราะเป็นเรื่องที่กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของบุคคล และเกี่ยวพันสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรมอีกหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นสิทธิที่จะได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่ามีความผิด (The Presumption of Innocent) เพราะหากผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่ได้รับการปล่อยชั่วคราว เขาต้องถูกส่งไปขังไว้ที่เรือนจำ ต้องตัดผม ต้องใส่ชุดนักโทษ บางครั้งต้องใส่ตรวนออกมาศาล ซึ่งทำให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยมีสภาพไม่ต่างจากนักโทษเด็ดขาดที่ถูกตัดสินถึงที่สุดแล้วว่ามีความผิด สิทธิที่จะมีโอกาสอย่างเท่าเทียมและสิทธิที่จะต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่  หากผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่ได้รับอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว ย่อมก่อให้เกิดอุปสรรคในการที่จะแสวงหาพยานหลักฐานมาพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนอย่างเต็มที่และเท่าเทียมกับโจทก์ นอกจากนี้ การที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่ได้รับอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวซ้ำแล้วซ้ำเล่า หรือมีการกำหนดประกันหรือหลักประกันไว้สูงเกินไปจนผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่สามารถหาหลักประกันมาวางเพื่อการปล่อยชั่วคราวได้ ย่อมส่งผลให้เกิดความกดดันทางอ้อมให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยยอมรับสารภาพเพื่อให้คดีสิ้นสุดและถูกปล่อยตัวออกมาโดยเร็ว ด้วยผลกระทบมากมายที่มี  กฎเกณฑ์ทั้งระดับสากลและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเองจึงรับรองสิทธิประการดังกล่าวไว้  โดยให้ถือว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยต้องได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวเป็นหลัก ส่วนการไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวหรือการควบคุมตัวไว้ระหว่างดำเนินคดีให้เป็นข้อยกเว้น  เท่าที่จำเป็นเพื่อให้กระบวนการยุติธรรมสามารถดำเนินไปได้อย่างเรียบร้อยและการมีตัวจำเลยในการพิจารณาคดี (เพราะคดีอาญาถือหลักว่าการพิจารณาคดีต้องทำต่อหน้าจำเลย) รวมถึงการมีตัวในการบังคับโทษตามคำพิพากษา กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง (ICCPR) ข้อ 9 (3) กำหนดไว้ว่า  “…ผู้ถูกจับกุมหรือควบคุมในข้อหาทางอาญาได้รับการปล่อยตัวไป มิให้ถือเป็นหลักทั่วไปว่าจะต้องควบคุมบุคคลที่รอการพิจารณาคดี แต่ในการปล่อยตัวอาจกำหนดให้มีการประกันว่าจะมาปรากฏตัวในการพิจารณาคดี ในขั้นตอนอื่นของกระบวนพิจารณาและจะมาปรากฏตัวเพื่อการบังคับตามคำพิพากษา เมื่อถึงวาระนั้น” รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 29 บัญญัติว่า “การควบคุมหรือคุมขังผู้ต้องหาหรือจำเลยให้กระทำได้เพียงเท่าที่จำเป็น เพื่อป้องกันมิให้มีการหลบหนี” และ “คำขอประกันผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาต้องได้รับการพิจารณาและจะเรียกหลักประกันจนเกินควรแก่กรณีมิได้ การไม่ให้ประกันต้องเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ” อย่างไรก็ดี ในทางปฏิบัติการปล่อยตัวชั่วคราวถือเป็นเรื่องที่มีปัญหาและได้รับการพูดถึงมาตลอด โดยเฉพาะปัญหาเรื่องศาลมักให้ปล่อยชั่วคราวโดยกำหนดหลักประกันเป็นตัวเงินหรือทรัพย์สิน ทำให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยมีฐานะทางเศรษฐกิจไม่ดีต้องพบกับความยากลำบากในการหาหลักทรัพย์มาใช้ประกันตัวเอง ในความพยายามแก้ไขและความฝันของการปฏิรูป  […]

จากมาตรา 21 พ.ร.บ.ความมั่นคงฯสู่คดีอาญา : บทเรียนคดีอยู่ในความสนใจของประชาชน โดย พูนสุข พูนสุขเจริญ

