ทนายสมชาย

ภาคประชาสังคมออกแถลงการณ์เนื่องในวันผู้สูญหายสากล เรียกร้องรัฐไทยเร่งดำเนินการป้องกันการบังคับบุคคลสูญหายอย่างจริงจังและคืนความจริงและความยุติธรรมแก่ผู้สูญหาย

การบังคับให้บุคคลสูญหายเป็นปรากฏการที่เกิดขึ้นทั่วโลก ประเทศไทยก็ไม่น้อยหน้า จากการรวบรวมข้อมูลการร้องเรียนของคณะทำงานว่าด้วยการบังคับบุคคลให้สูญหายหรือการสูญหายโดยไม่สมัครใจ ซึ่งเก็บข้อมูลตั้งแต่ปี 2523 ถึงปี 2559 ระบุว่าประเทศไทยมีการบังคับสูญหาย 82 กรณี ทั้งหมดยังไม่ได้รับการแก้ไข กลุ่มคนชายขอบ กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มที่เห็นต่างกับแนวทางพัฒนาของรัฐหรือเจ้าหน้าที่รัฐ นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนที่ลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อปกป้องสิทธิของตนเอง ชุมชน และตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐที่ไม่ถูกต้อง พวกเขาเหล่านี้ต้องเผชิญกับการข่มขู่ การคุกคามจากอำนาจรัฐที่ไม่ถูกต้อง ทั้งการใช้กำลังทำร้าย การเข็นฆ่า การบังคับสูญหาย หรือแม้แต่ใช้กลไกทางกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมเข้ามาเล่นงาน 19 มิถุนายน 2534 คุณทนง โพธิ์อ่าน ผู้นำแรงงาน ที่ต่อต้านการรัฐประหารของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ได้ถูกทำให้หายไป 12 มีนาคม 2547 ทนายสมชาย นีละไพจิตร ทนายความด้านสิทธิมนุษยชน ผู้ ถูกชายฉกรรจน์อุ้มขึ้นรถและหายไป การต่อสู้คดีกว่า 12 ปีเพื่อพิสูจน์ความจริงและความยุติธรรม จบลงด้วยศาลฎีกาพิพากษาให้ยกฟ้องจำเลยเมื่อวันที่ 29 ธ.ค. 2558 17 เมษายน 2557 บิลลี่ หรือพอละจี รักจงเจริญ นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยงแห่งบางกลอย ถูกทำให้หายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย […]

อยู่ไหนก็หายได้….

ว่ากันว่า ทั่วโลกมีเหยื่อของการบังคับให้สูญหายอย่างน้อย 43,250 ราย ประเทศไทยเองก็ไม่น้อยหน้า จากสถิติที่มีการรวบรวมจากการร้องเรียนโดยคณะทำงานว่าด้วยการบังคับบุคคลให้สูญหายหรือการสูญหายโดยไม่สมัครใจ ที่เก็บข้อมูลมาตั้งแต่ปี 2523 ถึง 2559 ระบุว่าประเทศไทยมีการบังคับสูญหาย 82 กรณี ซึ่งเป็นข้อมูลเพียงบางส่วนที่มีการร้องเรียนและบันทึกไว้ https://goo.gl/fstVTE นี้เป็นเพียงบางกรณีที่ปรากฎ ยังมีหลายกรณีที่เงียบหายและไม่ปรากฎความคืบหน 19 มิถุนายน 2534 ทนง โพธิ์อ่าน ผู้นำแรงงาน และเป็นผู้ที่ต่อต้านการรัฐประหารของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ได้หายไปก่อนวันที่จะเดินทางไปเป็นผู้แทนคนงานไทยในประชุมองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ที่นครเจนีวา จากวันนั้นจนวันนี้กว่า 26 ปีแล้ว ครอบครัวยังรอคอยความยุติธรรม 12 มีนาคม 2547 ทนายสมชาย นีละไพจิตร ทนายความด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งทำงานช่วยเหลือทางคดีความมั่นคงในพื้นที่ชายแดนใต้เพื่อให้ผู้คนในพื้นที่เข้าถึงความยุติธรรมท่ามกลางสภาวะที่รัฐมีอำนาจล้นเกิน ถูกทำให้หายไป ครอบครัวของทนายสมชาย ได้ต่อสู้คดีอย่างเต็มที่เพื่อให้เกิดการค้นหาความจริง แต่ก็น่าผิดหวัง การเดินทางกว่า 12 ปีเพื่อพิสูจน์ความจริงและความยุติธรรม จบลงด้วยศาลฎีกาพิพากษาให้ยกฟ้องจำเลยเมื่อวันที่ 29 ธ.ค. 2558 17 เมษายน 2557 บิลลี่ หรือพอละจี รักจงเจริญ […]

