สิทธิในกระบวนการยุติธรรม

เมื่อ “แม่” เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม…

  …เมื่อ “แม่” เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม… ลูกจะอยู่อย่างไร เมื่อแม่ต้องถูกดำเนินคดี และถูกคุมขังนานกว่า 40 วัน เพราะหาเงินประกันตัวไม่ได้ เรื่องราวต่อไปนี้ เป็นเรื่องราวของผู้หญิงคนหนึ่งที่เข้าไปสัมผัสกับกระบวนการยุติธรรม เธอเป็นเกษตรกร เป็นคนที่ต่อสู้เรื่องสิทธิในที่ดิน และที่สำคัญเธอเป็น “แม่” เธอคือ วิไลวรรณ กลับนุ้ย หนึ่งในจำเลยคดี “ชุมชนน้ำแดง” จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ถูกดำเนินคดีอาญาความผิดฐาน ซ่องโจร ร่วมกันบุกรุกเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเพื่อถือการครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้น ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนหรือเข้าไปกระทำการใดๆ อันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นโดยปกติสุข และร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ซึ่งพืชหรือพืชผลของกสิกร วิไลวรรณ กลับนุ้ย ได้ร่วมกับเกษตรกรไร้ที่ดินทำกินจำนวนหนึ่ง ในนามสหพันธ์เกตรกรภาคใต้ เรียกร้องให้มีการตรวจสอบที่ดินรกร้างว่างเปล่าที่เอกชนครอบครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เกษตรกรไร้ที่ดินเหล่านี้ได้เรียกร้องให้มีการปฏิรูปที่ดินอย่างเป็นธรรม แต่การปฏิรูปที่ดินก็ดำเนินไปอย่างล้าช้า เกษตรกรแต่ละกลุ่มภายใต้การนำของสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้จึงได้เข้าไปก่อตั้งเป็นชุมชนในพื้นที่รกร้างว่างเปล่า พื้นที่ที่เอกชนครอบครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และสร้างรูปแบบการจัดการพื้นที่แบบโฉนดชุมชน วิไลวรรณและเกษตรกรจำนวนกว่าร้อยคน ได้เข้าครอบครองที่ดินที่เอกชนปล่อยทิ้งร้าง และร่วมกันก่อตั้งเป็น “ชุมชนน้ำแดงพัฒนา” ขึ้น ที่ตำบลคลองน้อย อำเภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฏร์ ธานี ตั้งแต่ ปี 2552 ชาวบ้านได้ร่วมกันจัดการพื้นที่ โดยได้ทำการปลูกทั้งพืช เศรษฐกิจ คือปาล์มน้ำมัน และพืชอาหาร […]

นงเยาว์ กลับนุ้ย : บทสะท้อนสิทธิในการปล่อยตัวชั่วคราวของคนจน

“ช่วยไม่ได้ ก็ต้องอยู่ให้ได้” คำพูดทั้งน้ำตา ของป้านงเยาว์ นงเยาว์ กลับนุ้ย อายุ 64 ปี หนึ่งในชาวชุมชนน้ำแดงพัฒนา สมาชิกสหพันธ์เกษตกรภาคใต้ 12 คน (ถูกออกหมายจับ 15 คน) ที่ถูกดำเนินคดีอาญาความผิดฐาน ซ่องโจร ร่วมกันบุกรุกเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเพื่อถือการครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้น ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนหรือเข้าไปกระทำการใดๆ อันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นโดยปกติสุข และร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ซึ่งพืชหรือพืชผลของกสิกร (อ่านข้อมูลเพิ่มเติม ) นงเยาว์ ถูกออกหมายจับพร้อมชาวบ้านชุมชนน้ำแดง 15 คน และถูกตำรวจ สภ. ชัยบุรีเข้าไปจับกุมที่ชุมชนเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2560พร้อมชาวบ้านอีก 4 คน หลังจากนั้น วันที่ 21 เมษายน ก็มีชาวบ้านถูกจับเพิ่มอีก 2 ราย หลังจากการจับกุม ญาติของผู้ถูกจับแต่ละรายและทนายความจากเครือข่ายทนายความสิทธิมนุษยชนภาคใต้ ก็พยายามยื่นขอประกันตัวผู้ถูกจับกุม แต่การขอประกันตัวไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะมีการกำหนดอัตราหลักประกันตามจำนวนข้อหาและคดีที่ค่อนข้างสูง ซึ่งในกรณีนี้มีการแยกดำเนินคดีเป็น 3 คดีตามจำนวนผู้ที่มาร้องทุกข์ และแต่ละคดีจะมีทั้ง 3 ข้อหา ซึ่งแต่เดิมมีการตั้งข้อหา […]

