สิทธิชุมชน

คำกล่าวเปิดงาน เวทีเสวนาวิชาการ “จากปู่โคอี้ ถึงบิลลี่ : การเรียกร้องสิทธิ ชุมชนในป่าและความเป็นธรรมของชุมชนกะเหรี่ยงบางกลอย” โดย คุณสุรพงษ์ กองจันทึก ประธานมูลนิธิผสานวัฒนธรรม

ครบ 4 ปีที่บิลลี่หายตัวไป และ 7 ปีที่ปู่คออี้ และชุมชนกะเหรี่ยงได้หายจากพื้นที่ “ใจแผ่นดิน” ทั้งบุคคลและชุมชนสูญหายไปในพื้นที่ป่าแก่งกระจาน ที่เรามาคุยกันในวันนี้เพื่อจะบอกว่าสิ่งที่หายไป จริงๆแล้วไม่ได้หาย  สิ่งนี้ยังอยู่ในความทรงจำของเรา  ยังอยู่ในจิตสำนึกของพวกเรา  และยังอยู่ในปรากฎการณ์จริงของสังคมไทย ไม่ว่าจะ 7 ปีกรณีชุมชนกะเหรี่ยงถูกเผาก็ดี หรือ 4 ปีกรณีที่บิลลี่ถูกทำให้หายตัวไปก็ดี เราจะให้ความเป็นธรรมกับทั้งสองกรณีนี้ได้อย่างไร ปู่คออี้และบิลลี่เป็นตัวแทนของชาวกะเหรี่ยงดั้งเดิม ซึ่งอยู่ในชุมชนที่เรียกว่า “ใจแผ่นดิน” มาเนิ่นนานแล้ว เรามีแผนที่บ้านใจแผ่นดิน เป็นแผนที่ที่พิมพ์เมื่อปี 2503 เอามาจากต้นฉบับเดิมปี 2484 มีการสำรวจโดยกรมแผนที่ทหารบกในปี 2455 หรือกว่า 100 ปีมาแล้ว นอกจากแผนที่ฉบับนี้ แผนที่ฉบับหลังจากนั้นก็ปรากฏชุมชนใจแผ่นดินตลอดมาในทุกแผนที่ของรัฐ ชุมชนเก่าแก่แห่งนี้ได้ถูกเผา ได้ถูกทำให้หายไปจากแผนที่ ผมเองได้มีโอกาสร่วมกับกรณีนี้เมื่อปี 2554 จากกรณีที่มีการเผาชุมชนของชาวกะเหรี่ยงบริเวณบ้านใจแผ่นดิน หรือว่าบ้านบางกลอยบน หลังจากเรา (สภาทนายความ) ได้ทราบเรื่องและได้รับการร้องเรียนจากเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม เราก็ได้มีการลงพื้นที่ ครั้งนั้นมีอาจารย์ทัศน์กมล โอบอ้อม เป็นผู้ประสานงานพาปู่คออี้ พาบิลลี่และชาวบ้านมาพบกับเรา ชาวบ้านให้ข้อมูลว่าพวกเขาได้อยู่มาเนินนานอย่างไรบ้าง มีการเผาบ้านชาวบ้านอย่างไรบ้าง และภาพที่สื่อมวลชนนนำเสนอไปว่าเป็นผลงานอันยิ่งใหญ่ของฮีโร่ ที่ได้ทำลายชนกลุ่มน้อย […]

