นักปกป้องสิทธิมนุษยชน

แถลงการณ์ : เรียกร้องสถาบันตุลาการให้ปฏิบัติหน้าที่ตามหลักกฎหมาย โดยคำนึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

แถลงการณ์สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) เรียกร้องสถาบันตุลาการให้ปฏิบัติหน้าที่ตามหลักกฎหมาย โดยคำนึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และอุดมการณ์ของผู้พิพากษาตามประมวลจริยธรรมข้าราชการตุลาการ ตลอดระยะเวลาของการใช้เสรีภาพในการชุมนุมทางการเมืองที่ผ่านมา ประชาชนจำนวนมากต้องตกเป็นผู้ต้องหาและจำเลยในกระบวนการยุติธรรมอันเนื่องมาจากความเห็นต่างทางการเมือง อาจกล่าวได้ว่า กระบวนการยุติธรรมทั้งระบบถูกใช้เป็นกลไกเพื่อสนองนโยบายรัฐในการปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองของประชาชนฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลอย่างเต็มรูปแบบ โดยเฉพาะในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 การปล่อยชั่วคราวถูกใช้เป็นกลไกสำคัญในการปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ผ่านการไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว ห้ามไปกระทำการในลักษณะเดียวกันกับคดีเดิมอีก การกำหนดเวลาห้ามออกนอกเคหสถานในบางช่วงเวลาร่วมกับการใส่กำไล EM การอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวโดยให้ใส่กำไลติดตามตัว (EM) ร่วมกับคำสั่งห้ามออกนอกเคหสถานตลอด 24 ชั่วโมง เป็นเงื่อนไขการปล่อยชั่วคราวที่เข้มงวดกว่าอาชญากรที่ก่ออาชญากรรม และการมีคำสั่งถอนประกันได้โดยง่าย เหล่านี้ ถือเป็นการละเมิดสิทธิในกระบวนการยุติธรรม ถูกปฏิบัติโดยไม่คำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และไร้ซึ่งมนุษยธรรม ทั้งนี้ยังสะท้อนถึงความพยายามของศาลในการเข้ามามีบทบาทในการรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองเสียเองทั้งที่ไม่ใช่หน้าที่โดยตรงของศาล เพราะมีองค์กรอื่นทำหน้าที่อยู่แล้ว ศาลมีหน้าที่รักษาและดำรงความยุติธรรมในสังคมอย่างเป็นอิสระโดยอาศัยหลักกฎหมายเพื่อเป็นหลักประกันว่าประชาชนทุกคนจะได้รับความยุติธรรมแม้จะมีข้อพิพาทกับรัฐหรือเป็นฝ่ายตรงข้ามกับรัฐก็ตาม   แต่ปรากฏว่ากรณีที่ไม่ใช่คดีการเมือง เช่นกรณีของ พ.ต.อ.หญิงวัทนารีย์ กรณ์ชายานันท์ จำเลยที่ 8 ภรรยานายตู้ห่าว ชาวจีน ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจมีพยานหลักฐานว่ามีพฤติการณ์ข่มขู่พยาน เป็นการผิดเงื่อนไขการประกันของศาล ศาลกลับไม่ถอนประกัน โดยอ้างว่าศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวไปเเล้ว แต่พนักงานสอบสวนมายื่นเอกสารแบบกระชั้นชิด ทำให้การยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนการประกันตัว พ.ต.อ.หญิง วัทนารีย์ ดังกล่าวจึงเป็นเพียงคำร้องที่ประกอบการพิจารณา กรณีที่แตกต่างกันดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความลักลั่นและปัญหาการปล่อยชั่วคราวสำหรับผู้ต้องหาและจำเลยในคดีการเมือง   การถูกปฏิบัติโดยไม่คำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และไร้ซึ่งมนุษยธรรมโดยกระบวนการยุติธรรมดังกล่าวนำมาสู่การอดอาหารและน้ำของตะวันและแบมเพื่อทวงถามหาความยุติธรรม และเรียกร้องให้ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ปัจจุบันร่างกายของทั้งสองเข้าขั้นวิกฤติและสุ่มเสี่ยงต่อชีวิตอย่างมาก   สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าสถาบันศาลจะพิจารณาทบทวนบทบาทในการใช้ดุลพินิจในการปล่อยชั่วคราวให้เป็นไปตามหลักกฎหมาย […]