แอะนอ พุกาด : กฎหมาย วิถีชีวิต และสิทธิชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบางกลอย

นางแอะนอ พุกาด อายุ 40 ปี หญิงชาติพันธุ์กะเหรี่ยงดั้งเดิมติดแผ่นดิน เกิดและตั้งรกรากถิ่นฐานบนพื้นที่บริเวณลำห้วยที้โพ้เปรือ หรือภาษาไทยเรียกว่าห้วยส้ม เป็นบริเวณที่ชาวกระเหรี่ยงดั้งเดิมเรียกว่า “ใจแผ่นดิน” บรรพบุรุษของเธอตั้งรกรากในพื้นที่นี้มาหลายชั่วอายุคนเป็นเวลานานกว่า 100 ปี เธอยังไม่มีบัตรประชาชน แต่ถือบัตรเลข 0 และเธอพูดและฟังภาษาไทยไม่ได้ สามีของเธอเสียชีวิตเมื่อ 2 ปีก่อน เธอมีลูก 4 คน เป็นชาย 3 หญิง 1 คน ปัจจุบันเธอจึงมีภาระเลี้ยงดูลูกที่ยังเรียนอยู่ 2 คน ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 6 ลูกๆทุกคนของเธอเกิดในพื้นที่บริเวณใจแผ่นดินเช่นเดียวกันเธอ และทุกคนถือบัตรเลข 0 อยู่ระหว่างรอสถานะ เธอเป็นหนึ่งในคนที่ผ่านเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นกับชาวบางกลอย โดยเฉพาะเหตุการณ์ผลักดันและเผาบ้านกะเหรี่ยงเมื่อปี 2554 ปัจจุบันเธอกำลังจะถูกดำเนินคดี เพราะทำไร่หมุนเวียนตามวิถีชีวิตเพื่อการเลี้ยงชีพ วิถีชีวิตชาติพันธุ์กะเหรี่ยงผูกติดกับที่ดิน กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ประกอบอาชีพทำไร่หมุนเวียน ซึ่งเป็นไร่ในลักษณะดั้งเดิมในที่ดินที่มีมากกว่าหนึ่งแปลงแล้วผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเพื่อที่จะได้มีการพักฟื้นที่ดินเพื่อปรับความสมดุลตามธรรมชาติ การทำไร่แบบเป็นแกนหลักต่อการดำรงชีวิต วัฒนธรรม และอัตลักษณ์ชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ซึ่งมีคุณูปการต่อระบบนิเวศ ความหลากหลายทางชีวภาพ ความอุดมสมบูรณ์ของหน้าดิน ภาวะไร้สารพิษทางการเกษตร […]

พรุ่งนี้แล้วต้องขึ้นศาล : ศาลจังหวัดเวียงสระนัดพร้อม/สอบคำให้การคดีชาวบ้านชุมชนน้ำแดงพัฒนา 13 ถูกกล่าวหาในความผิดฐานบุกรุก ทำให้เสียทรัพย์ และซ่องโจร

ศาลจังหวัดเวียงสระนัดพร้อม/สอบคำให้การคดีชาวบ้านชุมชนน้ำแดงพัฒนา 13 ถูกกล่าวหาในความผิดฐานบุกรุก ทำให้เสียทรัพย์ และซ่องโจร วันจันทร์ที่ 24 กรกฎาคม 2560 เวลา 09.00 น. ศาลจังหวัดเวียงสระ นัดพร้อม/สอบคำให้การคดีอาญาหมายเลขดำที่ 1460/2560 ซึ่งเป็นคดีที่ชาวบ้านชุมชนน้ำแดงพัฒนา 13 คนถูกแจ้งความดำเนินคดีในความผิดฐานซ่องโจร ร่วมกันบุกรุกเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเพื่อถือการครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วนหรือเข้าไปกระทำการใดๆอันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นโดยปกติสุข และร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ซึ่งพืชหรือพืชผลของกสิกร ที่มาของคดีนี้ สืบเนื่องจากเอกชนจำนวน 3 ราย ได้แก่ 1. นายภาสกร เจริญมีชัยกุล 2. บริษัทสากลทรัพยากรพัฒนา จำกัด 3. บริษัท อิควอโทเรียล คอมมิวนิเคชั่น (ประเทศไทย) จำกัด มหาชน ได้เข้าแจ้งความและตำรวจ สภ. ชัยบุรีได้ขอให้ศาลจังหวัดเวียงสระออกหมายจับชาวบ้านชุมชนน้ำแดงพัฒนาจำนวน 15 คน เป็นเหตุให้ในวันที่ 20 และ 21 เมษายน 2560 ตำรวจ สภ. ชัยบุรี ได้ทำการจับกุมตัวชาวบ้านจำนวน 8 คน […]

