สิทธิในกระบวนการยุติธรรม

ใบแจ้งข่าว : ฟังคำพิพากษาศาลฎีกาคดีสิทธิในที่ดินทำกินและวิถีชีวิตของชุมชนชาติพันธุ์ปกาเกอญอบ้านแม่อมกิ

วันพุธที่ 22 มีนาคม 2560 เวลา 9.00 น. ณ ศาลจังหวัดแม่สอด จังหวัดตาก ขอเรียนเชิญสื่อมวลชนและผู้สนใจเข้าร่วมฟังคำพิพากษาศาลฎีกาคดีนางน่อเฮมุ้ยหรือหน่อเฮหมุ่ย เวียงวิชชา ชาวปกาเกอญอที่ถูกดำเนินคดีจากการทำไร่หมุนเวียนตามวิถีชุมชนดั้งเดิม คดีนี้สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2551 เจ้าหน้าที่ป่าไม้ได้จับกุมชาวปกาเกอญอกลุ่มหนึ่งในขณะกำลังทำไร่หมุนเวียนตามวิถีชุมชนดั้งเดิม ที่ตำบลแม่วะหลวง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ต่อมาในวันที่ 1 กันยายน 2551 พนักงานอัยการจังหวัดแม่สอดได้ส่งฟ้องผู้ต้องหา 2 คน ต่อศาลจังหวัดแม่สอด คือ นางน่อเฮหมุ่ย เวียงวิชชา และนายนายดิ๊แปะโพ ไม่มีชื่อสกุล โดยทั้งสองเป็นประชาชนในชุมชนแม่อมกิ ตำบลแม่วะหลวง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ในความผิดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 และความผิดต่อพระราชบัญญัติป่าสงวน พ.ศ.2507 ในศาลชั้นต้น จำเลยทั้ง 2 คนรับสารภาพตามคำฟ้อง จึงไม่มีการสืบพยาน ศาลจึงตัดสินพิพากษาโดยคดีของนายดิ๊แปะโพให้ลงโทษจำคุก 2 ปี 6 เดือนรับ สารภาพลดโทษกึ่งหนึ่งเหลือจำคุก 1 ปี […]

แถลงการณ์ : คืนสิทธิปล่อยตัวระหว่างดำเนินคดีแก่นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษาโดยทันที

แถลงการณ์ คืนสิทธิปล่อยตัวระหว่างดำเนินคดีแก่นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษาโดยทันที เผยแพร่ 16 มกราคม 2560 สืบเนื่องจากตั้งแต่วันที่ 22 ธันวาคม 2559 ศาลจังหวัดขอนแก่นได้มีคำสั่งให้เพิกถอนสัญญาประกันตัว นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ “ไผ่ ดาวดิน” นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้ถูกกล่าวหาว่า กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 จากการแชร์ข่าวพระราชประวัติรัชกาลที่ 10 จากเฟซบุคของสำนักข่าวบีบีซีไทย ในเฟซบุคของตนเอง โดยศาลให้เหตุผลในการเพิกถอนการประกันตัวว่า ยังไม่ยอมลบข้อความที่ถูกกล่าวหา และมีการโพสรูปภาพแสดงท่าทางในเชิงสัญลักษณ์ที่ศาลเห็นว่าเป็นการเย้ยหยันอำนาจรัฐ ซึ่งนับตั้งแต่ศาลจังหวัดขอนแก่นมีคำสั่งเพิกถอนการประกันตัว ทนายความได้ยื่นอุทธรณ์ และฎีกาตามลำดับ แต่ศาลสูงได้ยืนตามคำสั่งของศาลจังหวัดขอนแก่น นอกจากนี้ ทนายความยังได้มีการยื่นขอประกันตัวใหม่ไปแล้วถึง 5 ครั้ง แต่ศาลก็ยังไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวจตุภัทร์ โดยอ้างว่า ยังไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม ประกอบกับพนักงานสอบสวนได้ยื่นขอฝากขัง ครั้งที่ 4 โดยอ้างว่า การสอบสวนพยานบุคคลยังไม่เสร็จสิ้น และศาลขอนแก่นได้อนุมัติฝากขัง เป็นผลให้จตุภัทร์ต้องถูกคุมขังต่อไปอีกจนถึงวันที่ 20 มกราคม 2560 ซึ่งจะทำให้เขาไม่ได้ออกมาสอบวิชาสุดท้าย ที่จะมีการสอบในวันที่ 17 มกราคม […]

การเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวไผ่ ดาวดิน : บทสะท้อนปัญหาการปล่อยตัวชั่วคราว และการปิดกั้นการตั้งคำถามต่อกระบวนการยุติธรรม

สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2559 ที่ศาลจังหวัดขอนแก่นได้มีคำสั่งให้เพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวนายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ “ไผ่ ดาวดิน” หนึ่งในสมาชิกกลุ่มดาวดินและขบวนการประชาธิปไตยใหม่ ซึ่งถูกแจ้งความโดยเจ้าหน้าที่รัฐและถูกจับกุมเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2559 ในข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 จากกรณีแชร์ข่าวพระราชประวัติรัชกาลที่ 10 จากเว็บไซต์ข่าว BBC ไทย ซึ่งในครั้งนั้นศาลได้อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว โดยมีหลักทรัพย์ประกัน 400,000 บาท การขอเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวในคราวนี้ มีสาเหตุจากการที่นายจตุภัทร์โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊กว่า “ตอนแรกก็อยากจะขอโทษเพื่อนประชามติทั้ง 3 คน เพราะคดีล่าสุดก็โดนไป 400,000 แต่ผมไม่ได้ผิดไง ผมไม่สามารถกระทำการขอโทษได้จริง ๆ #เศรษฐกิจมันแย่แมร่งเอาแต่เงินประกัน” ซึ่งข้อความดังกล่าวถูกโพสต์หลังจากทราบข่าวว่าศาลจังหวัดพระโขนงไม่อนุญาตให้นักวิชาการใช้ตำแหน่งประกันตัวเพื่อนนักกิจกรรมที่ถูกฟ้องในคดีฉีกบัตรลงคะแนนประชามติ เป็นเหตุให้ต้องหาหลักทรัพย์มาประกันทั้งสามคนเป็นจำนวนถึง 600,000 บาท ทั้งนี้ ศาลจังหวัดขอนแก่นได้นัดไต่สวนคำร้องในวันที่ 22 ธันวาคม 2559 โดยได้สั่งให้มีการพิจารณาลับ และได้มีคำสั่งให้เพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวนายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา ซึ่งต่อมาทนายความของจตุภัทร์ได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลจังหวัดขอนแก่นต่อศาลอุทธรณ์ภาค 4 อย่างไรก็ดี ในวันที่ […]

ตามหาความเป็นธรรม ภรรยาและลูกๆบิลลี่เดินทางเข้าพบ ป.ป.ท. สอบถามความคืบหน้าการดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมตัวบิลลี่

เกือบจะเข้าปีที่ 3 แล้วที่นายพอละจี รักจงเจริญ หรือบิลลี่ ได้หายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย หลังจากถูกควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2557 ที่ด่านเขามะเร็ว ซึ่งเจ้าหน้าที่อ้างว่าบิลลี่มีรังผึ้งและน้ำผึ้งป่าไว้ในครอบครอง หลังจากนั้นบิลลี่ก็หายตัวไปโดยไม่ทราบชะตากรรมจนกระทั่งบัดนี้ วันที่ 19 ธันวาคม 2559 นางสาวพิณนภา พฤกษาพรรณ ภรรยาของนายบิลลี่ พอละจี รักจงเจริญ จึงได้เดินทางเข้าพบประธานอนุกรรมการไต่สวนของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ซึ่งเป็นกลไกหนึ่งในการที่จะใช้เพื่อดำเนินการสืบหาตัวบิลลี่และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการหายตัวไปของบิลลี่ การดำเนินการของ ป.ป.ท. เริ่มต้นจากพนักงานสอบสวนจากสถานีตำรวจภูธรแก่งกระจานได้ส่งสำนวนให้ ป.ป.ท. ตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม 2557 เพื่อให้ดำเนินการกับนายชัยวัฒน์และพวกรวม 4 คนกรณีที่มีการกล่าวโทษว่านายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานในขณะนั้น กับพวกรวม 4 คนมีความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 จากการนายชัยวัฒน์ กับพวกได้ควบคุมตัวนายพอละจี รักจงเจริญ หรือบิลลี่ ผู้นำชุมชนกะเหรี่ยงบางกลอย อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี ไว้เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2557 โดยอ้างว่ามีของกลางเป็นน้ำผึ้งป่าไว้ในครอบครอง แต่เจ้าหน้าที่อุทยานฯก็ไม่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย […]

ใบแจ้งข่าว ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นยกฟ้องโจทก์ในคดีลอบสังหาร นายใช้ บุญทองเล็ก นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนและสมาชิกสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้(สกต.)

วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน 2559 เวลา 09.00 น. ศาลจังหวัดเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค8 ในคดีหมายเลขดำ ที่ อ.1273/2558 และคดีหมายเลขแดงที่ อ. 642/2559 ระหว่าง พนักงานอัยการจังหวัดเวียงสระ โจทก์ กับ นายสันติ วรรณทอง จำเลย ในคดีลอบสังหารนายใช้ บุญทองเล็ก สมาชิกสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้(สกต.) และนักต่อสู้เพื่อสิทธิในที่ดินชุมชนคลองไทรพัฒนา เมื่อวันที่ 11 ก.พ. 2558 คดีนี้ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2559 โดยพิพากษายกฟ้องโจทก์ และยกคำร้องขอให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนของโจทก์ร่วมเนื่องจากศาลเห็นว่าประจักษ์พยานโจทก์ทั้งสองคนไม่น่าจะจดจำใบหน้าคนร้ายได้ เพราะเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ พยานอยู่ห่างจากจุดที่คนขับรถยืนอยู่พอสมควร ประกอบกับเป็นช่วงเวลาใกล้ค่ำส่วนที่โจทก์ร่วมนำสืบในประเด็นการใช้โทรศัพท์ของจำเลยซึ่งเชื่อมโยงกับคนยิงนั้น เห็นว่าเป็นข้อมูลหลังจากวันเกิดเหตุเวลานานมาก จากพยานหลักฐานและการนำสืบดังกล่าวจึงไม่ส่ามารถบ่งชี้ได้ว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องจึงต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย โดยต่อมาศาลอุทธรณ์ภาค8 ได้มีคำพิพากษา ดังนี้ 1. ศาลอุทธรณ์พิเคราะห์ จากข้อเท็จจริงเบื้องต้น มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์และโจทก์ร่วมทั้งสองว่า จำเลยกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ ในเรื่องของประจักษ์พยานรับฟังได้ว่า ในวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุตามฟ้อง มีคนร้ายใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายจนถึงแก่ความตาย และจากนั้นเดินไปขึ้นท้ายรถจักรยานยนต์ของคนร้ายอีกคนเพื่อหลบหนี […]

หลังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีนายใช้ บุญทองเล็ก อีกครั้งกับการลอยนวลพ้นผิด

วันที่ 28 พฤศจิกายน 2559 ศาลจังหวัดเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้อ่านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 8 ในคดีสังหารนายใช้ บุญทองเล็ก นักต่อสู้เพื่อสิทธิในที่ดิน สมาชิกสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ โดยศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ยกฟ้อง กรณีนี้สืบเนื่องจากนายใช้ บุญทองเล็ก อายุ 61 ปี สมาชิกสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.) และนักต่อสู้เพื่อสิทธิในที่ดินชุมชนคลองไทรพัฒนา ตำบลไทรทอง อำเภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี ถูกยิงเสียชีวิตเมื่อวันที่ 11 ก.พ. 2558 ซึ่งในทางการสอบสวนพบว่ามีผู้ต้องสงสัยที่เกี่ยวข้องจำนวนสามคนคือ มือปืน ผู้จ้างวาน และคนขับรถจักรยานยนต์ แต่ในชั้นฟ้องร้องดำเนินคดี สามารถนำเพียงผู้ต้องต้องสงสัยที่คาดว่าเป็นคนขับรถจักรยานยนต์เท่านั้นมาดำเนินคดีในชั้นศาลได้ คดีนี้พนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้ที่ต้องสงสัยว่าเป็นคนขับรถจักรยานยนต์ให้มือปืนที่ก่อเหตุยิงนายใช้ ในข้อหาร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ร่วมกันมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตและร่วมกันพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต ทั้งนี้ ญาติของนายใช้ ได้ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการ โดยมีทนายความจากสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนให้การช่วยเหลือในด้านการดำเนินคดี เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2559 ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษายกฟ้องโจทก์. เนื่องจากศาลเห็นว่าประจักษ์พยานโจทก์ทั้งสองคนไม่น่าจะจดจำใบหน้าคนร้ายได้ เพราะเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ พยานอยู่ห่างจากจุดที่คนขับรถยืนอยู่พอสมควร ประกอบกับเป็นช่วงเวลาใกล้ค่ำ ส่วนที่โจทก์ร่วมนำสืบในประเด็นการใช้โทรศัพท์ของจำเลยซึ่งเชื่อมโยงกับคนยิงนั้น เห็นว่าเป็นข้อมูลหลังจากวันเกิดเหตุเวลานานมาก […]

