ลอยนวลพ้นผิด

กองทัพบกตอบกลับทนายชัยภูมิ ป่าแส ระบุไม่พบภาพข้อมูลใดๆในกล้องวงจรปิดวันเกิดเหตุ

ตามที่เมื่อวันที่  18 มิถุนายน  2561 ทนายความและองค์กรเครือข่ายติดตามความคืบหน้าคดีวิสามัญฆาตกรรม ชัยภูมิ ป่าแส ได้เข้ายื่นหนังสือต่อผู้บัญชาการทหารบก ณ กองบัญชาการกองทัพบก ถนนราชดำเนินนอก เพื่อขอข้อมูลภาพเคลื่อนไหวจากกล้องวงจรปิดเหตุการณ์เจ้าหน้าที่ทหารยิงนายชัยภูมิ ป่าแส เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2560 นั้น ล่าสุดวันนี้ สำนักงานเลขานุการกองทัพบก ได้มีหนังสือลงวันที่ 6 สิงหาคม 2561 ส่งถึงนายรัษฎา มนูรัษฎา อุปนายกสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนและหนึ่งในทนายความคดีวิสามัญฆาตกรรมนายชัยภูมิ ป่าแส โดยเนื้อความในหนังสือระบุว่า “วันที่ 24 มีนาคม 2560 กองบัญชาการควบคุมที่ 1 หน่วยเฉพาะกิจ กรมทหารม้าที่ 5 (บก.ควบคุมที่ 1 ฉก.ม.5) ได้ถอดเครื่องบันทึกข้อมูลกล้องวงจรปิดออกจากจุดตรวจบ้านรินหลวง เพื่อเตรียมการส่งให้สถานีตำรวจภูธรนาหวาย และเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2560 กองกำลังผาเมือง ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปร่วมดำเนินการเปิดดูข้อมูลภาพเหตุการณ์ของวันที่ 17 มีนาคม 2560 แต่ภาพในเครื่องบันทึกข้อมูลเป็นภาพของวันที่ 20 – […]

ดีเอสไอ รับจะนำเสนอคดีบิลลี่ให้คณะกรรมการคดีพิเศษพิจารณาในอีก 2 เดือนข้างหน้า

วันนี้ 27 เมษายน 2561 นางสาวพิณภา พฤกษาพรรณ หรือมึนอภรรยาบิลลี่ ลูกสาว และชาวบ้านบางกลอย พร้อมตัวแทนจากสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UNOHCHR) มูลนิธิผสานวัฒนธรรม และสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน เข้าพบผู้แทนกรมสอบสวนคดีพิเศษหรือดีเอสไอ เพื่อสอบถามความคืบหน้าและหารือเกี่ยวกับคดีบังคับสูญหายนายพอละจี รักจงเจริญ หรือบิลลี่ นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่หายไปเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2557 หลังจากถูกควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน การเข้าพบกรมสอบสวนคดีพิเศษครั้งนี้ เกิดจากความไม่คืบหน้าและความไม่ชัดเจนในการดำเนินคดีบิลลี่ของกรมสอบสวนคดีพิเศษ เพราะช่วงต้นปี 2560 กรมสอบสวนคดีพิเศษได้มีหนังสือแจ้งมายังมึนอว่าว่าคณะกรรมการคดีพิเศษมีมติไม่รับกรณีการหายตัวไปของบิลลี่เป็นคดีพิเศษ โดยมติดังกล่าวเป็นมติที่ประชุมวันที่ 10 มิถุนายน 2559 หลังจากนั้นเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2561 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวันครบรอบ 4 ปีบิลลี่ คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล หรือ ICJ ได้ออกแถลงการณ์เรื่อง ประเทศไทย: ยังคงไม่มีความคืบหน้าใดๆในวันครบรอบ 4 ปี ที่“บิลลี่”ถูกบังคับให้สูญหาย ระบุว่าการสืบสวนสอบสวนคดีบิลลี่ไม่มีความคืบหน้าและและดีเอสไอปฏิเสธไม่รับคดีดังกล่าวเป็นคดีพิเศษ  ซึ่งกรมสอบสวนคดีพิเศษก็ออกมาชี้แจงอย่างรวดเร็วว่าคดีบิลลี่ยังอยู่ในขั้นตอนการดำเนินการ ซึ่งทุกอย่างเป็นไปตามกฎหมาย ไม่ใช่มีมติไม่รับเป็นคดีพิเศษแล้วตามที่ปรากฏเป็นข่าวแต่อย่างใด การเข้าพบครั้งนี้ มีพ.ต.ท.กรวัชร์ ปานประภากร […]

