สิทธิในกระบวนการยุติธรรม

รายงาน 4 ปีการบังคับสูญหายบิลลี่ ความยุติธรรมที่ยังอยู่ระหว่างดำเนินการ

โดย สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) นายพอละจี รักจงเจริญ หรือบิลลี่ เป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแม่เพรียง มีฐานะเป็นหลานของปู่โคอี้ หรือคออี้ มีมิ ผู้เฒ่าวัย 107 ปี ผู้นำทางจิตวิญญาณของชาติพันธ์กะเหรี่ยงแห่งบางกลอย-ใจแผ่นดิน หนึ่งในผู้ที่ถูกเผาบ้านและบังคับให้ออกจากถิ่นฐานที่บรรพบุรุษชาติพันธุ์กะเหรี่ยงอยู่อาศัยทำกินมานับร้อยปี บิลลี่เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการปกป้องสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงแห่งบางกลอย-ใจแผ่นดิน ที่ถูกเผาบ้านและบังคับให้ต้องจากแผ่นดินเกิด เพราะนโยบายการอนุรักษ์ที่มองไม่เห็นชีวิตของผู้คน  บิลลี่ได้ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยทนายความในคดีที่ปู่คออี้ และชาวกะเหรี่ยงบางกลอยอีก 5 คน ยื่นฟ้องกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ต่อศาลปกครองกลาง จากเหตุการณ์ที่เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เข้ารื้อทำลาย เผาบ้านเรือนและทรัพย์สินของชาวบ้านชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่บ้านบางกลอยบน-ใจแผ่นดินเมื่อเดือนพฤษภาคม 2554 ภายใต้ปฏิบัติการ “ยุทธการตะนาวศรี หรือโครงการขยายผลการอพยพ ผลักดัน/จับกุม     ชนกลุ่มน้อยที่บุกรุกพื้นที่ตามแนวชายแดนไทย-พม่า ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน” ซึ่งเป็นโครงการที่มีขึ้นเพื่อผลักดันให้ชาวกะเหรี่ยงดั้งเดิมออกจากพื้นที่ แม้พวกเขาจะเป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิมที่ตั้งรกรากอาศัยอยู่ในพื้นที่มาเป็นเวลากว่า 100 ปีแล้วก็ตาม ในช่วงที่บิลลี่หายตัวไป เป็นช่วงที่กำลังมีการเตรียมข้อมูลเพื่อต่อสู้คดีดังกล่าว และอยู่ระหว่างการเตรียมถวายฎีกาเพื่อร้องเรียนขอความเป็นธรรม “วันที่ 17 เมษายน 2557 เวลาประมาณ 16.00 น. ผมได้รับโทรศัพท์จากพี่ชายของบิลลี่ บอกว่า บิลลี่ถูกจับเรื่องน้ำผึ้งที่ด่านมะเร็ว ให้ช่วยไปดูที่โรงพักหน่อย แต่ด้วยเห็นว่าวันนี้ค่ำแล้ว […]

ศาลระนองเลื่อนอ่านคำพิพากษาคดี 4 แรงงานเมียนมาร์ตกเป็นจำเลยข้อหาร่วมกันฆ่านางสาวอรวี (แอปเปิ้ล) ไป 19 เมษา