ใบแจ้งข่าว : ฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์  คดีสังหารนายใช้ บุญทองเล็ก นักต่อสู้เพื่อสิทธิในที่ดินและสมาชิกสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ 

วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน 2559 เวลา 09.00 น. ศาลจังหวัดเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีนัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ล่วงหน้า ในคดีหมายเลขดำที่ อ.1273/2558 และคดีหมายเลขแดงที่ อ. 642/2559 ระหว่างพนักงานอัยการจังหวัดเวียงสระ โจทก์ กับ นายสันติ วรรณทอง จำเลย จึงขอเชิญสื่อมวลชนและผู้ที่สนใจเข้าร่วมฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ตามวันและเวลาดังกล่าวข้างต้น กรณีนี้สืบเนื่องจากนายใช้ บุญทองเล็ก อายุ 61 ปี สมาชิกสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.) และนักต่อสู้เพื่อสิทธิในที่ดินชุมชนคลองไทรพัฒนา ตำบลไทรทอง อำเภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี ถูกยิงเสียชีวิตเมื่อวันที่ 11 ก.พ. 2558 ซึ่งในทางการสอบสวนพบว่ามีผู้ต้องสงสัยที่เกี่ยวข้องจำนวนสามคนคือ มือปืน ผู้จ้างวาน และคนขับรถจักรยานยนต์ แต่ในชั้นฟ้องร้องดำเนินคดี สามารถนำเพียงผู้ต้องต้องสงสัยที่คาดว่าเป็นคนขับรถจักรยานยนต์เท่านั้นมาดำเนินคดีในชั้นศาลได้ โดยพนักงานอัยการยื่นฟ้องจำเลยในข้อหาร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ร่วมกันมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตและร่วมกันพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต ทั้งนี้ ญาติของนายใช้ ได้ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการ โดยมีทนายความจากสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนให้การช่วยเหลือในด้านการดำเนินคดี อย่างไรก็ดี เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2559 […]

คดีทรมานนักศึกษายะลา : บทพิสูจน์ความก้าวหน้ากระบวนการยุติธรรมไทย โดย จันทร์จิรา จันทร์แผ้ว

คดียุทธศาสตร์อีกคดีหนึ่งที่เครือข่ายฯ เรียกกันติดปากคือ “คดีนักศึกษายะลา” เป็น คดีที่นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา ถูกเจ้าหน้าที่ทหารควบคุมตัวและทรมานให้รับสารภาพ เนื่องจากเป็นผู้ต้องสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับการก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดน ภาคใต้ โดยเจ้าหน้าที่ทหารใช้อำนาจควบคุมตัวตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ.๒๔๕๗ เหตุควบคุมตัวและการทรมานดังกล่าวเกิดขึ้นในเดือนมกราคม ๒๕๕๑ ที่หน่วยเฉพาะกิจที่ ๑๑ จังหวัดยะลา และค่ายอิงคยุทธบริหาร จังหวัดปัตตานี ที่เรียกกันติดปากว่าคดีนักศึกษายะลาก็เพราะว่าผู้ถูกควบคุมตัวและทรมานให้ รับสารภาพทั้งหมดรวม ๗ คน ยังเป็นนักศึกษาและบางส่วนทำกิจกรรมกับชุมชนและชาวบ้าน โดยเป็นสมาชิกของสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ โดยหวังว่าการทำกิจกรรมของตนจะเป็นส่วนหนึ่งในการคลี่คลายปัญหาความไม่สงบลง บ้าง แต่บทบาทดังกล่าวกลับเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ถูกควบคุมตัว ปัญหาการใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ.๒๔๕๗ และพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.๒๕๔๘ หรือที่เรียกกันว่ากฎหมายพิเศษ ทำให้ประชาชนตกเป็นผู้ต้องสงสัยและถูกควบคุมตัว ตลอดจนต้องเข้าสู่ขั้นตอนในกระบวนการยุติธรรมโดยไม่จำเป็น สร้างภาระและความเดือดร้อนให้ประชาชนอย่างมาก ภายใต้มายาคติว่าชาวไทยมุสลิมเป็นผู้ก่อความไม่สงบ ซึ่งกฎหมายดังกล่าวนอกจากไม่สามารถแก้ไขปัญหาความไม่สงบได้แล้ว ยังนำมาสู่ปัญหาการทรมานประชาชนโดยเจ้าหน้าที่เพื่อให้รับสารภาพอีกด้วย คดี นักศึกษายะลาเป็นหนึ่งในคดีที่มีการควบคุมตัวโดยมิชอบและทรมานให้รับสารภาพ จำนวนมากที่เกิดขึ้นในสังคมไทย โดยเฉพาะในจังหวัดชายแดนภาคใต้ การควบคุมตัวบุคคลโดยอาศัยอำนาจตามกฎอัยการศึกฯ ทำได้โดยง่าย เพียงเป็น “ผู้ต้องสงสัย” เจ้าหน้าที่ก็มีอำนาจควบคุมตัวบุคคลนั้นไว้ได้นาน ๗ วัน เมื่อครบกำหนด และเจ้าหน้าที่ประสงค์จะควบคุมตัวต่อไป ให้ขออนุญาตต่อศาลเพื่อออกหมายจับและควบคุมตัวตามพระราชกำหนดการบริหาร ราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ ต่อไปอีก ๓๐ […]