เรียนรู้กระบวนการทางกฎหมายในกรณีวิสามัญฆาตกรรม ผ่านคดีวิสามัญฆาตกรรมชัยภูมิ ป่าแส

นายชัยภูมิ ป่าแส ถูกเจ้าหน้าที่ทหารที่อ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ทำให้เสียชีวิตหรือวิสามัญฆาตกรรมไปเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2560 ซึ่งกรณีวิสามัญฆาตกรรมนั้นเป็นกรณีที่มีความซับซ้อน มีขั้นตอนหรือกระบวนการทางกฎหมายมากมายในการพิสูจน์ความจริงของความตาย รวมถึงพิสูจน์ความจริงในความบริสุทธิ์ของเจ้าหน้าที่และผู้ตายด้วย ซึ่งมีหน่วยงานของรัฐหลายส่วนที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการพิสูจน์ข้อเท็จจริงนี้ จึงอยากชวนทุกท่านมาเรียนรู้กระบวนการยุติธรรมในกรณีวิสามัญฆาตกรรม ผ่านคดีวิสามัญฆาตกรรมชัยภูมิ ป่าแส

กรณีนายกฤษกร ศิลารักษ์ หรือ ป้าย ปากมูล นักปกป้องสิทธิมนุษยชนถูกฟ้องหมิ่นประมาท

ที่ปรึกษาสมัชชาคนจนเขื่อนปากมูล ถูกดำเนินคดีทั้งสิ้น 2 คดี ณ ศาลจังหวัดอุบลราชธานี จากการตรวจสอบและปกป้องพื้นที่สาธารณะ “ดอนคำพวง” และการเรียกร้องให้แก้ไขปัญหากรณีเขื่อนปากมูลที่เรื้อรังมานาน คดีแรกเป็นคดีอาญาหมายเลขดำที่ 2445/2561 ในข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์,หมิ่นประมาท และคดีที่สองเป็นคดีอาญาหมายเลขดำที่ 99/2562 ในข้อหาหมิ่นประมาท

2557 – 2561 นักต่อสู้ด้านที่ดินถูกคุกคามด้วยความรุนแรงเฉลี่ยปีละราย

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาและกลางดึกของเมื่อวาน (3 กันยายน 2561) มีข่าวการลอบยิงในพื้นที่ภาคเหนือถึง 2 เหตุการณ์ เหตุการณ์แรกเป็นการยิงอดีตกำนันเสียชีวิต อีกเหตุการณ์เป็นการลอบยิงกุฏิพระสงฆ์ แต่โชคดีที่ท่านไม่เป็นอะไร ซึ่งความน่าสนใจของทั้งสองเหตุการณ์คือ ผู้ที่ตกเป็นเป้ามีประวัติด้านการทำงานพัฒนาและการเคลื่อนไหวเรื่องที่ดินในพื้นที่ภาคเหนือ การลอบสังหารและการอุ้มหายนักต่อสู้เพื่อสิทธิในที่ดินทำกินไม่ใช่เรื่องที่พึ่งเกิด แต่เป็นสิ่งที่ปรากฎมานานแล้ว โดยเฉพาะในช่วงปี 2517 ถึง  2522  มีข้อมูลว่าผู้นำชาวนาชาวไร่ถูกสังหารมากถึง 33 คน บาดเจ็บสาหัส 8 คน และหายสาบสูญ 5 คน[1]  แม้ในระยะหลังสถานการณ์การคุกคามต่อนักต่อสู้ด้านที่ดินด้วยความรุนแรงดังกล่าวจะคลี่คลายลงไปบ้าง และพึงมาปรากฏชัดอีกครั้งในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะภายใต้การปกครองของรัฐบาลทหารที่อ้างเรื่องการรักษาความสงบเรียบร้อยอยู่ตลอดเวลา แต่กลับพบว่ามีการคุกคามด้วยความรุนแรงทั้งการสังหารและการอุ้มหายต่อคนที่ทำงานเกี่ยวกับประเด็นด้านที่ดินเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยแล้วปีละ 1 ราย และที่สำคัญยังไม่สามารถนำผู้กระทำความผิดมาลงโทษได้เลยสักคดีเดียว   ปี 2557 แกนนำกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงแห่งบางกลอยถูกบังคับให้สูญหาย วันที่ 17 เมษายน 2557 นายบิลลี่ หรือพอละจี รักจงเจริญ นักต่อสู้เพื่อสิทธิในที่ดินของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงแห่งบางกลอย ได้ถูกทำให้หายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย หลังจากถูกควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ปัจจุบันผ่านไป 4 ปี การค้นหาความจริงยังไม่คืบหน้ามากนัก  กรมสอบสวนคดีพิเศษพึ่งมีมติรับเป็นคดีพิเศษไปเมื่อเดือนมิถุนายน […]

