นักปกป้องสิทธิมนุษยชน

5 องค์กรสิทธิฯออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ยุติการจำกัดเสรีภาพในการชุมนุมของ We Walk เดินมิตรภาพ

แถลงการณ์ ให้ยุติการคุกคามและจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการชุมนุมโดยสงบ ขบวน “We Walk เดินมิตรภาพ” ของเครือข่าย People GO Network เผยแพร่วันที่ 24 มกราคม 2561 ตามที่เครือข่ายประชาชนในนาม People GO Network ได้จัดกิจกรรม “We Walk…เดินมิตรภาพ” เดินเท้าจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ถึงจังหวัดขอนแก่น ระหว่างวันที่ 20 มกราคม 2561–17 กุมภาพันธ์ 2561 เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงปัญหาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เกษตรกรรมและความมั่นคงทางอาหาร รัฐสวัสดิการและหลักประกันสุขภาพ ตลอดจนสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ โดยก่อนเริ่มกิจกรรมการเดิน เครือข่ายเครือข่ายประชาชนในนาม People GO Network ได้ดำเนินการแจ้งการชุมนุมสาธารณะต่อสถานีตำรวจภูธรคลองหลวง ตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 แล้ว แต่เจ้าหน้าที่ก็ได้พยายามกำหนดเงื่อนไขต่างๆ เพื่อไม่ให้การดำเนินกิจกรรมเป็นไปได้โดยง่าย โดยเฉพาะการที่เจ้าหน้าที่ผู้รับแจ้งการชุมนุมได้มีหนังสือถึงเครือข่ายประชาชนในนาม People GO Network ระบุว่าการดำเนินกิจกรรมที่มีการจำหน่วยเสื้อ และการให้ประชาชนเข้าชื่อยกเลิกประกาศ/คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้าข่ายเป็นการชุมนุมทางการเมือง จึงต้องไปขออนุญาต คสช. ก่อน […]

3 ปีบิลลี่ กับ 3 ประเด็นสิทธิที่ยังค้างคา

วันนี้ (17 เมษายน 2560) เครือข่ายภาคประชาชนชาติพันธุ์กระเหรี่ยง ได้ร่วมกันจัดงาน 3 ปีบิลลี่ พอละจี รักจงเจริญ ณ ห้วยกระซู่ ต.ยางน้ำกลัดเหนือ อ.หนองหญ้าปล้อง จ.เพชรบุรี โดยมีชาวบ้านชาต้พันธุ์กระเหรี่ยงเจ้าร่วมงานจากหลายพื้นที่ อาทิ บ้านลิ้นช้าง บ้านพุน้ำร้อน บ้านสาลิกา บ้านห้วยกระซู่ บ้านบางกลอย บ้านตากแดด ฯลฯ 17 เมษายน 2560 เป็นวันครบรอบ 3 ปีที่บิลลี่หายไป หลังถูกควบคุมโดยเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน บิลลี่ถือเป็นนักปกป้องสิทธิมนุษยชนและเป็นตัวแทนชุมชนบางกลอย ในการประสานงานดำเนินการเรื่องสิทธิชุมชนของคนกะเหรี่ยง (ปกาเกอะญอ) ต้นน้ำเพชรบุรี ในงานมีการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมและรำลึกถึงนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่จากไป อาทิ นายทัศกมล โอบอ้อม หรืออาจารย์ป๊อด ผู้ที่ช่วยเหลือชาวบ้านบางกลอยเรียกร้องสิทธิหลังถูกเผาบ้านไล่รื้อจากแผ่นดินเดิม ณ ใจแผ่นดิน อาจารย์ป๊อดถูกยิงในวันที่ 10 กันยายน 2554 กระบวนการยุติธรรมไม่สามารถลงโทษผู้กระทำความผิดได้ บิลลี่ พอละจี รักจงเจริญ นักปกป้องสิทธิชาติพันธุ์กระเหรี่ยงบางกลอย เขาหายตัวไปเมื่อวันที่ 17 เมษายน […]