รายงาน 4 ปีการบังคับสูญหายบิลลี่ ความยุติธรรมที่ยังอยู่ระหว่างดำเนินการ

โดย สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) นายพอละจี รักจงเจริญ หรือบิลลี่ เป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแม่เพรียง มีฐานะเป็นหลานของปู่โคอี้ หรือคออี้ มีมิ ผู้เฒ่าวัย 107 ปี ผู้นำทางจิตวิญญาณของชาติพันธ์กะเหรี่ยงแห่งบางกลอย-ใจแผ่นดิน หนึ่งในผู้ที่ถูกเผาบ้านและบังคับให้ออกจากถิ่นฐานที่บรรพบุรุษชาติพันธุ์กะเหรี่ยงอยู่อาศัยทำกินมานับร้อยปี บิลลี่เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการปกป้องสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงแห่งบางกลอย-ใจแผ่นดิน ที่ถูกเผาบ้านและบังคับให้ต้องจากแผ่นดินเกิด เพราะนโยบายการอนุรักษ์ที่มองไม่เห็นชีวิตของผู้คน  บิลลี่ได้ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยทนายความในคดีที่ปู่คออี้ และชาวกะเหรี่ยงบางกลอยอีก 5 คน ยื่นฟ้องกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ต่อศาลปกครองกลาง จากเหตุการณ์ที่เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เข้ารื้อทำลาย เผาบ้านเรือนและทรัพย์สินของชาวบ้านชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่บ้านบางกลอยบน-ใจแผ่นดินเมื่อเดือนพฤษภาคม 2554 ภายใต้ปฏิบัติการ “ยุทธการตะนาวศรี หรือโครงการขยายผลการอพยพ ผลักดัน/จับกุม     ชนกลุ่มน้อยที่บุกรุกพื้นที่ตามแนวชายแดนไทย-พม่า ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน” ซึ่งเป็นโครงการที่มีขึ้นเพื่อผลักดันให้ชาวกะเหรี่ยงดั้งเดิมออกจากพื้นที่ แม้พวกเขาจะเป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิมที่ตั้งรกรากอาศัยอยู่ในพื้นที่มาเป็นเวลากว่า 100 ปีแล้วก็ตาม ในช่วงที่บิลลี่หายตัวไป เป็นช่วงที่กำลังมีการเตรียมข้อมูลเพื่อต่อสู้คดีดังกล่าว และอยู่ระหว่างการเตรียมถวายฎีกาเพื่อร้องเรียนขอความเป็นธรรม “วันที่ 17 เมษายน 2557 เวลาประมาณ 16.00 น. ผมได้รับโทรศัพท์จากพี่ชายของบิลลี่ บอกว่า บิลลี่ถูกจับเรื่องน้ำผึ้งที่ด่านมะเร็ว ให้ช่วยไปดูที่โรงพักหน่อย แต่ด้วยเห็นว่าวันนี้ค่ำแล้ว […]