31 พฤษภาคมนี้ ศาลอุทธรณ์นัดฟังคำพิพากษาคดีอภิชาตชูป้ายต้านรัฐประหารหน้าหอศิลป์กรุงเทพฯ ปี 2557 อีกครั้งหลังเลื่อนมาสามครั้ง

ขอเชิญสื่อมวลชนและผู้ที่สนใจเข้าร่วมฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีนายอภิชาต ชูป้ายต้านรัฐประหารหน้าหอศิลป์กรุงเทพฯ ปี 2557 ในวันที่ 31 พฤษภาคม 2561 เวลา 09.00 น. ณ ศาลแขวงปทุมวัน ศาลอุทธรณ์ได้เลื่อนฟังคำพิพากษามาแล้ว 3 ครั้ง ครั้งแรกเลื่อนมาจากวันที่ 30 สิงหาคม 2560 ครั้งที่สองเลื่อนมาจากวันที่ 16 พฤศจิกายน 2560 และครั้งที่สามเลื่อนมาจากวันที่ 31 มกราคม 2561 คดีนี้เกี่ยวข้องกับการต่อต้านรัฐประหารคดีแรกๆ ย้อนกลับเมื่อ 4 ปีที่แล้ว วันที่ 23 พฤษภาคม 2557 ภายหลังการรัฐประหารของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพียงหนึ่งวัน กลุ่มประชาชนจำนวนหนึ่งได้ออกมาทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ในพื้นที่บริเวณหน้าหอศิลป์ฯ เพื่อคัดค้านการรัฐประหาร  ซึ่งจ่าสิบเอกอภิชาต พงษ์สวัสดิ์ ก็เป็นหนึ่งในคนที่เข้าร่วมทำกิจกรรมในครั้งนั้น  กลุ่มประชาชนที่ออกมาคัดค้านรัฐประหารในวันนั้นได้แสดงสัญลักษณ์ที่แสดงออกถึงการคัดค้านรัฐประหาร ส่วนใหญ่จะเป็นป้ายข้อความในกระดาษ A 4 ที่เตรียมกันมาเอง ในส่วนของนายอภิชาตได้มีการชูป้ายข้อความว่า “ไม่ยอมรับอำนาจเถื่อน”  และในช่วงค่ำของวันนั้นเอง เจ้าหน้าที่ทหารได้เข้าเคลียร์พื้นที่และสลายกลุ่มประชาชน  นายอภิชาตถูกทหารจับกุมและถูกนำตัวไปควบคุมไว้ภายใต้อำนาจของกฎอัยการศึก 7 […]

คำกล่าวเปิดงาน เวทีเสวนาวิชาการ “จากปู่โคอี้ ถึงบิลลี่ : การเรียกร้องสิทธิ ชุมชนในป่าและความเป็นธรรมของชุมชนกะเหรี่ยงบางกลอย” โดย คุณสุรพงษ์ กองจันทึก ประธานมูลนิธิผสานวัฒนธรรม