ความสำเร็จภายใต้กฎหมายความมั่นคง โดย มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม

นับเป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่ง ที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ภาค ๔ ส่วนหน้า ได้ประกาศผลความสำเร็จในการทำงานเพื่อยุติการใช้ความรุนแรงด้วยวิธีการอบรมแทนการดำเนินคดี ซึ่งเป็นการดำเนินการภายใต้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.๒๕๕๑ โดยมีผู้จบหลักสูตรการอบรมมาแล้วสองคน คือ นายรอยาลี บือราเฮง และนายยาซะ เจะหมะ ทั้งสองคนเป็นผู้ต้องหาและได้รับสารภาพในความผิดที่ถูกกล่าวหา โดยยอมรับว่ากระทำไปเพราะหลงผิดหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และยินยอมเข้ารับการอบรมตามมาตรา ๒๑ แทนการถูกดำเนินคดี นับว่าเป็นสัญญาณที่ดีและเป็นการสร้างบรรยากาศที่จะเอื้อให้หลายคนที่เข้าไปอยู่ในกลุ่มของขบวนการก่อความไม่สงบอย่างหลงผิดและรู้เท่าไม่ถึงการณ์ได้มีช่องทางหรือหาทางออกให้กับตัวเอง กฎหมายความมั่นคงฉบับนี้ฉีกแนวกว่ากฎหมายพิเศษที่ใช้บังคับมาแล้ว ทั้งกฎอัยการศึกและพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินหรือพ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพราะเปิดพื้นที่ให้ผู้กระทำความผิดที่กระทบต่อความมั่นคงแต่กลับใจได้มีโอกาสเข้ามอบตัว หรือในกรณีที่พนักงานสอบสวนดำเนินการสอบสวนแล้วพบว่าผู้ต้องหานั้นๆกระทำไปเพราะหลงผิดและรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ทั้งเห็นว่าการกลับใจของผู้นั้นจะเป็นประโยชน์ต่อการรักษาความมั่นคง ในกรณีอย่างนี้ หากผู้อำนวยการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (ผอ.กอ.รมน.) เห็นชอบ ก็สามารถส่งเรื่องให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องต่อศาล และหากศาลเห็นสมควร เมื่อสอบถามผู้ต้องหาแล้วสมัครใจเข้าร่วมอบรม ก็อาจสั่งให้ผู้ต้องหานั้นเข้ารับการอบรม ณ สถานที่ที่กำหนดไว้เป็นเวลาไม่เกินหกเดือนแทนการถูกดำเนินคดี ผลในทางกฎหมายในกรณีนี้ คือ สิทธิในการนำคดีมาฟ้องเกี่ยวกับความผิดตามข้อกล่าวหาดังกล่าวเป็นอันระงับไป ตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา ๓๙) ซึ่งจะเป็นผลดีต่อตัวผู้ต้องหาเอง เจตนารมณ์ของกฎหมายนั้นต้องการให้กลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงหรือผู้ที่มีหมายจับ ไม่ว่าจะเป็นหมายจับตามพรก.ฉุกเฉินหรือตามป.วิอาญาได้เข้าสู่กระบวนทางกฎหมาย ทั้งนี้เพื่อที่จะยุติการก่อเหตุรุนแรงหรือการก่อความไม่สงบ อันเป็นเรื่องที่สอดคล้องกับการสร้างบรรยากาศหรือเปิดพื้นที่ให้กับคนที่มีความเห็นต่างได้มีโอกาสเข้ามาให้ความร่วมมือกับภาครัฐในการแก้ไขปัญหา จึงเป็นความปรารถนาดีของรัฐที่มีต่อฝ่ายที่หลงผิดและเข้าสู่ขบวนการ ไม่ว่าที่ยังอยู่ในพื้นที่หรือที่กำลังหลบหนีก็ตาม ทั้งนี้เพื่อให้ยุติทั้งความคิดและการกระทำ เท่ากับว่ารัฐได้เปิดหนทางให้แล้ว และหากพวกเขาเข้าสู่กระบวนการนี้ก็มีโอกาสที่จะได้กลับมาใช้ชีวิตตามปกติ ในกรณีที่ไม่มีอาชีพ ทางการก็อาจหาอาชีพให้โดยมีข้อแลกเปลี่ยนคือขอให้ยุติการก่อเหตุรุนแรง หยุดสร้างความเสียหายแก่ชาติบ้านเมือง ร่วมกันพัฒนาชาติและสร้างสันติภาพในพื้นที่ต่อไป แต่ข้อสรุปนี้จะเป็นความคาดหวังที่ยังห่างไกลความจริงของรัฐหรือไม่ […]