รายงาน 4 ปีการบังคับสูญหายบิลลี่ ความยุติธรรมที่ยังอยู่ระหว่างดำเนินการ

โดย สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) นายพอละจี รักจงเจริญ หรือบิลลี่ เป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแม่เพรียง มีฐานะเป็นหลานของปู่โคอี้ หรือคออี้ มีมิ ผู้เฒ่าวัย 107 ปี ผู้นำทางจิตวิญญาณของชาติพันธ์กะเหรี่ยงแห่งบางกลอย-ใจแผ่นดิน หนึ่งในผู้ที่ถูกเผาบ้านและบังคับให้ออกจากถิ่นฐานที่บรรพบุรุษชาติพันธุ์กะเหรี่ยงอยู่อาศัยทำกินมานับร้อยปี บิลลี่เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการปกป้องสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงแห่งบางกลอย-ใจแผ่นดิน ที่ถูกเผาบ้านและบังคับให้ต้องจากแผ่นดินเกิด เพราะนโยบายการอนุรักษ์ที่มองไม่เห็นชีวิตของผู้คน  บิลลี่ได้ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยทนายความในคดีที่ปู่คออี้ และชาวกะเหรี่ยงบางกลอยอีก 5 คน ยื่นฟ้องกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ต่อศาลปกครองกลาง จากเหตุการณ์ที่เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เข้ารื้อทำลาย เผาบ้านเรือนและทรัพย์สินของชาวบ้านชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่บ้านบางกลอยบน-ใจแผ่นดินเมื่อเดือนพฤษภาคม 2554 ภายใต้ปฏิบัติการ “ยุทธการตะนาวศรี หรือโครงการขยายผลการอพยพ ผลักดัน/จับกุม     ชนกลุ่มน้อยที่บุกรุกพื้นที่ตามแนวชายแดนไทย-พม่า ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน” ซึ่งเป็นโครงการที่มีขึ้นเพื่อผลักดันให้ชาวกะเหรี่ยงดั้งเดิมออกจากพื้นที่ แม้พวกเขาจะเป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิมที่ตั้งรกรากอาศัยอยู่ในพื้นที่มาเป็นเวลากว่า 100 ปีแล้วก็ตาม ในช่วงที่บิลลี่หายตัวไป เป็นช่วงที่กำลังมีการเตรียมข้อมูลเพื่อต่อสู้คดีดังกล่าว และอยู่ระหว่างการเตรียมถวายฎีกาเพื่อร้องเรียนขอความเป็นธรรม “วันที่ 17 เมษายน 2557 เวลาประมาณ 16.00 น. ผมได้รับโทรศัพท์จากพี่ชายของบิลลี่ บอกว่า บิลลี่ถูกจับเรื่องน้ำผึ้งที่ด่านมะเร็ว ให้ช่วยไปดูที่โรงพักหน่อย แต่ด้วยเห็นว่าวันนี้ค่ำแล้ว […]

บ้านตระ เสียงสะท้อนถึงผู้บังคับใช้กฎหมาย ทัศนะที่ต้องเปลี่ยนแปลง (ตอน 1)  โดย กฤษดา ขุนณรงค์ 

ด้วยวันที่ 27 มีนาคม 2561 ที่ผ่านมา ศาลจังหวัดตรังได้พิพากษาคดี หมายเลขดำที่ 1171, 1172, 1173/2559 ระหว่างพนักงานอัยการจังหวัดตรัง โจทก์ กับ นายเรวัตร หรือ วัตร อินทร์ช่วย จำเลยที่ 1 นายอัมมร หรือ ชาย บรรถะ จำเลยที่ 2 และนายสมพร หรือ มิตร อินทร์ช่วย จำเลยที่ 3 เกี่ยวกับการกระทำความผิดต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (บุกรุกป่าสงวน และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด) โดยศาลจังหวัดตรังมีคำพิพากษาโดยสรุปคือให้จำเลยที่ 1 จำคุก 7 ปี ปรับ 90,000 บาท จำเลยที่ 2 จำคุก 6 ปี ปรับ 60,000 บาท และจำเลยที่ 3 จำคุก 1 ปี ปรับ 15,000 […]