ศาลฎีกาพิพากษา 10 จำเลยคดีปีนสภามีความผิด แต่ให้รอการกำหนดโทษไว้ 2 ปี

วันนี้ (พุธที่ 15 มีนาคม 2560) เวลา 10.00 น. ศาลอาญาได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีหมายเลขดำ อ.4383/2553 คดีหมายเลขแดงที่ อ.1092/2556 ที่พนักงานอัยการ ฟ้องนายจอน อึ้งภากรณ์ กับพวกรวม 10 คน ในความผิดฐานร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้าย ก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง และร่วมกันทำให้ปรากฏด้วยวาจา อันมิใช่กระทำในความหมายรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่แสดงความคิดเห็นโดยปกติเพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 91, 116, 215, 362, 364, 365 ซึ่งสาเหตุการฟ้องร้องดำเนินคดีนี้ เกิดจากการที่มีประชาชนจำนวนหลายร้อยคนทำการชุมนุมและเข้าไปในรัฐสภาในวันที่ 12 ธันวาคม 2550 เพื่อคัดค้านการออกกฎหมายของสภานิติบัญญัติที่เกิดขึ้นหลังรัฐประหารปี 2549 เพราะไม่เห็นด้วยกับการพิจารณาร่างกฎหมายจำนวน 11 ฉบับ ที่ได้มีการเร่งรีบพิจารณา โดยร่างกฎหมายมีเนื้อหาที่ไม่เป็นธรรม ละเมิดสิทธิเสรีภาพและขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน สำหรับคดีนี้ ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2556 ให้จำคุกและปรับจำเลย แต่จำเลยให้การเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา […]

ใบแจ้งข่าว นัดฟังคำพิพากษาศาลฎีกาคดีคัดค้านการออกกฎหมายของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) หลังรัฐประหาร 2549

วันพุธที่ 15 มีนาคม 2560 เวลา 09.30 น. ณ ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก บัลลังก์ 710 มีนัดอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีหมายเลขดำที่ อ.4383/2553 คดีหมายเลขแดงที่ อ.1092/2556 ระหว่างพนักงานอัยการ โจทก์ กับ นายจอน อึ้งภากรณ์ กับพวกรวม 10 คน จำเลย ในความผิดฐานร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้าย ก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง และร่วมกันทำให้ปรากฏด้วยวาจา อันมิใช่กระทำในความหมายรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่แสดงความคิดเห็นโดยปกติเพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 91, 116, 215, 362, 364, 365 คดีนี้สืบเนื่องจากหลังการรัฐประหาร โดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยฯ เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2549 และตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ขึ้นมาทำหน้าที่ในการออกกฎหมาย […]

พรทิพย์ หงชัย : กฎหมายชุมนุมฯ ทำให้เสียงของผู้เดือดร้อนเงียบลง

สถานการณ์ปัจจุบัน ประเทศไทยตกอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลทหาร ที่กระทำการรัฐประหารรัฐบาลพลเรือนเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2549 สิทธิและสรีภาพของประชาชน ตลอดจนการมีส่วนร่วมในเรื่องต่างๆของประชาชนถูกจำกัดมากกว่าในยุครัฐบาลปกติ นอกจากรัฐบาลทหารจะมีกองกำลังที่ใหญ่โตในมือเพื่อปิดกั้นการเคลื่อนไหวของประชาชนแล้ว สิ่งหนึ่งที่รัฐบาลทหารนำมาใช้และค่อนข้างได้ผลก็คือกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม โดยกฎหมายที่มักจะถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการจำกัดเสรีภาพของประชาชนก็คือพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 และคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 เรื่อง การรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของชาติ พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 ถูกตราออกมาได้โดยง่ายในยุคสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่มีสมาชิกประกอบด้วยข้าราชการเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งในยุครัฐบาลปกติ แม้จะมีการพยายามผลักดันกฎหมายเหล่านี้ แต่ก็ไม่สามารถจะตราออกมาได้ง่ายๆ ส่วนคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 ออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ซึ่งเป็นที่รู้กันว่ารัฐธรรมนูญมาตรานี้ได้ให้อำนาจแก่หัวหน้า คสช. อย่างกว้างขว้างในการออกคำสั่งใดๆก็ได้ในนามของการรักษาความสงบและการปฏิรูปประเทศ และที่ผ่านมาก็มีการใช้อำนาจตามมาตราดังกล่าวออกคำสั่งต่างๆที่มีค่าบังคับเป็นกฎหมายมาใช้บังคับมากมาย โดยที่ประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วมใดๆ กฎหมายเหล่านี้ ถูกนำมาใช้อย่างต่อเนื่องเพื่อจัดการกับประชาชนที่ต่อต้านรัฐบาล คสช. โดยตรง และประชาชนที่ออกมาเคลื่อนไหวเพื่อปกป้องสิทธิของตนเองและชุมชนจากการดำเนินโครงการพัฒนาต่างๆของรัฐและทุนที่ก่อผลกระทบต่อชุมชน วันที่ 8 มีนาคมที่ผ่านมา พรบ. ชุมนุมฯ ก็แผลงฤทธิ์อีกครั้ง เมื่อ สภ.วังสะพุง […]