วันนี้ (29 มีนาคม 2561) เวลาประมาณ 09.30 น. ตามที่ศาลจังหวัดระนอง และศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดระนอง ได้นัดฟังคำพิพากษาคดีที่ชาวเมียนม่า 4 คน ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้กระทำความผิดฐานฆ่านางสาวอรวี สำเภาทอง หรือน้องแอปเปิ้ล โดยศาลจังหวัดระนองให้เลื่อนอ่านคำพิพากษาออกไปเป็นวันที่ 19 เมษายน 2561  เนื่องจากอธิบดีผู้พิพากษาภาคยังตรวจร่างคำพิพากษาของศาลจังหวัดระนองยังไม่แล้วเสร็จ  ส่วนศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดระนองก็ให้เลื่อนไปเพื่อรออ่านคำพิพากษาพร้อมกับศาลจังหวัดระนอง ทนายความจำเลยได้แถลงคัดค้านไม่เห็นด้วยที่ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดระนองจะเลื่อนอ่านคำพิพากษาออกไป เนื่องจากทนายจำเลยเห็นว่าในส่วนคำพิพากษาของศาลเยาวชนฯนั้น อธิบดีผู้พิพากษาภาคได้ตรวจร่างคำพิพากษาเสร็จแล้ว  ศาลเยาวชนฯมีความอิสระในฐานะเจ้าของสำนวน จึงควรอ่านคำพิพากษาไปเลย เพราะการเลื่อนออกไปย่อมส่งผลต่ออิสรภาพของจำเลย  อย่างไรก็ดี ศาลเยาวชนฯได้ชี้แจงว่าต้องทำตามคำแนะนำของอธิบดีผู้พิพากษาภาค 8 ที่ได้มีคำแนะนำให้รออ่านพร้อมศาลจังหวัดระนอง คดีนี้เป็นคดีสะเทือนขวัญที่เกิดขึ้นในช่วงหัวค่ำของวันที่ 8 กันยายน 2558 โดยนางสาวอรวี สำเภาทอง หรือน้องแอปเปิ้ล ผู้ตายได้ถูกคนร้ายแทงด้วยอาวุธแหลมคมถึง 17 แผล เสียชีวิต ขณะกำลังเดินเข้าซอยสำนักสงฆ์สะพานปลา ข้างโรงเจ หมู่ 5 ตำบลบางริ้น อำเภอเมือง จังหวัดระนอง ตำรวจได้มีการสืบสวนสอบสวน ต่อมาได้มีการจับกุมและดำเนินคดีกับจำเลยทั้ง 4 ซึ่งเป็นแรงงานชาวเมียนมาร์ ซึ่งการจับกุมดังกล่าวทำให้สังคมตั้งคำถามพอสมควรว่าทั้ง 4 […]

บ้านตระ เสียงสะท้อนถึงผู้บังคับใช้กฎหมาย ทัศนะที่ต้องเปลี่ยนแปลง (ตอน 1)  โดย กฤษดา ขุนณรงค์ 

ด้วยวันที่ 27 มีนาคม 2561 ที่ผ่านมา ศาลจังหวัดตรังได้พิพากษาคดี หมายเลขดำที่ 1171, 1172, 1173/2559 ระหว่างพนักงานอัยการจังหวัดตรัง โจทก์ กับ นายเรวัตร หรือ วัตร อินทร์ช่วย จำเลยที่ 1 นายอัมมร หรือ ชาย บรรถะ จำเลยที่ 2 และนายสมพร หรือ มิตร อินทร์ช่วย จำเลยที่ 3 เกี่ยวกับการกระทำความผิดต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (บุกรุกป่าสงวน และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด) โดยศาลจังหวัดตรังมีคำพิพากษาโดยสรุปคือให้จำเลยที่ 1 จำคุก 7 ปี ปรับ 90,000 บาท จำเลยที่ 2 จำคุก 6 ปี ปรับ 60,000 บาท และจำเลยที่ 3 จำคุก 1 ปี ปรับ 15,000 […]

ใบแจ้งข่าว : ขอเชิญเข้าร่วมรับฟังการพิพากษา คดี 4 แรงงานชาวเมียนมาร์ถูกกล่าวหาร่วมกันฆ่านางสาวอรวี สำเภาทอง (น้องแอปเปิ้ล)