ปัญหาของเอกสาร (ศักดิ์)สิทธิ์ ใน ” กระบวนการยุติธรรม ” โดย กฤษดา ขุนณรงค์

“ถ้าจะพูดกันตรง ๆ วันนี้ เรายังยืนอยู่กับกฎหมายที่ยังล้าหลังมากๆ ในการจัดการทางด้านคดีเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม เพราะระหว่างความถูกต้อง ถูกกฎหมายของชั้นศาลหรือกระบวนการยุติธรรมกับความเป็นธรรมของคนจนมันไปด้วย กันไม่ได้ มันเหมือนเหรียญคนละด้านที่อยู่ด้วยกัน ยกตัวอย่างว่าวันนี้มีที่ดินแปลงใหญ่หลายแปลงที่กลุ่มนายทุนเข้าครอบ ครองอยู่ แต่ได้มีการตรวจสอบจากหน่วยงานหรือองค์กรภาคประชาชนร่วมกับภาครัฐและองค์กร อิสระตามรัฐธรรมนูญ พบว่าการเข้าครอบครองที่ดินของบริษัทหรือเอกสารสิทธิ์ที่ดินที่นายทุนถือ ครองอยู่มันไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่กลายเป็นว่าในทางกระบวนการยุติธรรมหรือศาลยังไปยอมรับ รับรอง ปล่อยให้กลุ่มนายทุนเอาความไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้นมาฟ้องร้องประชาชนโดยที่ไม่ ได้มีการตรวจสอบก่อน ” ( บุญฤทธิ์ ภิรมย์ : ตุลาคม ๒๕๕๓ สัมภาษณ์ ) ผมขอยกเอาความคิดเห็นต่อกระบวนการยุติธรรมอย่างตรงไปตรงมาของคุณบุญฤทธิ์ ภิรมย์ สมาชิกสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทยข้างต้น ขึ้นมาแลกเปลี่ยนเพิ่มเติมกันในที่นี้อีกครั้ง หลังเมื่อวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๔ ที่ผ่านมา ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาจำคุก คุณบุญฤทธิ์ และเพื่อนบ้านอีกแปดคน เป็นเวลา ๑ ปี ๖ เดือน โดยไม่รอลงอาญา ในความผิดฐานบุกรุกที่ดินของเอกชน จากกรณีการเข้าตรวจสอบและรวมตัวจัดตั้งชุมชนเพื่อเข้าปฏิรูปที่ดินทำการ เกษตรบนพื้นที่ที่กลุ่มบริษัทเอกชนครอบครองปลูกสร้างสวนปาล์มขนาดใหญ่ในเขต จังหวัดสุราษฎรธานี หลังได้มีการตรวจสอบจากภาคประชาชนและองค์กรอิสระหลายหน่วยงานพบว่าบริษัท เอกชนเข้าครอบครองที่ดินของรัฐโดยไม่ได้รับอนุญาต รวมทั้งมีการออกเอกสารสิทธิ์ที่ดินโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ด้วยความเคารพในคำพิพากษาของศาลเนื่องจากการพิจารณาและพิพากษาคดีนี้ยังไม่ […]

ความเป็นไปได้ทางกฎหมายในการฟ้องเพิกถอนเขตอุทยานและเขตป่าสงวนแห่งชาติ : ศึกษาจากแนวคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด โดย นายสงกรานต์ ป้องบุญจันทร์

ปัญหาการประกาศเขตป่าสงวนและเขตอุทยานทับที่อยู่อาศัยและที่ทำทำกินของประชาชนในประเทศไทย เป็นปัญหาที่มีการกล่าวถึงมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน โดยเฉพาะในช่วงที่มีการรณรงค์เพื่อเสนอร่างพระราชบัญญัติป่าชุมชนของภาคประชาชนเมื่อหลายปีที่ผ่านมา โดยร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญก็เพื่อแก้ไขปัญหานี้ อย่างไรก็ตามเมื่อร่างพระราชบัญญัติป่าชุมชนฉบับดังกล่าวไม่ได้ถูกประกาศใช้เป็นกฎหมาย ปัญหาที่คาดว่าจะได้รับการแก้ไขก็ไม่ได้รับการแก้ไข ประชาชนจำนวนมากที่อยู่ในพื้นที่ทับซ้อนกับเขตป่าสงวนและเขตอุทยานแห่งชาติ ยังคงมีฐานะเป็นผู้กระทำผิดกฎหมายและมีความเสี่ยงที่จะถูกดำเนินคดีจากรัฐได้ทุกเมื่อ โดยเฉพาะในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืชและกรมป่าไม้ ได้มีการดำเนินคดีกับประชาชนที่อยู่อาศัยในพื้นที่ซ้อนทับกับเขตอุทยานแห่งชาติและเขตป่างสงวนแหงชาติ ทั้งทางอาญาและทางแพ่งอย่างต่อเนื่อง โดยในทางแพ่งนั้นมีการเรียกร้องค่าเสียหายที่รวมถึงความเสียหายที่ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น อันเป็นที่มาของคดีโลกร้อนซึ่งเป็นเรื่องที่กำลังได้รับความสนใจของสาธารณชนในปัจจุบัน ผู้เขียนในฐานะนักกฎหมายจึงเกิดคำถามว่าในทางกฎหมายแล้วเราจะมีทางออกให้กับปัญหาดังกล่าวได้หรือไม่ อย่างไร บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ทางกฎหมายในฟ้องให้มีการเพิกถอนเขตอุทยานและเขตป่าสงวน ที่ประกาศใช้บังคับซ้อนทับกับที่ดินที่มีชุมชนอยู่อาศัยและใช้ประโยชน์มาก่อน อันเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยหวังว่าผลของการศึกษานี้จะเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาของผู้ที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาคนกับป่าต่อไป 1. สถานะทางกฎหมายของประกาศเขตอุทยานและเขตป่าสงวนแห่งชาติ 1.1 สถานะทางกฎหมายของประกาศเขตอุทยานแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2505 มาตรา 6 วรรคหนึ่ง กำหนดให้การประกาศกำหนดบริเวณใดเป็น อุทยานแห่งชาติ ให้ทำโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ซึ่งพระราชกฤษฎีกานั้นในทางกฎหมายมีฐานะเป็นกฎที่ต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า ประกาศเขตอุทยานแห่งชาติ มีฐานะทางกฎหมายเป็นกฎที่ออกที่ต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ซึ่งหากประสงค์จะฟ้องคดีต่อศาลปกครองจำเป็นต้องนำคดีไปฟ้องยังศาลปกครองสูงสุด 1.2 สถานะทางกฎหมายของประกาศเขตป่าสงวนแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 6 วรรคสอง กำหนดให้การประกาศกำหนดบริเวณใดเป็น ป่าสงวนแห่งชาติ ให้ทำโดยตราเป็นกฎกระทรวง ซึ่งกฎกระทรวงนั้นในทางกฎหมายมีฐานะเป็นกฎที่ต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า ประกาศเขตป่าสงวนแห่งชาติ […]