แถลงการณ์ให้รัฐเคารพเสรีภาพในการชุมนุมสาธารณะ  และปล่อยประชาชนที่ถูกควบคุมตัวจากการค้านโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่โดยไม่มีเงื่อนไข

แถลงการณ์ เรื่อง ขอให้เคารพเสรีภาพในการชุมนุมสาธารณะ และปล่อยประชาชนที่ถูกควบคุมตัวจากการค้านโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่โดยไม่มีเงื่อนไข ตามที่เจ้าหน้าที่ตำรวจได้จับกุมแกนนำค้านโรงไฟฟ้ากระบี่สามคน คือ นายประสิทธิชัย หนูนวล นายอัครเดช ฉากจินดา และ ม.ล.รุ่งคุณ กิตติยากร และได้ควบคุมตัวไว้ที่มณฑลทหารบกที่ 11 (มทบ.11) และมีการควบคุมตัวประชาชนอีกกว่า 10 คนไว้นั้น สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน(สสส.) และองค์กรที่มีชื่อท้ายแถลงการณ์ เห็นว่าการใช้เสรีภาพในการชุมนุมเพื่อคัดค้านโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ เป็นการใช้เสรีภาพชุมนุมตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 ที่กำหนดว่า “การชุมนุมในที่สาธารณะ เพื่อเรียกร้อง สนับสนุน คัดค้าน หรือแสดงความคิดเห็นในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยแสดงออกต่อประชาชนทั่วไป..”อีกทั้งผู้จัดการชุมนุมได้แจ้งการชุมนุมต่อเจ้าหน้าที่แล้ว แต่เจ้าหน้าที่อ้างว่าเป็นการชุมนุมผิดเงื่อนไข จึงไปร้องต่อศาลแพ่ง ให้วินิจฉัยว่าให้เลิกการชุมนุมและศาลแพ่งได้มีหมายนัดให้มีการไต่สวน ผู้จัดการชุมนุม ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 09.00 น. ในระหว่างที่รอการไต่สวนของศาลแพ่งนั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ดำเนินการห้ามผู้ชุมนุมไม่ให้ใช้ห้องน้ำ และไม่ให้ส่งอาหารให้ผู้เข้าร่วมชุมนุมรับประทาน อันเป็นการละเมิดสิทธิความเป็นมนุษย์ขั้นพื้นฐานอย่างรุนแรง อีกทั้งเจ้าหน้าที่ได้จับกุมแกนนำสามคนโดยไม่แจ้งสถานที่ควบคุมตัว ไม่แจ้งญาติ หรือทนายความให้ทราบในระหว่างการสอบสวน อันเป็นการขัดกับหลักสิทธิเสรีภาพตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ทั้งนี้โดย ไม่รอการไต่สวนของศาลแพ่ง ที่จะมีขึ้นในวันที่ 20 […]

แถลงการณ์ : คืนสิทธิปล่อยตัวระหว่างดำเนินคดีแก่นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษาโดยทันที

แถลงการณ์ คืนสิทธิปล่อยตัวระหว่างดำเนินคดีแก่นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษาโดยทันที เผยแพร่ 16 มกราคม 2560 สืบเนื่องจากตั้งแต่วันที่ 22 ธันวาคม 2559 ศาลจังหวัดขอนแก่นได้มีคำสั่งให้เพิกถอนสัญญาประกันตัว นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ “ไผ่ ดาวดิน” นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้ถูกกล่าวหาว่า กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 จากการแชร์ข่าวพระราชประวัติรัชกาลที่ 10 จากเฟซบุคของสำนักข่าวบีบีซีไทย ในเฟซบุคของตนเอง โดยศาลให้เหตุผลในการเพิกถอนการประกันตัวว่า ยังไม่ยอมลบข้อความที่ถูกกล่าวหา และมีการโพสรูปภาพแสดงท่าทางในเชิงสัญลักษณ์ที่ศาลเห็นว่าเป็นการเย้ยหยันอำนาจรัฐ ซึ่งนับตั้งแต่ศาลจังหวัดขอนแก่นมีคำสั่งเพิกถอนการประกันตัว ทนายความได้ยื่นอุทธรณ์ และฎีกาตามลำดับ แต่ศาลสูงได้ยืนตามคำสั่งของศาลจังหวัดขอนแก่น นอกจากนี้ ทนายความยังได้มีการยื่นขอประกันตัวใหม่ไปแล้วถึง 5 ครั้ง แต่ศาลก็ยังไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวจตุภัทร์ โดยอ้างว่า ยังไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม ประกอบกับพนักงานสอบสวนได้ยื่นขอฝากขัง ครั้งที่ 4 โดยอ้างว่า การสอบสวนพยานบุคคลยังไม่เสร็จสิ้น และศาลขอนแก่นได้อนุมัติฝากขัง เป็นผลให้จตุภัทร์ต้องถูกคุมขังต่อไปอีกจนถึงวันที่ 20 มกราคม 2560 ซึ่งจะทำให้เขาไม่ได้ออกมาสอบวิชาสุดท้าย ที่จะมีการสอบในวันที่ 17 มกราคม […]

ตามหาความเป็นธรรม ภรรยาและลูกๆบิลลี่เดินทางเข้าพบ ป.ป.ท. สอบถามความคืบหน้าการดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมตัวบิลลี่

เกือบจะเข้าปีที่ 3 แล้วที่นายพอละจี รักจงเจริญ หรือบิลลี่ ได้หายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย หลังจากถูกควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2557 ที่ด่านเขามะเร็ว ซึ่งเจ้าหน้าที่อ้างว่าบิลลี่มีรังผึ้งและน้ำผึ้งป่าไว้ในครอบครอง หลังจากนั้นบิลลี่ก็หายตัวไปโดยไม่ทราบชะตากรรมจนกระทั่งบัดนี้ วันที่ 19 ธันวาคม 2559 นางสาวพิณนภา พฤกษาพรรณ ภรรยาของนายบิลลี่ พอละจี รักจงเจริญ จึงได้เดินทางเข้าพบประธานอนุกรรมการไต่สวนของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ซึ่งเป็นกลไกหนึ่งในการที่จะใช้เพื่อดำเนินการสืบหาตัวบิลลี่และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการหายตัวไปของบิลลี่ การดำเนินการของ ป.ป.ท. เริ่มต้นจากพนักงานสอบสวนจากสถานีตำรวจภูธรแก่งกระจานได้ส่งสำนวนให้ ป.ป.ท. ตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม 2557 เพื่อให้ดำเนินการกับนายชัยวัฒน์และพวกรวม 4 คนกรณีที่มีการกล่าวโทษว่านายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานในขณะนั้น กับพวกรวม 4 คนมีความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 จากการนายชัยวัฒน์ กับพวกได้ควบคุมตัวนายพอละจี รักจงเจริญ หรือบิลลี่ ผู้นำชุมชนกะเหรี่ยงบางกลอย อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี ไว้เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2557 โดยอ้างว่ามีของกลางเป็นน้ำผึ้งป่าไว้ในครอบครอง แต่เจ้าหน้าที่อุทยานฯก็ไม่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย […]

ใบแจ้งข่าว : ขอเชิญสื่อมวลชนและผู้ที่สนใจเข้าร่วมฟังคำพิพากษาศาลชั้นต้นในคดี “อภิชาต” ชูป้ายคัดค้านรัฐประหารหน้าหอศิลป์กรุงเทพฯ

วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม 2559 เวลา 13.30 น. ศาลแขวงปทุมวันมีนัดฟังคำพิพากษาศาลชั้นต้น ในคดีหมายเลขดำที่ 1097/2559 และคดีหมายเลขแดงที่ 9075/2559 ระหว่างพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุดฯ กับ จ่าสิบเอกอภิชาต พงษ์สวัสดิ์ ในคดีความผิดต่อพระราชบัญญัติกฎอัยการศึกและความผิดต่อประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เรื่องห้ามชุมนุมทางการเมือง จากกรณีที่นายอภิชาตชูป้ายคัดค้านการรัฐประหารหน้าหอศิลป์ฯ จึงขอเชิญสื่อมวลชนและผู้ที่สนใจเข้าร่วมฟังคำพิพากษาศาลชั้นต้นตามวันและเวลาดังกล่าวข้างต้น คดีนี้ สืบเนื่องจากกรณีการทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ในพื้นที่บริเวณหน้าหอศิลป์กรุงเทพมหานคร ของจ่าสิบเอกอภิชาต พงษ์สวัสดิ์ ผู้ช่วยนักวิชาการปฎิรูปกฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการปฎิรูปกฎหมาย เพื่อคัดค้านการรัฐประหารของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2557 และพนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องในวันที่ 28 เมษายน 2558 ในความผิดต่อพระราชบัญญัติกฎอัยการศึกและความผิดต่อประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เรื่องห้ามชุมนุมทางการเมือง ต่อมาศาลแขวงปทุมวันมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559 พิพากษายกฟ้อง โดยให้เหตุผลว่ากระบวนการสอบสวนไม่ถูกต้อง เนื่องจากคดีนี้เหตุเกิดและจำเลยถูกจับกุมในท้องที่สน.ปทุมวัน แต่ตำรวจจากกองปราบเป็นผู้สอบสวน ซึ่งโจทก์ไม่ได้นำสืบให้ศาลเห็นถึงเขตอำนาจสอบสวน จึงถือว่าไม่มีการสอบสวนอย่างถูกต้อง วันที่ 17 มีนาคม 2559 พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุดได้อุทธรณ์คำพิพากษาต่อศาลแขวงปทุมวัน โดยยกประเด็นที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า […]

ใบแจ้งข่าว ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นยกฟ้องโจทก์ในคดีลอบสังหาร นายใช้ บุญทองเล็ก นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนและสมาชิกสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้(สกต.)

วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน 2559 เวลา 09.00 น. ศาลจังหวัดเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค8 ในคดีหมายเลขดำ ที่ อ.1273/2558 และคดีหมายเลขแดงที่ อ. 642/2559 ระหว่าง พนักงานอัยการจังหวัดเวียงสระ โจทก์ กับ นายสันติ วรรณทอง จำเลย ในคดีลอบสังหารนายใช้ บุญทองเล็ก สมาชิกสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้(สกต.) และนักต่อสู้เพื่อสิทธิในที่ดินชุมชนคลองไทรพัฒนา เมื่อวันที่ 11 ก.พ. 2558 คดีนี้ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2559 โดยพิพากษายกฟ้องโจทก์ และยกคำร้องขอให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนของโจทก์ร่วมเนื่องจากศาลเห็นว่าประจักษ์พยานโจทก์ทั้งสองคนไม่น่าจะจดจำใบหน้าคนร้ายได้ เพราะเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ พยานอยู่ห่างจากจุดที่คนขับรถยืนอยู่พอสมควร ประกอบกับเป็นช่วงเวลาใกล้ค่ำส่วนที่โจทก์ร่วมนำสืบในประเด็นการใช้โทรศัพท์ของจำเลยซึ่งเชื่อมโยงกับคนยิงนั้น เห็นว่าเป็นข้อมูลหลังจากวันเกิดเหตุเวลานานมาก จากพยานหลักฐานและการนำสืบดังกล่าวจึงไม่ส่ามารถบ่งชี้ได้ว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องจึงต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย โดยต่อมาศาลอุทธรณ์ภาค8 ได้มีคำพิพากษา ดังนี้ 1. ศาลอุทธรณ์พิเคราะห์ จากข้อเท็จจริงเบื้องต้น มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์และโจทก์ร่วมทั้งสองว่า จำเลยกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ ในเรื่องของประจักษ์พยานรับฟังได้ว่า ในวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุตามฟ้อง มีคนร้ายใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายจนถึงแก่ความตาย และจากนั้นเดินไปขึ้นท้ายรถจักรยานยนต์ของคนร้ายอีกคนเพื่อหลบหนี […]

1 2 3