เรื่องราวของเอกสารสิทธิ์และจอบเสียม

เมื่อฝ่ายหนึ่งเป็นบริษัทที่มีเงินทุนกับอีกฝ่ายหนึ่งเป็นเกษตรกรที่หาเช้ากินค่ำให้ตัวเองและครอบครัวอยู่รอด เรื่องราวการต่อสู้ในกระบวนการยุติธรรมที่เกิดขึ้นจริง ณ ชุมชนน้ำแดงพัฒนา จ.สุราษฎร์ธานี นายเริงฤทธิ์ สโมสร สมาชิกสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ เป็นหนึ่งในชาวชุมชนน้ำแดงพัฒนาจาก 15 คน ที่ถูกดำเนินคดีอาญาความผิดฐาน ซ่องโจร ร่วมกันบุกรุกเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเพื่อถือการครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้น ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนหรือเข้าไปกระทำการใดๆ อันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นโดยปกติสุข และร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ซึ่งพืชหรือพืชผลของกสิกร (อ่านข้อมูลเพิ่มเติมคดีนี้ที่https://naksit.net/th/?p=608 ) ทางทีม HRLA ได้ลงไปติดตามสถานการณ์ต่างๆ ในพื้นที่ดังกล่าว ก็ได้พบกับนายเริงฤทธิ์ ซึ่งนายเริงฤทธิ์อาศัยอยู่ในชุมชนน้ำแดงมาระยะเวลาเกือบ 10 ปีแล้ว และได้เล่าเรื่องราวให้ฟัง… “จากปัญหาที่เกิด เรื่องปากท้องของชาวบ้าน ส่วนใหญ่ก็ไม่ค่อยมีที่ทำกิน เป็นเหตุผลที่ต้องเข้ามาหาพื้นที่ทำกิน ความรู้สึกของชาวบ้าน หลังจากที่ได้เข้ามาใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน ก็รู้สึกว่าเป็นครอบครัว เป็นชุมชน ตลอดระยะเวลาปีที่ 10 เห็นว่าพื้นที่ตรงนี้เป็นพื้นที่ที่ทิ้งร้าง ไม่มีผู้ใดมาใช้ประโยชน์ ชาวบ้านที่เป็นชาวบ้านข้างเคียง ก็เห็นว่าพื้นที่ตรงนี้เป็นพื้นที่ ที่ว่าน่าจะเอามาใช้ประโยชน์ เพื่อที่จะให้ครอบครัวมีอาชีพ ซึ่งชาวบ้านก็ไม่รู้ว่าที่ดินตรงนี้เป็นที่ดินประเภทไหน รู้แต่ว่าเป็นป่า ป่าที่ไม่มีใครใช้ประโยชน์ ชาวบ้านก็ทยอยเข้ามาทีละครัวสองครัว เข้ามาจับจองพื้นที่ทำกิน มาตลอดระยะเวลาที่เข้ามาอยู่ตั้งแต่ปลายปี 2551 ตลอดเวลาที่ผ่านมา ไม่มีใครเข้ามาแสดงสิทธิ์ว่าเป็นเจ้าของ กลุ่มชาวบ้านเองก็คาดไม่ถึงกับสิ่งที่เกิดขึ้นในเรื่องของคดีความ เพราะว่ามันเหมือนกับว่าชาวบ้านจน ๆ ที่เข้ามาใช้พื้นที่ ที่เค้าไม่ใช้ประโยชน์ แล้วจู่ […]