ครบ 4 ปีที่บิลลี่หายตัวไป และ 7 ปีที่ปู่คออี้ และชุมชนกะเหรี่ยงได้หายจากพื้นที่ “ใจแผ่นดิน” ทั้งบุคคลและชุมชนสูญหายไปในพื้นที่ป่าแก่งกระจาน ที่เรามาคุยกันในวันนี้เพื่อจะบอกว่าสิ่งที่หายไป จริงๆแล้วไม่ได้หาย  สิ่งนี้ยังอยู่ในความทรงจำของเรา  ยังอยู่ในจิตสำนึกของพวกเรา  และยังอยู่ในปรากฎการณ์จริงของสังคมไทย ไม่ว่าจะ 7 ปีกรณีชุมชนกะเหรี่ยงถูกเผาก็ดี หรือ 4 ปีกรณีที่บิลลี่ถูกทำให้หายตัวไปก็ดี เราจะให้ความเป็นธรรมกับทั้งสองกรณีนี้ได้อย่างไร ปู่คออี้และบิลลี่เป็นตัวแทนของชาวกะเหรี่ยงดั้งเดิม ซึ่งอยู่ในชุมชนที่เรียกว่า “ใจแผ่นดิน” มาเนิ่นนานแล้ว เรามีแผนที่บ้านใจแผ่นดิน เป็นแผนที่ที่พิมพ์เมื่อปี 2503 เอามาจากต้นฉบับเดิมปี 2484 มีการสำรวจโดยกรมแผนที่ทหารบกในปี 2455 หรือกว่า 100 ปีมาแล้ว นอกจากแผนที่ฉบับนี้ แผนที่ฉบับหลังจากนั้นก็ปรากฏชุมชนใจแผ่นดินตลอดมาในทุกแผนที่ของรัฐ ชุมชนเก่าแก่แห่งนี้ได้ถูกเผา ได้ถูกทำให้หายไปจากแผนที่ ผมเองได้มีโอกาสร่วมกับกรณีนี้เมื่อปี 2554 จากกรณีที่มีการเผาชุมชนของชาวกะเหรี่ยงบริเวณบ้านใจแผ่นดิน หรือว่าบ้านบางกลอยบน หลังจากเรา (สภาทนายความ) ได้ทราบเรื่องและได้รับการร้องเรียนจากเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม เราก็ได้มีการลงพื้นที่ ครั้งนั้นมีอาจารย์ทัศน์กมล โอบอ้อม เป็นผู้ประสานงานพาปู่คออี้ พาบิลลี่และชาวบ้านมาพบกับเรา ชาวบ้านให้ข้อมูลว่าพวกเขาได้อยู่มาเนินนานอย่างไรบ้าง มีการเผาบ้านชาวบ้านอย่างไรบ้าง และภาพที่สื่อมวลชนนนำเสนอไปว่าเป็นผลงานอันยิ่งใหญ่ของฮีโร่ ที่ได้ทำลายชนกลุ่มน้อย […]

ดีเอสไอ รับจะนำเสนอคดีบิลลี่ให้คณะกรรมการคดีพิเศษพิจารณาในอีก 2 เดือนข้างหน้า

วันนี้ 27 เมษายน 2561 นางสาวพิณภา พฤกษาพรรณ หรือมึนอภรรยาบิลลี่ ลูกสาว และชาวบ้านบางกลอย พร้อมตัวแทนจากสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UNOHCHR) มูลนิธิผสานวัฒนธรรม และสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน เข้าพบผู้แทนกรมสอบสวนคดีพิเศษหรือดีเอสไอ เพื่อสอบถามความคืบหน้าและหารือเกี่ยวกับคดีบังคับสูญหายนายพอละจี รักจงเจริญ หรือบิลลี่ นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่หายไปเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2557 หลังจากถูกควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน การเข้าพบกรมสอบสวนคดีพิเศษครั้งนี้ เกิดจากความไม่คืบหน้าและความไม่ชัดเจนในการดำเนินคดีบิลลี่ของกรมสอบสวนคดีพิเศษ เพราะช่วงต้นปี 2560 กรมสอบสวนคดีพิเศษได้มีหนังสือแจ้งมายังมึนอว่าว่าคณะกรรมการคดีพิเศษมีมติไม่รับกรณีการหายตัวไปของบิลลี่เป็นคดีพิเศษ โดยมติดังกล่าวเป็นมติที่ประชุมวันที่ 10 มิถุนายน 2559 หลังจากนั้นเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2561 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวันครบรอบ 4 ปีบิลลี่ คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล หรือ ICJ ได้ออกแถลงการณ์เรื่อง ประเทศไทย: ยังคงไม่มีความคืบหน้าใดๆในวันครบรอบ 4 ปี ที่“บิลลี่”ถูกบังคับให้สูญหาย ระบุว่าการสืบสวนสอบสวนคดีบิลลี่ไม่มีความคืบหน้าและและดีเอสไอปฏิเสธไม่รับคดีดังกล่าวเป็นคดีพิเศษ  ซึ่งกรมสอบสวนคดีพิเศษก็ออกมาชี้แจงอย่างรวดเร็วว่าคดีบิลลี่ยังอยู่ในขั้นตอนการดำเนินการ ซึ่งทุกอย่างเป็นไปตามกฎหมาย ไม่ใช่มีมติไม่รับเป็นคดีพิเศษแล้วตามที่ปรากฏเป็นข่าวแต่อย่างใด การเข้าพบครั้งนี้ มีพ.ต.ท.กรวัชร์ ปานประภากร […]