4 ปีบิลลี่หาย รอก่อน…ความยุติธรรมยังอยู่ระหว่างดำเนินการ

นายพอละจี รักจงเจริญ หรือบิลลี่เป็นสมาชิก อ.บ.ต. ห้วยแม่เพรียง เป็นหลายปู่โคอี้ ผู้นำทางจิตวิญญาณของชาติพันธ์กะเหรี่ยงแห่งบางกลอย เขามีภรรยาและลูกที่ต้องดูแลอีก 5 คน ลูกทุกคนยังอยู่ในวัยเรียน บิลลี่เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการเป็นปากเป็นเสียงให้พี่น้องชาติพันธุ์กระเหรี่ยงบางกลอยของเขา ที่ถูกบังคับไล่รื้อให้ต้องจากผืนดินเกิด เนื่องจากนโยบายการอนุรักษ์ที่มองไม่เห็นผู้คน เขาทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยทนายความในคดีที่ปู้คออี้ และชาวกระเหรี่ยงบางกลอยอีก 5 คนยื่นฟ้องกรมอุทยานแห่งชาติฯ ต่อศาลปกครองกลาง จากเหตุการณ์ที่เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เข้ารื้อทำลาย เผาบ้านเรือนและทรัพย์สินของชาวบ้านกว่า 20 ครอบครัว ที่บ้านบางกลอยบน-ใจแผ่นดินเมื่อเดือนพฤษภาคม 2554 ตาม“โครงการขยายผลการอพยพ ผลักดัน/จับกุม ชนกลุ่มน้อยที่บุกรุกพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ตามแนวชายแดนไทยพม่า” หรือ “ยุทธการตะนาวศรี” เพื่อผลักดันให้ชาวบ้านออกจากพื้นที่ แม้จะปรากฏผลการศึกษายืนยันว่าชาวบ้านเป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิมชาวปาเกอญอที่ตั้งรกรากอาศัยอยู่ในพื้นที่มาเป็นเวลาร่วมกว่า 100 ปีแล้ว ในช่วงที่บิลลี่หายตัวไป เป็นช่วงที่กำลังมีการเตรียมข้อมูลเพื่อต่อสู้คดีดังกล่าว และอยู่ระหว่างการเตรียมถวายฎีกาเพื่อร้องเรียนขอความเป็นธรรม “วันที่ 17 เมษายน 2557 เวลาประมาณหกโมงเย็น ผมได้รับโทรศัพท์ติดต่อจากครูในหมู่บ้านบอกว่า บิลลี่ถูกจับที่ด่านมะเร็ว เป็นเรื่องน้ำผึ้ง ให้ไปดูที่โรงพักหน่อย แต่ผมเห็นว่าไม่ไช่ความผิดร้ายแรงอะไร และมันก็ค่ำแล้ว เตรียมเอกสารประกันตัวไม่ทัน วันนั้นก็เลยไม่ได้ไป แต่ผมก็ได้โทรหาบิลลี่นะ โทรไปสองครั้ง แต่บิลลี่ไม่รับสาย […]

กรณีการหายตัวไปของนายบิลลี่ กับอนุญาฯการต่อต้านการอุ้มหาย โดย ญาดา หัตถธรรมนูญ

นายบิลลี่ หรือ นายพอจะลี รักจงเจริญ เป็นแกนนำชาวบ้านกะเหรี่ยงบ้านบางกลอย นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน และผู้ช่วยทนายความ อยู่ระหว่างการเตรียมการต่อสู้คดีปกครองที่ชาวบ้านบางกลอยยื่นฟ้องกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชและนายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร จากกรณีการเข้ารื้อทำลาย เผาบ้านเรือนและทรัพย์สินของชาวบ้านกว่า 20 ครอบครัว ที่บ้านบางกลอยเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2554 เพื่อผลักดันให้ชาวบ้านออกจากพื้นที่แม้ปรากฎผลการศึกษายืนยันว่าชาวบ้านเป็นชนพื้นเมืองดังเดิมชาวปาเกอญอที่ตั้งรกรากอาศัยอยู่ในพื้นที่มาเป็นเวลาร่วมกว่า 100 ปีแล้ว นอกจากนี้ นายบิลลี่ยังอยู่ระหว่างการเตรียมถวายฎีกาเพื่อร้องเรียนขอความเป็นธรรมต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วย ทั้งนี้ เชื่อว่านายบิลลี่มีพยานหลักฐานเกี่ยวกับคดีและกรณีร้องเรียนดังกล่าวอยู่กับตัวด้วยในขณะที่หายไป นายบิลลี่หายตัวไปตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน 2557 โดยมีชาวบ้านพบเห็นนายบิลลี่ครั้งสุดท้ายเมื่อเวลาประมาณ 17.00 น. ขณะถูกควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ต่อมาเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2557 นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ได้ยอมรับว่าควบคุมตัวนายบิลลี่จริง เนื่องจากค้นตัวนายบิลลี่แล้วพบรังผึ้งและน้ำผึ้งหกขวด ตนจึงได้ทำการตักเตือน และอ้างว่าได้ปล่อยตัวนายบิลลี่ไปแล้ว อย่างไรก็ตามไม่ปรากฏหลักฐานที่อ้างเกี่ยวกับการจับกุมตามข้อกล่าวหาและหลักฐานการปล่อยตัวแต่อย่างใด จนถึงปัจจุบันเป็นเวลาร่วม 6 วันแล้วหลังจากถูกควบคุมตัว ที่ยังไม่มีผู้ใดพบเห็นนายบิลลี่อีก โดยครอบครัวของนายบิลลี่ พร้อมด้วยผู้ใหญ่บ้านและชาวบ้านบางกลอยได้แจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจในท้องที่ไว้แล้ว ก่อนหน้านี้ เมื่อเดือนกันยายน 2554 ได้มีการลอบสังหารนายทัศน์กมล โอบอ้อม […]

หลังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีนายใช้ บุญทองเล็ก อีกครั้งกับการลอยนวลพ้นผิด