ความไม่ชัดเจนของสิทธิชุมชนในคดีกะเหรี่ยงแก่งกระจาน โดย สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์

เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2559 ศาลปกครองกลางได้อ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขแดงที่ ส.660/2559 (คำพิพากษาฯ) ระหว่างนายโคอิหรือโคอี้ มิมิ กับพวกรวม 6 คน ผู้ฟ้องคดี  กับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กับพวกรวม 2 คน เป็นผู้ถูกฟ้อง คำพิพากษาคดีนี้ได้รับความสนใจจากสังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างกว้างขวาง  เพราะคดีนี้เป็นผลต่อเนื่องจากการใช้ความรุนแรงของเจ้าหน้าที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ในการผลักดันชนกลุ่มน้อยชาวกะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ให้ออกจากพื้นที่ดังกล่าว  ด้วยมาตรการที่รุนแรงที่สุดเท่าที่หน่วยงานเคยใช้มาก่อนหน้านี้ คือ การเผาทำลายบ้านพัก และทรัพย์สินของชาวกะเหรี่ยงที่ถูกกล่าวหาว่าเข้าไปอยู่อาศัยในพื้นที่อุทยานโดยผิดกฎหมาย เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2559 ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  ได้จัดเสวนาวิชาการในหัวข้อ วิถีชาติพันธุ์และ “ความยุติธรรมทางสังคม?” ผู้เขียนในฐานะนักกฎหมายได้รับเกียรติจากผู้จัดให้เป็นหนึ่งในวิทยากรเพื่อให้แง่มุมต่อคำพิพากษาฯ บทความสั้นชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาที่ได้พูดคุยในเวทีดังกล่าวในประเด็นสิทธิชุมชน   โดยหวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเป็นประโยชน์ต่อการวางบรรทัดฐานในการรับรองสิทธิชุมชนในสังคมไทยต่อไป 1. คำพิพากษาฯ กับ สิทธิชุมชนตามที่รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ประเด็นหลักสำคัญที่สุดและส่งผลต่อการวินิจฉัยประเด็นอื่น ๆ ตามมา คือ […]

5 องค์กรสิทธิฯออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ยุติการจำกัดเสรีภาพในการชุมนุมของ We Walk เดินมิตรภาพ