3 ปีบิลลี่ กับ 3 ประเด็นสิทธิที่ยังค้างคา

วันนี้ (17 เมษายน 2560) เครือข่ายภาคประชาชนชาติพันธุ์กระเหรี่ยง ได้ร่วมกันจัดงาน 3 ปีบิลลี่ พอละจี รักจงเจริญ ณ ห้วยกระซู่ ต.ยางน้ำกลัดเหนือ อ.หนองหญ้าปล้อง จ.เพชรบุรี โดยมีชาวบ้านชาต้พันธุ์กระเหรี่ยงเจ้าร่วมงานจากหลายพื้นที่ อาทิ บ้านลิ้นช้าง บ้านพุน้ำร้อน บ้านสาลิกา บ้านห้วยกระซู่ บ้านบางกลอย บ้านตากแดด ฯลฯ 17 เมษายน 2560 เป็นวันครบรอบ 3 ปีที่บิลลี่หายไป หลังถูกควบคุมโดยเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน บิลลี่ถือเป็นนักปกป้องสิทธิมนุษยชนและเป็นตัวแทนชุมชนบางกลอย ในการประสานงานดำเนินการเรื่องสิทธิชุมชนของคนกะเหรี่ยง (ปกาเกอะญอ) ต้นน้ำเพชรบุรี ในงานมีการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมและรำลึกถึงนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่จากไป อาทิ นายทัศกมล โอบอ้อม หรืออาจารย์ป๊อด ผู้ที่ช่วยเหลือชาวบ้านบางกลอยเรียกร้องสิทธิหลังถูกเผาบ้านไล่รื้อจากแผ่นดินเดิม ณ ใจแผ่นดิน อาจารย์ป๊อดถูกยิงในวันที่ 10 กันยายน 2554 กระบวนการยุติธรรมไม่สามารถลงโทษผู้กระทำความผิดได้ บิลลี่ พอละจี รักจงเจริญ นักปกป้องสิทธิชาติพันธุ์กระเหรี่ยงบางกลอย เขาหายตัวไปเมื่อวันที่ 17 เมษายน […]

ศาลฎีกาพิพากษาคดีสองชาวชาติพันธุ์กระเหรี่ยงบ้านแม่อมกิ ไม่ผิดฐานบุกรุกป่าสงวน เพราะอยู่มาก่อน แต่ต้องออกจากพื้นที่

วันที่ 21 มีนาคม 2560 ศาลจังหวัดแม่สอด จังหวัดตาก อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาคดี 2 ชาวกระเหรี่ยงบ้านแม่อมกิ คือ นางน่อเฮมุ้ยหรือหน่อเฮหมุ่ย เวียงวิชชา และนายดิแปะโปหรือดิ๊แปะโพ ถูกดำเนินคดีในข้อหาบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติ โดยศาลฎีกามีคำพิพากษาสรุปความได้ว่า จำเลยทั้งสองไม่มีความผิด เพราะขาดเจตนาบุกรุก เนื่องจากเป็นคนดั้งเดิมอยู่อาศัยทำกินมาก่อนประกาศเขตป่าสงวน แต่อย่างไรก็ดี ศาลฎีกายังคงยืนยันให้จำเลยทั้งสองและบริวารต้องออกจากพื้นที่ เดินในวันนี้ (22 มีนาคม 2560) ศาลนัดอ่านคำพิพากษาเฉพาะคดีของนางน่อเฮมุ้ยหรือหน่อเฮหมุ่ย เวียงวิชชา คดีหมายเลขดำที่ อ.1770/2551 หมายเลขแดงที่ 1737/2551 คดีความผิดต่อพ.ร.บ ป่าไม้ และพ.ร.บ ป่าสงวนแห่งชาติ แต่ทนายความได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลอ่านคำพิพากษาฎีกาในคดีของนายดิแปะโปหรือดิ๊แปะโพ หมายเลขดำที่ อ.1771/2551 หมายเลขแดงที่ 1738/2551 ด้วยในวันเดียวกันนี้ จากเดิมที่ศาลนัดอ่านในวันที่ 23 มีนาคม 2560 คดีนี้สืบเนื่องจากชาวกระเหรี่ยง 2 คนคือ นางน่อเฮมุ้ย เวียงวิชชา และนายดิแปะโป ที่มีอาชีพทำไร่หมุนเวียนเพื่อเลี้ยงชีพ ในชุมชนบ้านแม่อมกิ ตำบลแม่ว่าหลวง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก […]

พรุ่งนี้แล้ว! ศาลฎีกาพิพากษาคดีสิทธิในที่ดินทำกินและวิถีชีวิตของชุมชนชาติพันธุ์ปกาเกอญอ บ้านแม่อมกิ