รายงาน 4 ปีการบังคับสูญหายบิลลี่ ความยุติธรรมที่ยังอยู่ระหว่างดำเนินการ

โดย สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) นายพอละจี รักจงเจริญ หรือบิลลี่ เป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแม่เพรียง มีฐานะเป็นหลานของปู่โคอี้ หรือคออี้ มีมิ ผู้เฒ่าวัย 107 ปี ผู้นำทางจิตวิญญาณของชาติพันธ์กะเหรี่ยงแห่งบางกลอย-ใจแผ่นดิน หนึ่งในผู้ที่ถูกเผาบ้านและบังคับให้ออกจากถิ่นฐานที่บรรพบุรุษชาติพันธุ์กะเหรี่ยงอยู่อาศัยทำกินมานับร้อยปี บิลลี่เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการปกป้องสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงแห่งบางกลอย-ใจแผ่นดิน ที่ถูกเผาบ้านและบังคับให้ต้องจากแผ่นดินเกิด เพราะนโยบายการอนุรักษ์ที่มองไม่เห็นชีวิตของผู้คน  บิลลี่ได้ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยทนายความในคดีที่ปู่คออี้ และชาวกะเหรี่ยงบางกลอยอีก 5 คน ยื่นฟ้องกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ต่อศาลปกครองกลาง จากเหตุการณ์ที่เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เข้ารื้อทำลาย เผาบ้านเรือนและทรัพย์สินของชาวบ้านชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่บ้านบางกลอยบน-ใจแผ่นดินเมื่อเดือนพฤษภาคม 2554 ภายใต้ปฏิบัติการ “ยุทธการตะนาวศรี หรือโครงการขยายผลการอพยพ ผลักดัน/จับกุม     ชนกลุ่มน้อยที่บุกรุกพื้นที่ตามแนวชายแดนไทย-พม่า ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน” ซึ่งเป็นโครงการที่มีขึ้นเพื่อผลักดันให้ชาวกะเหรี่ยงดั้งเดิมออกจากพื้นที่ แม้พวกเขาจะเป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิมที่ตั้งรกรากอาศัยอยู่ในพื้นที่มาเป็นเวลากว่า 100 ปีแล้วก็ตาม ในช่วงที่บิลลี่หายตัวไป เป็นช่วงที่กำลังมีการเตรียมข้อมูลเพื่อต่อสู้คดีดังกล่าว และอยู่ระหว่างการเตรียมถวายฎีกาเพื่อร้องเรียนขอความเป็นธรรม “วันที่ 17 เมษายน 2557 เวลาประมาณ 16.00 น. ผมได้รับโทรศัพท์จากพี่ชายของบิลลี่ บอกว่า บิลลี่ถูกจับเรื่องน้ำผึ้งที่ด่านมะเร็ว ให้ช่วยไปดูที่โรงพักหน่อย แต่ด้วยเห็นว่าวันนี้ค่ำแล้ว […]