เผยแพร่วันที่ 28 มีนาคม 2561 วันที่ 29 มีนาคม 2561 เวลา 09.30 น. ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดระนอง และศาลจังหวัดระนองนัดฟังคำพิพากษาในคดีที่ชาวเมียนม่า 4 คน ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้กระทำความผิดฐานฆ่านางสาวอรวี สำเภาทอง หรือน้องแอปเปิ้ล เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2558 เหตุเกิดในซอยสำนักสงฆ์สะพานปลา ข้างโรงเจ หมู่ที่ 5 ตำบลบางริ้น อำเภอเมือง จังหวัดระนอง โดยแรงงานชาวเมียนม่าทั้ง 4 คน ถูกแยกฟ้องคดีอาญาเป็น 2 ศาล เนื่องจาก 2 ใน 4 คน ยังมีฐานะเป็นเยาวชน ดังต่อไปนี้ 1. ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดระนอง คดีหมายเลขดำที่ 7/2559 ระหว่างพนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดระนอง โจทก์ นางมาริษา สำเภาทอง (มารดาผู้ตาย) โจทก์ร่วม นายโมซินอ่าว ที่ 1 […]

จอแฮริ สุณี ดอกไม้ : ความอยุติธรรมภาคต่อในผืนป่าแก่งกระจาน

วันนี้ (20 กันยายน 2560) เป็นวันที่พนักงานอัยการจังหวัดเพชรบุรีนัดส่งสำนวนและสั่งคดี กรณี 3 ชาวบ้านชาติพันธุ์กะเหรี่ยงถูกดำเนินคดีข้อหาความผิดเกี่ยวกับป่าไม้และอาวุธปืน ทั้งสามคนเข้าพบอัยการตามนัด พร้อมทั้งขอยื่นหนังสือร้องขอความเป็นธรรม ทั้งนี้ พนักงานอัยการให้เลื่อนนัดสั่งคดีไปเป็นวันที่ 19 ตุลาคม 2559 ผู้ต้องหา 3 คนคือ นายจอแฮริ กว่าบุ นายสุณี กว่าบุ และนายดอกไม้ พื้อแม้ ทั้ง 3 เป็นชาวบ้านชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบางกลอย พวกเขาถูกดำเนินคดีแบบงงๆ ในข้อหาทำไม้หรือทำอันตรายใดๆแก่ไม้หวงห้ามโดยไม่ได้รับอนุญาต แปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต, ยึดถือ ครอบครอง ทำประโยชน์ หรืออยู่อาศัยในที่ดิน ก่นสร้าง แผ้วถางหรือทำด้วยประการใดๆอันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติโดยไม่ได้รับอนุญาต, มีไม้แปรรูปไว้ในครอบครอง โดยไม่ได้รับอนุญาต, เก็บหาของป่า นำออกไปหรือทำด้วยประการใดๆให้เป็นอันตรายแก่สภาพป่าไม้ภายในอุทยานโดยไม่ได้รับอนุญาต การดำเนินคดีดังกล่าวมาจากเหตุการณ์การเข้าตรวจค้นของเจ้าหน้าที่หน่วยเฉพาะกิจทัพพระยาเสือ เจ้าหน้าที่กองร้อยตำรวจตะเวนชายแดนที่ 144 และเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2560 และได้ตรวจพบไม้แปรรูปจำนวนหนึ่ง ในพื้นที่หมู่ 1 ตำบลห้วยแม่เพรียง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ทั้ง […]

ใบแจ้งข่าว : ขอเชิญสื่อมวลชนและผู้ที่สนใจเข้าร่วมสังเกตการณ์การไต่สวนคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวนักต่อสู้เพื่อสิทธิในที่ดินชุมชนน้ำแดงพัฒนา สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้(สกต.) 4 คน