วันพุธที่ 22 มีนาคม 2560 ณ ศาลจังหวัดแม่สอด จังหวัดตาก เวลา 09.00 น. มีนัดอ่านคำพิพากษาฎีกาคดีนางน่อเฮมุ้ยหรือหน่อเฮหมุ่ย เวียงวิชา ชาวปกาเกอญอ ชุมชนบ้านแม่อมกิ ที่ถูกดำเนินคดีจากการทำไร่หมุนเวียนตามวิถีชุมชน โดยในวันเดียวกันนั้นทนายความจะยื่นคำร้องขอให้ศาลจังหวัดแม่สอดอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาคดีนายดิ๊แปะโพหรือดิแปะโป จำเลยอีกคดีจากการกระทำความผิดในฐานเดียวกัน เพื่อให้ศาลอ่านคำพิพากษาในวันดังกล่าวข้างต้นพร้อมกันทั้ง 2 คดี (จากเดิมที่ศาลมีนัดอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาในวันที่ 23 มีนาคม 2560) คดีนี้เริ่มต้นจากชาวกะเหรี่ยง 2 คนคือ นางน่อเฮมุ้ย เวียงวิชชา และนายดิแปะโป ที่มีอาชีพทำไร่หมุนเวียนเพื่อเลี้ยงชีพ ในชุมชนบ้านแม่อมกิ ตำบลแม่ว่าหลวง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ถูกเจ้าหน้าที่ป่าไม้จับกุมในที่ดินที่ตนเองได้รับสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ โดยเจ้าหน้าที่กล่าวหาว่าบุกรุกทำลายป่า โดยถูกนำไปขังและฟ้องเป็นคดีความต่อศาลในเวลาต่อมา และศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ยกฟ้องทั้งสองคดี โดยเห็นว่าจำเลยไม่ได้มีเจตนาบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติ เป็นการขาดเจตนา การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามฟ้อง หลังมีคำพิพากษาของศาลชั้นต้น พนักงานอัยการได้อุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนในคดีของนางน่อเฮมุ้ย แต่อย่างไรก็ดี ศาลเห็นว่าที่เกิดเหตุอยู่ในเขตป่าสงวน แม้การกระทำของจำเลยจะขาดเจตนา แต่ก็ไม่มีสิทธิที่จะเข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่เกิดเหตุได้ ดังนั้นจำเลยจึงต้องออกจากป่าสงวนแห่งชาติที่เกิดเหตุ ส่วนคดีของนายดิแปะโปศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นโดยให้เหตุผลว่า แม้ว่าจำเลยจะทำกินในที่ดินดังกล่าวต่อจากบิดามารดาอันเป็นเวลาก่อนที่จะมีการประกาศให้เป็นเขตป่าสงวน และแม้ว่าจำเลยไม่ทราบว่าเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ แต่เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าที่เกิดเหตุเป็นป่าสงวนแห่งชาติ เมื่อกฎกระทรวงกำหนดเขตป่าสงวนแห่งชาติได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว […]

ปัญหาการพิจารณาค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา โดยสมชาย หอมลออ

พระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. ๒๕๔๔ (“พระราชบัญญัติ”) มี ผลบังคับใช้มาเกือบจะสิบปีแล้ว ในระหว่างเวลาดังกล่าวมีคดีอาญาที่ (๑) จำเลยถูกดำเนินคดีโดยพนักงานอัยการและ (๒) ถูกคุมขังในระหว่างการพิจารณาคดี ที่ศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดยกฟ้องนับหมื่นคดี แต่มีจำเลยจำนวนน้อยนักที่ได้รับค่าทดแทนที่ต้องถูกคุมขังระหว่างการพิจารณา คดีและค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดีที่ตนต้องเสียไป จำเลยบางคนจะต้องข้อหาร้ายแรงและศาลไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างการ พิจารณาคดี หรือจำเลยบางคนแม้ถูกฟ้องร้องดำเนินคดีในข้อหาไม่ร้ายแรง แต่เนื่องจากเป็นคนยากจน ไร้ญาติขาดมิตร จึงไม่สามารถหาหลักประกันเพื่อขอให้ศาลปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างการพิจารณา คดีได้ บางคนศาลชั้นต้นแม้มีคำพิพากษายกฟ้อง แต่กลับต้องถูกคุมขังระหว่างการอุทธรณ์ เสมือนหนึ่งว่าศาลเองก็ไม่เชื่อมั่นว่าคำพิพากษาของศาลเองที่ให้ยกฟ้องถูก ต้องแล้ว จำเลยเหล่านี้จำนวนไม่น้อยต้องถูกจองจำอยู่ในคุกนานนับปีกว่าที่ศาลจะมีคำ พิพากษาถึงที่สุดยกฟ้อง ถูกรัฐลิดรอนสิทธิเสรีภาพโดยการคุมขัง บางคนกระทั่งเสียชีวิตในคุก ใช่แต่เพียงเท่านั้น การที่จำเลยคนหนึ่งถูกจองจำอยู่เป็นระยะยาวนานย่อมมีผลกระทบต่อครอบครัวและ บุคคลใกล้ชิด ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และผลกระทบทางด้านจิตใจ หลายครอบครัวต้องแตกสลายเนื่องจากหัวหน้าครอบครัว หรือสมาชิกที่เป็นหลักของครอบครัวต้องถูกจองจำระหว่างการพิจารณาคดีเป็นเวลา นาน กลายเป็นปัญหาและภาระของสังคมในที่สุด ปัญหา หลักของการที่อดีตจำเลยในคดีอาญานับพันๆคนไม่มีโอกาสได้รับค่าทดแทนและค่า ใช้จ่ายในการต่อสู้คดีคือการวินิจฉัยตีความกฎหมายของคณะกรรมการพิจารณาค่า ตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลย ในคดีอาญา ซึ่งเป็นคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. ๒๕๔๔ และการวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ยื่นคำขอของศาลอุทธรณ์ตามอำนาจที่กำหนดไว้ใน มาตรา ๒๕ แห่ง พระราชบัญญัติดังกล่าว […]