4 ปีบิลลี่หาย รอก่อน…ความยุติธรรมยังอยู่ระหว่างดำเนินการ

นายพอละจี รักจงเจริญ หรือบิลลี่เป็นสมาชิก อ.บ.ต. ห้วยแม่เพรียง เป็นหลายปู่โคอี้ ผู้นำทางจิตวิญญาณของชาติพันธ์กะเหรี่ยงแห่งบางกลอย เขามีภรรยาและลูกที่ต้องดูแลอีก 5 คน ลูกทุกคนยังอยู่ในวัยเรียน บิลลี่เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการเป็นปากเป็นเสียงให้พี่น้องชาติพันธุ์กระเหรี่ยงบางกลอยของเขา ที่ถูกบังคับไล่รื้อให้ต้องจากผืนดินเกิด เนื่องจากนโยบายการอนุรักษ์ที่มองไม่เห็นผู้คน เขาทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยทนายความในคดีที่ปู้คออี้ และชาวกระเหรี่ยงบางกลอยอีก 5 คนยื่นฟ้องกรมอุทยานแห่งชาติฯ ต่อศาลปกครองกลาง จากเหตุการณ์ที่เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เข้ารื้อทำลาย เผาบ้านเรือนและทรัพย์สินของชาวบ้านกว่า 20 ครอบครัว ที่บ้านบางกลอยบน-ใจแผ่นดินเมื่อเดือนพฤษภาคม 2554 ตาม“โครงการขยายผลการอพยพ ผลักดัน/จับกุม ชนกลุ่มน้อยที่บุกรุกพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ตามแนวชายแดนไทยพม่า” หรือ “ยุทธการตะนาวศรี” เพื่อผลักดันให้ชาวบ้านออกจากพื้นที่ แม้จะปรากฏผลการศึกษายืนยันว่าชาวบ้านเป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิมชาวปาเกอญอที่ตั้งรกรากอาศัยอยู่ในพื้นที่มาเป็นเวลาร่วมกว่า 100 ปีแล้ว ในช่วงที่บิลลี่หายตัวไป เป็นช่วงที่กำลังมีการเตรียมข้อมูลเพื่อต่อสู้คดีดังกล่าว และอยู่ระหว่างการเตรียมถวายฎีกาเพื่อร้องเรียนขอความเป็นธรรม “วันที่ 17 เมษายน 2557 เวลาประมาณหกโมงเย็น ผมได้รับโทรศัพท์ติดต่อจากครูในหมู่บ้านบอกว่า บิลลี่ถูกจับที่ด่านมะเร็ว เป็นเรื่องน้ำผึ้ง ให้ไปดูที่โรงพักหน่อย แต่ผมเห็นว่าไม่ไช่ความผิดร้ายแรงอะไร และมันก็ค่ำแล้ว เตรียมเอกสารประกันตัวไม่ทัน วันนั้นก็เลยไม่ได้ไป แต่ผมก็ได้โทรหาบิลลี่นะ โทรไปสองครั้ง แต่บิลลี่ไม่รับสาย […]

กรณีการหายตัวไปของนายบิลลี่ กับอนุญาฯการต่อต้านการอุ้มหาย โดย ญาดา หัตถธรรมนูญ

นายบิลลี่ หรือ นายพอจะลี รักจงเจริญ เป็นแกนนำชาวบ้านกะเหรี่ยงบ้านบางกลอย นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน และผู้ช่วยทนายความ อยู่ระหว่างการเตรียมการต่อสู้คดีปกครองที่ชาวบ้านบางกลอยยื่นฟ้องกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชและนายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร จากกรณีการเข้ารื้อทำลาย เผาบ้านเรือนและทรัพย์สินของชาวบ้านกว่า 20 ครอบครัว ที่บ้านบางกลอยเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2554 เพื่อผลักดันให้ชาวบ้านออกจากพื้นที่แม้ปรากฎผลการศึกษายืนยันว่าชาวบ้านเป็นชนพื้นเมืองดังเดิมชาวปาเกอญอที่ตั้งรกรากอาศัยอยู่ในพื้นที่มาเป็นเวลาร่วมกว่า 100 ปีแล้ว นอกจากนี้ นายบิลลี่ยังอยู่ระหว่างการเตรียมถวายฎีกาเพื่อร้องเรียนขอความเป็นธรรมต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วย ทั้งนี้ เชื่อว่านายบิลลี่มีพยานหลักฐานเกี่ยวกับคดีและกรณีร้องเรียนดังกล่าวอยู่กับตัวด้วยในขณะที่หายไป นายบิลลี่หายตัวไปตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน 2557 โดยมีชาวบ้านพบเห็นนายบิลลี่ครั้งสุดท้ายเมื่อเวลาประมาณ 17.00 น. ขณะถูกควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ต่อมาเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2557 นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ได้ยอมรับว่าควบคุมตัวนายบิลลี่จริง เนื่องจากค้นตัวนายบิลลี่แล้วพบรังผึ้งและน้ำผึ้งหกขวด ตนจึงได้ทำการตักเตือน และอ้างว่าได้ปล่อยตัวนายบิลลี่ไปแล้ว อย่างไรก็ตามไม่ปรากฏหลักฐานที่อ้างเกี่ยวกับการจับกุมตามข้อกล่าวหาและหลักฐานการปล่อยตัวแต่อย่างใด จนถึงปัจจุบันเป็นเวลาร่วม 6 วันแล้วหลังจากถูกควบคุมตัว ที่ยังไม่มีผู้ใดพบเห็นนายบิลลี่อีก โดยครอบครัวของนายบิลลี่ พร้อมด้วยผู้ใหญ่บ้านและชาวบ้านบางกลอยได้แจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจในท้องที่ไว้แล้ว ก่อนหน้านี้ เมื่อเดือนกันยายน 2554 ได้มีการลอบสังหารนายทัศน์กมล โอบอ้อม […]

1 2 3