แถลงการณ์ ให้ยุติการคุกคามและจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการชุมนุมโดยสงบ ขบวน “We Walk เดินมิตรภาพ” ของเครือข่าย People GO Network เผยแพร่วันที่ 24 มกราคม 2561 ตามที่เครือข่ายประชาชนในนาม People GO Network ได้จัดกิจกรรม “We Walk…เดินมิตรภาพ” เดินเท้าจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ถึงจังหวัดขอนแก่น ระหว่างวันที่ 20 มกราคม 2561–17 กุมภาพันธ์ 2561 เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงปัญหาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เกษตรกรรมและความมั่นคงทางอาหาร รัฐสวัสดิการและหลักประกันสุขภาพ ตลอดจนสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ โดยก่อนเริ่มกิจกรรมการเดิน เครือข่ายเครือข่ายประชาชนในนาม People GO Network ได้ดำเนินการแจ้งการชุมนุมสาธารณะต่อสถานีตำรวจภูธรคลองหลวง ตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 แล้ว แต่เจ้าหน้าที่ก็ได้พยายามกำหนดเงื่อนไขต่างๆ เพื่อไม่ให้การดำเนินกิจกรรมเป็นไปได้โดยง่าย โดยเฉพาะการที่เจ้าหน้าที่ผู้รับแจ้งการชุมนุมได้มีหนังสือถึงเครือข่ายประชาชนในนาม People GO Network ระบุว่าการดำเนินกิจกรรมที่มีการจำหน่วยเสื้อ และการให้ประชาชนเข้าชื่อยกเลิกประกาศ/คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้าข่ายเป็นการชุมนุมทางการเมือง จึงต้องไปขออนุญาต คสช. ก่อน […]

จอแฮริ สุณี ดอกไม้ : ความอยุติธรรมภาคต่อในผืนป่าแก่งกระจาน

วันนี้ (20 กันยายน 2560) เป็นวันที่พนักงานอัยการจังหวัดเพชรบุรีนัดส่งสำนวนและสั่งคดี กรณี 3 ชาวบ้านชาติพันธุ์กะเหรี่ยงถูกดำเนินคดีข้อหาความผิดเกี่ยวกับป่าไม้และอาวุธปืน ทั้งสามคนเข้าพบอัยการตามนัด พร้อมทั้งขอยื่นหนังสือร้องขอความเป็นธรรม ทั้งนี้ พนักงานอัยการให้เลื่อนนัดสั่งคดีไปเป็นวันที่ 19 ตุลาคม 2559 ผู้ต้องหา 3 คนคือ นายจอแฮริ กว่าบุ นายสุณี กว่าบุ และนายดอกไม้ พื้อแม้ ทั้ง 3 เป็นชาวบ้านชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบางกลอย พวกเขาถูกดำเนินคดีแบบงงๆ ในข้อหาทำไม้หรือทำอันตรายใดๆแก่ไม้หวงห้ามโดยไม่ได้รับอนุญาต แปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต, ยึดถือ ครอบครอง ทำประโยชน์ หรืออยู่อาศัยในที่ดิน ก่นสร้าง แผ้วถางหรือทำด้วยประการใดๆอันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติโดยไม่ได้รับอนุญาต, มีไม้แปรรูปไว้ในครอบครอง โดยไม่ได้รับอนุญาต, เก็บหาของป่า นำออกไปหรือทำด้วยประการใดๆให้เป็นอันตรายแก่สภาพป่าไม้ภายในอุทยานโดยไม่ได้รับอนุญาต การดำเนินคดีดังกล่าวมาจากเหตุการณ์การเข้าตรวจค้นของเจ้าหน้าที่หน่วยเฉพาะกิจทัพพระยาเสือ เจ้าหน้าที่กองร้อยตำรวจตะเวนชายแดนที่ 144 และเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2560 และได้ตรวจพบไม้แปรรูปจำนวนหนึ่ง ในพื้นที่หมู่ 1 ตำบลห้วยแม่เพรียง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ทั้ง […]

เพื่อผืนดินแม่ : การต่อสู้เพื่อปกป้องทรัพยากรและชุมชนจากการทำเหมืองหินที่บ้านกลาง อ่าวลึก จังหวัดกระบี่