คดีโลกร้อน ปะทะ สิทธิชุมชน โดย กฤษดา ขุนณรงค์

ปมที่ไม่อาจคลายหากยังไม่เลิกใช้ “ แบบจำลอง” ใช่ครับเรื่องที่จะพูดถึงต่อไปนี้เกิดขึ้นในเมืองไทยของเราเมื่อไม่กี่ปีมานี่เอง ปัจจุบันนี้หลายท่านพอคุ้นเคยกับคำว่า โลก ร้อนหรือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกซึ่งเชื่อกันว่าจะส่งผลร้ายแรง ต่อโลกของเรา ว่ากันไปถึงขั้นโลกใบนี้อาจถึงจุดอวสานหรือพูดกันให้เห็นภาพสั้น ๆ ภาษาชาวบ้าน ว่า “ โลกของเรากำลังจะแตก ” ทำนองนั้น หลายปีก่อนผู้นำกว่าร้อยประเทศทั่วโลกไปนั่งคุยเพื่อหาทางแก้ไขเรื่องนี้ และมีข้อตกลงอันเป็นพันธสัญญาทางกฎหมายภายใต้ชื่อ “ พิธีสารเกียวโต ” เป้าหมายหลัก คือ การลดการปล่อยก๊าชเรือนกระจกซึ่งมีคาร์บอนไดออกไซด์เป็นต้นเหตุสำคัญที่ส่ง ผลทำให้เกิดภาวะโลกร้อน กลุ่มประเทศอุตสาหกรรม เช่น สหภาพยุโรป แคนาดา รัสเซีย ญี่ปุ่น ยกเว้น สหรัฐและออสเตรเลีย ยอมที่จะรับผิดชอบปฏิบัติตามอนุสัญญา สำหรับประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีตามอนุสัญญาฉบับนี้ด้วย แต่เนื่องจากเราไม่ได้เป็นกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมจึงไม่มีผลบังคับให้ต้อง ดำเนินการครบถ้วนตามอนุสัญญา แต่สามารถเลือกเข้าร่วมโครงการต่าง ๆ ได้ ซึ่งปัจจุบันมีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับผิดชอบดูแลในเรื่องนี้ ผมเกริ่นถึงเรื่องนี้เสียยืดยาวเพื่อที่จะบอกว่ามันมีความสำคัญและจะไม่ไกลตัวของเราอีกแล้ว เพราะกระแสภาวะโลกร้อนไม่เพียงเป็นเรื่องข้อกังวลของคนทั่วโลกถึงผลกระทบทาง ธรรมชาติที่จะเกิดขึ้น แต่ด้านหนึ่งประเด็นนี้กำลังเชื่อมโยงมาถึงกลุ่มประเทศเกษตรกรรม ภาคชนบท ลงมาถึงชุมชนท้องถิ่นของประเทศไทยในฐานะผู้ต้องรับผิดชอบกับความเปลี่ยนแปลง ดังที่ว่า ช่วงปีสองปีที่ผ่านมา พวกเราคงพอได้ยินคำว่า “ คดีโลกร้อน ” กันอยู่บ้าง ดูจากคำก็ตีความได้ทันทีว่าเป็นคดีเกี่ยวกับคนกระทำความผิดข้อหาทำให้โลก […]

1 2 3 4 5