วันจันทร์ที่ 11 กันยายน 2560 เวลา 09.00 น. ศาลจังหวัดเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้นัดไต่สวนคำร้องขอให้เพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวชาวบ้านชุมชนน้ำแดงพัฒนา 4 คน ซึ่งถูกบริษัทอีควอโทเรียล คอมมิวนิเคชั่น (ประเทศไทย) จำกัด โจทก์ร่วม ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2560 และวันที่ 28 สิงหาคม 2560 โดยในคำร้องอ้างว่าทั้ง 4 คนเป็นภัยต่อโจทก์ร่วมและพยานของโจทก์ร่วม ซึ่งข้อเท็จจริงที่ฝ่ายบริษัทโจทก์ร่วมอ้างมาเพื่อเป็นเหตุในการขอเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวนั้น เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงวันที่ 23 มิถุนายน 2560 วันที่ 17 และ 21 กรกฎาคม 2560 ที่คนของบริษัทได้เข้ามาทำการเก็บเกี่ยวพืชผลในชุมชนน้ำแดงพัฒนา และชาวบ้านได้เข้าไปขอให้คนของบริษัทยุติการเก็บเกี่ยวผลผลิตที่ชาวบ้านเพาะปลูกไว้ แต่บริษัทอ้างว่าชาวบ้านได้บุกรุกเข้าไปในที่ดินแปลงที่บริษัทโจทก์ร่วมอ้างเป็นเจ้าของ ชาวบ้านน้ำแดงพัฒนาทั้ง 4 คนที่ถูกยื่นคำร้องของเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราว ได้แก่ นายไพโรจน์ กลับนุ้ย นายอดิศร ศิริวัฒน์ นายสุวรรณ์ คงพิทักษ์ และนายเริงฤทธิ์ สโมสร ทั้งหมดเป็นผู้นำชาวบ้านที่ต่อสู้เพื่อสิทธิในที่ดินทำกินในชุมชนน้ำแดงพัฒนา […]

ใบแจ้งข่าว : 4 กันยายน ศาลจังหวัดเชียงใหม่ นัดไต่สวนการตายนาย อะเบ แซ่หมู่ และนายชัยภูมิ ป่าแส

สืบเนื่องจาก เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2560 พื้นที่ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ เจ้าหน้าที่ทหารซึ่งประจำอยู่ที่ด่านตรวจบ้านรินหลวง  ต.เมืองนะ  อ.เชียงดาว  จ.เชียงใหม่ ใช้อาวุธปืนยิงนายอะเบ แซ่หมู่ (ชาติพันธุ์ลีซู) จนเป็นเหตุให้เสียชีวิต โดยอ้างว่านายอะเบ จะขว้างอาวุธระเบิดที่นายอะเบใส่เจ้าหน้าที่ จึงจำเป็นต้องใช้อาวุธปืนยิงสังหารนายอะเบ เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย  และกล่าวหาว่านายอะเบมียาเสพติดประเภทเฮโรอีน 2 หลอด ซุกซ่อนอยู่ในกระเป๋าสะพาย  เหตุเกิด ณ บริเวณถนนระหว่างบ้านรินหลวง-บ้านป่าบงงามลีซอ ซึ่งอยู่เลยด่านตรวจบ้านรินหลวงไม่ไกลนัก ต่อมา วันที่ 17 มีนาคม 2560 เจ้าหน้าที่ทหารอีกชุดหนึ่ง ซึ่งประจำอยู่ที่ด่านบ้านรินหลวงเช่นกัน ใช้อาวุธปืนยิงนายชัยภูมิ ป่าแส (ชาติพันธุ์ลาหู่)  จนเป็นเหตุให้เสียชีวิต โดยอ้างว่า เจ้าหน้าที่ทหารได้ขอเข้าตรวจค้นรถยนต์นายชัยภูมิ และพบยาเสพติดประเภทยาบ้าเป็นจำนวนมากบรรจุซองพลาสติกซุกซ่อนอยู่ภายในบริเวณส่วนกรองอากาศของรถ ต่อมานายชัยภูมิได้ทำการขัดขืนต่อสู้เจ้าหน้าที่ พร้อมทั้งจะใช้อาวุธระเบิดที่นายชัยภูมิมีไว้ในครอบครองขว้างใส่ เจ้าหน้าที่จึงจำเป็นต้องใช้อาวุธปืนยิงสังหารนายชัยภูมิ เหตุเกิด ณ บริเวณจุดตรวจด่านบ้านรินหลวงนั่นเอง  นายชัยภูมิ ป่าแส เป็นเยาวชนนักกิจกรรมทางสังคม และอยู่ระหว่างศึกษาเล่าเรียนที่โรงเรียนแห่งหนึ่งในอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ พนักงานอัยการจังหวัดเชียงใหม่ได้ยื่นคำร้องไต่สวนการชันสูตรพลิกศพ (ไต่สวนการตาย)ทั้งสองกรณีต่อศาลจังหวัดเชียงใหม่ […]

ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้เลื่อนการพิพากษาคดี “อภิชาต” ชูป้ายคัดค้านรัฐประหารหน้าหอศิลป์กรุงเทพฯ

วันที่ 30 สิงหาคม 2560 เวลา10.00 น. ศาลแขวงปทุมวันมีคำสั่งให้เลื่อนการพิพากษาคดีไป เนื่องจากศาลอุทธรณ์พิจารณาคดียังไม่แล้วเสร็จ ในคดีหมายเลขดำที่ 1097/2559 และคดีหมายเลขแดงที่ 9075/2559 ระหว่างพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด กับ จ่าสิบเอกอภิชาต พงษ์สวัสดิ์ ในคดีความผิดต่อพระราชบัญญัติกฎอัยการศึกและความผิดต่อประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เรื่องห้ามชุมนุมทางการเมือง จากกรณีที่จ่าสิบเอกอภิชาตฯ ชูป้ายคัดค้านการรัฐประหารหน้าหอศิลป์กรุงเทพมหานคร คดีนี้ สืบเนื่องจากกรณีการทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ในพื้นที่บริเวณหน้าหอศิลป์ฯ ของจ่าสิบเอกอภิชาต พงษ์สวัสดิ์  ผู้ช่วยนักวิชาการปฎิรูปกฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการปฎิรูปกฎหมาย เพื่อคัดค้านการรัฐประหารของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2557 และพนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องในวันที่ 28เมษายน 2558 ในความผิดต่อพระราชบัญญัติกฎอัยการศึกและความผิดต่อประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เรื่องห้ามชุมนุมทางการเมือง ต่อมาศาลแขวงปทุมวันมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559  พิพากษายกฟ้อง โดยให้เหตุผลว่ากระบวนการสอบสวนไม่ถูกต้อง ซึ่งพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุดได้อุทธรณ์คำพิพากษาต่อศาลแขวงปทุมวันขอให้ศาลอุทธรณ์กลับคำพิพากษาและลงโทษจำเลยตามกฎหมาย โดยคดีนี้ ศาลแขวงปทุมวันอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในวันที่ 11 ตุลาคม 2559  เห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วมีคำพิพากษาใหม่ วันที่ 19 ธันวาคม 2559 ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาใหม่ว่า จำเลยมีความผิดตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 7/2557 ให้พิจารณาโทษตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 3/2558 และประมวลกฎหมายอาญามาตรา 215 วรรคแรก แต่เนื่องจากเป็นความผิดกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท จึงให้ลงโทษตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 3/2558 ให้จำคุก 2 เดือน […]

อยู่ไหนก็หายได้….