ในช่วงที่ผ่านมา หลายคนอาจจะได้ยินชื่อตำบลบ้านกลาง อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ จากเหตุการณ์สะเทือนขวัญสังหาร 8 ศพ แต่อย่าตกใจไป บทความชิ้นนี้ ไม่ได้จะพาไปสืบสวนค้นหาความจริงอะไรจากเหตุการณ์ดังกล่าว อันนั้นปล่อยให้เป็นหน้าที่ของกระบวนการยุติธรรมได้ทำงานไป เราก็คงได้แต่ติดตามตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าที่จากข้างนอก สำหรับสิ่งที่จะเล่าต่อไปนี้ ผมจะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับบ้านกลางในมิติของการต่อสู้ของชาวบ้านเพื่อปกป้องทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและชุมชนของพวกเขา จากการพัฒนาที่ถูกยัดเหยียดให้ ก่อนเริ่มเดินทาง ผมจะพาไปแนะนำให้รู้จักกับชาวบ้านกลุ่มหนึ่ง พวกเขาคือ “กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมท้องถิ่นบ้านกลาง” ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของชาวบ้านจำนวนหนึ่งในตำบลบ้านกลาง การก่อตั้งกลุ่มแต่เดิม มีวัตถุประสงค์เพียงแค่งานอนุรักษ์แหล่งน้ำและป่าไม้ทั่วไปที่มีในหมู่บ้าน แต่ชีวิตของพวกเขาต้องเปลี่ยนไป เมื่อมีบริษัทเอกชนเข้ามาขอประทานบัตรเหมืองหินในภูเขา 2 ลูกที่อยู่ใกล้ชุมชน  หลังจากนั้นทางกลุ่มก็ได้มีการเคลื่อนไหวต่อสู้คัดค้านกับการทำเหมืองหินมาโดยตลอด อ้าว! แล้วทำไมต้องมาคัดค้านเหมืองหินล่ะ มันไม่ดีตรงไหน มันเป็นการพัฒนาประเทศไม่ใช่หรอ? กิจการเหมืองแร่ เป็นกิจการที่ไม่ค่อยได้รับการสนับสนุนจากชุมชนเท่าใดนัก ส่วนหนึ่งก็เพราะว่าการดำเนินกิจการดังกล่าวขาดการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างแท้จริง และที่สำคัญ กรทำเหมืองแร่ที่ผ่านๆมามันสร้างผลกระทบกับชุมชนมาแล้วมากมายในหลายพื้นที่ ในบรรดาการทำเหมืองแร่ทั้งปวง การทำเหมืองแร่หินปูน เป็นกิจการที่มีจำนวนมากในประเทศไทย ข้อมูลของกลุ่มควบคุมสัมปทานและกำกับการผลิต สำนักเหมืองแร่และสัมปทานกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ณ วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 ระบุว่า ปัจจุบันรัฐได้ประกาศกำหนดแหล่งหินอุตสาหกรรมทั่วประเทศ จำนวน 318 แหล่ง  บนพื้นที่ 141,394.00 ไร่  […]

เครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่ ประเทศไทย : ข้อคิดเห็นต่อการแถลงข่าวการประกาศใช้กฎหมายแร่ฉบับใหม่

๑๑ สิงหาคม ๒๕๖๐ เครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่ เผยแพร่ข้อคิดเห็นต่อการแถลงข่าวการประกาศใช้กฎหมายแร่ฉบับใหม่ โดยมีข้อความดังนี้ ตามที่กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) จัดให้มีการแถลงข่าวการประกาศใช้กฎหมายแร่ฉบับใหม่  หรือพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๖๐  ณ ห้องประชุมดีบุก ชั้น ๒  อาคาร กพร.  ในเช้าวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๖๐  นั้น  เครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่มีข้อคิดเห็น  ดังนี้ ๑. ย่อหน้าแรกในเอกสารแจกของ กพร. ประกอบการแถลงข่าวในครั้งนี้  อธิบายเนื้อหาเกี่ยวกับใบอนุญาตที่มีอยู่ก่อนแล้วไม่ครบถ้วน  ความว่า  “บรรดาบรรดาอาชญาบัตร  ประทานบัตร  หรือใบอนุญาตอยู่ก่อนแล้ว  ให้ถือเป็นการได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติฉบับใหม่นี้จนกว่าจะสิ้นอายุหรือถูกเพิกถอน”  นั้น ตามมาตรา ๑๘๙ วรรคแรกของกฎหมายแร่ฉบับใหม่ระบุเนื้อหาที่ครบถ้วนเอาไว้ดังนี้  “บรรดาอาชญาบัตร  ประทานบัตร  หรือใบอนุญาตที่ได้ออกให้ตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๑๐  ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ  ให้ถือเป็นอาชญาบัตร  ประทานบัตร  หรือใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้  และให้ยังคงใช้ได้จนกว่าจะสิ้นอายุหรือถูกเพิกถอน  โดยต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้  ยกเว้นการจัดทําแนวพื้นที่กันชนการทําเหมืองและการจัดทําข้อมูลพื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนตามมาตรา ๓๒  การฟื้นฟูสภาพพื้นที่การทําเหมือง  การวางหลักประกัน  และการจัดทําประกันภัยตามมาตรา […]

1 2 3 4