วันที่ 28 พฤศจิกายน 2559 ศาลจังหวัดเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้อ่านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 8 ในคดีสังหารนายใช้ บุญทองเล็ก นักต่อสู้เพื่อสิทธิในที่ดิน สมาชิกสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ โดยศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ยกฟ้อง กรณีนี้สืบเนื่องจากนายใช้ บุญทองเล็ก อายุ 61 ปี สมาชิกสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.) และนักต่อสู้เพื่อสิทธิในที่ดินชุมชนคลองไทรพัฒนา ตำบลไทรทอง อำเภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี ถูกยิงเสียชีวิตเมื่อวันที่ 11 ก.พ. 2558 ซึ่งในทางการสอบสวนพบว่ามีผู้ต้องสงสัยที่เกี่ยวข้องจำนวนสามคนคือ มือปืน ผู้จ้างวาน และคนขับรถจักรยานยนต์ แต่ในชั้นฟ้องร้องดำเนินคดี สามารถนำเพียงผู้ต้องต้องสงสัยที่คาดว่าเป็นคนขับรถจักรยานยนต์เท่านั้นมาดำเนินคดีในชั้นศาลได้ คดีนี้พนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้ที่ต้องสงสัยว่าเป็นคนขับรถจักรยานยนต์ให้มือปืนที่ก่อเหตุยิงนายใช้ ในข้อหาร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ร่วมกันมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตและร่วมกันพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต ทั้งนี้ ญาติของนายใช้ ได้ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการ โดยมีทนายความจากสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนให้การช่วยเหลือในด้านการดำเนินคดี เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2559 ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษายกฟ้องโจทก์. เนื่องจากศาลเห็นว่าประจักษ์พยานโจทก์ทั้งสองคนไม่น่าจะจดจำใบหน้าคนร้ายได้ เพราะเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ พยานอยู่ห่างจากจุดที่คนขับรถยืนอยู่พอสมควร ประกอบกับเป็นช่วงเวลาใกล้ค่ำ ส่วนที่โจทก์ร่วมนำสืบในประเด็นการใช้โทรศัพท์ของจำเลยซึ่งเชื่อมโยงกับคนยิงนั้น เห็นว่าเป็นข้อมูลหลังจากวันเกิดเหตุเวลานานมาก […]

ใบแจ้งข่าว : ฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์  คดีสังหารนายใช้ บุญทองเล็ก นักต่อสู้เพื่อสิทธิในที่ดินและสมาชิกสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ 

วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน 2559 เวลา 09.00 น. ศาลจังหวัดเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีนัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ล่วงหน้า ในคดีหมายเลขดำที่ อ.1273/2558 และคดีหมายเลขแดงที่ อ. 642/2559 ระหว่างพนักงานอัยการจังหวัดเวียงสระ โจทก์ กับ นายสันติ วรรณทอง จำเลย จึงขอเชิญสื่อมวลชนและผู้ที่สนใจเข้าร่วมฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ตามวันและเวลาดังกล่าวข้างต้น กรณีนี้สืบเนื่องจากนายใช้ บุญทองเล็ก อายุ 61 ปี สมาชิกสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.) และนักต่อสู้เพื่อสิทธิในที่ดินชุมชนคลองไทรพัฒนา ตำบลไทรทอง อำเภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี ถูกยิงเสียชีวิตเมื่อวันที่ 11 ก.พ. 2558 ซึ่งในทางการสอบสวนพบว่ามีผู้ต้องสงสัยที่เกี่ยวข้องจำนวนสามคนคือ มือปืน ผู้จ้างวาน และคนขับรถจักรยานยนต์ แต่ในชั้นฟ้องร้องดำเนินคดี สามารถนำเพียงผู้ต้องต้องสงสัยที่คาดว่าเป็นคนขับรถจักรยานยนต์เท่านั้นมาดำเนินคดีในชั้นศาลได้ โดยพนักงานอัยการยื่นฟ้องจำเลยในข้อหาร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ร่วมกันมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตและร่วมกันพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต ทั้งนี้ ญาติของนายใช้ ได้ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการ โดยมีทนายความจากสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนให้การช่วยเหลือในด้านการดำเนินคดี อย่างไรก็ดี เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2559 […]

7 ปีที่รอคอย : มุมมองของเหยื่อซ้อมทรมานหลังคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด

  กรณีการซ้อมทรมานนายอิสมาแอ เตะ อดีตนักศึกษามหาวิทยาลัยสถาบันราชภัฎยะลาที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ บ่งชี้ว่าการซ้อมทรมานเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในสังคมไทย นายอิสมาแอถูกเจ้าหน้าที่ทหารจับกุมเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2551 โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ.2457 เพียงเพราะมีพยานซัดทอดว่าเป็นแนวร่วมก่อความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนใต้ โดยในระหว่างการควบคุมตัวตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึกฯ เขาได้ถูกเจ้าหน้าที่ทำร้ายร่างกาย เพื่อให้รับสารภาพว่าเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด ผ่านวิธีการต่างๆ ทั้งใช้ผ้าปิดตา ให้นั่งคุกเข่าหน้าอกแนบราบไปกับต้นขา แล้วใช้เก้าอี้วางครอบไปบนหลัง มีทหารนั่งอยู่บนเก้าอี้ และทหารคนอื่นๆ รุมเตะทำร้าย ใช้ยางในรถจักยานยนต์คล้องที่คอแล้วดึงขึ้น ทำให้หายใจไม่ออกและทรมาน ให้กินข้าวกลางฝนที่ตกหนัก ให้อยู่ในห้องที่เปิดแอร์เย็นจัดในขณะที่ตัวเปียก เป็นต้น จากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้นายอิสมาแอ เตะ และนายอามีซี มานาก ได้ตัดสินใจยื่นฟ้องกองทัพบกและกระทรวงกลาโหมต่อศาลปกครองจังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2552 ฐานละเมิดตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 ซึ่งหน่วยงานที่เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดสังกัดต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น และขอให้ศาลสั่งให้หน่วยงานดังกล่าวเยียวยาความเสียหายแก่นายอามีซีและนายอิสมาแอจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 32 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 “เราอยากให้กฎหมายดำเนินการลงโทษต่อเจ้าหน้าที่ที่ทำร้ายร่างกายประชาชน และอยากให้คดีของเราเป็นกรณีตัวอย่างเพื่อให้รัฐรับทราบว่าขณะนี้ในประเทศไทยยังคงมีการซ้อมทรมานอยู่แม้ว่าประเทศไทยจะมีการลงนามตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ(CAT) แต่สิ่งที่เกิดขึ้นทั้งในพื้นที่ภาคใต้และทั้งประเทศยังคงมีกรณีของการซ้อมทรมาน จึงอยากให้เรื่องนี้รับทราบสู่สาธารณะว่าการซ้อมทรมานประชาชนโดยเจ้าหน้าที่รัฐนั้นเกิดขึ้นจริง” นายอิสมาแอกล่าว การต่อสู้ของอิสมาแอและเพื่อนเกือบ 2 ปี จนนำไปสู่การได้มาซึ่งคำพิพากษาของศาลปกครองสงขลา เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน […]

ใบแจ้งข่าว : ฟังคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีนักศึกษายะลาถูกซ้อมทรมาน

  ศาลปกครองสงขลามีนัดอ่านคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ในคดีหมายเลขดำที่ 187/2552, 188/2552 และคดีหมายเลขแดงที่ 235-236/2554 ระหว่าง นายอิสมาแอ เตะที่1 กับพวกรวม 2 คน ผู้ฟ้องคดี กับ กองทัพบกที่ 1 กับพวกรวม 2 คน ผู้ถูกฟ้องคดี จากกรณีที่นายอิสามาแอ เตะ และนายอามีซี นักศึกษามหาวิทยาลัยสถาบันราชภัฎยะลาถูกเจ้าหน้าที่ทหารจับกุมและซ้อมทรมานในระหว่างถูกควบคุมตัวเพื่อให้รับสารภาพอันจะนำไปสู่การถูกดำเนินคดีเกี่ยวกับความมั่นคง โดยอาศัยอำนาจตามกฎอัยการศึกฯ จึงขอเชิญสื่อมวลชนและผู้ที่สนใจเข้าร่วมฟังคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดในวันพุธที่ 19 ตุลาคม 2559 เวลา 14.00 น. ณ ห้องพิจารณาคดีที่ 1 ศาลปกครองสงขลา คดีนี้ ศาลปกครองสงขลาได้มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2554 โดยพิพากษาให้กองทัพบกรับผิดในผลแห่งการละเมิดของเจ้าหน้าที่อันเกิดจากการใช้อำนาจโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ให้ชำระเงินแก่นายอามีซี จำนวน 250,000 บาท และนายอิสมาแอ เตะจำนวน 255,000 บาท เนื่องจากควบคุมตัวไว้เกินกำหนด 7 วันตามกฎอัยการศึกฯ พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ […]