ว่ากันว่า ทั่วโลกมีเหยื่อของการบังคับให้สูญหายอย่างน้อย 43,250 ราย ประเทศไทยเองก็ไม่น้อยหน้า จากสถิติที่มีการรวบรวมจากการร้องเรียนโดยคณะทำงานว่าด้วยการบังคับบุคคลให้สูญหายหรือการสูญหายโดยไม่สมัครใจ ที่เก็บข้อมูลมาตั้งแต่ปี 2523 ถึง 2559 ระบุว่าประเทศไทยมีการบังคับสูญหาย 82 กรณี ซึ่งเป็นข้อมูลเพียงบางส่วนที่มีการร้องเรียนและบันทึกไว้ https://goo.gl/fstVTE นี้เป็นเพียงบางกรณีที่ปรากฎ ยังมีหลายกรณีที่เงียบหายและไม่ปรากฎความคืบหน 19 มิถุนายน 2534 ทนง โพธิ์อ่าน ผู้นำแรงงาน และเป็นผู้ที่ต่อต้านการรัฐประหารของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ได้หายไปก่อนวันที่จะเดินทางไปเป็นผู้แทนคนงานไทยในประชุมองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ที่นครเจนีวา จากวันนั้นจนวันนี้กว่า 26 ปีแล้ว ครอบครัวยังรอคอยความยุติธรรม 12 มีนาคม 2547 ทนายสมชาย นีละไพจิตร ทนายความด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งทำงานช่วยเหลือทางคดีความมั่นคงในพื้นที่ชายแดนใต้เพื่อให้ผู้คนในพื้นที่เข้าถึงความยุติธรรมท่ามกลางสภาวะที่รัฐมีอำนาจล้นเกิน ถูกทำให้หายไป ครอบครัวของทนายสมชาย ได้ต่อสู้คดีอย่างเต็มที่เพื่อให้เกิดการค้นหาความจริง แต่ก็น่าผิดหวัง การเดินทางกว่า 12 ปีเพื่อพิสูจน์ความจริงและความยุติธรรม จบลงด้วยศาลฎีกาพิพากษาให้ยกฟ้องจำเลยเมื่อวันที่ 29 ธ.ค. 2558 17 เมษายน 2557 บิลลี่ หรือพอละจี รักจงเจริญ […]

ใบแจ้งข่าว : ขอเชิญสื่อมวลชนและผู้ที่สนใจเข้าร่วมฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดี “อภิชาต” ชูป้ายคัดค้านรัฐประหารหน้าหอศิลป์กรุงเทพฯ

วันที่ 30 สิงหาคม 2560 เวลา 10.00 น. ณ ศาลแขวงปทุมวันมีนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ในคดีหมายเลขดำที่ 1097/2559 และคดีหมายเลขแดงที่ 9075/2559  ระหว่างพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด กับ จ่าสิบเอกอภิชาต พงษ์สวัสดิ์ ในคดีความผิดต่อพระราชบัญญัติกฎอัยการศึกและความผิดต่อประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เรื่องห้ามชุมนุมทางการเมือง จากกรณีที่จ่าสิบเอกอภิชาตฯ ชูป้ายคัดค้านการรัฐประหารหน้าหอศิลป์กรุงเทพมหานคร  จึงขอเชิญสื่อมวลชนและผู้ที่สนใจเข้าร่วมฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ตามวันและเวลาดังกล่าวข้างต้น คดีนี้ สืบเนื่องจากกรณีการทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ในพื้นที่บริเวณหน้าหอศิลป์ฯ ของจ่าสิบเอกอภิชาต พงษ์สวัสดิ์  ผู้ช่วยนักวิชาการปฎิรูปกฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการปฎิรูปกฎหมาย เพื่อคัดค้านการรัฐประหารของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2557 และพนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องในวันที่ 28 เมษายน 2558 ในความผิดต่อพระราชบัญญัติกฎอัยการศึกและความผิดต่อประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เรื่องห้ามชุมนุมทางการเมือง ต่อมาศาลแขวงปทุมวันมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559  พิพากษายกฟ้อง โดยให้เหตุผลว่ากระบวนการสอบสวนไม่ถูกต้อง เนื่องจากคดีนี้เหตุเกิดและจำเลยถูกจับกุมในท้องที่สน.ปทุมวัน แต่ตำรวจจากกองปราบเป็นผู้สอบสวน ซึ่งโจทก์ไม่ได้นำสืบให้ศาลเห็นถึงเขตอำนาจสอบสวน จึงถือว่าไม่มีการสอบสวนอย่างถูกต้อง วันที่ 17 มีนาคม 2559  […]

1 2 3 4 5