7 ปีที่รอคอย : มุมมองของเหยื่อซ้อมทรมานหลังคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด

  กรณีการซ้อมทรมานนายอิสมาแอ เตะ อดีตนักศึกษามหาวิทยาลัยสถาบันราชภัฎยะลาที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ บ่งชี้ว่าการซ้อมทรมานเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในสังคมไทย นายอิสมาแอถูกเจ้าหน้าที่ทหารจับกุมเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2551 โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ.2457 เพียงเพราะมีพยานซัดทอดว่าเป็นแนวร่วมก่อความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนใต้ โดยในระหว่างการควบคุมตัวตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึกฯ เขาได้ถูกเจ้าหน้าที่ทำร้ายร่างกาย เพื่อให้รับสารภาพว่าเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด ผ่านวิธีการต่างๆ ทั้งใช้ผ้าปิดตา ให้นั่งคุกเข่าหน้าอกแนบราบไปกับต้นขา แล้วใช้เก้าอี้วางครอบไปบนหลัง มีทหารนั่งอยู่บนเก้าอี้ และทหารคนอื่นๆ รุมเตะทำร้าย ใช้ยางในรถจักยานยนต์คล้องที่คอแล้วดึงขึ้น ทำให้หายใจไม่ออกและทรมาน ให้กินข้าวกลางฝนที่ตกหนัก ให้อยู่ในห้องที่เปิดแอร์เย็นจัดในขณะที่ตัวเปียก เป็นต้น จากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้นายอิสมาแอ เตะ และนายอามีซี มานาก ได้ตัดสินใจยื่นฟ้องกองทัพบกและกระทรวงกลาโหมต่อศาลปกครองจังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2552 ฐานละเมิดตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 ซึ่งหน่วยงานที่เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดสังกัดต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น และขอให้ศาลสั่งให้หน่วยงานดังกล่าวเยียวยาความเสียหายแก่นายอามีซีและนายอิสมาแอจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 32 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 “เราอยากให้กฎหมายดำเนินการลงโทษต่อเจ้าหน้าที่ที่ทำร้ายร่างกายประชาชน และอยากให้คดีของเราเป็นกรณีตัวอย่างเพื่อให้รัฐรับทราบว่าขณะนี้ในประเทศไทยยังคงมีการซ้อมทรมานอยู่แม้ว่าประเทศไทยจะมีการลงนามตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ(CAT) แต่สิ่งที่เกิดขึ้นทั้งในพื้นที่ภาคใต้และทั้งประเทศยังคงมีกรณีของการซ้อมทรมาน จึงอยากให้เรื่องนี้รับทราบสู่สาธารณะว่าการซ้อมทรมานประชาชนโดยเจ้าหน้าที่รัฐนั้นเกิดขึ้นจริง” นายอิสมาแอกล่าว การต่อสู้ของอิสมาแอและเพื่อนเกือบ 2 ปี จนนำไปสู่การได้มาซึ่งคำพิพากษาของศาลปกครองสงขลา เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน […]

1 2 3 4 5