1.คดีร้ายแรงอยู่ในความสนใจของประชาชน ศาลไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2555 พนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องนายมาซับบรี กะบูติง กับพวกรวม 5 คน ในฐานความผิด “ร่วมกันก่ออันตรายโดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการใด อันก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตโดยมีความมุ่งหมายเพื่อสร้างปั่นป่วน โดยให้เกิดความหวาดกลัวในหมู่ประชาชน สะสมกำลังพลหรืออาวุธอันเป็นส่วนหนึ่งของแผนการเพื่อก่อการร้าย พยายามฆ่าเจ้าพนักงาน ซึ่งกระทำตามหน้าที่โดยไตร่ตรองไว้ก่อน เป็นอั้งยี่ เป็นซ่องโจร มีวัตถุระเบิด ซึ่งนายทะเบียนไม่สามารถออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในครอบครอง ขนย้ายวัตถุระเบิดโดยไม่ได้รับอนุญาต และกระทำให้เกิดระเบิดจนน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่น” ต่อศาลจังหวัดนาทวี จำเลยสี่รายได้ยื่นหลักประกันเป็นโฉนดที่ดินมูลค่ารวม 2,400,000 บาทเพื่อขอปล่อยตัวจำเลยทั้งสี่คน อย่างไรก็ตามศาลได้มีคำสั่งว่า “ไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว เนื่องจากกรณีเป็นคดีร้ายแรงอยู่ในความสนใจของประชาชน หากปล่อยตัวชั่วคราวเกรงว่าจำเลยจะหลบหนี” 2.มูลเหตุแห่งคดี กระบวนการมาตรา 21 แห่งพ.ร.บ.ความมั่นคงฯและการยื้อเวลาในการฟ้องคดี สำหรับที่มาของจำเลยในคดีดังกล่าวสืบเนื่องจากมีเหตุระเบิดเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2555 บริเวณตลาดนัดนิคมเทพา อ.เทพา จ.สงขลา ส่งผลให้มีอาสาสมัครทหารพรานได้รับบาดเจ็บจำนวนหกนาย และประชาชนบริเวณดังกล่าวอีกเจ็ดราย โดยก่อนที่จำเลย 4 ใน 5 ราย คือ นายมะซับบรี กะบูติ นายซุบิร์ […]

เมื่อ “แม่” เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม…

  …เมื่อ “แม่” เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม… ลูกจะอยู่อย่างไร เมื่อแม่ต้องถูกดำเนินคดี และถูกคุมขังนานกว่า 40 วัน เพราะหาเงินประกันตัวไม่ได้ เรื่องราวต่อไปนี้ เป็นเรื่องราวของผู้หญิงคนหนึ่งที่เข้าไปสัมผัสกับกระบวนการยุติธรรม เธอเป็นเกษตรกร เป็นคนที่ต่อสู้เรื่องสิทธิในที่ดิน และที่สำคัญเธอเป็น “แม่” เธอคือ วิไลวรรณ กลับนุ้ย หนึ่งในจำเลยคดี “ชุมชนน้ำแดง” จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ถูกดำเนินคดีอาญาความผิดฐาน ซ่องโจร ร่วมกันบุกรุกเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเพื่อถือการครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้น ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนหรือเข้าไปกระทำการใดๆ อันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นโดยปกติสุข และร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ซึ่งพืชหรือพืชผลของกสิกร วิไลวรรณ กลับนุ้ย ได้ร่วมกับเกษตรกรไร้ที่ดินทำกินจำนวนหนึ่ง ในนามสหพันธ์เกตรกรภาคใต้ เรียกร้องให้มีการตรวจสอบที่ดินรกร้างว่างเปล่าที่เอกชนครอบครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เกษตรกรไร้ที่ดินเหล่านี้ได้เรียกร้องให้มีการปฏิรูปที่ดินอย่างเป็นธรรม แต่การปฏิรูปที่ดินก็ดำเนินไปอย่างล้าช้า เกษตรกรแต่ละกลุ่มภายใต้การนำของสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้จึงได้เข้าไปก่อตั้งเป็นชุมชนในพื้นที่รกร้างว่างเปล่า พื้นที่ที่เอกชนครอบครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และสร้างรูปแบบการจัดการพื้นที่แบบโฉนดชุมชน วิไลวรรณและเกษตรกรจำนวนกว่าร้อยคน ได้เข้าครอบครองที่ดินที่เอกชนปล่อยทิ้งร้าง และร่วมกันก่อตั้งเป็น “ชุมชนน้ำแดงพัฒนา” ขึ้น ที่ตำบลคลองน้อย อำเภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฏร์ ธานี ตั้งแต่ ปี 2552 ชาวบ้านได้ร่วมกันจัดการพื้นที่ โดยได้ทำการปลูกทั้งพืช เศรษฐกิจ คือปาล์มน้ำมัน และพืชอาหาร […]