เสวนา 2 ปีบิลลี่ ญาติและองค์กรสิทธิเรียกร้องให้เร่งสืบสวนสอบสวนคดีจนทราชะตากรรมของบิลลี่และเด่น คำแหล้ รวมทั้งเรียกร้องให้รัฐเร่งสร้างกลไกเพื่อป้องกันการบังคับสูญหาย

วันที่ 10 พฤษภาคม2559 ณ ห้องประชุมสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน และมูลนิธิผสานวัฒนธรรม ได้ร่วมกันจัดเวทีเสวนาวิชาการ 2 ปีบิลลี่ : อุ้มหายคน อุ้มหายความยุติธรรม อุ้มหายสิทธิเสรีภาพ เพื่อเป็นการทบทวนบทเรียนและวิเคราะห์สถานการณ์การบังคับสูญหาย รวมทั้งจัดทำข้อเสนอของภาคประชาสังคมต่อกฎหมายการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับให้สูญหาย ตลอดจนร่วมผลักดันให้มีการออกกฎหมายดังกล่าวโดยเร่งด่วนเพื่อที่จะยกระดับการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและผลักดันกลไกในการป้องกันการบังคับสูญหายและมีกระบวนการยุติธรรมที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยในงานมีผู้สนใจเข้าร่วมกว่า 50 คน คุณพิณภา พฤกษาพรรณ หรือมึนอ ภรรยาของบิลลี่ กล่าวถึงการหายตัวไปของบิลลี่ วันสุดท้ายที่เขาพบบิลลี่อยู่บ้านก็คือวันที่ 15 เมษายน 2557 และได้ข่าวจากน้องชายของบิลลี่ ว่าเจ้าหน้าที่อุทยานควบคุมตัวเขาไว้ที่ด่านมะเร็ว เหล่าแล้วเขาก็หายตัวไป มึนอยังกล่าวถึงกรณีที่เจ้าหน้าที่ที่ถูกกล่าวหาว่าเกี่ยวพันกับการหายตัวไปของบิลลี่และถูกร้องขอให้ตรวจสอบและขอให้ย้ายออกจากพื้นที่ แต่ปัจจุบันกลับได้รับผิดชอบหน้าที่ที่ยิ่งใหญ่ขึ้นกว่าเดิม เหมือนคนๆนี้มีอำนาจเหนือกฎหมาย ทำไมคนที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำบิลลี่และคดียังไม่ถึงที่สุด กลับได้รับตำแหน่งที่ดูจะใหญ่โตขึ้น นอกจากนี้ มึนอยังกล่าวถึงการยื่นคำร้องให้ศาลตรวจสอบการควบคุมตัวบิลลี่โดยมิชอบ ตามมาตรา 90 ของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา แต่ก็ปรากฎว่าทั้งสามศาลต่างยกฟ้องไปแล้ว คุณวราภรณ์ อุทัยรังสี ทนายความจากสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ซึ่งมีบทบาทเข้าไปช่วยเหลือทางกฎหมายในการยื่นคำร้องขอให้ปล่อยตัวบิลลี่โดยมิชอบ สะท้อนปัญหาว่าการใช้เครื่องมือทางกฎหมายผ่านกลไกมาตรา 90 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญานั้น พบว่าศาลไม่ได้เข้าไปค้นหาความจริงอย่างเต็มที่ ในศาลฎีกานั้นพบว่าศาลเน้นวินิจฉัยในข้อกฎหมายจนตัดข้อเท็จจริงออกไปแทบทั้งหมด กล่าวคือศาลฎีกาเห็นว่าการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้ศาลไม่สามารถรับฟังพยานปากของชัยวัฒน์และเจ้าหน้าที่ได้ ส่วนพยานฝ่ายของผู้ร้องก็เป็นเพียงพยานบอกเล่า เมื่อไม่มีข้อเท็จจริงให้ฟังได้ ข้อเท็จจริงที่จะรับฟังว่าบิลลี่ถูกควบคุมตัวไว้โดยมิชอบจริงหรือไม่จึงไม่เพียงพอ ด้วยเหตุนี้ศาลก็เลยยกฟ้อง มีคำถามว่า กรณีเช่นนี้ที่กระบวนการพิจารณาที่กระทำโดยมิชอบตั้งแต่ศาลชั้นต้น จนนำมาสู่การตัดพยานและการยกฟ้อง […]