เสวนา 2 ปีบิลลี่ ญาติและองค์กรสิทธิเรียกร้องให้เร่งสืบสวนสอบสวนคดีจนทราชะตากรรมของบิลลี่และเด่น คำแหล้ รวมทั้งเรียกร้องให้รัฐเร่งสร้างกลไกเพื่อป้องกันการบังคับสูญหาย

วันที่ 10 พฤษภาคม2559 ณ ห้องประชุมสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน และมูลนิธิผสานวัฒนธรรม ได้ร่วมกันจัดเวทีเสวนาวิชาการ 2 ปีบิลลี่ : อุ้มหายคน อุ้มหายความยุติธรรม อุ้มหายสิทธิเสรีภาพ เพื่อเป็นการทบทวนบทเรียนและวิเคราะห์สถานการณ์การบังคับสูญหาย รวมทั้งจัดทำข้อเสนอของภาคประชาสังคมต่อกฎหมายการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับให้สูญหาย ตลอดจนร่วมผลักดันให้มีการออกกฎหมายดังกล่าวโดยเร่งด่วนเพื่อที่จะยกระดับการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและผลักดันกลไกในการป้องกันการบังคับสูญหายและมีกระบวนการยุติธรรมที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยในงานมีผู้สนใจเข้าร่วมกว่า 50 คน คุณพิณภา พฤกษาพรรณ หรือมึนอ ภรรยาของบิลลี่ กล่าวถึงการหายตัวไปของบิลลี่ วันสุดท้ายที่เขาพบบิลลี่อยู่บ้านก็คือวันที่ 15 เมษายน 2557 และได้ข่าวจากน้องชายของบิลลี่ ว่าเจ้าหน้าที่อุทยานควบคุมตัวเขาไว้ที่ด่านมะเร็ว เหล่าแล้วเขาก็หายตัวไป มึนอยังกล่าวถึงกรณีที่เจ้าหน้าที่ที่ถูกกล่าวหาว่าเกี่ยวพันกับการหายตัวไปของบิลลี่และถูกร้องขอให้ตรวจสอบและขอให้ย้ายออกจากพื้นที่ แต่ปัจจุบันกลับได้รับผิดชอบหน้าที่ที่ยิ่งใหญ่ขึ้นกว่าเดิม เหมือนคนๆนี้มีอำนาจเหนือกฎหมาย ทำไมคนที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำบิลลี่และคดียังไม่ถึงที่สุด กลับได้รับตำแหน่งที่ดูจะใหญ่โตขึ้น นอกจากนี้ มึนอยังกล่าวถึงการยื่นคำร้องให้ศาลตรวจสอบการควบคุมตัวบิลลี่โดยมิชอบ ตามมาตรา 90 ของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา แต่ก็ปรากฎว่าทั้งสามศาลต่างยกฟ้องไปแล้ว คุณวราภรณ์ อุทัยรังสี ทนายความจากสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ซึ่งมีบทบาทเข้าไปช่วยเหลือทางกฎหมายในการยื่นคำร้องขอให้ปล่อยตัวบิลลี่โดยมิชอบ สะท้อนปัญหาว่าการใช้เครื่องมือทางกฎหมายผ่านกลไกมาตรา 90 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญานั้น พบว่าศาลไม่ได้เข้าไปค้นหาความจริงอย่างเต็มที่ ในศาลฎีกานั้นพบว่าศาลเน้นวินิจฉัยในข้อกฎหมายจนตัดข้อเท็จจริงออกไปแทบทั้งหมด กล่าวคือศาลฎีกาเห็นว่าการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้ศาลไม่สามารถรับฟังพยานปากของชัยวัฒน์และเจ้าหน้าที่ได้ ส่วนพยานฝ่ายของผู้ร้องก็เป็นเพียงพยานบอกเล่า เมื่อไม่มีข้อเท็จจริงให้ฟังได้ ข้อเท็จจริงที่จะรับฟังว่าบิลลี่ถูกควบคุมตัวไว้โดยมิชอบจริงหรือไม่จึงไม่เพียงพอ ด้วยเหตุนี้ศาลก็เลยยกฟ้อง มีคำถามว่า กรณีเช่นนี้ที่กระบวนการพิจารณาที่กระทำโดยมิชอบตั้งแต่ศาลชั้นต้น จนนำมาสู่การตัดพยานและการยกฟ้อง […]

1 2