นงเยาว์ กลับนุ้ย : บทสะท้อนสิทธิในการปล่อยตัวชั่วคราวของคนจน

“ช่วยไม่ได้ ก็ต้องอยู่ให้ได้” คำพูดทั้งน้ำตา ของป้านงเยาว์ นงเยาว์ กลับนุ้ย อายุ 64 ปี หนึ่งในชาวชุมชนน้ำแดงพัฒนา สมาชิกสหพันธ์เกษตกรภาคใต้ 12 คน (ถูกออกหมายจับ 15 คน) ที่ถูกดำเนินคดีอาญาความผิดฐาน ซ่องโจร ร่วมกันบุกรุกเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเพื่อถือการครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้น ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนหรือเข้าไปกระทำการใดๆ อันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นโดยปกติสุข และร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ซึ่งพืชหรือพืชผลของกสิกร (อ่านข้อมูลเพิ่มเติม ) นงเยาว์ ถูกออกหมายจับพร้อมชาวบ้านชุมชนน้ำแดง 15 คน และถูกตำรวจ สภ. ชัยบุรีเข้าไปจับกุมที่ชุมชนเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2560พร้อมชาวบ้านอีก 4 คน หลังจากนั้น วันที่ 21 เมษายน ก็มีชาวบ้านถูกจับเพิ่มอีก 2 ราย หลังจากการจับกุม ญาติของผู้ถูกจับแต่ละรายและทนายความจากเครือข่ายทนายความสิทธิมนุษยชนภาคใต้ ก็พยายามยื่นขอประกันตัวผู้ถูกจับกุม แต่การขอประกันตัวไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะมีการกำหนดอัตราหลักประกันตามจำนวนข้อหาและคดีที่ค่อนข้างสูง ซึ่งในกรณีนี้มีการแยกดำเนินคดีเป็น 3 คดีตามจำนวนผู้ที่มาร้องทุกข์ และแต่ละคดีจะมีทั้ง 3 ข้อหา ซึ่งแต่เดิมมีการตั้งข้อหา […]

พรุ่งนี้แล้วต้องขึ้นศาล : ศาลจังหวัดเวียงสระนัดพร้อม/สอบคำให้การคดีชาวบ้านชุมชนน้ำแดงพัฒนา 13 ถูกกล่าวหาในความผิดฐานบุกรุก ทำให้เสียทรัพย์ และซ่องโจร

ศาลจังหวัดเวียงสระนัดพร้อม/สอบคำให้การคดีชาวบ้านชุมชนน้ำแดงพัฒนา 13 ถูกกล่าวหาในความผิดฐานบุกรุก ทำให้เสียทรัพย์ และซ่องโจร วันจันทร์ที่ 24 กรกฎาคม 2560 เวลา 09.00 น. ศาลจังหวัดเวียงสระ นัดพร้อม/สอบคำให้การคดีอาญาหมายเลขดำที่ 1460/2560 ซึ่งเป็นคดีที่ชาวบ้านชุมชนน้ำแดงพัฒนา 13 คนถูกแจ้งความดำเนินคดีในความผิดฐานซ่องโจร ร่วมกันบุกรุกเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเพื่อถือการครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วนหรือเข้าไปกระทำการใดๆอันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นโดยปกติสุข และร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ซึ่งพืชหรือพืชผลของกสิกร ที่มาของคดีนี้ สืบเนื่องจากเอกชนจำนวน 3 ราย ได้แก่ 1. นายภาสกร เจริญมีชัยกุล 2. บริษัทสากลทรัพยากรพัฒนา จำกัด 3. บริษัท อิควอโทเรียล คอมมิวนิเคชั่น (ประเทศไทย) จำกัด มหาชน ได้เข้าแจ้งความและตำรวจ สภ. ชัยบุรีได้ขอให้ศาลจังหวัดเวียงสระออกหมายจับชาวบ้านชุมชนน้ำแดงพัฒนาจำนวน 15 คน เป็นเหตุให้ในวันที่ 20 และ 21 เมษายน 2560 ตำรวจ สภ. ชัยบุรี ได้ทำการจับกุมตัวชาวบ้านจำนวน 8 คน […]

แถลงการณ์ : คืนสิทธิปล่อยตัวระหว่างดำเนินคดีแก่นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษาโดยทันที

แถลงการณ์ คืนสิทธิปล่อยตัวระหว่างดำเนินคดีแก่นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษาโดยทันที เผยแพร่ 16 มกราคม 2560 สืบเนื่องจากตั้งแต่วันที่ 22 ธันวาคม 2559 ศาลจังหวัดขอนแก่นได้มีคำสั่งให้เพิกถอนสัญญาประกันตัว นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ “ไผ่ ดาวดิน” นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้ถูกกล่าวหาว่า กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 จากการแชร์ข่าวพระราชประวัติรัชกาลที่ 10 จากเฟซบุคของสำนักข่าวบีบีซีไทย ในเฟซบุคของตนเอง โดยศาลให้เหตุผลในการเพิกถอนการประกันตัวว่า ยังไม่ยอมลบข้อความที่ถูกกล่าวหา และมีการโพสรูปภาพแสดงท่าทางในเชิงสัญลักษณ์ที่ศาลเห็นว่าเป็นการเย้ยหยันอำนาจรัฐ ซึ่งนับตั้งแต่ศาลจังหวัดขอนแก่นมีคำสั่งเพิกถอนการประกันตัว ทนายความได้ยื่นอุทธรณ์ และฎีกาตามลำดับ แต่ศาลสูงได้ยืนตามคำสั่งของศาลจังหวัดขอนแก่น นอกจากนี้ ทนายความยังได้มีการยื่นขอประกันตัวใหม่ไปแล้วถึง 5 ครั้ง แต่ศาลก็ยังไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวจตุภัทร์ โดยอ้างว่า ยังไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม ประกอบกับพนักงานสอบสวนได้ยื่นขอฝากขัง ครั้งที่ 4 โดยอ้างว่า การสอบสวนพยานบุคคลยังไม่เสร็จสิ้น และศาลขอนแก่นได้อนุมัติฝากขัง เป็นผลให้จตุภัทร์ต้องถูกคุมขังต่อไปอีกจนถึงวันที่ 20 มกราคม 2560 ซึ่งจะทำให้เขาไม่ได้ออกมาสอบวิชาสุดท้าย ที่จะมีการสอบในวันที่ 17 มกราคม […]

การเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวไผ่ ดาวดิน : บทสะท้อนปัญหาการปล่อยตัวชั่วคราว และการปิดกั้นการตั้งคำถามต่อกระบวนการยุติธรรม

สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2559 ที่ศาลจังหวัดขอนแก่นได้มีคำสั่งให้เพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวนายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ “ไผ่ ดาวดิน” หนึ่งในสมาชิกกลุ่มดาวดินและขบวนการประชาธิปไตยใหม่ ซึ่งถูกแจ้งความโดยเจ้าหน้าที่รัฐและถูกจับกุมเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2559 ในข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 จากกรณีแชร์ข่าวพระราชประวัติรัชกาลที่ 10 จากเว็บไซต์ข่าว BBC ไทย ซึ่งในครั้งนั้นศาลได้อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว โดยมีหลักทรัพย์ประกัน 400,000 บาท การขอเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวในคราวนี้ มีสาเหตุจากการที่นายจตุภัทร์โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊กว่า “ตอนแรกก็อยากจะขอโทษเพื่อนประชามติทั้ง 3 คน เพราะคดีล่าสุดก็โดนไป 400,000 แต่ผมไม่ได้ผิดไง ผมไม่สามารถกระทำการขอโทษได้จริง ๆ #เศรษฐกิจมันแย่แมร่งเอาแต่เงินประกัน” ซึ่งข้อความดังกล่าวถูกโพสต์หลังจากทราบข่าวว่าศาลจังหวัดพระโขนงไม่อนุญาตให้นักวิชาการใช้ตำแหน่งประกันตัวเพื่อนนักกิจกรรมที่ถูกฟ้องในคดีฉีกบัตรลงคะแนนประชามติ เป็นเหตุให้ต้องหาหลักทรัพย์มาประกันทั้งสามคนเป็นจำนวนถึง 600,000 บาท ทั้งนี้ ศาลจังหวัดขอนแก่นได้นัดไต่สวนคำร้องในวันที่ 22 ธันวาคม 2559 โดยได้สั่งให้มีการพิจารณาลับ และได้มีคำสั่งให้เพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวนายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา ซึ่งต่อมาทนายความของจตุภัทร์ได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลจังหวัดขอนแก่นต่อศาลอุทธรณ์ภาค 4 อย่างไรก็ดี ในวันที่ […]